Fermented Rapeseed Meal

การศึกษา: ประโยชน์ของอาหารเรพซีดหมักต่อสุกรที่กำลังเติบโต

จากการวิจัยของจีนพบว่าอาหารเรพซีดหมักมีผลในเชิงบวกต่อการปรับปรุงประสิทธิภาพการเจริญเติบโตและสุขภาพลำไส้ของสุกรที่กำลังเติบโต

          การวิจัยอ้างถึงผลการศึกษาล่าสุดอาจช่วยพัฒนาแหล่งโปรตีนใหม่สำหรับโภชนาการสัตว์ และอุตสาหกรรมอาหารสัตว์         การศึกษาที่ดำเนินการโดยสถาบันโภชนาการสัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรเสฉวนทำการทดสอบกับสุกรขุน 30 ตัว โดยทำการสุ่มตัวอย่าง 3 แนวทางโภชนาการ:

  • อาหารกากข้าวโพด-ถั่วเหลือง (CSD)
  • อาหารที่มีเมล็ดเรพซีด (RSD)
  • อาหารที่มีเมล็ดเรพซีดหมัก (FRSD)

น้ำหนักและ ADG เพิ่มขึ้น

          ผลการวิจัยพบว่าเมื่อเปรียบเทียบกับ RSD การให้อาหาร FRSD จะเพิ่มค่า ADG กับค่าเฉลี่ยรายวัน และน้ำหนักตัวสุดท้ายในสุกรเพิ่มขึ้น (P<0.01) เมื่อเปรียบเทียบกับการให้อาหาร RSD การให้อาหาร FRSD ช่วยเพิ่มความสามารถในการย่อยได้ของโปรตีนหยาบ ย่อยเยื่อใยต่างๆ ที่สามารถละลายได้ใน สารละลายที่เป็นกลาง และสารสกัดสารประกอบอินทรีย์ในสุกร (P<0.01)

การย่อยได้ของลำไส้เล็กส่วนปลาย

          กลุ่ม FRSD แสดงความสามารถในการย่อยได้ของลำไส้เล็กส่วนปลาย ที่ชัดเจนมากขึ้นของ ฮิสทิดีน (Histidine)เธรโอนีน (Threonine)ไลซีน (Lysine)  และซีรีน (Serine-Ser-S) มากกว่ากลุ่ม RSD (P<0.01)พลังงานที่ย่อยได้ พลังงานเมตาบอลิซึม และการใช้ไนโตรเจนในกลุ่ม FSRD และ CSD สูงกว่ากลุ่ม RSD (P<0.01)

กิจกรรมของเอนไซม์

          เมื่อเปรียบเทียบการให้อาหาร RSD กับ FRSD ลดความเข้มข้นซีรั่มของเลปติน แต่เพิ่มความเข้มข้นของอิมมูโนโกลบูลิน (IG)A IgC  IgM และเพิ่มการทำงานของเอนไซม์อะไมเลส ไลเปส และทริปซินในตับอ่อนอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05)

ความสูงของวิลลัส

          นักวิจัยพบว่าความสูงของวิลลัส อัตราส่วนของความสูงของวิลลัสต่อต่อความกว้างของฐานวิลไล และกิจกรรมของ เอนไซม์ที่ผลิตในลำไส้เล็ก เพื่อย่อยสลายโมเลกุลของอาหารเป็นครั้งสุดท้าย เช่น มอลเทสและซูคราส ในลำไส้เล็กในกลุ่ม CSD และ FRSD สูงกว่าในกลุ่ม RSD (P<0.05)

สุขภาพลำไส้

          เมื่อเปรียบเทียบการให้อาหาร RSD กับ  FRSD ไม่เพียงแต่เพิ่มระดับการแสดงให้เห็นถึงการเชื่อมรอยต่อระหว่างเซลล์เข้าไว้ด้วยกัน ในเยื่อบุผิวของลำไส้เล็ก (P<0.05) แต่ยังยกระดับการแสดงออกของยีน SGLT1 และ CAT1 ในลำไส้เล็กส่วนต้น (P<0.05)

          ภาวะลำไส้รั่ว” เกิดจากการใช้งานของลำไส้เล็ก อาจส่งผลทำให้เซลล์ย้วย หรือห่างออกจากกันได้ จึงต้องมีกลไกเพื่อเชื่อมรอยต่อระหว่างเซลล์เข้าไว้ด้วยกัน จึงมีโมเลกุลโปรตีนหลายชนิด เช่น occludin, claudins, junctional adhesion molecules และ tricellulin ทำหน้าที่ซีลรอยต่อระหว่างสองเซลล์ที่อยู่ข้างกัน จึงเกิดเป็นโครงสร้างที่เรียกว่า ‘Tight junction’ ขึ้น โครงสร้างนี้ทำให้เซลล์เยื่อบุผนังลำไส้แต่ละเซลล์เรียงตัวชิดติดกันอย่างแนบแน่น หากเปรียบเทียบคล้ายกับพรมชิ้นเล็ก ๆ ที่ถูกเย็บติดไว้ด้วยกันอย่างแน่น บทบาทของโครงสร้าง Tight junction คือ ควบคุมการผ่านเข้าออกของสารต่าง ๆ (Intestinal permeability) เช่น น้ำและอาหารที่ย่อยเสร็จแล้ว ทำหน้าที่เสมือนเป็นปราการป้องกัน (intestinal epithelial barrier) ไม่ให้สารพิษ เชื้อก่อโรค สิ่งแปลกปลอมผ่านรอยต่อระหว่างเซลล์เข้าไปสู่กระแสเลือดได้โดยตรง

ระดับ E-coli

          และที่สำคัญ การให้อาหาร FRSD ช่วยลดระดับของ Escherichia Coli ได้อย่างมีนัยสำคัญ แต่เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของแลคบาซิลลัสและส่วนประกอบของ butyrate ในซีคัมและลำไส้ใหญ่ (P<0.05)

ที่มา :  Journal of Animal Nutrition

Visitors: 397,164