Pig Farm Standard
มาตรฐานสินค้าเกษตร
การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มสุกร(มกษ. 6403-2565)
1. ขอบข่าย
1.1 มาตรฐานสินค้าเกษตรนี้กำหนดการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มสุกรตามที่กำหนดนิยามไว้ในข้อ 2.1 ครอบคลุมองค์ประกอบฟาร์ม การจัดการฟาร์ม บุคลากร สุขภาพสัตว์ สวัสดิภาพสัตว์สิ่งแวดล้อม และการบันทึกข้อมูล เพื่อให้ได้สุกรท่ีมีความเหมาะสมในการนำไปเลี้ยง หรือนำไปใช้เป็นอาหารโดยคำนึงถึงความปลอดภัยอาหารสุขภาพสัตว์สวัสดิภาพสัตว์และสิ่งแวดล้อม
1.2 มาตรฐานสินค้าเกษตรนี้ใช้กับฟาร์มที่เลี้ยงสุกรที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Sus scrofa ทั้งที่เป็นสุกรบ้านและสุกรป่า
2. นิยาม
ความหมายของคำที่ใช้ในมาตรฐานสินค้าเกษตรนี้มีดังต่อไปนี้
2.1 ฟาร์มสุกร (pig farm) หมายถึง สถานประกอบการที่เลี้ยงสุกรพ่อแม่พันธุ์สุกรอนุบาลหรือสุกรขุน อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน
- ข้อกำหนด
3.1 องค์ประกอบฟาร์ม
3.1.1 สถานที่ตั้ง
หลักการ
การเลือกสถานที่ตั้งเพื่อประกอบกิจการฟาร์มสุกรมีความสำคัญ ต้องคำนึงถึงการปนเปื้อนของอันตรายทางกายภาพ เคมีและชีวภาพจากสภาพแวดล้อม การคมนาคมที่สะดวก และการมีแหล่งนํ้าที่เหมาะสมและเพียงพอ เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพ และสวัสดิภาพสัตว์สามารถขนส่งสุกร อาหารสัตว์เวชภัณฑ์และอุปกรณ์ต่างๆ ได้สะดวก และไม่เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำใช้
3.1.1.1 มีหลักฐานแสดงการยินยอมให้ประกอบกิจการจากราชการส่วนท้องถิ่น
3.1.1.2 ตั้งอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เส่ียงต่อการปนเปื้อนของอันตรายทางกายภาพ เคมี และชีวภาพ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม แหล่งรวมขยะ ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของสุกร และคน รวมทั้งสวัสดิภาพสัตว์ หรือมีมาตรการจัดการความเสี่ยงที่เหมาะสม
3.1.1.3 ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีเส้นทางการคมนาคมที่สามารถขนส่งสุกร อาหารสัตว์เวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ต่างๆ ได้สะดวก ไม่อยู่ในบริเวณที่น้ำท่วมขังได้
3.1.1.4 มีแหล่งน้ำที่สะอาดและใช้เพียงพอ
3.1.2 ผังและลักษณะฟาร์ม
หลักการ
การวางผังฟาร์มและการจัดแบ่งพื้นที่ภายในฟาร์มอย่างเหมาะสม จะช่วยป้องกันการปนเปื้อน สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพสัตว์สวัสดิภาพสัตว์และสิ่งแวดล้อม
3.1.2.1 มีพื้นที่ขนาดเพียงพอและเหมาะสมในการเลี้ยงสุกร ไม่หนาแน่นจนก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม สุขภาพและสวัสดิภาพสัตว์
3.1.2.2 มีรั้วหรือแนวกั้นธรรมชาติที่สามารถควบคุมการเข้า-ออกของคนและป้องกันสัตว์อื่นจากภายนอกได้
3.1.2.3 มีการวางผังฟาร์มสุกรที่เอื้อต่อการปฏิบัติงานอย่างถูกสุขลักษณะ กำหนดพื้นที่ปฏิบัติงานเป็นสัดส่วน เช่น พื้นที่เลี้ยงสัตว์พื้นที่เก็บอาหารสัตว์พื้นที่สำหรับแยกและรักษาสุกรป่วย พื้นที่รวบรวมขยะและมูล พื้นที่
ทําลายซาก และพื้นที่จําหน่ายสุกร จัดแบ่งพื้นที่อาคาร สำนักงานและที่พักอาศัยเป็นสัดส่วนแยกจากบริเวณเลี้ยงสัตว์
3.1.2.4 มีมาตรการในการป้องกันสัตว์ต่างๆ เข้าสู่พื้นที่ส่วนการผลิต และมีการควบคุมการเข้า-ออกของคนผ่านทางช่องทางเข้า-ออกที่กำหนด เพื่อป้องกันการปนเปื้อนข้าม
3.1.3 โรงเรือน
หลักการ
โครงสร้างโรงเรือนที่แข็งแรง ถูกสุขลักษณะ มีพื้นที่เพียงพอ และมีการจัดการให้มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงสุกร จะส่งผลดีต่อสุขภาพและสวัสดิภาพสัตว์
