เจาะลึก Made in China 2025 ต้นแบบจาก “The action outline of Sino German Cooperation” ของเยอร

เจาะลึก Made in China 2025 ต้นแบบจาก “The action outline of Sino German Cooperation” ของเยอรมัน

         ในการบรรยายพิเศษของ รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ ในหัวข้อ “สภาวะแนวโน้มทิศทางเศรษฐกิจและธุรกิจ ปี 2562” ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปีของสมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อ 18 มกราคม 2562 อาจารย์สมชายได้โยงเศรษฐกิจโลกสู่การวิเคราะห์เศรษฐกิจไทย โดยระหว่างการบรรยายปัจจัยต่างๆ ของเศรษฐกิจโลกได้มีการกล่าวถึงโครงการ Made in China 2025 ที่ออกโดยรัฐบาลของนายสี จิ้น ผิง เมื่อพฤษภาคม 2558 โดยได้ดำเนินการมา 3 ปี โดยมีเป้าหมายที่จะพัฒนาจากอุตสาหกรรมที่เน้น Labor Intensive สู่ Innovation อุตสาหกรรมนวัตกรรมเป้าหมาย 40% ในปี 2020 และ 70% ในปี 2025 โดยจะเน้นในกลุ่ม อุตสาหกรรมเวชภัณฑ์ ยานยนต์ การบิน เซมิคอนดัคเตอร์ ไอที และหุ่นยนต์ โดยจะใช้งบประมาณถึง 300,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน โดยเฉพาะกับสหรัฐอเมริกา จึงขอนำเรื่องราวของ Made in China 2025 มาให้ความรู้กันก่อนถึงแม้โครงการนี้จะผ่านมาแล้ว 3 ปี ซึ่งปี 2563 จะมีการประเมินเป้าหมาย 40% เป็นครั้งแรก โดยสรุปการบรรยาย “สภาวะแนวโน้มทิศทางเศรษฐกิจและธุรกิจ ปี 2562” สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติจะสรุปลงในวารสารสุกรฉบับที่ 87 ประจำไตรมาสที่ 1 ปี 2562

เป้าหมายของโครงการ Made in China 2025

          ในช่วงที่ผ่านมาการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วของจีนมาจากการผลิตและส่งออกสินค้าที่มีต้นทุนการผลิตต่ำเน้นทั้งปัจจัยทุน (เครื่องจักร) ผสมผสานกับแรงงานคนจำนวนมาก ขณะที่ปัจจุบันจีนกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ อัตราการเกิดลดลง และอัตราค่าแรงงานสูงขึ้น ประกอบกับการผลิตในภาคอุตสาหกรรมก่อให้เกิดมลภาวะเป็นพิษ ตลอดจนมีการใช้ทรัพยากรอย่าง สิ้นเปลือง ดังนั้น ทางการจีนจึงมีแนวคิดที่จะปฏิรูปภาคการผลิต โดยมีแรงกระตุ้นจากนโยบายอุตสาหกรรมแห่งชาติของเยอรมนี (The New High Tech Strategy 2020) เมื่อปี 2556 ซึ่งมี แนวคิดว่าโลกของเราจะเข้าสู่ Industry 4.01 ภายใน 20 ปีข้างหน้า โดยเครื่องจักรจะเป็นส่วนหนึ่ง ของเครือข่ายผ่านอินเทอร์เน็ต สามารถแบ่งปันและใช้ทรัพยากรบางส่วนร่วมกัน มีความยืดหยุ่นใน การผลิต ตรวจสอบ และคาดการณ์ล่วงหน้าได้ ทำให้โรงงานในยุค 4.0 เชื่อมความต้องการของ ผู้บริโภคแต่ละรายเข้ากับกระบวนการผลิตสินค้าได้โดยตรง สามารถผลิตของที่มีความแตกต่างกัน เป็นจำนวนมากในเวลาอันรวดเร็ว โดยมีต้นทุนการผลิตและการขนส่งต่ำ กระบวนการผลิตที่มี ประสิทธิภาพ และใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าด้วย smart factory ส่งผลให้หลายประเทศตื่นตัวและ ปรับตัวเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน และกระตุ้นให้เกิดการวิจัยพัฒนารวมถึงจีนด้วย

