สรุปงานสัมมนา KUVA ในหัวข้อ African Swine Fever รู้ลึก เข้าใจ ไม่ประมาท

สรุปงานสัมมนา KUVA ในหัวข้อ African Swine Fever รู้ลึก เข้าใจ ไม่ประมาท

วันเสาร์ที่ 1 กันยายน 2561 12.30-16.00 น. โรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

  1. ประวัติการระบาดในหลายๆประเทศ ทั้งประเทศแถบยุโรปและรัสเซียคือ การที่มีผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสุกรเข้ามาภายในประเทศ และมีการนำเศษอาหารเหลือจากห้องครัวไปเลี้ยงสุกร ทำให้มีการระบาดเกิดขึ้น
  2. สาเหตุการระบาดที่เกิดขึ้นที่ประเทศจีน เริ่มต้น หมูป่าที่มีการอมโรคจากประเทศรัสเซียเดินเข้ามาในประเทศจีนทางตอนเหนือ และมีการระบาดเกิดขึ้นเริ่มต้นจากสุกรที่เลี้ยงหลังบ้านที่สัมผัสกับหมูป่า ต่อมา มีการระบาดเกิดขึ้นในฟาร์มใหญ่เนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อผ่านทางโรคฆ่าและรถขนหมู
  3. ช่องทางหลักในการติดต่อ หลักในการติดต่อคือ

