SAT urge NACC back to DSI

ผู้เลี้ยงสุกร ช่วย DSI เร่ง ปปช.ส่งสำนวนแสดงความเห็นความผิดเจ้าหน้าที่รัฐกลับ เพื่อดำเนินการทางคดีต่อ

5 มกราคม 2567 ปปช.- กลุ่มตัวแทนผู้เลี้ยงสุกรทั้งรายย่อยและสมาคมร่วมยื่นหนังสือเร่งคดี ป.ป.ช.แสดงความเห็นแล้วส่งกลับ DSI กับ ความผิดเจ้าหน้าที่รัฐ หวังให้คดีเดินหน้าต่อ และคลี่คลายโดยเร็ว

                    นายเดือนเด่น ยิ้มแย้ม ประธานชมรมผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยภาคตะวันออกเฉียงเหนือพร้อมด้วยนายอุดมศักดิ์ แก้วจันทร์วงษ์ รองประธานชมรมฯและ นางสาวสมพร กมลพรสิน ผู้จัดการสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ยื่นหนังสือเร่งคดีให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. เร่งพิจารณาสำนวน หลังจากที่กรมสอบสวนคดีพิเศษได้ยื่นสำนวนแรก ไว้ตั้งแต่วันที่ 24 พฤศจิกายน 2566 และเตรียมที่จะยื่นอีก 2 สำนวนส่ง ปปช. จึงจำเป็นต้องช่วยการดำเนินการของภาครัฐ ให้ขับเคลื่อนกระบวนการทางคดี เพื่อให้คลี่คลายโดยเร็ว เนื่องจากเกษตรกรเดือดร้อนจากการตกต่ำของราคาสุกร ผลจากสุกรลักลอบนำเข้าต้นทุนต่ำ เข้ามาทำลายกลไกราคาของตลาด ทำให้ผู้ประกอบสัมมาชีพโดยสุจริต คือ เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรทั้งประเทศได้รับความเดือดร้อน จากการประสบสภาวะขาดทุนอย่างต่อเนื่อง ครบ 1 ปีพอดี

                    จากการขยายผลคดีของกรมสอบสวนคดีพิเศษ ตามคดีเลขที่ 59/2566 ปรากฏมีความเชื่อมโยงของเจ้าหน้าที่รัฐที่อำนวยความสะดวกในการกระทำความผิดของบริษัทแห่งหนึ่ง จาก 10 บริษัท ที่เชื่อมโยงกับตู้สินค้าตกค้าง 161 ตู้ ที่มีการรับเป็นคดีพิเศษตั้งแต่ 29 มิถุนายน 2566 เป็นต้นมา มีการขยายผลอย่างต่อเนื่องจนถึงกลุ่มผู้ ให้การสนับสนุนการกระทำความผิดดังกล่าวที่เป็นกลุ่มของผู้ซื้อสินค้า และมาวางจำหน่ายในจุดจำหน่ายของห้างค้าส่ง ค้าปลีกต่างๆ

                    ในช่วงเช้ามีการประชุมที่สภาเกษตรกรแห่งชาติ พันตำรวจตรีณฐพล ดิษยธรรม หัวหน้าพนักงานสอบสวนคดีเลขที่ 59/2566ได้ให้รายละเอียดในที่ประชุม เพิ่มเติมว่าจะมีการส่งอีก 2 สำนวนความผิดเจ้าหน้าที่รัฐไปยัง ป.ป.ช. เพื่อให้ความเห็น ในการส่งฟ้องหรือไม่อย่างไร  โดยตัวแทนจากภาคผู้เลี้ยงและฟาร์มประกอบไปด้วย กรรมการจากสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ กลุ่มผู้เลี้ยงจากชมรมผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอบรับว่าจะช่วยเร่งดำเนินการ เร่งสำนวนจาก ป.ป.ช. ด้วยอีกทางหนึ่งเพราะเกษตรกรได้รับความเดือดร้อนจากผลกระทบดังกล่าว เป็นระยะเวลา 12 เดือนเต็ม

                    โดยในการประชุมช่วงเช้าสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติได้ให้ข้อเสนอหลายประการในที่ประชุมซึ่งประกอบไปด้วยตัวแทนจากหน่วยงานของรัฐ เช่น กรมปศุสัตว์ กรมศุลกากร กรมประมง หลายกรมจากกระทรวงพาณิชย์ โดยข้อเสนอเพื่อจัดวางระบบในเรื่องของการป้องกันไม่ให้เกิดการลักลอบและแปลงสัญชาติสุกรเข้าจำหน่ายในห้างค้าส่ง ค้าปลีกอีก ประกอบไปด้วย

 