          จีนจึงได้ประกาศยุทธศาสตร์ Made in China 2025 ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 ระยะ 5 ปี (2559-2564) และการประชุม National People’s Congress เมื่อมีนาคม 2560 ได้มีการกล่าวถึงการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมการ ผลิตของจีนอย่างจริงจัง โดยมีต้นแบบจากเยอรมนีและมีการลงนามความร่วมมือ “The action outline of Sino German Cooperation” กับเยอรมนีเมื่อตุลาคม 2557

          Made in China 2025 หรือ Industry 4.0 เป็นยุทธศาสตร์ของจีนที่มุ่งพัฒนาจีน จากประเทศการผลิตยักษ์ใหญ่เป็นประเทศการผลิตที่แข็งแกร่งภายใน 10 ปีข้างหน้า (ค.ศ.2025) โดย เปลี่ยนรูปแบบการผลิตจากเน้นปริมาณสู่การผลิตที่เน้นคุณภาพ มีการใช้เทคโนโลยีชั้นสูงในการผลิต โดยให้ความสำคัญกับ 1) การสร้างศูนย์สร้างสรรค์อุตสาหกรรมใหม่ 2) ผลิตสินค้าอัจฉริยะ 3) สร้างสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม 4) การผลิตแบบสีเขียว และ 5) มีความ สร้างสรรค์ในอุปกรณ์ระดับสูง

          แนวคิดและหลักการของ Made in China 2025 คือ

1)      การขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม

2)      การผลิตที่มุ่งคุณภาพ

3)      การผลิตมุ่งเน้นและพัฒนาไปสู่การผลิตสีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

4)      การปฏิรูปโครงสร้างอุตสาหกรรมการผลิต เน้นการผลิตที่มีประสิทธิภาพ การใช้ ทรัพยากรและพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ แก้ปัญหาเรื่องคุณภาพสินค้าและ brand สินค้าของจีน

5)      การพัฒนาบุคลากร ในด้านวิทยาศาสตร์และการสร้างนวัตกรรม

          ยุทธศาสตร์ดังกล่าวนอกจากจะเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในภาคการผลิตของ จีน ยังเป็นการเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามามีบทบาทมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่ม startup และพัฒนาไปสู่ อุตสาหกรรมภาคบริการแบบ high-end เช่น การออกแบบนวัตกรรม การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ รวมถึงภาคการเงิน การวิจัยและพัฒนา ซึ่งแผนการด่าเนินงานของยุทธศาสตร์ของ Made in China 2025 เป็นแผนระยะ 10 ปี มีเป้าหมายปฏิรูปด้านการผลิตไปสู่มหาอ่านาจชั้นน่าด้านการผลิต ระดับโลก 3 ขั้น คือ

          ขั้นแรก ปี 2025 (พ.ศ.2568) เสริมความแข็งแกร่งให้กับการผลิต โดยมีเป้าหมายว่า โครงการทดลองจะสามารถลดต้นทุนการผลิต ลดระยะเวลาในการผลิต และลดอัตราของเสียได้ร้อยละ 50

          ขั้นที่สอง ปี 2035 (พ.ศ.2578) ยกระดับคุณภาพการผลิตให้มีศักยภาพเทียบเท่าระดับโลก

          ขั้นที่สาม ครบรอบ 100 ปีแห่งการสถาปนาประเทศ จีนก้าวสู่การเป็นผู้น่าด้านการ ผลิตที่แข็งแกร่งของโลก

          ส่าหรับอุตสาหกรรมการผลิตสำคัญที่มีศักยภาพและเน้นพัฒนาในอนาคตในยุทธศาสตร์ Made in China 2025 ประกอบด้วย

