อธิบดีกรมปศุสัตว์ลงนามคำสั่ง Set up ระบบการตลาดนำการผลิตสุกร ตั้งคณะทำงาน 6 ภูมิภาคสร้างความยั่งยืนผู้เลี้ยงทุกขนาด
อธิบดีกรมปศุสัตว์ลงนามคำสั่ง Set up ระบบการตลาดนำการผลิตสุกร ตั้งคณะทำงาน 6 ภูมิภาคสร้างความยั่งยืนผู้เลี้ยงทุกขนาด
29 เมษายน 2562 กรมปศุสัตว์ – รองอธิบดีกรมปศุสัตว์เป็นประธานประชุมนำเสนอกรอบแนวคิดการบริหารจัดการพื้นที่การเลี้ยงสุกร 6 ภูมิภาค ตามนโยบายกระทรวงเกษตรฯ ใช้ประสงค์ให้การตลาดนำการผลิตในทุกๆ สินค้าเกษตรของประเทศ
นายสัตวแพทย์จีระศักดิ์ พิพัฒนพงศ์โสภณ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธานการประชุมการบริหารจัดการพื้นที่การเลี้ยงสุกร 6 ภูมิภาค สืบเนื่องจากที่ผ่านมาอุตสาหกรรมสุกรไทยมีการผลิตเป็น 6 ภูมิภาค มีสมาคม สหกรณ์ แต่ละภูมิภาคที่เข้มแข็งอยู่แล้ว จากนโยบายกระทรวงเกษตรหวังให้การเกษตรทุกแขนงของประเทศมีความมั่นคงยั่งยืน โดยการประชุมคณะทำงานการบริหารจัดการพื้นที่การเลี้ยงสุกร 6 ภาค ได้ริเริ่มเพื่อผลักดันในการประชุมเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2562 โดยมีคำสั่งกรมปศุสัตว์ ที่ 195/2562 วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562 เป็นคณะกรรมการที่ทำงานร่วมระหว่างภาครัฐและเอกชน อย่างมีรูปแบบชัดเจน ที่ประกอบไปด้วย ปศุสัตว์เขต/ปศุสัตว์จังหวัด/สหกรณ์และสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแต่ละภาค โดยคณะกรรมการบริหารจัดการพื้นที่การเลี้ยงสุกร 6 ภูมิภาค ที่ได้รับการแต่งตั้งตามประกาศประกอบด้วย
คณะกรรมการบริหารจัดการพื้นที่การเลี้ยงสุกร 6 ภูมิภาค
- นายสัตวแพทย์จีระศักดิ์ พิพัฒนพงศ์โสภณ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ ประธานกรรมการ
- ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ รองประธานกรรมการคนที่ 1
- ผู้อำนวยการสำนักควบคุมป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ รองประธานกรรมการคนที่ 2
- ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหรือผู้แทน กรรมการ
- ผู้อำนวยการสำนักกฎหมายหรือผู้แทน กรรมการ
- ปศุสัตว์เขต 1-9 หรือผู้แทน กรรมการ
- ผู้อำนวยการสำนักเทคโนโลยีชีวภัณฑ์สัตว์ หรือผู้แทน กรรมการ
- ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาพันธุ์สัตว์ หรือผู้แทน กรรมการ
- ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ หรือผู้แทน กรรมการ
- ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาอาหารสัตว์ หรือผู้แทน กรรมการ
- ผู้อำนวยการกองควบคุมอาหารและยาสัตว์ หรือผู้แทน กรรมการ
- นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ กรรมการ
- ผู้อำนวยการกองผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ หรือผู้แทน กรรมการ
- นายประยูร ครองยุติ นักวิชาการสัตวบาลชำนาญการพิเศษกองส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ กรรมการ
- นางวรางคณา โตรส เศรษฐกรชำนาญการ กองส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ กรรมการ
- นายสุขุม สนธิพันธ์ นายสัตวแพทย์ชำนาญการพิเศษ สำนักควบคุมป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ กรรมการและเลขานุการ
- นางสาวญาณิศา รัชดาภรณ์วานิช นักวิชาการสัตวบาลชำนาญการพิเศษ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ กองส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์
