พลาสมาโปรตีนชนิดสเปรย์ดราย เสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคและลดอัตราการตายในลูกหมู

พลาสมาโปรตีนชนิดสเปรย์ดราย เสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคและลดอัตราการตายในลูกหมู

บทความโดย น.สพ.วัชรวรัชญ์  จันทร์จริยากุล
ผู้จัดการฝ่ายขายและวิชาการ – ประจำภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, APC
Tel 081-804-4522

พลาสมาโปรตีนชนิดสเปรย์ดราย ซึ่งสกัดจากเลือดหมูถูกใช้เป็นวัตถุดิบผสมในอาหารลูกหมูเลียราง และลูกหมูอนุบาล เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคและลดอัตราการตายของลูกหมู รวมถึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโตและอัตราการกินได้ของลูกหมูในช่วงหย่านมซึ่งเป็นช่วงสำคัญในการเลี้ยงหมู โดยพลาสมาโปรตีนชนิดสเปรย์ดรายได้รับเลือกเป็นอันดับที่ 6 ขอบการค้นพบที่สำคัญที่สุดในด้านโภชนาการของหมูในช่วง 100 ปีที่ผ่านมาจาก 10 อันดับแรกของโลกในการประชุมครบรอบ 100 ปีของสมาคมสัตวบาลแห่งสหรัฐอเมริกา (American Society of Animal Science : ASAS) แต่สถานการณ์โรคระบาดในหมูที่กำลังแพร่กระจายในภูมิภาคเอเชียก่อให้เกิดคำถามจากผู้เลี้ยงหมูว่าผลิตภัณฑ์สกัดจากหมูมีความปลอดภัยจากเชื้อโรคต่างๆ หรือไม่ หากนำมาผสมในอาหารหมูจะสามารถไว้วางใจได้อย่างไรว่า ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ไม่เป็นพาหะนำเชื้อโรคสู่หมูในฟาร์ม

          บทความนี้แสดงกรรมวิธีและกระบวนการผลิตพลาสมาโปรตีนชนิดสเปรย์ดราย เพื่อไขข้อสงสัยเรื่องความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์จากเชื้อโรคในหมูและไม่เป็นพาหะนำโรคสู่หมูในฟาร์ม

ทำไมพลาสมาโปรตีนชนิดสเปรย์ดราย จึงได้รับการรับรองจากกรมปศุสัตว์ไทยและ องค์กรด้านอาหารระหว่างประเทศให้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ปลอดภัยและไม่เป็นพาหนะนำโรค

          พลาสมาโปรตีนชนิดสเปรย์ดรายผ่านกรรมวิธีการผลิตตามมาตรฐานและข้อกำหนดขององค์กรโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (World Organization for Animal Health : WHO หรือ Office International des Epizooties : OIE) และได้รับการรับรองจากองค์กรด้านอาหารระหว่างประเทศ ได้แก่ องค์การความปลอดภัยของอาหารแห่งยุโรป (European Food Safety Authority : EFSA) สมาคมผู้ผลิตโปรตีนจากสัตว์แห่งยุโรป (European Animal Protein Association : EAPA), และสมาคมผู้ผลิตผลิตภัณฑ์สกัดจากเลือดสัตว์ชนิดสเปรย์ดรายแห่งสหรัฐอเมริกา (North America Spray-Dried Blood Products Producers Association : NASDBPP) รวมทั้งได้รับอนุญาตจากกรมปศุสัตว์ไทยให้ใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ได้อย่างปลอดภัย อ้างอิงเลขทะเบียนอาหารสัตว์เลขที่ 02 01 63 0083 นอกจากนี้โรงงานและกระบวนการผลิตพลาสมาโปรตีนในประเทศผู้ผลิตยังผ่านการตรวจสอบโดยกรมปศุสัตว์ไทยอีกด้วย

          จากการศึกษาและทดสอบผสมพลาสมาโปรตีนชนิดสเปรย์ดายในอาหารหมูที่ไวต่อการติดเชื้อเป็นเวลา 7 ถึง 45 วัน พบว่า พลาสมาโปรตีนชนิดสเปรย์ดรายซึ่งผ่านการตรวจ PCR แสดงผลเป็นบวกต่อเชื้อไวรัสหลายชนิดในปริมาณสูง จากผลการตรวจเชื้อแสดงให้เห็นว่าไม่พบการติดเชื้อหรือก่อให้เกิดโรคในหมู ดังตารางที่ 1

ตารารงที่ 1 ผลการใช้พลาสมาโปรตีนชนิดสเปรย์ดรายผสมในอาหารหมูที่ไวต่อการติดเชื้อและตรวจด้วย PCR แสดงผลเป็นบวกต่อเชื้อไวรัสในหมู ไม่พบการติดเชื้อหรือก่อให้เกิดโรคในหมู

