Green Livestock

นายกหมูราชบุรี มองโลกอนาคต AI และ Green Transition จะเปลี่ยนวิถีการประกอบการ ในขณะที่หมูไทยไปไกลมากแล้ว

19 มิถุนายน 2567 มารวยการ์เด้น กรุงเทพฯ – นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรจังหวัดราชบรีมองอุตสาหกรรมสุกรไทยมาไกลมากแล้ว ในประเด็นการเปลี่ยนผ่านสู่ปศุสัตว์สีเขียว นโยบายรัฐต้องสอดรับสนับสนุน ไม่ใช่ยืนกรานอุปสรรค

คุณนิพัฒน์ เนื้อนิ่ม อุปนายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ และนายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรจังหวัดราชบุรี ให้ข้อมูลบนเวทีสมัชชาพลังสีเขียวว่าการเลี้ยงสุกรในปัจจุบันในประเทศไทยมีความล้ำหน้าเทียบเท่าประเทศชั้นนำด้านการเลี้ยงสุกรทั้งหลาย ขณะที่ปัญหานโยบายรัฐเป็นปัญหาโดยเฉพาะเกี่ยวกับบริหารจัดการโครงสร้างราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ โดยเฉพาะมาตรการข้าวโพด 3 ต่อ 1 ซึ่งไม่มีความเป็นธรรม โดยคุณนิพัฒน์อ้างถึงเวที World Economic Forum 2023 ที่ยก 2 กระแสโลกที่ธุรกิจจะอยู่รอดในอนาคตก็คือ AI กับ Green Transition  

การเลี้ยงหมูในอดีตกับปัจจุบันต่างกันมากจากระบบเปิดเป็นระบบปิด หรือ Evaporative ผสมผสานระบบไบโอแก๊สที่นำก๊าซมีเทน CH4 มาใช้ประโยชน์ การนำของเสียทั้งหมดที่อยู่ในฟาร์ม นำมาเป็นทองคำรวมทั้งขี้หมู การเลี้ยงหมูในปัจจุบันเปลี่ยนเป็นระบบปิด ทำให้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงไปได้มาก  

การบำบัดน้ำเสียแต่ละช่วงจะทำให้ลดปริมาณกากลง ต้นทุนการบำบัดแต่ละลูกบาศก์เมตร ประมาณ 10 บาทซึ่งเป็นภาระของเกษตรกร หมู 1 ตัวใช้น้ำ วันละประมาณ 30-50 ลิตร 1,000 ตัว ใช้ถึง 30 ถึง 50 คิว การจัดการน้ำเสียมีกระบวนการบำบัดถึง 5 ขั้นตอน 5 บ่อโดยมีข้อกำหนดว่าห้ามนำน้ำนี้ออกสู่นอกระบบ อันนี้คือ กรีนที่เกษตรกรหมูต้องทำ น้ำจากฟาร์มสุกรที่ผ่านการบำบัดถึงจุดหนึ่งสามารถไปเป็นน้ำปุ๋ยให้กับการผลิตหญ้าเนเปียร์ที่นำไปเป็นอาหารวัวได้ดี  

นอกจากต้องจัดการฟาร์มแล้วปัญหาการกำหนดราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ยังคงเป็นปัญหา ที่เป็นเรื่องใหญ่ของทั้งวงการปศุสัตว์ไทย โดยประสิทธิภาพการให้ลูกสุกร(PSY) จากเดิมเคย 18 ตัวต่อแม่ต่อปี ปัจจุบันสายพันธุ์จากเดนหมากได้ถึง 30 ตัวต่อแม่ต่อปี

ปัจจุบันโครงสร้างของผู้เลี้ยงสุกรในประเทศไทยมีการเปลี่ยนจากพีระมิดทรงปกติกลายเป็นพีระมิดกลับด้านเกษตรกรรายย่อยหายไป แต่ปริมาณผลผลิตสุกร 20 กว่าล้านตัว ยังไม่ได้หายไป

การเลี้ยงสุกรในประเทศจีนในอดีตมีไม่พอบริโภค ปัจจุบันมีเกินกว่าปริมาณความต้องการมีการเพิ่มการผลิตจากรายใหญ่ และนำระบบ AI มาใช้กันมากขึ้น

คุณนิพัฒน์ได้ให้ข้อมูลต่อ ว่าการนำมีเทนไปใช้เป็นพลังงานตั้งต้นในการปั่นกระแสไฟฟ้าเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นกับธุรกิจสุกรในปัจจุบันเพื่อจะลดต้นทุนค่าใช้จ่ายเรื่องพลังงานลงไป ซึ่งมีการใช้พลังงานเป็นจำนวนมากกรณีเป็นฟาร์มปิด โดยมองว่าเมื่อไหร่ที่รายเล็ก รายกลาง รายย่อย จากไป ต่อไปการกำหนดราคาก็จะอยู่ในมือของรายใหญ่เช่นเดียวกับ ไก่ไข่ และไก่เนื้อ ในปัจจุบัน ธุรกิจการเลี้ยงสุกร หรือธุรกิจอื่นจะไปได้ ก็คือ AI กับ Green รัฐบาล มี BCG model เพื่อมาปรับปรุงทำให้ต้นทุนระบบการเลี้ยงดีขึ้นซึ่งก็ต้องสู้กัน แข่งขันกันได้สร้างวิวัฒนาการให้เพิ่มขึ้น  อยากฝากไว้ว่าคนไทยไม่แพ้ใครในโลก

ประเทศไทยฟาร์มสุกรที่ทำระบบก๊าซชีวภาพทำให้ลดก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่า 2 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี โดยในส่วนของก๊าซมีเทนก็จะมีคาร์บอนอยู่ 1 ส่วนไฮโดรเจน 4 ส่วน  โดยโครงการผลักดันก๊าซชีวภาพจากฟาร์มสุกรเพื่อลดก๊าซเรือนกระจก ที่สามารถลดได้มากกว่า 2 ล้านตันต่อปี ก็เป็นหนึ่งโครงการที่กรมปศุสัตว์ให้การสนับสนุน

ส่วนปุ๋ยขี้หมูจะอุดมไปด้วยฟอสฟอรัสจะช่วยเร่งการเจริญเติบโตในพืชรากและหัว  เช่น มันสำปะหลัง ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่ฟอสฟอรัสเท่านั้นก็ยังมีแร่ธาตุที่สำคัญต่อพืชและต้นไม้ถึง 13 ชนิดโดยมีแร่ธาตุหลักๆ ได้แก่

 

Visitors: 430,153