  1. อุตสาหกรรมสารสนเทศ (technology/information network) เช่น อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง 5G e-commerce และนวัตกรรมทางการเงิน
  2. Numerical Control Robot เป็นหุ่นยนต์ที่สามารถท่างานได้เองโดยไม่ต้องสอนงาน เช่น การใช้หุ่นยนต์ในการผลิต ท่างานบ้าน และดูแลคนป่วย
  3. อุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์อากาศยาน (aerospace and aviation equipment)
  4. อุตสาหกรรมการต่อเรือไฮเทค (high-end vessels and ocean engineering equipment) เรือที่ออกแบบและผลิตโดยใช้เทคโนโลยีชั้นสูงจากจีน
  5. อุตสาหกรรมการผลิตรถไฟ (rail transit equipment)
  6. อุตสาหกรรมรถยนต์พลังงานใหม่ (new energy vehicles)
  7. อุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์พลังงาน new energy
  8. อุปกรณ์การผลิตวัตถุดิบใหม่ (new materials
  9. อุตสาหกรรมยาและอุปกรณ์การผลิตยา (bio medicine, high-end medical appliances and medicines)
  10. อุตสาหกรรมเครื่องมือทางการเกษตร (modern agricultural machinery)

          นอกจากนี้ยังรวมถึงวัตถุดิบใหม่ ๆ และพลังงานทดแทน โดยจะมีการพัฒนา 3D Printing, Mobile Internet, Cloud Computing, Big Data และ Internet of Things ด้วย ปัจจุบันภาครัฐได้ให้การสนับสนุนและด่าเนินการเกี่ยวกับยุทธศาสตร์นี้ให้เป็นรูปธรรม มากขึ้น เช่น การก่อตั้งกองทุนรัฐบาล 4 หมื่นล้านหยวนเพื่อลงทุนในอุตสาหกรรมเกิดใหม่ การ เชื่อมโยงกับท้องถิ่น โดยแต่ละมณฑลมีการกำหนดลักษณะการผลิตแต่ละท้องถิ่น การประกาศเขต นิคมอุตสาหกรรมโดยใช้เครื่องจักรอัตโนมัติแทนแรงงาน การกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับการผลิต การ สนับสนุนด้านการเงินและสินเชื่อแก่โครงการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การสร้าง local brand และ บริษัทที่สร้างนวัตกรรม การช่วยเหลือด้านจดสิทธิบัตรส่าหรับเทคโนโลยีที่คิดค้น เป็นต้น

          จากยุทธศาสตร์ Made in China 2025 ของจีน ท่าให้เราได้เรียนรู้การวางแผนอย่าง รอบด้านทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งประเทศไทยก็มีการประกาศนโยบายดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (Digital Economy) และมีการกำหนด 5 กลุ่มเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีศักยภาพ เพื่อเป็นปัจจัยในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มอาหาร เกษตร และ เทคโนโลยีชีวภาพ กลุ่มสาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยีทางการแพทย์ กลุ่มเครื่องมืออุปกรณ์ อัจฉริยะ หุ่นยนต์ และระบบเครื่องกลที่ใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ควบคุม กลุ่มดิจิตอล เทคโนโลยี อินเตอร์เน็ต ที่เชื่อมต่อและบังคับอุปกรณ์ต่าง ๆ ปัญญาประดิษฐ์ และเทคโนโลยีสมองกลฝังตัว (Digital Internet of Things Artificial Intelligence & Embedded Technology) และกลุ่ม อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ วัฒนธรรม และบริการที่มีมูลค่าสูง (Creative Culture & High Value Services) ซึ่งบางกลุ่มก็เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกับจีน ไทยอาจถือโอกาสนี้ในการแลกเปลี่ยนองค์ ความรู้และพัฒนาบุคลากร เพื่อพร้อมรับกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกในบริบทใหม่ที่กำลังมาถึงได้ อย่างทันการณ์

ที่มา http://www.gov.cn/zhengce/content/2015-05/19/content_9784.htm , http://www.eworks.net.cn/report/made2025/made2025.html , http://finance.sina.com.cn/china/20150520/104622223786.shtml , http://wallstreetcn.com/node/215826 , 《中国制造2025》重点领域技术路线图 , ไทยโพสต์ แผนฯ 12 VS Thailand 4.0, เอกสารประชาสัมพันธ์ ส่านัก ประชาสัมพันธ์เขต 1 ข้อเสนอ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย : กลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต (New Engine of Growth)

 

Visitors: 397,004