          นอกจากนี้ กระบวนการผลิตพลาสมาโปรตีนชนิดสเปรย์ดรายผ่านกรรมวิธี ทำให้พลาสมาแต่ละหยดแห้งที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส ความร้อนกระจายทั่วถึงแกนกลางของสารหรือวัตถุดิบ ซึ่งขั้นตอนนี้มีประสิทธิภาพ ยับยั้งเชื้อไวรัสในหมูได้หลายชนิด

          จากการศึกษาของ Elena Blazquez และคณะ โดยการใช้รังสี UV-C ที่ระดับความเข้มที่ 3000 J/L กับ พลาสมาเหลวที่สกัดจากเลือดหมูพบว่า กระบวนการดังกล่าวสามารถยับยั้งเชื้อไวรัสโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African Swine Fever Virus : ASFV) ได้มากกว่า 4Log10 TCID50/ mL และกรรมวิธีสเปรย์ดรายหรือการทำให้พลาสมาแห้งด้วยวิธีสเปรย์ที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส สามารถยับยั้งเชื้อไวรัสโรค ASF และเชื้อไวรัสอหิวาต์สุกร (Classical Swine Fever Virus : CSFV) ได้อย่างน้อย 4Log10 TCID50/ mL ซึ่งการผสมผสานเทคโนโลยี UV-C ร่วมกับกรรมวิธีสเปรย์ดรายทำให้พลาสมาโปรตีนชนิดสเปรย์ดรายปลอดภัยจากเชื้อโรคหมูต่างๆ (Blazquez et. al,2021) ผู้เลี้ยงหมูจึงมั่นใจได้ว่าพลาสมาโปรตีนชนิดสเปรย์ดรายมีความปลอดภัยจากเชื้อโรคในหมูตามาตรฐานและข้อกำหนดของ OIE ดังตารางที่ 2

ตารางที่ 2 ผลการตรวจสอบการยับยั้งเชื้อไวรัสในหมูของกระบวนการผลิตสเปรย์ดรายที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส

กระบวนการผลิตพลาสมาโปรตีนชนิดสเปรย์ดรายมีประสิทธิภาพยับยั้งเชื้อไวรัสในหมูและไม่เป็นพาหนะนำเชื้อสู่หมูในฟาร์ม

          สมาชิกของสมาคมผู้ผลิตโปรตีนจากสัตว์แห่งยุโรป (EAPA) และสมาคมผู้ผลิตผลิตภัณฑ์สกัดจากเลือดสัตว์ชนิดสเปรย์ดรายแห่งสหรัฐอเมริกา (NASDBPP) ที่เป็นตัวแทนของผู้ผลิตมากกว่า 65% ทั่วโลก ได้พัฒนากระบวนการขั้นตอนการผลิตให้เป็นไปตามแนวทางขององค์การอนามัยโลก (WHO) ในการยับยั้งและกำจัดไวรัส โดยแนวทางขององค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดแนวทางเสริมในระหว่างการผลิตเพื่อความปลอดภัยจากไวรัส 3 ขั้นตอนดังนี้

          1.  การคัดเลือดวัสดุดิบ วัตถุดิบถูกคัดสรรและเก็บจากสัตว์สุขภาพดีที่ผ่านการเชือดในโรงฆ่าสัตว์เชิงพาณิชย์ ซึ่งผ่านการตรวจสอบและได้รับการรับรองจากองค์กรปศุสัตว์ของประเทศผู้ผลิต และมีความเหมาะสมสำหรับการเชือดเพื่อการบริโภคของมนุษย์ นอกจากนี้ ยังได้รับการตรวจสอบอย่างเป็นทางการจากสัตวแพทย์ว่า วัตถุดิบไม่มีการปนเปื้อนเชื้อโรคหรือเก็บจากสัตว์ป่วยที่มีอาการทางคลีนิคหรือสัตว์ในพื้นที่ที่มี่รายงานการระบาดของโรคในหมูภายใต้ข้อกำหนดของ OIE เช่นโรคอหิวาต์สุกรสายพันธุ์แอฟริกัน (African Swine Fever : ASF), โรคอหิวาต์สุกร (Classical Swine Fever : CSF) หรือโรคปากและเท้าเปื่อย (Food and Mouth Disease : FMD) เป็นต้น

          2.  การตรวจสอบพลาสมาภายหลังขั้นตอนการคัดสรรและจัดเก็บ ตัวอย่างพลาสมาทุกล็อตการผลิตจะถูกส่งไปวิเคราะห์เป็นประจำทุกวัน เพื่อรับประกันคุณภาพทางจุลชีววิทยาหรือเคมีกายภาพของผลิตภัณฑ์ตามข้อกำหนดและกฎระเบียบขององค์กรระหว่างประเทศที่แตกต่างกันทั่วโลก นอกจากนี้ พลาสมาโปรตีนยังผ่านการวิเคราะห์ PCR เพื่อรับรองว่าไม่มีการปนเปื้อนจากสัตว์ชนิดอื่นหรือเชื้อโรคในสัตว์ในผลิตภัณฑ์ โดยการคัดสรรและจัดเก็บพลาสมาปฏิบัติตามขั้นตอนด้านความปลอดภัยต่างๆ ได้รับการยอมรับแบบเดียวกับการผลิตพลาสมาสำหรับมนุษย์

