Parliament Pig Cost

สมาคมหมูเตรียมจี้อนุกรรมาธิการรัฐสภา สานต่อข้อเสนอแก้ปมส่วนต่างข้าวโพดเกินควร ทำภาคอาหารสัตว์ ปศุสัตว์แบกต้นทุนการเลี้ยงยาวนาน

7 กุมภาพันธ์ 2566 สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ - สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติเตรียมส่งหนังสือทวงถามอนุกรรมาธิการรัฐสภา หลังขอข้อเสนอให้สมาคมฯ แนะนำแนวทางแก้ปัญหาต้นทุนการผลิตสุกรที่สูงขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 โดยเน้นไปที่ส่วนต่างข้าวโพดอาหารสัตว์ที่สูงเกินควรอย่างยาวนาน ส่งผลให้ภาคอาหารสัตว์ ปศุสัตว์แบกต้นทุนการผลิตสูงเกินควรมากว่า 3 ปี

ตามที่กลุ่มผู้เลี้ยงได้รับเชิญให้เข้าร่วมประชุมหารือ กับ คณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาข้อเท็จจริงการแพร่ระบาดของโรค ASF ในสุกรฯ  เมื่อวันจันทร์ ที่ 19 กันยายน 2565 เวลา 11.00-15.00 น. ห้องประชุมกรรมาธิการ CA411 อาคารรัฐสภา ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย

  1. คุณสกล เหนียนเฉลย รองประธานอนุกรรมาธิการ คนที่ 1 ประธานการประชุม
  2. คุณพลวัฒน์ ศรีเรืองสุข อนุกรรมาธิการ
  3. คุณสุวรรณา สายรวมญาติ อนุกรรมาธิการ
  4. คุณนพณัฐ มีรักษา อนุกรรมาธิการ
  5. น.สพ.นพพร วายุโชติ ที่ปรึกษา
  6. ผศ.น.สพ.คัมภีร์ กอธีระกุล ที่ปรึกษา
  7. สพ.ญ.นพวรรณ บัวมีธูป ผู้แทนกรมปศุสัตว์ – ออนไลน์
  8. คุณศักดิ์ชาย ตัวแทนจากกลุ่มผู้ประกอบการร้านอาหาร – ออนไลน์
  9. คุณนิพัฒน์ เนื้อนิ่ม นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรจังหวัดราชบุรี
  10. คุณสุนทราภรณ์ สิงห์รีวงศ์ นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคเหนือ
  11. คุณปรีชา กิจถาวร นายกสมาคมการค้าผู้เลี้ยงสุกรภาคใต้
  12. ดร.พิทยา สุนทรประเวศ ผู้แทนสมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  13. น.สพ.วรวุฒิ ศิริปุณย์, คุณสมพร, คุณอานัน ผู้แทนสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ

 

ในการประชุมดังกล่าว ผู้แทนจากกลุ่มผู้เลี้ยงสุกรได้เสนอแนวทางแก้ปัญหาเพื่อลดต้นทุนการผลิตสุกรไป 3 แนวทาง ลักษณะเดียวกับแนวทางที่กระทรวงพาณิชย์ โดยมติคณะรัฐมนตรี เคยใช้กับภาคอาหารสัตว์เมื่อกลางปี 2565

โดยสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติจะทวงคำตอบมุ่งเน้นไปที่ปัญหาราคาข้าวโพดอาหารสัตว์ที่เกษตรกรขายได้ ในช่วงประชุม(19 กันยายน 2565)ชี้แจงมีราคาเกินกว่าราคาประกันของรัฐบาลเพียงเล็กน้อยที่ 8.60 บาทต่อกิโลกรัม ในขณะที่ราคาข้าวโพดหน้าโรงงานอาหารสัตว์อยู่ในระดับเฉลี่ย 11.75 บาทต่อกิโลกรัม(19 กันยายน 2565https://www.cpffeed.com/material4/ )   

  

ปัจจุบันราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ภายในประเทศยังคงสูงต่อเนื่อง โดยสัปดาห์ล่าสุด (6 กุมภาพันธ์ 2566 https://www.oae.go.th/ ราคาสินค้ารายวัน)อยู่ที่ 13.60 บาทต่อกิโลกรัม(ความชื้นไม่เกิน 14.5%) ในขณะที่ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ (6 กุมภาพันธ์ 2565 https://www.oae.go.th/ ราคาสินค้ารายวัน)อยู่ที่กิโลกรัมละ 9.50 บาทต่อกิโลกรัม(ความชื้นไม่เกิน 30%) โดยผู้เลี้ยงสุกรให้ข้อมูลว่ากระบวนการลดความชื้นให้ไม่เกิน 14.50% และส่วนกำไรของผู้รวบรวมไม่ควรเพิ่มขึ้นมาเกิน 1.0 บาทต่อกิโลกรัม แต่ปัจจุบันต่างกันถึง 4.0 บาทต่อกิโลกรัม โดยถ้าอิงจำนวนผลผลิตข้าวโพดทั้งประเทศที่ 5 ล้านตันต่อปี เท่ากับภาคปศุสัตว์มีภาระต้นทุนเพิ่มเกินควรถึง 15,000 ล้านบาทต่อปี(3.00 บาท x 5,000,000,000 กิโลกรัม) ที่ส่วนหนึ่งจะไปเป็นภาระผู้บริโภค โดยตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมา กระทรวงพาณิชย์มีนโยบายสร้างปัจจัยบวกต่อราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อย่างต่อเนื่อง โดยโครงสร้างราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ ณ ปัจจุบัน ราคาข้าวโพดหน้าโรงงานอาหารสัตว์ ควรจะอยู่ที่ 10.50-11.00 บาทต่อกิโลกรัม ไม่ใช่ 13.40-13.60 บาทต่อกิโลกรัมที่เป็นภาระเกินควรในปัจจุบัน ขณะที่ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หน้า Trading Monitor ปัจจุบันในตลาดหลักของโลก(CBOT) คิดเป็นเงินบาทอยู่ที่ 8.70-9.00 บาทต่อกิโลกรัม  

สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติเร่งเกาะติดทุกการประชุม ให้ได้ผลเป็นรูปธรรมเพื่อประโยชน์ที่ไม่เหลื่อมล้ำและเป็นธรรมของทุกฝ่ายตลอดห่วงโซ่ เพื่อประสิทธิภาพทุกการประชุมที่ใช้งบประมาณแผ่นดิน และค่าใช้จ่ายของสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติให้สูงที่สุด ตามนโยบายของนายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ปี 2566 โดยจะส่งหนังสือทวงถามแนวทางแก้ปัญหา หรือ ส่งต่ออย่างไรกับหน่วยงานรัฐที่รับผิดชอบโดยตรง กับ คณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาข้อเท็จจริงการแพร่ระบาดของโรค ASF ในสุกรฯ ภายในสัปดาห์นี้

Visitors: 397,167