  1. ขอให้กรมปศุสัตว์เพิ่มเงื่อนไขแหล่งที่มาสินค้าปศุสัตว์ OK  นอกจากการแสดงใบเคลื่อนย้ายซากสุกร ประกอบ Invoice ของSupplier แล้ว ควรต้องระบุถึงฟาร์มต้นทางของสินค้าเนื้อสุกรดังกล่าว เพื่อความโปร่งใส ทั้งแหล่งที่มา และเพื่อสาวถึงต้นทางว่าซื้อมาในราคาที่สะท้อนกลับที่ต่ำกว่าต้นทุนการเลี้ยงหรือไม่

  2. สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติขอให้กรมประมงเข้มงวดในการออกใบอนุญาตในการนำเข้าผลิตภัณฑ์ปลา และประมงต่างๆ เนื่องจากที่ผ่านมาเป็นการขออนุญาตเพื่อไปประกอบการสำแดงเท็จ ซึ่งปรากฏตามข้อมูลจาก DSI มีการสำแดงเท็จจาก 10 บริษัท มีจำนวนถึง 1,405 จาก 2,385 ใบขน จากการนำเข้าตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นมา เนื่องจากสินค้าปลาสินค้าประมงเป็นสินค้าต้องกำกัดที่ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าในลักษณะเดียวกับสินค้าสุกรเช่นกัน ตาม กฎหมายกรมประมง กับ กฎหมายโรคระบาดสัตว์ของกรมปศุสัตว์
  3. ในประเด็นของการเพิ่มโทษ ตามกฎหมาย 3 ฉบับ ประกอบไปด้วย พ.ร.บ.การประมง พ.ร.บ.ศุลกากร และ พ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์   สมาคมฯ ให้ข้อมูลเพื่อการปรับเปลี่ยนบทลงโทษในอนาคต เพราะที่ผ่านมาการกระทำความผิด การลักลอบสินค้าเกษตรมีเป็นจำนวนมากขึ้น เข้าข่ายสร้างผลกระทบไม่ต่างกับ ความผิดด้านความมั่นคง จึงฝากให้กรณีมีการปรับเปลี่ยนบทลงโทษในอนาคต ให้ปรับเปลี่ยนเป็นบัญญัติปรับและจำคุกตั้งแต่....แทนคำว่า...ปรับหรือจำคุกไม่เกิน... เช่นเดียวกับที่บัญญัติไว้กรณีความผิดด้านความมั่นคง  เพราะในการพิจารณา บทลงโทษของศาลมักเริ่มต้นที่ระยะเวลา จำคุกไม่มาก ถึงแม้จะบัญญัติไว้สูงสุดถึง 15 ปี ในกรณีของการหลีกเลี่ยงภาษี ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ 2560 มาตรา 243 ที่ตัวแทนจากกรมศุลกากรได้ให้รายละเอียดไว้  ประธานมองเป็นเรื่องอนาคต โดยหลังการประชุมสมาคมฯ จะหาข้อสรุปและส่งเรื่องตรงไปยังฝ่ายนิติบัญญัติต่อไป เพื่อสร้างความมั่นใจให้เกษตรกรผู้เลี้ยงในอนาคต

  4. ประเด็นการขายออนไลน์ที่ ประธานชมรมผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยภาคตะวันออกเฉียงเหนือหยิบยกขึ้นมา ความกังวลจะไปอยู่ที่การขนส่ง การเคลื่อนย้ายสินค้าถึงมือผู้ซื้อเป็นหลักเพราะปัจจุบันการค้าเปลี่ยนไปและมีการใช้สื่อออนไลน์มากขึ้น ประธานการประชุมให้ข้อสังเกตว่า ประเด็นดังกล่าวมีการใช้สื่อออนไลน์ แทบทุกกลุ่มของผู้ประกอบการแต่จะให้ทางกรมปศุสัตว์ไปมุ่งเน้นที่ความเข้มงวดในวิธีการที่ถูกสุขอนามัยของการขนส่งและการเคลื่อนย้ายถึงมือผู้ซื้อเป็นหลัก

  5. ประเด็นความเข้มงวดในการตรวจปล่อยหรือการตรวจตู้สินค้า ผู้แทนสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติอีกท่านหนึ่ง ฝากข้อคิดเห็นเกี่ยวกับจะไปกระทบกับผู้ที่ดำเนินการโดยสุจริต ในเรื่องของระยะเวลาการยื่นใบขน เพื่อทำพิธีการทางศุลกากรที่อาจจะนานขึ้น

  6. ประเด็นการนำเข้าสินค้าสุกร ถ้าจะมีการอนุญาตในอนาคตให้สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติรับรู้ถึงความจำเป็นด้วย และขอให้ควบคุมการนำเข้าสินค้าสุกรจากญี่ปุ่น และสเปน ที่ได้รับการอนุมัติไปก่อนหน้านี้ด้วย

  ซึ่งประเด็นต่างๆ สภาเกษตรกรแห่งชาติก็จะเก็บไปเป็นข้อมูลในการสรุปข้อเสนอจากการประชุมต่อไป โดยจะมีไฟล์ให้ผู้เข้าร่วมประชุมนำเสนอเข้ามาตามหลัง

Visitors: 427,878