จีนกำจัดสุกรกว่า 900 ตัว หลังพบการระบาดของ African Swine Fever ครั้งแรกของจีน และเอเชียตะวันออกที่เมืองเสิ่นหยาง มณฑลเหลียวหนิง

จีนกำจัดสุกรกว่า 900 ตัว หลังพบการระบาดของ African Swine Fever ครั้งแรกของจีน และเอเชียตะวันออกที่เมืองเสิ่นหยาง มณฑลเหลียวหนิง

3 สิงหาคม 2561 ประเทศจีน – ข่าวจาก South China Morning Post ได้รายงานข่าวการระบาดของโรคแอฟริกันสไวน์ฟีเวอร์ (ASF) ในฟาร์มภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน เมืองเสิ่นหยาง มณฑลเหลียวหนิงโดยมีการกำจัดสุกรกว่า 913 ตัว มีความกังวลว่าฟาร์มดังกล่าวใกล้พื้นที่คาบสมุทรเกาหลี เกรงว่าจะมีการระบาดไปญี่ปุ่นและประเทศเกาหลี โดยการระบาดครั้งนี้เป็นการระบาดครั้งแรกในประเทศจีน ซึ่งเป็นการระบาดครั้งแรกของเอเชียตะวันออกเช่นกัน

African Swine Fever เป็นโรคระบาดที่ร้ายแรงที่องค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประทศ (OIE) ระบุชัดว่าจะต้องแจ้งทันทีที่มีการสงสัยว่ามีการติดเชื้อ มีอัตราการตายสูงถึง 100% โดยรัฐบาลกลางของจีนรายงานการติดเชื้อเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม ซึ่งมีการตรวจเข้มงวดขึ้นในพื้นที่อื่นๆ เพิ่มขึ้น โดยคนงานฟาร์มใกล้เคียงได้มีการเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจเชื้อไวรัสของ African Swine Fever อย่างเร่งด่วน

https://www.scmp.com/news/china/society/article/2158213/china-culls-pigs-after-reports-first-african-swine-fever-outbreak 

ข้อมูลประวัติ ASF By Vincent ter Beek, editor, Pig Progress

ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา โรค African Swine Fever ได้เป็นที่รับรู้กับการแพร่กระจายในยุโรปตะวันออก ซึ่งเป็นโรคที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของสุกรจำนวนมาก โดยได้เริ่มระบาดในกลุ่มสหภาพยุโรปในช่วงปี 2557 ทำไมมันจึงเกิดการระบาดได้ และเส้นทางการระบาดดำเนินไปอย่างไร เป็นประเด็นที่สร้างความกังวลให้กับพื้นที่การเลี้ยงอื่นๆ ของโลกหรือไม่

เริ่มแรกของการระบาดเกิดขึ้นในลักษณะคืบคลานโดยเริ่มติดเชื้อที่พื้นฟาร์ม Rupinskai ในภาคตะวันออกของประเทศลิธัวเนีย หลังจากนั้นมีการแพร่กระจายเห็นชัดขึ้นโดยมีการกระจายขึ้นไปยังหลังคาของสำนักงานในฟาร์มแห่งนั้น หลังจากนั้นภาพการระบาดเริ่มเห็นได้ชัดเจนขึ้นเพราะฟาร์มแห่งนั้นได้กลายเป็นสุสานของสุกร 20,000 ตัว เรื่องราวความเสียหายอันใหญ่หลวงนี้ไม่ได้เปิดเผยให้สื่อสาธารณะได้รับรู้เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น เหมือนซุกฝุ่นไว้ใต้พรม ซึ่งจบลงด้วยการฝังร่างสุกรที่เสียชีวิตจากโรคนี้เสมือนจบปัญหานี้ไว้ใต้ดิน

ในเดือนกรกฎาคม 2557 กรณีของฟาร์ม Rupinskai ได้รับการเปิดเผยเป็นที่ทราบทั่วกันว่าเป็นฟาร์มในเชิงธุรกิจในยุโรปที่ได้รับมหันตภัยของโรค African Swine Fever (ASF) เป็นแห่งแรก ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่น่าสะพึงกลัวอีกหน้าหนึ่งที่ได้รับการเปิดเผยถัดมาในยุโรปตะวันออกนับตั้งแต่ปี 2550

