BIG DATA SAT DLD INET

สมาคมหมู INET เดินหน้ารวม Big Data กับกรมปศุสัตว์พัฒนา Demand Side/ Supply Side ต่อยอดการพัฒนาเชิงปริมาณอุตสาหกรรมสุกรสู่ Fully Digital Transformation

6 มีนาคม 2567 กรมปศุสัตว์ - สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติยังคงเดินหน้าในการพัฒนาระบบ Supply Side และ Demand Side เพื่อให้อุตสาหกรรมมีข้อมูลเชิงการบริหารจัดการไม่ให้ประสบกับ Supply ล้น หรือการขาดแคลนสุกรในอนาคต หลังอธิบดีกรมปศุสัตว์สั่งการให้ฝ่ายสารสนเทศทำงานร่วม 3 ฝ่ายโดยมี INET ผู้พัฒนาระบบร่วมผลักดันต่อเนื่อง

 

นายสัตวแพทย์สุทัศน์ ตั้งธโนปจัย กรรมการสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ในฐานะหัวหน้าทีม Big Data ของสมาคม เข้าร่วมประชุมกับฝ่ายสารสนเทศของกรมปศุสัตว์โดยมีบริษัท อินเทอร์เน็ต ประเทศไทย จำกัด(มหาชน) หรือ INET ผู้พัฒนาระบบ เข้าร่วมประชุมหารือความสอดคล้องของระบบที่กรมปศุสัตว์ใช้พัฒนาในปัจจุบัน โดยปัจจุบันข้อมูลส่วนหนึ่งของกรมปศุสัตว์จะเป็นในลักษณะ Open Data ที่สามารถดึงข้อมูลไปใช้ได้ และข้อมูลอีกส่วนหนึ่งสามารถดึงไปใช้ในลักษณะของ การดึงข้อมูลผ่านระบบ API หรือ Application Programming Interface 

ในการประชุมครั้งแรกระหว่างกรมปศุสัตว์ สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ และ INET เพื่อเป็นการทราบข้อมูลระหว่างกันในเรื่องของการจัดการระบบที่ใช้ในปัจจุบันของทั้งสองฝ่าย โดยเฉพาะข้อมูลด้านประชากรสุกร ที่ยังคงเป็นการประมวลในระบบของการสำรวจ และรวบรวม ผ่านเครือข่ายขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นโดยการประสานงานของสำนักงานปศุสัตว์ในภูมิภาค

โดยมีข้อสรุปในเบื้องต้นในเรื่องของการพัฒนาการประมวลข้อมูลประชากรสุกรจะร่วมศึกษาระบบการระบุเอกลักษณ์สุกร โดยจะเริ่มต้นที่ระบบคลื่นวิทยุที่เป็นอุปกรณ์ RFID หรือ Radio Frequency Identification เพื่อความแม่นยำ รวดเร็วของ Big Data ซึ่งการพัฒนาระบบ Big Data ที่จะสามารถใช้ร่วมกัน โดยผู้ใช้จะเป็นเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรที่สามารถดูข้อมูลประชากรสุกรและการคาดการณ์ในอนาคตของระบบได้ทุกฟาร์ม โดยเป็นข้อมูลของอุตสาหกรรม ซึ่งจะเป็นข้อมูลที่ทุกภูมิภาคสามารถนำมาประเมิน Supply Side ของผู้เลี้ยงแต่ละพื้นที่ที่จะเป็นข้อมูลในการพัฒนาด้านการตลาดและวางแผนการผลิตเพื่อความยั่งยืนของอุตสาหกรรมสุกรของประเทศ โดยสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติจะสรุปการประชุม และวัตถุประสงค์ที่จะร่วมพัฒนาใน 2 ประเด็นนี้ส่งให้อธิบดีกรมปศุสัตว์รับทราบและสั่งการในการทำงานร่วมกัน 3 ฝ่ายต่อไป ที่จะมีแนวทางและแผนการทำงานที่ชัดเจนอย่างเป็นทางการ 

อย่างไรก็ตามปัญหาในวงการสุกรในปัจจุบันยังคงเป็นในเรื่องของเชิงคุณภาพ ที่ยังคงขาดการจัดระเบียบโดยผู้เลี้ยงสุกรเอง  ซึ่งการผลักดันพระราชบัญญัติสุกรและเนื้อสุกรจะเป็นการพัฒนาในด้านของการจัดระเบียบในอุตสาหกรรมสุกรด้วยตัวเอง  ทั้งการจัดโครงสร้างราคาที่เป็นไปตามกฎหมายที่เป็นธรรม เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายดังเช่นในปัจจุบัน   การมีระบบเตือนภัยในเรื่องของการป้องกันการลักลอบนำเข้าผ่านการพัฒนาระบบเชิงปริมาณ ซึ่งก็คือโครงการ Big Data ที่กำลังร่วมทำงานกันอยู่ 3 ฝ่าย

Visitors: 396,819