             1)  สุกรมีการสัมผัสสุกรที่ป่วยโดยตรง เช่นการนำสุกรทีมีเชื้อเข้ามาในฟาร์ม

             2)  การติดต่อจากการสิ่งของปนเปื้อน เช่น รถขนหมู

             3)   สุกรกินผลิตภัณฑ์ที่มีการปนเปื้อนเชื้อ

             4)   การเคลื่อนย้ายหมูตามพื ้นที่ต่างๆรวมไปถึงสุกรป่า

  1. การระบาดในประเทศจีนที่ควบคุมการระบาดไม่ได้เกิดจาก เนื่องจากมาตรการที่จีนได้กำหนดไม่ได้ถูกปฏิบัติจริงในฟาร์ม ยังมีการเคลื่อนย้ายสุกรข้ามพื้นที่ และ การประกาศการระบาดของโรคช้า โดยคนในพื้นที่ทางมณฑลพบการตายของสุกรที่ผิดปรกติตั้งแต่ ช่วงเดือนเมษายน 2018 มีการตรวจสอบยืนยันเชื้อโรคในเดือน มิถุนายน 2018 และรัฐบาลประกาศเรื่องการระบาดของโรคอย่างเป็นทางการในวันที่ 3 สิงหาคม 2018
  2. บทเรียนของประเทศจีนบอกอะไรเรา โรคนี้เป็นโรคร้ายแรง สร้างความเสียหายให้เศรษฐกิจเป็นอย่างมาก ทั้งการส่งออกวัตถุดิบ ราคาสุกรภายในประเทศ หรือแม้กระทั่งความเสียหายของฟาร์มเมื่อมีการเกิดของโรคและการทำลายสุกร ดังนั้น เกษตรกรและสัตวแพทย์ทุกคนควรช่วยกันจับตามองและเฝ้าระวังโรค
  3. สุกรที่มีแสดงอาการป่วย ไข้สูงมีจุดเลือดออก ควรรีบมีการแจ้งกรมปศุสัตว์ให้เข้าไปเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจสอบเพื่อควบคุมการระบาดของโรค รู้เร็ว มีการควบคุมและจัดการกับปัญหาที่รวดเร็ว ลักษณะอาการป่วยของ ASF คล้ายกับหลายๆโรค เช่น อหิวาต์สุกร ไข้หนังแดง หรือซัลโมเนลล่า ปัจจุบันมีการตรวจยืนยันเชื้อโรคได้แล้วในหลายๆหน่วยงานได้แก่ สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ คณะสัตวแพทยศาสตร์ทั้งของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และจุฬากรณ์มหาวิทยาลัย และ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์(ศวพ.) ทั่วประเทศไทย
  4. ช่องทางการติดต่อที่มีโอกาสมากที่สุดที่จะทำให้มีการติดต่อเข้ามาประเทศไทย นักท่องเที่ยวจีนและผลิตภัณฑ์สุกรแปรรูปจากจีน รถขนหมูที่กลับมาจากการส่งสุกรไปขายตามชายแดน ผลิตภัณฑ์จากสุกรที่นำเข้ามาจากประเทศเพื่อนบ้านข้างต้น ทำให้กรมปศุสัตว์กำหนดมาตรการที่เข้มงวดเพิ่มมากขึ้น ได้แก่  ระงับผลิตภัณฑ์สุกรจากจีนที่ เอาเข้ามาในประเทศไทย ไส้สุกรหมักเกลือ(ไส้กรอกอีสาน) ขนสุกร(แปรงขัด) เนื้อป่นกระดูกป่น(วัตถุดิบอาหารสัตว์) ลูกสุกรแช่แข็ง(หมูกี้หมูหัน) เครื่องในสุกรตากแห้ง ความเข้มงวดตามสนามบินต่างๆให้มีการตรวจกระเป๋าผู้โดยสารขาเข้าประเทศด้วยสุนัขดมกลิ่นเพื่อสกัด ผลิตภัณฑ์สุกรจากนักท่องเที่ยว ระงับการนำเข้าของสุกรพ่อแม่พันธุ์จากประเทศจีน
  5. การป้องกันโรคเข้าฟาร์มที่ดีที่สุด คือ Biosecurity เพราะปัจจุบันนี้ยังไม่มีวัคซีนที่ใช้เพื่อป้องกันโรคได้แม้ในหลายๆประเทศทางแถบยุโรปยังมีการค้นคว้าและพยายามพัฒนาวัคซีนอยู่ ดังนั้นอย่าหลงเชื่อหากมีคนนำวัคซีนเข้ามาขาย ถือเป็นความเสี่ยงที่จะทำให้มีการระบาดของโรคและควรแจ้งกรมปศุสัตว์ให้เข้ามาตรวจสอบ และปัจจัยที่จะลดความเสี่ยงได้อย่างมากอีกเรื่องหนึ่งคือ การมีเล้าขายหมูอยู่ภายนอกฟาร์ม เพราะจะทำให้เชื ้อโรคเช้าฟาร์มได้ยากมากขึ้นและการขายหมูไม่ควรเหลือหมูทิ้งไว้ในเล้าขายเพราะมีโอกาสเป็นตัวติดเชื้อ และเป็นตัวแพร่โรคเข้าสู่ฟาร์มของเรา จึงควรขายหมูให้หมดเล้าและมีการทำความสะอาดเล้าด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ
  6. ความร่วมมือของทุกคนคือตัวช่วยในการหยุดยังโรคอหิวาต์สุกร ไม่ให้เข้ามาภายในประเทศ ด้วยการให้ความรู้ที่ถูกต้องที่เกี่ยวข้องกับโรค กับทุกๆภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และช่วยกันจับตาเฝ้าระวังเนื่องจากบทเรียนเก่าๆในอดีต ทั้งโรค PED ที่ติดต่อมาจากประเทศจีนโดยเกิดการระบาดครั้งแรกที่นครปฐม หรือ HP-PRRS(เพิร์ซจีน) จากจีนที่เข้าสู่เวียดนามเข้าลาวและเข้าสู่ประเทศไทยทางจังหวัดหนองคาย และสำหรับ ASF ที่มีความรุนแรงกว่ามาก แล้วยังไม่มีทั้งวัคซีนและวิธีการรักษา จึงต้องขอความร่วมมือทุกคนช่วยกันให้พวกเราผ่านวิกฤตินี้ไปด้วยกัน

Cr. Vet Products Group สรุปเนื้อหา

Visitors: 398,115