ในปีเดียวกัน มีการพบเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคนี้ใน Georgia และ Armenia ระหว่างทะเลดำและทะเลแคสเบี้ยน ในปีถัดมาเชื้อไวรัสนี้ได้คร่าชีวิตสุกรภายในประเทศและหมูป่าในย่านใกล้ Azerbaijian และ Russia ผู้เชี่ยวชาญวงการสัตว์แพทย์ทั่วทั้งยุโรปเริ่มกังวลต่อสภาพการณ์ที่เกิด ว่ามันจะขยายวงไปเพียงใด จะระบาดมายังเอเชีย หรือจะเบนไปทางสหภาพยุโรป

การระบาดคืบคลานสู่ยุโรปในปี2554 ได้รับการยืนยันเชื้อไวรัสเกิดขึ้นทางตอนเหนือของ St-Petersburg ของรัสเซีย ยูเครนถูกกระทบในปี 2555 และเบลารุสได้รับรายงานการระบาดตั้งแต่ปี 2556  และเป็นที่น่ากลัวว่าในยุโรปได้เริ่มมีการติดต่อของโรคนี้ในปี 2557 เมื่อมีรายงานการระบาดในประเทศโปแลนด์ เอสโตเนีย ลัตเวีย และลิธัวเนีย

ไวรัสของโรคนี้

ชื่อเชื้อโรคชนิดนี้ประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ African และ Swine Fever โดยส่วนชื่อที่เป็น “Swine Fever” เพื่อโยงถึงโรคในกลุ่มนี้ที่รู้จักกันดี เช่น Classical Swine Fever(CSF) หรือที่รู้จักในชื่อ อหิวาสุกร ซึ่งทั้งสองโรคเรียก Swine Fever เหมือนกัน  กรณีกลุ่มของสำหรับสัตว์เลี้ยงจะแยกอาการออกได้ยากสำหรับไวรัสทั้ง 2 ชนิดนี้  โดยการแสดงอาการภายนอกจะมีอาการคล้ายกัน มีอาการเลือดออกภายใน สัตว์จะมีไข้ น้ำหนักลดลง จะมีอาการหนาวสั่น หลังจากได้รับการเฝ้าสังเกตและเห็นการเสียชีวิตของสุกรที่รวดเร็ว  ซึ่งโดยปกติจะใช้เวลา 3 ถึง 6 วัน ในช่วงของการแสดงอาการ โดยจะมีอัตราการตายที่สูงมาก เมื่อ Pig Progress ได้เข้าเยี่ยมฟาร์ม Rupinskai ในเดือนกรกฎาคม 2558 เจ้าของฟาร์มคุณ Claus Baltsersen  ชาวเดนมาร์กได้กล่าวว่ามันร้ายแรงมากที่สุดเท่าที่เขาเคยประสบมา

ความเป็นไปได้ของการแยกให้เห็นอย่างชัดเจนจะต้องทำในห้องปฏิบัติการเท่านั้น หลังจากที่ได้รับการยืนยันแน่ชัดว่าเป็น African Swine Fever ไม่มีทางแก้ปัญหาอื่นใดนอกจากการลดจำนวนประชากรสัตว์ลง โดยปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนเชิงพาณิชย์สำหรับการป้องกัน African Swine Fever แต่อย่างใด

สำหรับชื่อ “African” เป็นการอ้างอิงถึงพื้นที่ต้นกำเนิดของการเกิดโรคระบาดนี้ ได้แก่ แอฟริกาใต้สะฮารา (sub-Saharan Africa) เป็นกลุ่มประเทศที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮาราในทวีปแอฟริกา  โดยโรคระบาดนี้ดั้งเดิมจะเป็นโรคระบาดในท้องถิ่นมาเป็นเวลาช้านาน โดยเชื้อไวรัสชนิดนี้ได้รับการกล่าวขานถึงประเทศเคนย่าในปี 2464 ที่เป็นย่านเดียวที่มีการแพร่ระบาดของโลก โดยถือว่าเป็นโรคเฉพาะเขตร้อนชื้นที่อาการไม่รุนแรง โดยเป็นเชื้อของ Ornithodoros ซึ่งจะติดเชื้อและสามารถเป็นพาหะนำโรคได้เฉพาะสุกรและหมูป่าเท่านั้นสำหรับกรณีของไวรัส ASF

การติดเชื้อและพาหะนำโรค

กล่าวถึงคำถามหลักๆ ว่าทำไมเชื้อได้คืบคลานแพร่กระจายเข้าไปในยุโรปตะวันออกทั้งๆ ที่มิได้มีภูมิอากาศแบบร้อนชื้นที่เหมาะกับการเกิดโรคนี้แม้แต่น้อย

