Corn Wheat 3 1 2559

สมาคมหมูยื่นขอรับความการสนับสนุนด้านการเงินช่วยเหลือฟาร์มและปรับโครงสร้างการจัดหาวัตถุดิบอาหารสัตว์ เพื่อการบริหารต้นทุนการเลี้ยงสุกร

 

25 พฤศจิกายน 2564 กระทรวงพาณิชย์ – กรรมการสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติยื่น 3 ข้อผ่านรองจุรินทร์ ขอรับความการสนับสนุนช่วยลดภาระดอกเบี้ยจ่าย เงินทุนฟื้นฟูฟาร์ม (Reborn) และปรับโครงสร้างการจัดหาวัตถุดิบอาหารสัตว์ เพื่อการบริหารต้นทุนการเลี้ยงสุกร และภาคปศุสัตว์ทั้งระบบ

 

            คุณสุรชัย สุทธิธรรมนายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติพร้อมกรรมการประกอบด้วย คุณอนุเดช เชี่ยวชาญวลิชกิจ อุปนายก น.สพ.วิวัฒน์ พงษ์วิวัฒนชัย อุปนายก คุณวันชัย อัศวพันธุ์นิมิต กรรมการและประชาสัมพันธ์ ในฐานะเป็นตัวแทนเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรทั่วประเทศ ได้ประเมินสภาพการเลี้ยงสุกรในปัจจุบัน ผู้เลี้ยงสุกรมีความเสี่ยงต่อโรคอุบัติใหม่ในสุกรในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้ผู้เลี้ยงต้องประสบกับภาวะขาดทุนจากโรคระบาด และภาวะขาดทุนจากราคาสุกรตกต่ำในช่วงกว่า 8 เดือน ที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลต่อสภาพคล่องทางการเงิน และการถูกจำกัดสินเชื่อจากสถาบันการเงิน ทั้งวงเงินที่มีอยู่แล้ว และการขอเครดิตใหม่ มีความเข้มงวดมากขึ้น โดยปัจจุบันสถาบันการเงินจัดระดับอาชีพการเลี้ยงสุกรเป็นอาชีพที่มีความเสี่ยงสูง ทำให้ผู้เลี้ยงสุกรที่ประสบปัญหาภาวะขาดทุน ส่วนหนึ่งต้องออกจากธุรกิจไป ในขณะที่บางส่วนยังสามารถดำเนินธุรกิจต่อได้

 

          สมาคมจึงยื่นของการสนับสนุนการประกอบอาชีพการเลี้ยงสุกรในปัจจุบันผ่านคุณจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ดังต่อไปนี้

 

 

  1. ขอรับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรเพื่อลดภาระดอกเบี้ยจ่าย ร้อยละ 3 จากอัตราดอกเบี้ยที่สถาบันการเงินคิดกับเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร เป็นระยะเวลา 6 เดือน โดยพิจารณาให้กับผู้เข้าร่วมโครงการเชื่อมโยงข้าว เพื่อเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์เป็นลำดับแรก และเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรทั่วไปเป็นลำดับถัดไป
  2. กรณีการกลับมาประกอบอาชีพการเลี้ยงสุกรใหม่ ในผู้เลี้ยงสุกรรายที่ได้รับผลเสียหายจากโรคระบาด เป็นสินเชื่อ หรือเงินช่วยเหลือแบบมีระยะเวลา สำหรับเงินทุนหมุนเวียนที่จะประกอบอาชีพอีกครั้ง
  3. ขอให้พิจารณาสัดส่วนการจัดซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศ 3 ส่วน เพื่อได้สิทธิ์ในการนำเข้าข้าวสาลี 1 ส่วนโดยน้ำหนัก เพราะปัจจุบันผลผลิตข้าวโพดภายในประเทศมีความสามารถผลิตได้ไม่เกิน 60% ของความต้องการใช้ในภาคปศุสัตว์ทั้งหมด โดยสัดส่วนความต้องการใช้ในภาคการเลี้ยงสุกรประมาณ 30% ของผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศ จึงขอให้พิจารณาโครงสร้างที่เหมาะสม คือ ซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ภายในประเทศ 1.5 ส่วน เพื่อได้รับสิทธิ์ในการนำเข้าข้าวสาลี 1 ส่วนโดยน้ำหนัก  เนื่องจากผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ภายในประเทศปัจจุบันทำได้ประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ของความต้องการการใช้ทั้งหมด ซึ่งสอดคล้องกับสัดส่วน 1.5 ต่อ 1  จะทำให้การบริหารแหล่งวัตถุดิบในวงการอาหารสัตว์และปศุสัตว์มีความยืดหยุ่นในการจัดการต้นทุนได้ดีขึ้นโดยไม่กระทบเกษตรกรพืชอาหารสัตว์ภายในประเทศ

3 ต่อ 1 ข้าวโพด ต่อ ข้าวสาลี กับตัวเลขจริงเพียง 1.5 : 1 ที่ต้องปรับเปลี่ยนก่อนภาคปศุสัตว์แบกต้นทุนอาหารสัตว์ตายหมด