- นายสัตวแพทย์ชำนาญการพิเศษ/ชำนาญการ/ปฏิบัติการ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ สำนักควบคุมป้องกันและบำบัดโรคสัตว์
ให้คณะกรรมการดังกล่าวมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
1) จัดการข้อมูลในแต่ละภูมิภาคให้มีความถูกต้องครบถ้วน
2) กำหนดกรอบแนวทางในการบริหารจัดการการเลี้ยงสุกรเป็นรายภูมิภาค ติดตามและรายงานผลการดำเนินงานต่อกรมปศุสัตว์ทราบเป็นระยะ
3) ประสานงานให้ความช่วยเหลือ ประชาสัมพันธ์ เพื่อให้งานในพื้นที่ขับเคลื่อนอย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้หลักการตลาดนำการผลิต
4) ปฏิบัติงานอื่นๆตามที่ได้รับมอบหมาย
คณะทำงานบริหารจัดการพื้นที่การเลี้ยงสุกร 6 ภูมิภาค ประกอบด้วย
1. ภาคกลางตอนบน
1) ปศุสัตว์เขต 1 ประธานคณะทำงาน
2) ปศุสัตว์จังหวัดทุกจังหวัด ในพื้นที่สำนักงานปศุสัตว์เขต 1 คณะทำงาน
3) นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคกลางตอนบนเพื่อการค้า (จังหวัดสระบุรี) คณะทำงาน
4) ผู้อำนวยการส่วนส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ สำนักงานปศุสัตว์เขต 1 คณะทำงานและเลขานุการ
5) ผู้อำนวยการส่วนสุขภาพสัตว์ สำนักงานปศุสัตว์เขต 1 คณะทำงานและผู้ช่วยเลขานุการ
2. ภาคตะวันออก
1) ปศุสัตว์เขต 2 ประธานคณะทำงาน
2) ปศุสัตว์จังหวัดทุกจังหวัด ในพื้นที่สำนักงานปศุสัตว์เขต 2 คณะทำงาน
3) ประธานสหกรณ์ผู้เลี้ยงสุกรชลบุรี คณะทำงาน
4) ประธานกรรมการชุมนุมสหกรณ์การปศุสัตว์ภาคตะวันออก จำกัด คณะทำงาน
5) ผู้อำนวยการส่วนส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ สำนักงานปศุสัตว์เขต 2 คณะทำงานและเลขานุการ
6) ผู้อำนวยการส่วนสุขภาพสัตว์ สำนักงานปศุสัตว์เขต 2 คณะทำงานและ ผู้ช่วยเลขานุการ
3. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
1) ปศุสัตว์เขต 3 ประธานคณะทำงาน
2) ปศุสัตว์เขต 4 รองประธานคณะทำงาน
3) ปศุสัตว์จังหวัดทุกจังหวัด ในพื้นที่สำนักงานปศุสัตว์เขต 3 และเขต 4 คณะทำงาน
4) นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (จังหวัดชัยภูมิ) คณะทำงาน
5) ผู้อำนวยการส่วนส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ สำนักงานปศุสัตว์เขต 3 คณะทำงานและเลขานุการ
6) ผู้อำนวยการส่วนสุขภาพสัตว์ สำนักงานปศุสัตว์เขต 3 คณะทำงานและผู้ช่วยเลขานุการ
4. ภาคเหนือ
1) ปศุสัตว์เขต 5 ประธานคณะทำงาน
2) ปศุสัตว์เขต 6 รองประธานคณะทำงาน
3) ปศุสัตว์จังหวัดทุกจังหวัด ในพื้นที่สำนักงานปศุสัตว์เขต 5 และเขต 6 คณะทำงาน
4) นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคเหนือ (จังหวัดลำพูน) คณะทำงาน
5) ผู้อำนวยการส่วนส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ สำนักงานปศุสัตว์เขต 5 คณะทำงานและเลขานุการ
6) ผู้อำนวยการส่วนสุขภาพสัตว์ สำนักงานปศุสัตว์เขต 5 คณะทำงานและผู้ช่วยเลขานุก
5. ภาคตะวันตก
1) ปศุสัตว์เขต 7 ประธานคณะทำงาน
2) ปศุสัตว์จังหวัดทุกจังหวัด ในพื้นที่สำนักงานปศุสัตว์เขต 7 คณะทำงาน
3) ประธานสหกรณ์การเกษตรปศุสัตว์ราชบุรี จำกัด คณะทำงาน
4) นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรจังหวัดราชบุรี จำกัด คณะทำงาน
5) ผู้อำนวยการส่วนส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ สำนักงานปศุสัตว์เขต 7 คณะทำงานและเลขานุการ
6) ผู้อำนวยการส่วนสุขภาพสัตว์ สำนักงานปศุสัตว์เขต 7 คณะทำงานและผู้ช่วยเลขานุการ
6. ภาคใต้
1) ปศุสัตว์เขต 8 ประธานคณะทำงาน