          3.  เทคโนโลยีการยับยั้งและการกำจัดเชื้อไวรัสในพลาสมาโปรตีน กระบวนการผลิตพลาสมาโปรตีนชนิดสเปรย์ดรายด้วยกรรมวิธี ทำให้พลาสมาแต่ละหยดแห้งที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส ความร้อนกระจายทั่วถึงแกนกลางของสารหรือวัตถุดิบทั้งหมดของพลาสมา เป็นไปตามมาตรฐานและข้อปฎิบัติของสหภาพยุโรปที่ 2002/99/EC ซึ่งตระหนักถึงเนื้อสัตว์เพื่อการบริโภคของมนุษย์ว่าการให้ความร้อนที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส อย่างทั่วถึงทั้งหมดเป็นขั้นตอนที่มีประสิทธิภาพยับยั้งเชื้อไวรัสได้หลายชนิด “ทั่วถึงทั้งหมด” หมายถึง การทำให้อุณหภูมิที่กำหนดกระจายไปทั่วจนถึงแกนกลางของสารหรือวัตถุดิบนั้น พลาสมาที่ทำให้แห้งด้วยกรรมวิธีสเปรย์ที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียสทั่วถึงทั้งหมด หมายความว่าพลาสมาเหลวแต่ละหยดมีอุณหภูมิถึง 80 องศาเซลเซียส และได้รับความร้อนอย่างถั่วถึงและมีประสิทธิภาพ สร้างความมั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์ที่ได้นั้นมีความปลอดภัยจากเชื้อโรคที่สอดคล้องกับข้อกำหนดของ WHO/OIE ซึ่งระบุให้กระบวนการผลิตต้องมี 1 ขั้นตอนที่สามารถยับยั้งไวรัสที่ไม่มีเปลือกหุ้ม (non-enveloped viruses) หรือ 2 ขั้นตอนที่สามารถยับยั้งเชื้อไวรัสที่มีเปลือกหุ้ม (enveloped viruses) ได้

          พลาสมาโปรตีนชนิดสเปรย์ดรายจึงได้รับการยอมรับให้เป็นวัตถุดิบผสมอาหารสัตว์ที่ปลอดภัยจากเชื้อโรคในหมูและ ไม่เป็นพาหะนำโรคสู่หมูในฟาร์ม ผู้เลี้ยงหมูจึงให้ความไว้วางใจใช้ผสมอาหารหมูเลียรางและหมูอนุบาล เพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันโรค และลดอัตราการตายของลูกหมูในช่วงหย่านม นำไปสู่การเพิ่มอัตราการกินได้และเพิ่มประสิทธิภาพในการเจริญเติบโตของลูกหมู พลาสมาโปรตีนชนิดสเปรย์ดรายนับเป็นทางเลือกในการลดการใช้ยาปฏิชีวนะ และทดแทนการใช้ซิงค์ออกไซด์เพื่อเป็นสารเสริมกระตุ้นการเจริญเติบโต โดยข้อมูลการใช้และผลการทดลองจะนำมาเสนอในบทความต่อไป

          สนใจข้อมูลผลิตภัณฑ์และการใช้พลาสมาโปรตีนชนิดสเปรย์ดรายในการเลี้ยงหมูและการผลิตอาหารสัตว์ ติดต่อบริษัท ยูนิฟาย ฟีด จำกัด ผู้แทนจำหน่ายในประเทศไทย เบอร์ติดต่อ 02-962-6440-1

ฝ่ายขายฟาร์ม : คุณนีรนันท์ 066-097-7703 อีเมล : unify.sales661@gmail.com

ฝ่ายขายโรงงานอาหารสัตว์และธุรกิจครบวงจร : คุณณรงค์เดชา 066-095-8588 อีเมล :unify.feed06@gmail.com

บทความอ้างอ้ง

  • Polo, Javier et al,2019, “SDPP is a Safe Feed Ingredient-Here is Why” PIG PROGRESS Volume 36, No2,p.20-22
  • Blazquez, Elena et al,2021, “Effect of Spray-Drying and Ultraviolet CRadiation as Biosafety Steps for CSFV and ASFV Inactivation in Porcine Plasma” PLOS ONE. Source available: https://doi.org/10.137/ jourmal.pone.0249935, Apr 28, 2021

ขอขอบพระคุณ สาส์นไก่ & สุกร ปีที่ 19 ฉบับที่ 218 เดือนกรกฎาคม 2564 หน้า 64-66

Visitors: 397,149