Scandal Corn 3 Wheat 1

แปลก!! 2 วันก่อนเปลี่ยนอธิบดี กรมการค้าภายในกดดันมาตรการ 3 ต่อ 1 เพิ่มปัจจัยบวก...ให้ใช้ข้าวโพดปีต่อปี ภาคปศุสัตว์ไทยลุกฮือสู้ประชุมพรุ่งนี้ 9 โมง(27 กันยา)

26 กันยายน 2567 สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย - พรศิลป์เรียกสมาชิกสมาพันธ์ปศุสัตว์และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ประชุมหารือด่วน กับ ความกดดันรอบใหม่มหากาพย์มาตรการ 3 : 1 ใช้ข้าวโพดปีต่อปี กดดันยกระดับราคาข้าวโพดแบบค้านความรู้สึก

          นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุลนายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย เรียกสมาชิกสมาพันธ์ปศุสัตว์และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เข้าร่วมประชุมหารือด่วนหลังจากทราบกำหนดการประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ที่จะมีการประชุมพรุ่งนี้ที่กระทรวงพาณิชย์วันที่ 27 กันยายน 2567 เวลา 09:00 น โดยประเด็นจะมีการแก้ไขระเบียบกระทรวงพาณิชย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขในการขออนุญาตและการอนุญาตให้นำเข้าข้าวสาลีเข้าในราชอาณาจักร หรือที่รู้จักกันในชื่อมาตรการ 3 ต่อ 1  โดยระเบียบกระทรวงพาณิชย์ดังกล่าวเริ่มใช้ตั้งแต่ปีพ.ศ 2560 และมีการอัพเดทระเบียบกระทรวงพาณิชย์นี้ขึ้นเป็นระยะๆ  โดยล่าสุดระเบียบดังกล่าวที่ประกาศใช้หลังสุด ประกาศ ณ วันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ 2565 ลงนามโดยนายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ในขณะนั้น

          ประเด็นที่น่าเคลือบแคลงอย่างยิ่ง นอกเหนือจากเกณฑ์การปรับที่จะให้มีการใช้หลักฐานการซื้อในลักษณะปีต่อปีโดยจากเดิมระเบียบกระทรวงพาณิชย์ทุกฉบับจะให้ใช้หลักฐานการซื้อตั้งแต่วันที่ 10 ธันวาคม 2559 มาแสดงประกอบการขออนุญาตเพื่อนำเข้าข้าวสาลีจากต่างประเทศ

          โดยการเปลี่ยนแปลงระเบียบกระทรวงพาณิชย์ฉบับดังกล่าวจะต้องผ่านมติของคณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการข้าวโพดก่อน ซึ่งกรณีถ้ามีการประชุมในวันที่ 27 กันยายน 2567 ซึ่งเป็น 2 วันทำการ ก่อนสิ้นปีงบประมาณและมีการแต่งตั้งอธิบดีกรมการค้าภายในท่านใหม่แล้ว คือ นายวิทยากร  มณีเนตร ซึ่งจะเริ่มปฏิบัติหน้าที่ในวันที่ 1 ตุลาคม 2567 ซึ่งเป็นวันเริ่มต้นของปีงบประมาณ 2568

          โดยปกติระเบียบกระทรวงพาณิชย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขในการขออนุญาตและการอนุญาตให้นำเข้าข้าวสาลีเข้ามาในราชอาณาจักร(มาตรการ 3 ต่อ 1 ตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมามีมีการออกระเบียบกระทรวงพาณิชย์เรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง

          โดยตั้งแต่ออกระเบียบกระทรวงพาณิชย์ ในเรื่องนี้ (รวมระเบียบฉบับก่อนๆ )  จะมีการอนุญาตนำหลักฐานการซื้อตั้งแต่วันที่ 10 ธันวาคม 2559 มาแสดงประกอบการขออนุญาตในการรวมเป็นปริมาณ 3 ส่วนได้ ซึ่งจะทำให้ผู้ที่จำเป็นต้องใช้ข้าวสาลีในกรณีของกลุ่มผู้นำไปทำอาหารสัตว์ ก็จะไม่ตึงในเรื่องของจำนวนมากนัก

