TSVA LIVE EP12

เสวนาขันน๊อต Biosecurity ร้อยเอ็ด หนุนรายย่อยเข้มงวด สร้างเศรษฐกิจชุมชน เสริมเศรษฐกิจชาติ
18 ธันวาคม 2567 ร้อยเอ็ด - รวมคณาจารย์ปศุสัตว์ระดับมือวาง เสวนาขันน็อต Biosecurity ปลุกรายย่อยไม่ถอยในยุค Disruption ต้นตอกับดัก ทำเศรษฐกิจประเทศโดยรวมสะดุด
         การเสวนา TSVA LIVE หมอหมูรู้กระจ่าง EP.12 เป็นการร่วมจัดระหว่างสมาคมสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มสุกรไทย กรมปศุสัตว์ สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ สมาคมพัฒนาธุรกิจสุกรไทย สมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และชมรมผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อวันพุธที่ 18 ธันวาคม 2567 ณ ห้องประดับพลอย โรงแรมเพชรรัชต์การ์เด้น จังหวัดร้อยเอ็ด

         นายสิทธิพันธ์ ธนาเกียรติภิญโญ นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติและนายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้กล่าวรายงานประธานในพิธีและขอบพระคุณวิทยากรที่เข้าร่วมให้ความรู้ต่อเกษตรกร โดยมีนายอำนาจ มะธิปิไข ปศุสัตว์จังหวัดร้อยเอ็ดให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิด โดยประธานในงานได้กล่าวถึงความห่วงใยต่อรายย่อย โดยในภาคอีสานยังพอมีการประกอบอาชีพนี้กัน เน้นให้เกษตรกรปรับปรุงฟาร์มตามหลักเกณฑ์ เพราะช่วง 2-3 ปีที่เกิดโรคระบาด เกิดจากการนำเข้าสุกรมาในพื้นที่โดยไม่มีการแจ้งสร้างความเสียหายและขยายวง โดยหน่วยงานราชการได้ช่วยเหลือในเรื่องของค่าชดเชย โดยขอให้รายย่อยดำเนินการปฏิบัติตามทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มสุกรตามการบังคับใช้ในปัจจุบัน และต้องขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบการ ทั้งรายย่อย รายใหญ่ กับ กรมปศุสัตว์โดยรายย่อยภาคอีสานยังมีจำนวนสูงอยู่