เป็นที่คาดกันว่าการแพร่กระจายไม่ได้ขึ้นอยู่กับติดต่อของเชื้อ มี 3 รูปแบบของการแพร่กระจาย อันดับแรกเป็นการติดจากการสัมผัสเชื้อโดยตรง ซึ่งเชื้อจะเติบโตและคงอยู่ได้นาน ถัดมาจะได้รับจากการสัมผัสเลือดหรือน้ำลาย และสุดท้ายจะติดเชื้อจากการบริโภคเนื้อจากสุกรติดเชื้อ

รูปแบบของการระบาดทั้งหมดที่ได้กล่าวถึง พอจะเห็นภาพแล้วว่าทำไมหมูป่าจึงเป็นพาหะหลักที่ทำให้เกิดการระบาดของเชื้อ หมูป่าจะกินอาหารทุกอย่าง ดังนั้น หมูป่าจะกินสิ่งที่มันเผชิญหน้ารวมทั้งซากสัตว์ต่างๆ หรือ เนื้อสัตว์ที่มนุษย์ได้ทิ้งไว้ สุดท้ายแล้วหมูป่าจะติดเชื้อจากโรคในขณะที่ชีวิตปกติหมูป่าจะเดินทางไปเรื่อยในขณะที่มีอาการป่วยจากการรับเชื้อและตายในที่สุด ซึ่งจะถูกเป็นอาหารของสัตว์อื่นๆ อีก

จากการสัมภาษณ์นักวิทยาศาสตร์ที่เชี่ยวชาญเรื่องโรค African Swine Fever ได้แก่ Dr.Klaus Depner และ Dr Sandra Blome ที่สถาบัน Friedrich-Loeffler ของเยอรมันในปีนี้ Pig Progress ได้เข้าใจว่า African Swine Fever ไม่ได้มีการกระจายในแบบที่ผู้เชี่ยวชาญบางส่วนตั้งสมมติฐานไว้ ไวรัสที่ติดต่อกับสัตว์ในป่าได้รับการกล่าวขานว่ารุนแรง และทำให้สัตว์ป่าล้มตาย เชื้ออื่นๆ ในป่าก็เช่นเดียวกันที่สามารถติดเชื้อได้ง่ายและแพร่กระจายได้รวดเร็ว

กรณีเช่นนี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับกรณีของ African Swine Fever เลย นักวิจัยกล่าวว่า African Swine Fever โดยแท้จริงแล้วแพร่กระจายได้ช้ามาก หมูป่ามีสภาพการดำรงชีพที่มีโอกาสติดเชื้อจากเนื้อหรือซากที่ปนเปื้อนเชื้อโรค และในความเป็นจริงหมูป่าไม่มีการอพยพที่บ่อยนัก ความเคลือบแคลงยังยงอยู่ ถ้า African Swine Fever ไม่แพร่กระจายเร็ว ทำไมมันจึงแพร่กระจายไปยังยุโรปตะวันออก?

ปัจจัยของมนุษย์

นักวิทยาศาสตร์ได้กล่าวว่านี่เป็นปัจจัยที่มนุษย์มาเกี่ยวข้องที่ไม่สามารถปฏิเสธได้  ทั้งการท่องเที่ยวโดยปกติที่กระทบต่อประเทศในยุโรปตะวันออก  ที่จะดำเนินการตรวจสอบและสังเกตการณ์พื้นที่การระบาด เขาเรียกการระบาดนี้ว่าเป็นผลของพฤติกรรมที่ไม่ได้เป็นปกติของมนุษย์ ซึ่งสามารถเชื่อได้มากว่าสามารถเป็นที่มาของการระบาดเพราะมีการพบการระบาดครั้งแรกเกิดขึ้นริมทางของทางหลัก ซึ่งสันนิษฐานว่าคนขายเนื้อท้องถิ่นขายเนื้อติดเชื้อหรือเนื้อหมูป่า และมีผู้ซื้อทิ้งเศษอาหารที่เป็นเนื้อลงข้างถนนซึ่งเป็นที่ๆ หมูป่ามาหาอาหารพอดี

อ้างถึงที่ตั้งของฟาร์มหลักๆ ที่มีการระบาดนอกสหภาพยุโรปในหลายๆ กรณี เนื่องจากไม่ได้ให้การดูแลดีพอสำหรับความจำเป็นต่อระบบความปลอดภัยทางชีวภาพที่ดี คงไม่ต้องสาธยายถึงสถานการณ์ของระบบความปลอดภัยทางชีวภาพในฟาร์มขนาดเล็กชนิดเลี้ยงหลังบ้าน แม้แต่ฟาร์มเชิงพาณิชย์กรณีพนักงานในฟาร์มที่เข้าออกฟาร์มโดยปราศจากการรักษาวินัยตามกฎที่เข้มงวดของความปลอดภัยทางชีวภาพ

