ลิลลี่ฟู้ดแอน ซายน์ (Lily Food AnSciLTD.,Thailand) เตรียมออกตลาด METHIOMAX ผลิตภัณฑ์เมทไธโอนีน สมุนไพร (Herbal Methionine)
ลิลลี่ฟู้ดแอน ซายน์ (Lily Food AnSciLTD.,Thailand) พร้อมออก METHIOMAX ®ผลิตภัณฑ์เมทไธโอนีน สมุนไพร (Herbal Methionine) สู่ตลาดทั้ง สุกร ไก่เนื้อ และ ไก่ไข่ หลังผลการทดลอง 2 ปี ออกมาอย่างประทับใจ
เมทไธโอนีนเป็นกรดอะมิโนที่จำเป็นอันดับสองในสุกร (Peak, 2005) และเป็นกรดอะมิโนตัวแรกของสายโพลีเปปไทด์ทำให้ขบวนการสังเคราะห์โปรตีนเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความต้องการเมทไธโอนีนในสุกรระยะอนุบาลสูงกว่าสุกรระยะรุ่นและขุน (NRC, 1998) เนื่องจากเป็นระยะที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และการสังเคราะห์เมทไธโอนีนได้น้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการในขณะที่วัตถุดิบหลัก เช่น กากถั่วเหลือง หางนม มีปริมาณเมทไธโอนีนไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายสัตว์ จึงจำเป็นที่จะต้องมีการเสริมเมทไธโอนีนในสูตรอาหาร โดยรูปแบบของเมทไธโอนีนที่ใช้มีหลากหลายรูปแบบ เช่น เมทไธโอนีนสังเคราะห์ ดีแอล-เมทไธโอนีน ( DL-Methionine;DLM) และ ดีแอล-เมทไธโอนีนไฮดรอกซีอะนาลอค (DL-Methionine hydroxyl analogue-free acid; MHA-FA) โดยสัตว์สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในร่างกายได้ 99 และ 88 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ (Kalbande et al., 2009)อย่างไรก็ตามมีรายงานของ Baker (1985) รายงานถึงความเป็นพิษในสัตว์ปีกจาก สารประกอบเมทธิลโปรติโอเนต อันเนื่องมาจากเมแทบอลิซึมของเมทไธโอนีนสังเคราะห์ และในขณะที่ปัจจุบันกระแสการเลี้ยงสัตว์แบบอินทรีย์เป็นที่นิยมมากขึ้น จึงมีการนำเอาเมทไธโอนีนที่ได้จากสมุนไพร (Herbal methionine; HB) มาใช้ในสูตรอาหาร แต่ยังมีข้อมูลการใช้ในสุกรอนุบาลค่อนข้างน้อย
วัตถุประสงค์ในศึกษา เป็นการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการใช้เมทไธโอนีนสมุนไพร และ ดีแอล-เมทไธโอนีนในอาหารต่อสมรรถนะการผลิตสุกรอนุบาล
การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการใช้เมทไธโอนีนสมุนไพร (Methiomax® ) และ ดีแอล-เมทไธโอนีน ต่อสมรรถนะการผลิตในสุกรอนุบาล Comparative Effects of Herbal Methionine and Synthetic Methionine on ProductivePerformance of Nursery Pigs
การเสริมเมทไธโอนีนมีผลทำให้สุกรอนุบาล มีประสิทธิภาพการเจริญเติบโตดีกว่าการไม่เสริมเมทไธโอนีนในอาหาร โดยพบว่าการใช้เมทไธโอนีนทั้ง 3 แหล่ง ได้แก่ ดีแอล-เมทไธโอนีน เมทไธโอนีนสมุนไพร และ ดีแอล-เมทไธโอนีนร่วมกับเมทไธโอนีน สมุนไพร ให้ผลไม่แตกต่างกัน นอกจากนั้นเมื่อพิจารณาในเรื่องของระดับที่ใช้พบว่า สมรรถนะในการผลิตสุกรอนุบาลจะตอบสนองต่อระดับการเสริมเมทไธโอนีนเป็นแบบ เส้นตรง การใช้เมทไธโอนีนสมุนไพรมีผลทำให้ ประสิทธิภาพการใช้อาหารของสุกรอนุบาล มีประสิทธิภาพดีและแปรผันตามระดับของเมทไธโอนีนสมุนไพรที่เพิ่มขึ้น การใช้เมทไธโอนีนสมุนไพรทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำ เพิ่มผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ และกำไรสุทธิ แสดงให้เห็นว่า เมทไธโอนีนสมุนไพร สามารถใช้ทดแทนดีแอล-เมทไธโอนีนได้ และ สามารถใช้รูปแบบผสมร่วมกับดีแอล-เมทไธโอนีนได้ในสูตรอาหารสุกรอนุบาล
บริษัท ลิลลี่ฟู้ดแอน ซายน์ จำกัด (Lily Food AnSciLTD.,Thailand) สนับสนุนการทดลอง สำหรับผลิตภัณฑ์ Methiomax ® และงบประมาณในการทำวิจัย บริษัท ศิริวรรณฟาร์ม จำกัด ที่ให้ความอนุเคราะห์ด้านสัตว์ทดลอง ตลอดโรงเรือนและอุปกรณ์ในการทำวิจัย ทุนสนับสนุนการทำวิจัยบัณฑิตวิทยาลัย ประจำปี 2557 มหาวิทยาลัยขอนแก่น
เอกสารอ้างอิง
Baker, D.H. and G.L. Czarnecki. 1985. Transmethylation of homocysteine to methionine efficiency in the rat and chick. Journal of Poultry Science 115: 1291-1299. Kalbande, V.H., K. Ravikanth, S. Maini and D.S. Rekhe. 2009. Methionine Supplementation Options in Poultry. Journal of Poultry Science 8(6): 588-591. NRC. 1998. Nutrient Requirements of Swine. 10 thed. National Academy Press, Washington, DC.189 p. Peak, S. 2005. TSAA Requirements for Nursery and Growing Pigs.Advances in Pork Production
20(16): 101-107.