DIT process Antitrust Board set dumping pork price
กรมการค้าภายในรอรับเรื่องสั่งการจากรัฐมนตรี ทำข้อสรุปผลกระทบบวกลบ ข้อเสนอใช้กฎหมายปกป้องผู้เลี้ยงทั้งประเทศของสมาคมหมู ก่อนส่ง กกร.พิจารณา
27 กุมภาพันธ์ 2568 กระทรวงพาณิชย์ – กรมการค้าภายในประชุมร่วมตัวแทนผู้เลี้ยงสุกร 3 ห้างค้าปลีก 1 ฟาร์มครบวงจร โดยกรมการค้าภายในรอรับลูกข้อเสนอปกป้องผู้เลี้ยงสุกรจากรัฐมนตรีพาณิชย์ เพื่อทำข้อสรุปผลกระทบต่างๆ เสนอเข้าคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ(กกร.) เพื่อใช้อำนาจตามกฎหมายว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
นางสาวญาณี ศรีมณี รองอธิบดีกรมการค้าภายใน เป็นประธานการประชุมร่วมระหว่างตัวแทนผู้เลี้ยงสุกรจากสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติประกอบไปด้วย คุณนิพัฒน์ เนื้อนิ่ม อุปนายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติและนายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรจังหวัดราชบุรี คุณกิดดิวงศ์ สมบุญธรรม กรรมการที่ปรึกษาสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ และนายสัตวแพทย์ วรวุฒิ ศิริปุณย์ รองเลขาธิการสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ตัวแทนจาก CPAXTRA Big C และ GO Wholesale ในเครือเซ็นทรัล และผู้แทนจากเครือเบทาโกร
คุณนิพัฒน์ เนื้อนิ่ม ได้กล่าวว่า “ปัญหาการขาดทุนของเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรในช่วงตั้งแต่ปี 2566 เป็นต้นมาจากปัญหาการเข้ามาสู่ตลาดภายในประเทศของเนื้อสุกรที่ไม่ถูกกฎหมาย ทำให้มีจำนวนผู้เลี้ยงสุกรที่ออกจากการประกอบอาชีพการเลี้ยงสุกรไปเป็นจำนวนมาก ส่วนหนึ่งจะมีผู้ประกอบการการเลี้ยงสุกรที่เลี้ยงสุกรมาจากรุ่นสู่รุ่น แต่ในปัจจุบันต้องเลิกอาชีพไป ในขณะที่ผู้เลี้ยงสุกรในกลุ่มฟาร์มระดับกลางก็มีการลดจำนวนการผลิตไปเป็นจำนวนมาก”
โดยวาระการประชุมจะเป็นการพิจารณาเรื่องโครงสร้างราคาชิ้นส่วนสุกร คุณกิดดิวงศ์ สมบุญธรรม ได้นำเสนอต่อที่ประชุมถึงรายละเอียดค่าใช้จ่ายในการเชือดสุกร และเปอร์เซ็นต์ชิ้นส่วนต่างๆ จากสุกรหนึ่งตัว โดยการนำเสนอทำให้ทุกฝ่ายได้เห็นภาพที่ชัดเจนของกระบวนการเชือดและค่าใช้จ่ายต่างๆ ก่อนที่จะมาเป็นเนื้อสุกรแต่ละส่วนที่จำหน่ายให้กับผู้บริโภคทั่วไป
วาระถัดมาประธานที่ประชุมได้นำเรื่องที่สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติได้ยื่นในเรื่องของการกำหนดราคาขั้นต่ำการจำหน่ายปลีกชิ้นส่วนเนื้อแดงของห้างเข้ามาพิจารณาในการประชุมครั้งนี้ด้วย ซึ่งทีมคณะทำงานของสมาคมได้ให้รายละเอียดที่มาของการขอให้ใช้อำนาจของคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการในการกำหนดราคาขั้นต่ำในการตั้งราคาจำหน่ายปลีกของห้างเพื่อไม่ให้สร้างผลกระทบกับมายังราคาสุกรหน้าฟาร์ม โดยอ้างถึงเหตุจำเป็นตั้งแต่การขาดทุนตั้งแต่ปี 2566 จากการที่ตลาดนำราคาสุกรที่ไม่ถูกกฎหมายมาเป็นราคาอ้างอีกทำให้ราคาสุกรหน้าฟาร์มถูกกดดันจนเกิดสภาวะขาดทุนตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ของปี 2566 เป็นต้นมาจนถึงปี 2567 แม้ราคาสุกรหน้าฟาร์มในปัจจุบันจะมีราคาดีขึ้นอยู่เหนือระดับต้นทุนขึ้นมา แต่ปัญหาที่เกิดกลับไปกลับมาระหว่างการตั้งราคาของห้างค้าปลีกที่จะไปกระทบราคาสุกรหน้าฟาร์มโดยผู้ค้าสุกรหน้าฟาร์ม เป็นสภาพที่สร้างปัญหาวนเวียนทำให้การเลี้ยงสุกรของไทยไม่มีหลักประกัน และ ขาดกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่จะไปปกป้องไม่ให้เกษตรกรขายสุกรหน้าฟาร์มต่ำกว่าต้นทุนการผลิต