          โดยจำนวนผลผลิตข้าวโพดภายในประเทศ (เฉลี่ยปีละ 4.8-5.0 ล้านตัน) ที่สามารถรวบรวม เทียบกับส่วนที่ต้องการใช้ (เฉลี่ย 8.2-8.7 ล้านตันต่อปี) ในส่วนที่เกินกว่าผลผลิตภายในประเทศจะทำสัดส่วนได้เพียงแค่ 1.6 ต่อ 1 เท่านั้น ซึ่งเป็นไปตามที่คุณพรศิลป์ให้รายละเอียดไว้วันแถลงข่าวเมื่อ 18 กันยายน 2567 ที่สำนักงานของสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

          ในกรณีถ้าอนุญาตให้นำหลักฐานการซื้อเป็นปีต่อปี จะเป็นการเอื้อให้กับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่คาดว่ามีการลักลอบนำเข้าบางส่วนจากเมียนม่าร์ ที่มีการนำเข้ารวมทั้งหมดต่อปีโดยเฉลี่ย 1.5 ล้านตัน (โดยผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของประเทศเมียนมาร์ อยู่ที่ประมาณ 3 ล้านตันต่อปี โดยเป็นการขายให้กับประเทศไทย 50% ของผลผลิตภายในประเทศในแต่ละปี)

          โดยมาตรการ 3 ต่อ 1 สื่อทั่วไป ตั้งข้อสังเกตว่าเป็นมาตรการที่เอื้อให้กับพ่อค้า ผู้รวบรวมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศ ในการกำหนดราคาจำหน่ายหน้าโรงงานอาหารสัตว์ที่ไม่เป็นไปตามโครงสร้างการหักลดน้ำหนักตามช่วงความชื้น ซึ่งทำให้ราคาที่รับซื้อจากเกษตรกรที่มีความชื้นระดับ 30% จนถึงหน้าโรงงานอาหารสัตว์ที่มีความชื้นอยู่ในระดับไม่เกิน 14.5% มีผลต่างที่เกิดขึ้นประมาณ 3-4 บาทต่อกิโลกรัม  ซึ่งเมื่อเทียบกับตามประกาศของกรมการค้าภายในใน เรื่อง ของการหักลดน้ำหนักตามช่วงความชื้นจะมีความแตกต่างของราคาจากความชื้น 30% จนถึง 14.5% ประมาณไม่เกิน 1.70 บาทต่อกิโลกรัมเท่านั้น

          ซึ่งประเด็นดังกล่าว สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติเตรียมยกหารือ กับ รัฐมนตรีพาณิชย์ และอธิบดีกรมการค้าภายในคนใหม่ จึงไม่เหมาะสมที่จะไปตกลงอะไรในช่วงนี้ เพราะผลกระทบจะเกิดกับภาคอาหารสัตว์ กับ ปศุสัตว์ทั้งระบบ

          กรณีการออกระเบียบกระทรวงพาณิชย์ฉบับใหม่ ถ้าหากมีการตกลงในเรื่องของการอนุญาตให้ใช้หลักฐานการซื้อปีต่อปี ก็จะถือว่าเป็นมติของคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่จะนำไปออกระเบียบดังกล่าว ซึ่งจะเป็นระเบียบที่บังคับแทนฉบับปัจจุบัน

          โดยการอนุญาตให้ใช้หลักฐานการซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศแบบปีต่อปี จะไม่มีความเหมาะสมตามเหตุผลดังกล่าวข้างต้น เนื่องจากกลุ่มอาหารสัตว์และภาคปศุสัตว์ให้ความร่วมมือด้วยดีเสมอมาในเรื่องของการรับซื้อข้าวโพดจากเกษตรกรตั้งแต่ 8 บาท จนถึง 9 บาทต่อกิโลกรัม และปัจจุบันมีการตกลงกันที่จะให้ราคาที่กิโลกรัมละ 9.8 บาท ต่อผู้รวบรวม ซึ่งคุณพรศิลป์ก็ได้ให้รายละเอียดไว้เมื่อวันที่ 18 กันยายนดังกล่าว เช่นกัน

Visitors: 470,979