AHPA Annual Meeting 2025
นายกธุรกิจเวชภัณฑ์สัตว์ มองธุรกิจฯ ยั่งยืนต้องใส่ใจและมีส่วนร่วมตามระเบียบข้อบังคับภาครัฐ Food Safety กับผู้บริโภคยุคใหม่ ระบบ AI Blockchain Big Data และพัฒนาบุคลากรสู่ Digital
26 มีนาคม 2568 นายกสมาคมธุรกิจเวชภัณฑ์สัตว์ ร่วมเวทีเสวนา “ธุรกิจเวชภัณฑ์สัตว์ กับ ความยั่งยืน: แนวทางปรับตัวในการแข่งขัน” ที่เป็นกิจกรรมหนึ่งในงานประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2568 ณ ห้องปาริชาติ ชั้น 3 โรงแรมโกลเด้น ทิวลิป ซอฟเฟอริน กรุงเทพมหานคร
น.สพ.ไพรวัน สีพั่ว นายกสมาคมธุรกิจเวชภัณฑ์สัตว์ ได้ให้วิสัยทัศน์บนเวทีเสวนาธุรกิจเวชภัณฑ์สัตว์ กับ ความยั่งยืน: แนวทางปรับตัวในการแข่งขัน ว่าธุรกิจเวชภัณฑ์สัตว์จะยั่งยืนต่อไปได้คงต้องเป็นความร่วมมือร่วมกันระหว่างเอกชน ภาครัฐ ในการทบทวนในการออกกฎระเบียบต่างๆ เพื่อเป็นประโยชน์ในภาพรวม การสร้างความเข้าใจระหว่างกันสำคัญที่สุด
ก่อนอื่น นายกสมาคมฯ ได้ให้ความเห็นการประกอบอาชีพด้านฟาร์มปศุสัตว์ว่าฟาร์มเล็กๆ น้อยๆ จะค่อยๆ หายไป รวมไปถึงโคเนื้อ โคนม โดยจะเป็นปัญหาด้านต้นทุน ด้านแรงงาน เพราะถ้าเลี้ยงในจำนวนน้อยจะไม่คุ้ม การประกอบอาชีพด้านปศุสัตว์จะเป็นระบบอุตสาหกรรมเต็มตัว สิ่งที่ต้องเผชิญจะมีการควบคุมทุกกระบวนการในการทำธุรกิจ
โดยประเด็นแรกกับความยั่งยืนของธุรกิจเวชภัณฑ์จะถูกควบคุมตั้งแต่การนำเข้า ตั้งแต่ระบบ GDP คล้ายๆ GAP จะเข้มงวดแม้กระทั่งระบบการขนส่ง ระบบการกระจายยา GPP(Good Pharmacy Practice) จนถึงการถึงผู้ใช้ขั้นสุดท้าย
มาตรฐาน GDP (Good Distribution Practice) คือ มาตรฐานที่ใช้สำหรับการจัดการและการขนส่งสินค้าที่มีความสำคัญต่อสุขภาพ เช่น ยา วัคซีน และผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ต่าง ๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแนวทางและมาตรฐานที่รับประกันคุณภาพและความสมบูรณ์ของผลิตภัณฑ์ยา โดยมาตรฐาน GDP นี้เกี่ยวข้องกับผู้ผลิต ผู้นำเข้า จนถึงสถานที่ขายยาหรือผู้ได้รับอนุญาตในการจัดส่งผลิตภัณฑ์ยา เพื่อให้แน่ใจว่าสินค้าจะถึงมือผู้บริโภคอย่างปลอดภัยและมีคุณภาพ โดยผลิตภัณฑ์จะถูกควบคุมโดยทั้งกรมปศุสัตว์ จาก พรบ.ยา และควบคุมจากองค์การอาหารและยา(อย.)
เรื่อง Food Safety แม้เรื่องโลกร้อน กับ ผู้บริโภคยุคใหม่ กรณีเกษตรกรรายย่อยก็ต้องมีตลาดในพื้นที่ของตัวเอง ที่กลุ่มเวชภัณฑ์จะต้องดูแลด้วย
เกี่ยวกับระบบ AI ต่างๆ เป็นสกิลที่ต้องเรียนรู้ ระบบการชำระเงินที่เกี่ยวโยงกับบล็อกเชน ซึ่งจะเกี่ยวโยงกับการทำ Big Data
การออกกฎระเบียบ กฎหมายของทางราชการ บริษัทเวชภัณฑ์จะต้องมามีส่วนร่วม เข้าร่วมประชุมหารือกับหน่วยงานราชการอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่หน้าที่ของสมาคมเพียงอย่างเดียว
การสื่อสารต้องเตรียมศักยภาพของทรัพยากรบุคคลให้มีความรู้ ทันระบบยุคใหม่ที่เข้าสู่ระบบดิจิตอลมากขึ้น เพราะจะเกี่ยวโยงกับระบบเอกสาร ระบบคุณภาพต่างๆ ทั้งระบบการผลิตและการเก็บรักษายา ยิ่งในอนาคตที่มีการขยายตลาดไปยังต่างประเทศมากขึ้น จะมีความสำคัญอย่างยิ่ง