          หลังสมาพันธ์ปศุสัตว์และสัตว์น้ำออกข่าวผ่านสื่อสาธารณะจี้กระทรวงพาณิชย์ทบทวนระเบียบกระทรวงพาณิชย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการขออนุญาตและการอนุญาตให้นำข้าวสาลีเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๙ ใหม่ ให้สอดคล้องกับสภาพผลผลิตผลิตที่เกิดขึ้นจริงของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในปัจจุบัน ที่กดดันต้นทุนอาหารสัตว์ไปถ้วนหน้าทั้งไก่เนื้อ ไก่ไข่ สุกร ที่ใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นหลัก  กับการสร้างปัจจัยบวกให้ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ขึ้นแล้วขึ้นอีกในปัจจุบัน จากปัจจุบันตามระเบียบซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศ 3 ส่วน สามารถได้สิทธิ์นำเข้าข้าวสาลีได้ 1 ส่วน โดยน้ำหนัก ที่สมาพันธ์ขอให้ปรับปรุงเป็นสัดส่วน 1.5 : 1 ที่สะท้อนความเป็นจริงตั้งแต่ออกระเบียบจนถึงปัจจุบัน    

          กลุ่มสุกรขาดทุนจากการแบกภาระต้นทุน 7-8 เดือน ขาดทุนไปทั้งประเทศ มูลค่า 8,000-10,000 ล้านบาท ในขณะที่ราคาหน้าฟาร์มลดต่ำลงจากความต้องการบริโภคต่ำจากพิษโควิดในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งช่วงวันพระที่ผ่านมากลุ่มผู้เลี้ยงสุกรเริ่มขายได้ราคาหลังถูกนำราคาสุกรหน้าฟาร์มพื้นที่เสี่ยงขายขาดทุนมากดดันราคาสุกรทั่วไป

          ระเบียบกระทรวงเป็นการบังคับใช้กับผู้นำเข้าข้าวสาลี เพื่อคุ้มครองผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศ  แต่สัดส่วนที่กำหนดจะค้านกับตัวเลขผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศอย่างสิ้นเชิง ทำให้มีการแย่งซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพื่อได้สิทธิ์ในการนำเข้าข้าวสาลีเพื่อใช้กับส่วนที่ต้องใช้เพิ่มเติม ไม่ใช้นำมาใช้ทดแทนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่จะทำให้เกษตรกรข้าวโพดเสียหายแต่ประการใด

          ข้อเรียกร้องของสมาพันธ์ปศุสัตว์และสัตว์น้ำ มีอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ฤดูกาลที่มีการบังคับใช้หลังประกาศในยุคที่ นางอภิรดี ตันตราภรณ์  ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ โดยระเบียบกระทรวงพาณิชย์ ดังกล่าวออกตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้ข้าวสาลีเป็นสินค้าที่ต้องขออนุญาตและต้องปฏิบัติตามมาตรการจัดระเบียบในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙ กำหนดให้ข้าวสาลีเป็นสินค้าที่ต้องขออนุญาตในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร

                ความเสียหายในกลุ่มปศุสัตว์คงไม่ต้องตอกย้ำเพราะตลอด 2 เดือนที่ผ่านมา มีการออกข่าวเป็นจำนวนมากจนสังคมรับทราบปัญหา จึงขอแสดงตัวเลขอัตราส่วนที่เกิดขึ้นจริงว่า ทำไมสมาพันธ์จึงขอให้สัดส่วนใหม่ควรเป็น 1.5 : 1 กับข้อสงสัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทำไมรัฐจึงมีมาตรการพยุงราคาสารพัด

ตารางเปรียบเทียบสัดส่วนของผลผลิตจริง กับ ส่วนที่ขาด เทียบระเบียบกระทรวง 3 ต่อ 1 ของกรมการค้าต่างประเทศที่ใช้กันมา 5 ปี

             

        จากตารางจะเห็นว่าสัดส่วนที่เหมาะสม คือ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 1.5 ส่วนต่อข้าวสาลี 1 ส่วน เพื่อปิดช่องโอกาสนำข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากประเทศรอบบ้านมาสวมสิทธิ์โดยมิชอบ สร้างภาระให้ภาคปศุสัตว์

         จากระเบียบกระทรวงพาณิชย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการขออนุญาตและการอนุญาตให้นำข้าวสาลีเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๙ จะมีบางช่วงที่ระเบียบยืดหยุ่นให้ลงสัดส่วน ข้าวโพดต่อข้าวสาลีลงเหลือ 2 : 1 ในช่วงข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ออกสู่ตลาดน้อย แต่ตัวเลขที่สะท้อนผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ภายในประเทศคำนวณอย่างไร มันก็ไม่ได้ ซึ่งสร้างปัญหาให้ห่วงโซ่อาหารของไทยเป็นอย่างยิ่ง รีบแก้ไขก่อนจะเป็นการสร้างอุปสรรคต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ ก่อหนี้สินภาคเกษตรที่จะไปกดดันหนี้สินภาคครัวเรือนกันไปเรื่อยๆ 

 

Visitors: 397,158