ดาวน์โหลดไฟล์ : แผนเตรียมความพร้อมเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคอหิวาต์แอฟริกันในสุกร (Contingency plan) และแนวทางเวชปฏิบัติของโรคอหิวาต์แอฟริกันในสุกร (Clinical Practice Guideline) ของกรมปศุสัตว์

ดาวน์โหลดไฟล์  : แผนเตรียมความพร้อมเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคอหิวาต์แอฟริกันในสุกร (Contingency plan) และแนวทางเวชปฏิบัติของโรคอหิวาต์แอฟริกันในสุกร (Clinical Practice Guideline) ของกรมปศุสัตว์

โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African swine fever) เป็นโรคระบาดในสุกรที่มีความรุนแรงและก่อให้เกิดความสูญเสียต่อสุกรทุกกลุ่มอายุ เป็นโรคสัตว์แปลกถิ่นเนื่องจากไม่พบการระบาดของโรคนี้ในประเทศไทย หากมีการระบาดเกิดขึ้นจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรเป็นอย่างมากเพราะในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนหรือยาที่ใช้ในการป้องกันโรค


หลังจากมีรายงานการเกิดโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรที่สาธารณรัฐประชาชนจีน ทำให้ประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดการระบาดของโรคดังกล่าว เนื่องจากมีการเคลื่อนย้ายสัตว์-ซากสัตว์ภายในภูมิภาค รวมถึงมีโอกาสที่เชื้อจะปนเปื้อนกับคนและอาหารที่เป็นผลิตภัณฑ์จากสุกรที่ไม่ผ่านการปรุงสุกเพื่อการบริโภค จากสถานการณ์โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรในสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่ยังพบการระบาดอย่างต่อเนื่องและยังไม่สามารถควบคุมได้ ทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร สมาคมที่เกี่ยวข้อง ภาคเอกชน นักวิชาการเกิดความตื่นตัวที่จะระดมความคิดเห็น เพื่อกำหนดมาตรการป้องกันไม่ให้โรคเข้ามาภายในประเทศ
กรมปศุสัตว์ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านสุขภาพสัตว์ จึงได้จัดทำแผนเตรียมความพร้อมรับมือโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรในประเทศไทย เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมเผชิญเหตุหากเกิดการระบาดของโรค รวมทั้งเป็นแนวทางเวชปฏิบัติให้กับเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ สัตวแพทย์ผู้ปฏิบัติงานในภาคสนามมีแนวทางในการป้องกันและควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน โดยได้รับความกรุณาจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านสุกรทั้งจากภาคเอกชน ภาครัฐ อาจารย์จากมหาวิทยาลัย มาช่วยระดมความคิดเห็นและประสบการณ์ เพื่อให้เกิดแผนเตรียมความพร้อมรับมือโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรในประเทศไทยซึ่งเป็นแผนที่สามารถนำมาปฏิบัติได้จริงและป้องกันควบคุมโรคได้


ทั้งนี้ การป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรไม่ให้เข้าประเทศไทยจะเกิดประสิทธิภาพได้ต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง


คณะผู้จัดทำ

 

Visitors: 398,107