โดยประเด็นการหาแนวทางที่ไม่ให้ผู้เลี้ยงสุกรขายสุกรต่ำกว่าต้นทุนการผลิต มีแนวคิดมาหลายปี ทั้งในการประชุมของคณะกรรมการนโยบายพัฒนาสุกรและผลิตภัณฑ์ ครั้งที่คุณอลงกรณ์ พลบุตร มาเป็นประธานการประชุม และ แม้แต่แนวคิดของนายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ก็ตามที่จะสร้างแนวทางให้ผู้เลี้ยงสุกรขายผลผลิตให้ไม่ต่ำกว่าต้นทุน
ที่ประชุมได้เชื่อมโยงถึงการที่เกษตรกรทั่วไทยต่างขาดทุนจากแรงกดดันของการตั้งราคาจำหน่ายปลีกของห้าง ซึ่งเป็นปัญหาที่ผู้เลี้ยงสุกรและสมาคมผู้เลี้ยงสุกรได้ยื่นขอความร่วมมือจากกลุ่มห้างค้าปลีก และบริษัทครบวงจร รวม 5 แห่ง เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2567 โดยมีความพยายามที่จะให้ห้างค้าปลีกกำหนดราคาจำหน่ายปลีกส่วนเนื้อแดงจำนวน 1.7 เท่าของโครงสร้างต้นทุน ที่วิเคราะห์และคาดการณ์โดยคณะอนุกรรมการวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตสุกร ของ Pig Board ที่จัดตั้งโดยสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ควรจะถือเป็นต้นทุนกลางในการที่จะนำการกำหนดมาตรการอื่นๆ เพื่อปกป้องเกษตรกรทั้งประเทศ
จากการขอความร่วมมือที่ไม่สามารถบรรลุผล สมาคมผู้เลี้ยงสุกรชาติไม่มีอำนาจที่จะไปบังคับห้างได้ จึงจำเป็นต้องพึ่งอำนาจของคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ตามมาตรา 9(6) ที่เป็นการใช้อำนาจในการวางกฎเกณฑ์และวิธีการที่พิจารณาในเรื่องของการตั้งราคาต่ำเกินสมควร ที่จะเป็นตัวตั้งต้นเชื่อมโยงความการกระทำความผิดตามมาตรา 29 ของกฎหมายฉบับเดียวกันได้
ประธานที่ประชุมประสงค์อยากให้ใช้มาตรการบริหารและขอความร่วมมือ แต่เนื่องจากปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ และเป็นปัญหาที่ไม่สามารถที่จะบรรลุการแก้ปัญหาดังกล่าวตามการขอความร่วมมือได้ ทีมทำงานของสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ จึงขอยืนให้นำเรื่องดังกล่าวเข้าไปหารือในคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ซึ่งได้ข้อสรุป คือ กรมการค้าภายในจะรอหนังสือสั่งการที่สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติทำหนังสือฉบับดังกล่าวตรงถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ โดยจะนำมาพิจารณาข้อดีข้อเสียและผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
อย่างไรก็ตามทีมทำงานของสมาคมไม่อยากให้กังวลในเรื่องของบทลงโทษตามลักษณะความผิดจนเกินไป ตามที่ฝ่ายกฎหมายของกระทรวงพาณิชย์ได้ให้รายละเอียด เพราะเป็นเรื่องปกติของบทลงโทษที่จะสามารถทำให้สังคมสงบสุข ปราศจากการเอารัดเอาเปรียบได้ โดยประสงค์ให้ผู้เลี้ยงสุกรทั้งประเทศมีเกาะป้องกัน ไม่ต้องประสบปัญหาการขาดทุนจากเหตุการณ์ในลักษณะดังกล่าวอีกต่อไป
สำหรับการกำหนดราคาจำหน่ายปลีกเนื้อแดงขั้นต่ำที่ 1.7 เท่าของโครงสร้างต้นทุน ในที่ประชุมเห็นว่าเป็นราคาที่ทุกคนพึงพอใจเนื่องจากเป็นราคาที่ต่ำลงมาก ที่สามารถตอบสนองนโยบายการดูแลผู้บริโภคเป็นอย่างดีของรัฐบาล และสามารถเป็นหลักเกณฑ์ที่ผู้เลี้ยงสุกร ผู้ค้า สามารถเดินหน้าไปด้วยกันได้
เกณฑ์ดังกล่าวเป็นการสร้างราคาต่ำสุดที่กลุ่มค้าปลีกจะสามารถกำหนดได้ ที่สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติขอให้เป็นภาคบังคับของกฎหมาย โดยการค้าเนื้อสุกรปกติในช่วงราคาสุกรหน้าฟาร์มปรับตัวสูงขึ้น ผู้ค้ายังคงกำหนดราคาได้ตามปกติ ในแต่ละชิ้นส่วนตามกำไรขั้นต้นของการขายทุกชิ้นส่วนโดยรวม
จากการให้ข้อมูลของผู้บริหารของกลุ่มห้างค้าปลีกแห่งหนึ่งที่เป็นประโยชน์ต่อข้อมูลเป็นอย่างยิ่ง ก็คือกรณีการแข่งราคาที่เกิดจากห้างใดห้างหนึ่ง ก็จะทำให้ห้างอื่นปรับราคาลงตามมา ซึ่งก็จะไปกระทบกับการสั่งซื้อที่จะต้องขอราคาที่ถูกลง ซึ่งก็จะเป็นผลกระทบให้กับการกดราคาฟาร์ม ดังนั้นการมีเกณฑ์ราคาจำนวนปลีกเนื้อแดงขั้นต่ำ ก็จะทำให้การประกอบอาชีพในส่วนของผู้ค้าเนื้อสุกรมีขอบเขตในการแข่งขัน