         ศาสตราจารย์ น.สพ. ดร.รุ่งโรจน์ ธนาวงษ์นุเวช ที่ปรึกษาสมาคมสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มสุกรไทย ได้นำเสนอโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรในเชิงลึก ตั้งแต่การเดินทางของเชื้อในยุคเริ่มแรก ที่ใช้เวลานานมากที่ต่างจากยุคปัจจุบัน โดยข้อมูลที่นำกล่าวโดยปศุสัตว์จังหวัด ในช่วง 2-3 ปีที่เกิดการระบาด ทำให้ต้องตระหนักว่าการเคลื่อนย้ายหมูต้องรู้เส้นทางของหมูซึ่งอาจพาโรคเข้าฟาร์มได้ โดยไวรัสวัคซีนก็เป็นอีกทางหนึ่งของการนำเชื้อเข้าฟาร์ม รวมถึงการนำสุกรราคาถูกเข้าฟาร์มระวังจะเป็นหมูอมโรค กรณีมีข้อสงสัยการติดเชื้อให้ตรวจเลือด โดยทิ้งท้ายว่าเรื่องของวัคซีนยังไม่ได้เป็นความหวังให้เน้น Biosecurity อย่างเข้มข้น
          สัตวแพทย์หญิง ดร.เมตตา เมฆานนท์ นายกสมาคมสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มสุกรไทย ได้อัพเดทสถานการณ์การระบาดของโรค ASF รอบบ้าน โดยในเอเชียมีประเทศศรีลังกา ที่เป็นประเทศล่าสุดลำดับที่ 20 ที่มีการระบาดของโรค ASF อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2567 และมีอัตราการตายถึง 30 เปอร์เซ็นต์ โดยในเอเชียมีเพียงประเทศญี่ปุ่นและไต้หวันที่ยังไม่มีการระบาด โดยการระบาดมีผลกระทบด้านราคา โดยประเทศฟิลิปปินส์มีระดับราคาสุกรหน้าฟาร์มสูงสุดมาตลอด ส่วนของประเทศไทยอยู่ในระดับราคาที่ยังไม่เกินต้นทุน โดยมีระดับราคาที่คงที่
         กรณีการทดสอบวัคซีนของรัฐบาลฟิลิปปินส์ เป็นความพยายามแก้ปัญหาให้รายย่อยเพราะมีจำนวนมากและมีปัญหาเรื่องการจัดการความปลอดภัยทางชีวภาพ โดยโปรแกรมวัคซีนดังกล่าวควบคุมโดยรัฐบาล ซึ่งรัฐบาลเป็นผู้จัดหาวัคซีนซึ่งเป็นวัคซีนของเวียดนาม โดยฟาร์มที่เข้าโครงการจะต้องปลอดเชื้อ ASF เป็นลำดับแรก และต้องรายงานผลการใช้เป็นระยะ
          ในประเทศอินโดนีเซียที่มีการระบาด ผู้ปรับตัวได้ คือ ผู้ที่ได้รับรางวัลในด้านของกำไรส่วนเกินจากราคา โดยมีการระบาดในปี 2564 ส่งผลให้ประชากรสุกรลดลงอย่างมาก สำหรับปี 2567 แม่พันธุ์สุกรลดลง 1 ใน 3
           ปัจจุบันประเทศมาเลเซีย และ ประเทศสิงคโปร์มีความต้องการเนื้อสุกรนำเข้าสู่ประเทศโดยจะต้องรับรองในระบบคอมพาสเม้นท์ ที่เป็นไปในลักษณะ Total Quality Management ที่มีการปลอดเชื้อตั้งแต่อาหารสัตว์ เรื่อยมาจนถึงฟาร์ม โรงเชือด โรงงานตัดแต่งต่างๆ
           ผู้ช่วยศาสตราจารย์ น.สพ.ณัฐวุฒิ รัตนวณิชย์โรจน์ ผู้บริหารจากบริษัท อาร์เอ็มซี ฟาร์ม จำกัด จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีประเด็นที่น่าสนใจคือ 3 จุดหยุดการแพร่กระจาย ASF โดยได้ชี้ความเสี่ยงตามช่องทางต่างๆหลักการสำคัญของ Biosecurity ที่เริ่มต้นตั้งแต่

1) โรคต้องไม่เข้าฟาร์ม
2) ถ้าเข้าฟาร์มต้องไม่กระจาย
3) ถ้ามีการกระจายต้องไม่กระจายสู่จุดสำคัญ

โดยในกรณีของการกระจายสู่จุดสำคัญต้องหยุดกิจกรรมทั้งหมด
          การมุ่งเน้นไปที่อะไรที่เคลื่อนที่ได้ในฟาร์มต้องนำมาวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางไม่ให้เกิดเป็นช่องทางในการเข้าของเชื้อโรค
ใช้ระบบของ Algorithm มาใช้ในกรณีหลังตรวจพบเชื้อว่า ฟาร์มจะทำอย่างไรต่อ โดยระบบ Biosecurity ในฟาร์มจะต้องไม่ซับซ้อน ทำได้ง่าย เพราะถ้าสามารถปฏิบัติจริงได้ยาก จะเกิดการไม่ทำตาม ซึ่งจะเกิดผลเสียต่อการนำเชื้อเข้าสู่ฟาร์ม โดยระบบ Biosecurity ได้ให้ข้อคิดไปยังฟาร์มขนาดเล็กว่าต้องทำทั้งหมด เช่นกัน


          รายละเอียดทั้งหมดของการเสวนาสามารถเข้าฟังได้อย่างตลอดการเสวนาที่ หมอหมูรู้กระจ่าง EP.12 “ ขันน๊อต Biosecurity สู้ ASF” Update สถานการณ์ ASF ในบ้านและรอบบ้านเรา
https://www.youtube.com/live/1e6M0e79Rug?si=grVWwdeacKWTK1b_


            คุณเดือนเด่น ยิ้มแย้ม ประธานชมรมผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้กล่าวขอบคุณวิทยากรทุกท่าน ที่ทำให้งานในวันนี้ประสบความสำเร็จ โดยเกษตรกรสามารถนำความรู้ที่ได้รับในวันนี้นำไปปฏิบัติสร้างความเข้มงวดในความสุกรเพื่อความปลอดภัยของทุกความได้เป็นอย่างดี

 

 

Visitors: 447,670