3.1.3.1 มีโครงสร้างแข็งแรง ถูกสุขลักษณะ มีการระบายอากาศที่ดีง่ายต่อการทําความสะอาดและบำรุงรักษา
3.1.3.2 มีพื้นที่เพียงพอในการเลี้ยงสุกร และมีสภาพแวดล้อมภายในโรงเรือนเหมาะสมกับสายพันธุ์ ขนาด และอายุของสุกร
3.1.3.3 กรณีโรงเรือนปิดซึ่งมีการควบคุมสภาพแวดล้อม ได้แก่ อุณหภูมิความชื้น การระบายอากาศและแสงสว่างให้มีสัญญาณเตือนและมีมาตรการดำเนินการในกรณีอุปกรณ์อัตโนมัติไม่ทำงาน ไฟฟ้าดับหรือขัดข้อง
3.2 การจัดการฟาร์ม
3.2.1 คู่มือการจัดการฟาร์ม
หลักการ
คู่มือการจัดการฟาร์มสุกรที่มีรายละเอียดการปฏิบัติงานที่สำคัญของฟาร์มสุกร จะช่วยให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องสามารถนําคู่มือไปใช้ในการปฏิบัติงานตามขั้นตอนที่กําหนดไว้อย่างถูกต้อง และช่วยให้การจัดการฟาร์มสุกรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
3.2.1.1 มีคู่มือการจัดการฟาร์มที่แสดงรายละเอียดการปฏิบัติงานที่สำคัญภายในฟาร์ม ได้แก่
1) การเตรียมโรงเรือนก่อนนำสุกรเข้าเลี้ยง
2) การจัดการฟาร์ม
3) ระบบการเลี้ยงสุกร
4) การจัดการอาหารและน้ำสำหรับสุกร
5) การทำความสะอาดและบำรุงรักษาโรงเรือน และอุปกรณ์
6) การจัดการด้านสขภาพสุกร
7)การควบคุมสัตว์พาหะ
8)การจัดการด้านสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อม
9)การจัดการด้านสวัสดิภาพสัตว์
10)การบันทึกข้อมูล
3.2.1.2 มีการจัดทำเอกสารสำหรับขั้นตอนและวิธีปฏิบัติงานที่สำคัญ
3.2.2 การจัดการอาหารและน้ำ หลักการการจัดการให้สุกรได้รับอาหารและน้ำที่มีคุณภาพและเพียงพอต่อความ
ต้องการ จะส่งผลดีต่อสุขภาพและสวัสดิภาพสัตว์
3.2.2.1 ใช้อาหารสัตว์ที่มีีคุณภาพ ปลอดภัย และเหมาะสมสำหรับการเลี้ยงสุกร ตามพระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2558
3.2.2.2 ห้ามใช้สารต้องห้ามตามพระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2558
3.2.2.3 การผสมยาลงในอาหารสัตว์ให้อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของสัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มสุกร แยกพื้นที่เก็บอาหารสัตว์ผสมยาออกจากพื้นที่เก็บอาหารทั่วไป และมีป้ายบ่งชี้
3.2.2.4 มีการตรวจสอบคุณภาพอาหารสัตว์ทางกายภาพเบื้องต้น
3.2.2.5 จัดภาชนะและอุปกรณ์ให้อาหารเหมาะสมกับอายุขนาด และจำนวนของสุกร และจัดวางในตำแหน่งที่สุกรทุกตัวเข้ากินอาหารได้
3.2.2.6 มีสถานที่เก็บอาหารสัตว์และวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่สะอาด ระบายอากาศดีสามารถป้องกันความชื้น เชื้อราและสัตว์พาหะต่างๆ ได้โดยแยกออกจากสถานที่เก็บเครื่องมือ อุปกรณ์และสารเคมีเป็นพิษ
3.2.2.7 นำอาหารสัตว์ที่เก็บไว้ก่อนออกใช้ก่อน (first in - first out)
3.2.2.8 นํ้าที่ใช้ในฟาร์มได้รับการป้องกันการปนเปื้อนจากสิ่งที่เป็นอันตราย หรือมีมาตรการในการปรับปรุงคุณภาพก่อนนำมาใช้
3.2.2.9 มีน้ำสะอาดให้สุกรกินได้อย่างทั่วถึง
3.2.3 การจัดการโรงเรือน อุปกรณ์และการบำรุงรักษา
หลักการ
การจัดการโรงเรือน อุปกรณ์ให้สะอาด เป็นการลดการสะสมของเชื้อก่อโรค และการบํารุงรักษาโรงเรือนอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานจะช่วยให้ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และปลอดภัยต่อสุกรและ
บุคลากร
3.2.3.1 ทำความสะอาดโรงเรือนและอุปกรณ์ให้ถูกสุขลักษณะ และบํารุงรักษาให้อยู่ในสภาพดีพร้อมใช้งาน ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุกรและบุคลากร
3.2.3.2 นํามูลสัตว์ออกและทำความสะอาด ไม่ให้เกิดการหมักหมมภายในโรงเรือนและบริเวณรอบๆ
3.2.3.3 ภายหลังจากย้ายสุกรออกจากโรงเรือน ให้ทําความสะอาด ฆ่าเชื้อคอกและอุปกรณ์และปิดพักไว้ก่อนนำสุกรรุ่นใหม่เข้าเลี้ยง ตามระยะเวลาที่กรมปศุสัตว์กำหนด
3.2.3.4 มีมาตรการควบคุมและกำจัดสัตว์พาหะที่เหมาะสม
3.3 บุคลากร
หลักการ
บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถตามหน้าที่ความรับผิดชอบ มีสุขลักษณะส่วนบุคคลและสุขภาพดีจะช่วยให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสุกรได้รับการดูแลสุขภาพและสวัสดิภาพอย่างถูกต้อง
3.3.1 มีจํานวนบุคลากรเพียงพอ จัดแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบอย่างชัดเจน โดยคํานึงถึงจำนวนสุกรที่เลี้ยง
3.3.2 บุคลากรมีความรู้ความสามารถเหมาะสมกับการปฏิบัติงาน บุคลากรที่ทําหน้าที่เลี้ยงสุกรต้องมีความรู้โดยได้รับการฝึกอบรม หรือการฝึกอบรมในขณะปฏิบัติงานในการเลี้ยงสุกร
3.3.3 มีสัตวแพทย์ที่มีใบรับรองเป็นสัตว์แพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มสุกรจากกรมปศุสัตว์
3.3.4 บุคลากรมีสุขลักษณะส่วนบุคคลที่ดีและได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี รวมถึงโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน ที่สำคัญ
3.3.5 มีมาตรการป้องกันการปนเปื้อนเชื้อก่อโรคเข้าสู่ส่วนการผลิตผ่านทางบุคลากร เช่น การจัดเตรียมห้องอาบน้ำ เครื่องแต่งกายและรองเท้าสำหรับผู้ปฏิบัติงาน
3.3.6 บุคลากรที่เจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อซึ่งอาจปนเปื้อนสู่ระบบการผลิต ห้ามเข้าปฏิบัติงานภายในส่วนโรงเรือนเลี้ยงสุกร
3.4 สุขภาพสัตว์
3.4.1 การป้องกันและควบคุมโรค
หลักการ
มาตรการป้องกันและควบคุมโรค เช่น ความปลอดภัยทางชีวภาพ การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่เหมาะสมและการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 มีความสำคัญต่อสุขภาพของสุกร ช่วยให้
สามารถป้องกันการแพร่กระจายและควบคุมเชื้อก่อโรคผ่านทางคนสัตว์ และยานพาหนะได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.4.1.1 มีมาตรการความปลอดภัยทางชีวภาพในการป้องกันและควบคุมโรคอย่างเหมาะสม ภายใต้การกำกับดูแลของสัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มสุกร หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากสัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มสุกร
3.4.1.2 มีมาตรการป้องกันโรคที่อาจมากับสุกรรุ่นใหม่ที่นำเข้าฟาร์ม
3.4.1.3 มีการป้องกันและควบคุมโรคที่มากับยานพาหนะ อุปกรณ์และบุคคลก่อนเข้า-ออกฟาร์ม รวมถึงมีการจดบันทึกการผ่านเข้า-ออกฟาร์มที่สามารถตรวจสอบได้
3.4.1.4 มีโปรแกรมการสร้างภูมิคุ้มกันโรค รวมถึงการกำจัดพยาธิภายในและภายนอก ภายใต้การดูแลของสัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มสุกร
3.4.1.5 กรณีที่เกิดโรคระบาดหรือสงสัยว่าเกิดโรคระบาดต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2558 และคำแนะนำของกรมปศุสัตว์
3.4.2 การบำบัดโรคสัตว์
หลักการ
การบำบัดโรคสัตว์จำเป็นต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มสุกรเพื่อให้สุกรได้รับการตรวจวินิจฉัย การรักษา การป้องกันการเกิดโรคอย่างถูกต้องและไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพและสวัสดิภาพสัตว์รวมทั้งไม่เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค
3.4.2.1 การบําบัดโรคสัตว์ต้องอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของสัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มสุกรโดยปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวิชาชีพการสัตวแพทย์ พ.ศ. 2545 และพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510
3.4.2.2 การใช้เข็มฉีดยาสุกร ต้องมีวิธีปฏิบัติงานในการป้องกันไม่ให้เข็มฉีดยาหักค้างในตัวสัตว์และมีมาตรการแก้ไขในกรณที่เกิดปัญหา
3.5 สวัสดิภาพสัตว์
หลักการ
การจัดการการเลี้ยงสุกรต้องคํานึงถึงหลักสวัสดิภาพสัตว์เพื่อให้สุกรสามารถแสดงพฤติกรรมตามธรรมชาติ มีความเป็นอยู่ที่ดีีและไม่เกิดความทุกข์ทรมาน
3.5.1 เลี้ยงหรือดูแลให้สุกรมีความเป็นอยู่ในสภาวะที่เหมาะสม มีสุขอนามัยที่ดีมีที่อยู่ อาหารและนํ้าอย่างเพียงพอ โดยเป็นไปตามพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรม และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557
3.5.2 กรณีที่สุกรป่วย บาดเจ็บ หรือพิการ ซึ่งไม่สามารถรักษาให้หายได้ให้ปฏิบัติอย่างเหมาะสมไม่ให้เกิดความทุกข์ทรมาน โดยการพิจารณาทำการุณยฆาตให้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มสุกรหรือบุคลากรที่ได้รับมอบหมายจากสัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มสุกร
3.6 สิ่งแวดล้อม
หลักการ
การจัดการซาก ขยะ ของเสีย และนํ้าเสียจากฟาร์มสุกรจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจึงต้องมีการปฏิบัติอย่างถูกต้อง
3.6.1 จัดเก็บขยะมูลฝอยในภาชนะที่มี ฝาปิดมิดชิด นำไปกำจัดอย่างเหมาะสมและถูกสุขลักษณะ
3.6.2 มีวิธีการจัดการมูลฝอยติดเชื้อและขยะอันตราย แยกจากขยะทั่วไป
3.6.3 กำจัดและทำลายซากสุกรด้วยวิธีที่เหมาะสม โดยอยู่ในดุลยพินิจของสัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มสุกร
3.6.4 มีระบบบําบัดนํ้าเสียเพื่อปรับปรุงคุณภาพของนํ้าทิ้ง โดยนํ้าทิ้งจากฟาร์มสุกรต้องเป็นไปตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมว่าด้วยการกำหนดให้การเลี้ยงสุกรเป็นแหล่งกําเนิดมลพิษที่
จะต้องถูกควบคุมการปล่อยนํ้าเสียลงสู่แหล่งนํ้าสาธารณะหรือออกสู่สิ่งแวดล้อม และประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมว่าด้วยมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากแหล่งกำเนิดมลพิษประเภทการเลี้ยงสุกร
3.6.5 มีการจัดการมูลสุกรและการป้องกันกลิ่นรบกวน
3.7 การบันทึกข้อมูล
หลักการ
การบันทึกและเก็บรักษาข้อมูลมีความสำคัญที่จะช่วยในการวิเคราะห์หาสาเหตุที่มาของปัญหาหรือข้อผิดพลาดในการจัดการ และตามสอบการทำงานในแต่ละขั้นตอนว่ามีความถูกต้องตามวิธีปฏิบัติที่กำหนดไว้
3.7.1 มีการบันทึกข้อมูลผลการปฏิบัติงานในขั้นตอนที่สําคัญในการจัดการฟาร์ม ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพสุกรและการควบคุมโรค การจัดการด้านการผลิต รวมถึงการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมดังนี้
1)ข้อมูลเกี่ยวกับตัวสุกร เช่น หมายเลข อายุ เพศ พันธุ์ประวัติการผสมพันธุ์การคลอดการได้รับวัคซีน และการรักษาพยาบาล
2)การจัดการอาหารและน้ำ เช่น แหล่งที่มาของอาหารและน้ำ การให้อาหารและน้ำ
3)การรับสุกรที่แสดงแหล่งที่มา
4)การจำหน่ายและกระจายสุกร
5)การเข้า-ออกของบุคคลและยานพาหนะ
6)การใช้สารเคมียาฆ่าเชื้อ หรือวัตถุอันตราย
7)การใช้วัคซีนและยาสัตว์ เช่น ใบส่งยาสัตว์ ใบมอบหมายการใช้ยาสัตว์
8)ข้อมูลบุคลากร เช่น ประวัติบุคลากร ประวัติการฝึกอบรมหรือการถ่ายทอดความรู้หน้าที่ความรับผิดชอบ และผลการตรวจสุขภาพประจำปี
9)บันทึกที่เกี่ยวข้องกับการบำบัดน้ำเสีย
3.7.2ให้เก็บรักษาบันทึกข้อมูลเป็นเวลาอย่างน้อย 3 ปี