ผู้ล่าจะมีกฎเกณฑ์ในการเล่นเกมส์ ตั้งแต่ประชากรหมูป่าที่ถูกกล่าวอ้างว่าเป็นต้นเหตุของการกระจายเชื้อ African Swine Fever ซึ่งในบางครั้งมีการกระจายเชื้อที่รุนแรง  ลดจำนวนประชากรหมูป่าไปอย่างรวดเร็วจากการระบาดที่แพร่กระจายเร็วเกินคาด เชื้อไวรัสมีการไล่เรียงไปตามแนวรอยต่อระหว่างประเทศ

ล่าสุดในแถบบอลติก ประเทศเอสโตเนีย ลัตเวีย และ ลิธัวเนีย ที่มีอากาศหนาวจัดสำหรับหมูป่า ส่งผลให้ไม่มีความเสียหายมากนักเพราะมนุษย์ได้เรียนรู้เชื้อเหล่านี้ ซึ่งยังคงถือว่ามนุษย์เป็นผู้สร้างปัญหาการสะสมเชื้อ African Swine Fever เอง

มองโดยภาพรวมแล้ว African Swine Fever ไม่ได้มีความรุนแรงจนอาจมีการปล่อยผ่านไป แต่อย่าชะล่าใจ มันไม่ได้แพร่กระจายได้ง่าย มนุษย์เป็นกลุ่มหนึ่งที่ถูกกล่าวหาว่าสามารถก่อให้เกิด หรือ ทำให้ไวรัสระบาดได้ ด้วยเหตุนี้ในตอนเหนือของประเทศเยอรมันปัจจุบันมีการติดป้ายเตือนไว้ 4 ภาษาที่ถังขยะในจุดพักรถ โดยมีคำเตือนที่เข้มงวดให้ผู้คนทำให้สิ่งที่ควร

ข้อสรุปปิดท้าย

การรับรู้ การจำกัดพื้นที่ และความปลอดภัยทางชีวภาพเป็นสิ่งสำคัญพื้นฐานของสหภาพยุโรปที่ได้ดำเนินการมาอย่างยาวนาน   มีการเพิ่มการเฝ้าระวังและควบคุมพื้นที่ปลอดภัยโดยรอบตำแหน่งที่ระบุว่ามีการระบาดของโรคซึ่งเป็นวิธีการที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ในปี 2558 ไม่มีรายงานการระบาดเพิ่มเติมในประเทศกลุ่มสหภาพยุโรปอีก มันไม่สามารถฟันธงได้ว่าอะไรคือเหตุผล แต่อย่างไรก็ตามประเทศที่ยังมีประชากรหมูป่าที่ปราศจากระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ สามารถเกิดเหตุการณ์ระบาดนี่ได้ ซึ่งก็ได้แก่ประเทศทั้งหมดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ย้อนกลับไปดูเหตุระบาดที่ Rupinskai Farm ในประเทศลิธัวเนียเพื่อค้นหาสาเหตุที่เป็นไปได้ที่เกิดระบาด ฟาร์มดังกล่าวที่เจ้าของเป็นชาวเดนมาร์ก  มีการดำเนินงานบริหารจัดการฟาร์มด้วยมาตรฐานสูงสุดทั้งฟาร์มพ่อแม่พันธุ์และใช้ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ ฟาร์มมีรั้วรอบสองชั้น เข้มงวดกับการเข้าสู่ฟาร์มโดยอาบน้ำฆ่าเชื้อซึ่งเป็นรูปแบบที่เจ้าหน้าที่ลิธัวเนียแสดงถึงการนำเสนอระบบความปลอดภัยทางชีวภาพที่ดี  โดยเชื้อ ASF ได้รับการค้นพบในจุดใจกลางของอุทยานฟาร์ม ซึ่งมีการสืบค้นอย่างมากถึงสาเหตุของการเกิดเพื่อค้นหาปมที่ลึกลับ มันไม่ยากสำหรับการจะทำความเข้าใจความรู้สึกเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดของคุณ Claus Baltsersen ซึ่งได้กล่าวว่า “ไม่คิดว่าจะไม่เกิดกับฟาร์มใดอีก มันอาจจะใกล้ตัวคุณในวันใดวันหนึ่ง”  เจ้าของได้ฝากอุทาหรณ์นี้กับเจ้าฟาร์มอื่น

แหล่งที่มา:South China Morning Post

 

Visitors: 398,101