2) ปศุสัตว์เขต 9 รองประธานคณะทำงาน
3) ปศุสัตว์จังหวัดทุกจังหวัด ในพื้นที่สำนักงานปศุสัตว์เขต 8 และเขต 9 คณะทำงาน
4) นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคเหนือ (จังหวัดพัทลุง) คณะทำงาน
5) ผู้อำนวยการส่วนส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ สำนักงานปศุสัตว์เขต 8 คณะทำงานและเลขานุการ
6) ผู้อำนวยการส่วนสุขภาพสัตว์ สำนักงานปศุสัตว์เขต 8 คณะทำงานและผู้ช่วยเลขานุการ
ให้คณะทำงานทั้ง 6 ภูมิภาค มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
- จัดทำข้อมูล โครงสร้างพื้นฐานการผลิต การแปรรูป การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการตลาด เช่น สถาบันเกษตรกร ฟาร์มมาตรฐาน GAP GFM ฟาร์มปลอดโรค โรงฆ่า สถานที่จำหน่าย และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
- บริหารจัดการแนวทางการเลี้ยงสุกรระดับพื้นที่ ในแต่ละภูมิภาค
- ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยให้มีผลตามคำสั่งกรมปศุสัตว์ ที่ 195/2562 นับตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562 เป็นต้นมา ซึ่งการดำเนินการตามคำสั่งดังกล่าวนี้ถือว่าเป็นโอกาสที่ดีของเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรทั่วไทย ที่จะต้องร่วมดำเนินการ ให้บรรลุตามกรอบแนวคิด
- การบริหารจัดการผลิตและการตลาดสุกร มีการจัดสรรอย่างเป็นธรรม
üผู้ประกอบการรายใหญ่ บริหารจัดการผลิตและตลาดในระดับชาติ
üสหกรณ์/ชุมนุม/สมาคมผู้เลี้ยงสุกร บริหารจัดการผลิตและตลาดในท้องถิ่น/ระดับภาค เพื่อความมั่นคงของอาชีพและความมั่นคงทางอาหารของชุมชน
เป้าหมายหลัก
- สร้างความเข้มแข็งแก่เกษตรกร/สหกรณ์/ผู้เลี้ยงสุกรรายย่อย
üมีภูมิคุ้มกันสามารถประกอบอาชีพ สร้างรายได้ โดยอยู่กับสังคมแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน
- สร้างความสมดุลการผลิตและการตลาดสุกรตลอดห่วงโซ่อุปทาน
üไม่มีปัญหา Over supply /ราคาสินค้าเป็นไปตามกลไกลการตลาด
üไม่มีปัญหาการตลาดแบบ Red ocean ที่แต่ละรายก็มุ่งเน้นจะเอาชนะคู่แข่งคนอื่นๆเพื่อที่จะแย่งชิงลูกค้ามาให้ได้มากที่สุด และทำให้ได้กำไรมากที่สุด
üมีความมั่นคงทางอาหาร/อาหารปลอดภัยของชุมชน
เศรษฐกิจแบ่งปัน (Sharing Economy)
- ตลาดธรรมาภิบาล = พลังของการแบ่งปันและความร่วมมือ
- แบ่งปันตามความชำนาญ
üสหกรณ์/ชุมนุม/สมาคม = ระบบการจัดการที่ดี
üเกษตรกร = ผลิตสินค้าที่มีมาตรฐาน เชื่อถือได้
üผู้บริโภค/ลูกค้า/Food service /Food industry ส่งต่อสินค้าสู่สังคม
- แบ่งปันผลประโยชน์หมุนเวียนในเศรษฐกิจชุมชน เพื่อผลทวีคูณต่อระบบเศรษฐกิจ (Multiplier effect)
Localization หรือ สนับสนุนการใช้ การบริโภค ภายในจังหวัด หรือ ในท้องถิ่น
(คนจังหวัดใด? ต้องกินหมูในจังหวัดนั้น)
- ใช้กระแสของการมีความเป็นท้องถิ่น/ชุมชน/เอกลักษณ์และอัตลักษณ์ ศิลปะและวัฒนธรรมที่สืบทอดเชื่อมโยงสังคมท้องถิ่นมายาวนานในการสร้าง Brand สินค้า/สร้างการรับรู้สินค้า
สร้างจุดแข็งในความเป็นปลาเล็ก…เพื่อความคงอยู่และเป็นฟันเฟืองเศรษฐกิจฐานราก
- ความเร็วในการปรับตัว เช่น หยุด/เพิ่ม/ลดจำนวนการผลิต
- สร้างผลิตภัณฑ์ที่แตกต่าง / ปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์
แนวทางการดำเนินงาน
- การบริหารจัดการองค์กร
üประยุกต์ใช้โมเดลต้นแบบการบริหารจัดการสหกรณ์/สมาคมที่ประสบความสำเร็จในการบริหาร demand supply ในอดีตที่ผ่านมา
- เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสุกร
üส่งเสริมเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการเลี้ยงสุกร เช่น สายพันธุ์ อาหารสุกร การจัดการฟาร์มมาตรฐานฟาร์ม GFM/GAP ทะเบียนเกษตรกร ฯลฯ
- ลดต้นทุนการผลิต
üส่งเสริมการใช้สูตรอาหารที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ที่สามารถสร้างคลัสเตอร์เกษตรกรพืชอาหารสัตว์อื่นๆ
üเพิ่มประสิทธิภาพพันธุกรรมสุกร
üเชื่อมโยงธุรกิจตลอด supply chain
- ส่งเสริมการตลาดชุมชนท้องถิ่น
üจัดการ Supply chain ตลาดท้องถิ่นภาคอย่างเป็นระบบครบวงจร
üเติมเต็มช่องว่างตลาด : ตู้แช่ชุมชน ร้านค้าปศุสัตว์ OK เนื้อสุกรแปรรูป
üการตลาด B2B : เชื่อมโยงกับหอการค้าจังหวัด (Food service /Food industry)
โครงสร้างการบริหารงาน
ระดับชาติ
เจ้าภาพหลัก : สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ
เลขานุการ : กองส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์
ระดับภูมิภาค
เจ้าภาพหลัก : ชุมนุมสหกรณ์/สมาคมผู้เลี้ยงสุกรระดับภาค
เลขานุการ : สำนักงานปศุสัตว์เขตกรมปศุสัตว์
ข้อเสนอเพื่อพิจารณา
- ขอความเห็นชอบหลักการ/กรอบแนวคิดการขับเคลื่อน
- แต่งตั้งคณะทำงานกลุ่มย่อยจัดทำรายละเอียดแนวทางการดำเนินงานที่มีการคิด วิเคราะห์ เชิงระบบ ทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ร่วมกันตัดสินใจทางเลือก ตอบโจทย์ ปฏิบัติได้ วัดความสำเร็จได้
สรุปการบริหารจัดการพื้นที่การเลี้ยงสุกร 6 ภูมิภาค ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีนโยบายการตลาดนำการผลิต ซึ่งมีการขับเคลื่อนเป็นรายชนิดสินค้า กอปรกับผู้เลี้ยงสุกรมีการบริหารจัดการการแบ่งพื้นที่การเลี้ยงสุกรออกเป็น 6 ภูมิภาคนั้น เพื่อให้มีการบูรณาการระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนสำหรับอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ จนถึงปลายน้ำ ซึ่งแต่ละภูมิภาคมีข้อมูลทางวิชาการ กฎหมาย และสังคมแตกต่างกัน หากสามารถบูรณการร่วมกันได้จะเกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางวิชาการ เกิดการพัฒนาที่เป็นรูปธรรมและสามารถดำเนินการได้ โดยผู้เลี้ยงสุกรในพื้นที่ แต่ละภูมิภาคเป็นผู้บริหารจัดการการเลี้ยงสุกรในแต่ละภูมิภาค ซึ่งจะทำให้อุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรเกิดความยั่งยืน แก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ปัจจุบัน ตัวเลขจากกรมปศุสัตว์มีจำนวนเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรทั้งประเทศ 220,000 ราย จำนวนเกษตรกรร้อยละ 90 มีผลผลิตร้อยละ 10 ของผลผลิตทั้งหมด ที่เหลือจำนวนเกษตรกรผู้เลี้ยงร้อยละ 10 สร้างผลผลิตร้อยละ 90 ปัญหาการแข่งขันด้านราคาสูง ซึ่งการแข่งขันในสภาพปลาใหญ่ปลาเล็กเป็นสภาพที่สร้างผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว เพราะเศรษฐกิจที่ไม่คล่องตัวจากระดับล่างสุดท้ายจะเป็นปัญหาทั้งระบบ ความมั่นคงยั่งยืนจะไม่เกิดเลยกับผู้ประกอบการในทุกขนาด อยู่ที่ว่าใครจะถูก Disrupt ก่อนหลังเท่านั้น
โดยสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติจะเร่งนำแนวทางนี้นำเสนอต่อไปยังทั้ง 6 ภูมิภาคโดยจะร่วมประสานในกระบวนการของคณะกรรมการและคณะทำงานอย่างต่อเนื่องเพราะนโยบายดังกล่าวนี้ถือเป็นการทำงานร่วมกันในลักษณะของการผลิตและการค้าอย่างเป็นระบบครั้งแรกระหว่างผู้เลี้ยง กับ กรมปศุสัตว์