FWD Two Pig Agenda

งานด่วน! Pig Board เห็นชอบ ขายหมูฟาร์มตามโครงสร้างต้นทุน และ Big Data หมูเอกชนสอดรับ Digital Transformation ของ รมช.ไชยา

21 กันยายน 2566 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ - ที่ประชุม Pig Board เห็นชอบ 2 วาระที่ผลักดันโดยสมาคมผู้เลี้ยงแห่งชาติ ให้คณะทำงานดำเนินการต่อให้บรรลุผล

นายไชยา พรหมมา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายพัฒนาสุกรและผลิตภัณฑ์ หรือ Pig Board เมื่อ 20 กันยายน 2566 ซึ่งเป็นการประชุมครั้งแรกของ Pig Board ใหญ่ หลังจากมีคณะรัฐมนตรีชุดใหม่

นายนิพัฒน์ เนื้อนิ่ม อุปนายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติและนายกสมาคมผู้เรียกสุกรจังหวัดราชบุรี เป็นผู้แทนภาคเอกชนในนามสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติได้นำเสนอ 2 วาระทั้งการขายสุกรหน้าฟาร์มตามโครงสร้างต้นทุนของคณะอนุกรรมการการผลิตสุกร Pig Board ที่มีสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร(สศก.) เป็นฝ่ายเลขานุการ ที่มีการประชุมคาดการณ์ต้นทุนการผลิตสุกรทุกๆ ไตรมาส  และการจัดทำ Big Data ภาคเอกชนที่เป็นตัวเลข Supply Side ที่ในอดีตข้อมูลเชิงบริหารของภาคเอกชนยังไม่มีความชัดเจนทำให้การบริหารจัดการการผลิตขาดความชัดเจนในภาพอนาคตเพื่อสร้างเสถียรภาพของราคา

นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับ Big Data ของกรมปศุสัตว์ซึ่งมีการจัดทำเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานด้านการเคลื่อนย้าย ข้อมูลฟาร์ม ข้อมูลโรงเชือด ข้อมูลผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมสุกรไทย ยินดีที่จะให้มีการรวมข้อมูลทั้งภาครัฐที่เป็น Demand Side และเอกชนที่เป็น Supply Side  และพร้อมที่จะพัฒนา Application  DLD 4.0 ให้เป็น Application เดียวที่ใช้ได้กับฟาร์มสุกรทั้งระบบ

คุณนิพัฒน์ เนื้อนิ่ม ได้ยื่นการรวม Big Data ของภาครัฐและเอกชนเมื่อกรกฎาคม 2566 ในนามสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติโดยมีคณะกรรมการสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติรุ่นใหม่ประกอบด้วย

1. นายสัตวแพทย์วรวุฒิ ศิริปุณย์ รองเลขาธิการสมาคม

2. นายสัตวแพทย์สุทัศน์ ตั้งธโนปจัย กรรมการสมาคม

3. คุณวรรณภา ชินชูศักดิ์ ที่ปรึกษาสมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคกลาง

 

ร่วมผลักดันกับ บริษัทอินเทอร์เน็ต ประเทศไทย จำกัด(มหาชน) หรือ INET หลังยื่นหนังสือถึงกรมปศุสัตว์ โดยขั้นตอนในการพัฒนาระบบเริ่มเป็นลำดับดังนี้

1. พัฒนาระบบฐานข้อมูลสมาชิกสมาคมและระบบการรับสมัคร

2. ดึงข้อมูลความสมาชิกที่มีการใช้ Application ที่ต่างกันเข้ามาสู่ศูนย์รวมกลาง Supply Side ที่เป็นข้อมูลกลาง

3. รวมข้อมูลภาครัฐเอกชน ก็จะเป็นข้อมูล Demand/Supply ในแต่ละช่วง รวมทั้งข้อมูล Dynamic Dataที่เคลื่อนย้ายการผลิตแต่ละช่วงวัย สู่วันออกตลาดของผลผลิต

คุณสุรชัย สุทธิธรรม นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับ Big Data – Supply Side ภาคเอกชน ว่า “เมื่อวานวันที่ 19 กันยายน 2566 คณะกรรมการสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติได้มีการประชุมในหัวข้อนี้โดยผู้ประกอบการขนาดใหญ่ต่างเห็นด้วยและยินดีที่จะให้ข้อมูลประชากรสุกร ตั้งแต่ แม่พันธุ์ สุกรขุนเพื่อที่จะพัฒนาระบบ Supply Side เพื่อความแม่นยำในการพยากรณ์ที่ชัดเจนมากขึ้น

สำหรับวาระการขายสุกรมีชีวิตหน้าฟาร์มตามโครงสร้างต้นทุน สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติได้ยื่นเมื่อปลายเดือนมิถุนายน 2566 และมีการประชุมร่วมกับภาครัฐสำหรับแนวทาง เป็นระยะๆ โดยเมื่อมีการกำหนดราคาการขายในแต่ละช่วงไม่ต่ำกว่าโครงสร้างต้นทุนจะทำให้การประกอบอาชีพสุกรของเกษตรกรจะมีความมั่นคงและยั่งยืนมีเสถียรภาพมากขึ้นซึ่งจะเป็นผลดีทั้งระบบและตัวเลขทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ โดยแนวทางเบื้องต้นจะใช้ราคาแนะนำของ สกกร. ที่มีการใช้แก้ปัญหาราคาสินค้าเกษตรหลายครั้งในช่วงที่คุณบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตรเป็นอธิบดีกรมการค้าภายใน ซึ่งจะเป็นข้อหารือของคณะทำงานของ Pig Board อย่างเร่งด่วน

สำหรับข้อเสนอต่างๆ ในวาระที่นำเสนอโดยกรมปศุสัตว์ ผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมทั้งหมดซึ่งจะเป็นเรื่องที่คณะทำงานจะต้องดำเนินการต่อซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมสุกร ประกอบด้วย การขับเคลื่อนการรักษาเสถียรภาพราคาสุกรตามนโยบาย “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” โดยมีแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้

  1. จัดทำ Big data ของอุตสาหกรรมการผลิตสุกร เช่น  ข้อมูลฟาร์ม/โรงฆ่า/จำนวนสุกร การขึ้นทะเบียนผู้เลี้ยง/พ่อค้าคนกลาง เป็นต้น
  2. ดำเนินการปราบปรามสุกรเถื่อน ทั้งระบบ (นำเข้า/ห้องเย็น/สถานที่จำหน่าย) อย่างต่อเนื่อง
  3. ขับเคลื่อนและผลักดันการส่งออก สุกรมีชีวิต ซากสุกร และอื่นๆ เพื่อระบายสุกรส่วนเกินออกจากระบบ
  4. วิเคราะห์ข้อมูลและปรับสมดุลการผลิต ให้สอดคล้องกับความต้องการบริโภค โดยยึดหลักตลาดนำการผลิต
  5. ส่งเสริมการแปรรูป ดึงปริมาณเนื้อสุกรออกจากตลาด มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์
  6. รณรงค์ ประชาสัมพันธ์เพื่อกระตุ้นการบริโภคผลผลิตจากสุกร
  7. จัดตั้งกองทุนพัฒนาสุกร เพื่อความยั่งยืนของอุตสาหกรรมการผลิตสุกร

โดยกลุ่มผู้เลี้ยงสุกรทุกภูมิภาคได้ยื่นหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผ่าน รมช.ไชยา พรหมา แจงมาตรการเร่งรัดที่ประสงค์ให้รัฐบาลร่วมผลักดัน 

 

Visitors: 396,877