ทำไมผู้เลี้ยงสุกรไทยต้องต้าน ความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก

ทำไมผู้เลี้ยงสุกรไทยต้องต้านความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก

(Trans-Pacific Strategic Economic Partnership Agreement : TPP)

          เขตการค้าเสรีส่วนใหญ่ประเทศผู้ริเริ่ม หรือ ประเทศที่ตั้งตัวเป็นผู้นำกลุ่ม จะมีแผนการเพื่อยกข้อตกลงเหล่านี้มาเพื่อเป็นฐานในการสนับสนุน ส่งเสริม เศรษฐกิจของประเทศตัวเองอยู่แล้ว แต่จะทำอย่างไรถ้าเราจะต้องเข้าสู่สภาวะการณ์ที่ต้องเลือก

          กฎเกณฑ์การค้าโลกมีแนวทางให้สมาชิกตั้งแต่ยังเป็น GATT (General Agreement on Tariff and Trade) จนกลายมาเป็น WTO ในปี 1995

          การค้าสุกรของสหรัฐเติบโตมากขึ้นส่วนหนึ่งเพราะสหรัฐใช้ข้อตกลงการค้าเสรีเป็นตัวนำ นับตั้งแต่ปี 1989 เป็นต้นมาการส่งออกเนื้อสุกรโตจาก 150,000 ตัน มาเป็น 2.3 ล้านตันในปี 2014

          ในสหรัฐอเมริกามีกฎหมายป้องกันการผูกขาด หรือ ANTI-TRUST LAW (ในประเทศไทยนำมาใช้ คือ พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542)  รัฐบาลสหรัฐอเมริกาจะเข้มงวดการผูกขาดในประเทศ แต่ระหว่างประเทศจะใช้แข่งขันชิงตลาดโดยอาศัยความได้เปรียบด้านต้นทุนทำลายล้างผู้ผลิตผู้ค้าเดิม จนกลายเป็นผู้ผูกขาดในสินค้านั้นๆ โดยไม่สนใจว่าประเทศที่ตัวเองเข้าไปบุกตลาดจะมีเกษตรกรได้ผลกระทบจนต้องออกจากอาชีพ

          สหรัฐอเมริกาจะอ้างเพื่อไปครอบงำประโยชน์ หรือ เอาไปต่อรองประเทศ อื่นๆ ด้วยข้ออ้างหลายประการเช่น

  • ข้ออ้างสิทธิมนุษยชน หรือ Human Right แต่ละเลย Human Life หรือการมีชีวิตอยู่ของมนุษยชาติของผู้คนที่หมดหนทางทำมาหากินในประเทศต่างๆ ที่ตนเองเข้าไปครอบงำทางเศรษฐกิจและการประกอบอาชีพ แต่กลับมาสารพัดข้ออ้างมาโจมตีไทยและประเทศอื่นๆ ที่เกษตรกรของตนเสียเปรียบเพื่อเป็นข้ออ้างกีดกัน เช่น เรื่องแรงงานทาส ค้ามนุษย์ ที่ยังคงสถานะ TIP Report (Trafficking in Person) ของไทยในสถานะ Tier 3 ที่เท่ากับไม่รับสินค้าประมงและกุ้งของไทย โดยข้ออ้างเหล่านี้ก็จะนำไปต่อรองผลประโยชน์อื่นๆ กับรัฐบาลไทย ที่ขาดยุทธศาสตร์เชิงการค้าเสรี และเป็นลูกไล่ทุนนิยมตลอดกาล ล่าสุด สหรัฐอเมริกาก็เพิ่งแก้ Tariff Act 1930 โดยมีเพิ่มข้อกฎหมายที่เตรียมสกัดสินค้าแรงงานทาสเต็มที่
  • ข้ออ้างประชาธิปไตย Democracy ยกตัวอย่าง เช่น การเจรจาการค้าเสรี Thai– สหรัฐ ที่หยุดไปตั้งแต่ปี 2549 ที่ไม่มีการเจรจาต่อเพราะสหรัฐอ้างการรัฐประหาร ทั้งๆ ที่หลังจากนั้นก็มีรัฐบาลเลือกตั้งทั้ง รัฐบาลยิ่งลักษณ์ และรัฐบาลอภิสิทธิ์ แต่ก็ไม่มีการเจรจาใดๆ เกิดขึ้น โดยกรอบการเจรจา FTA THAI-สหรัฐ ไม่มีสินค้ากลุ่มปศุสัตว์และสินค้าเกษตรหลายชนิดรวมอยู่ แต่ทั้งหมดมีอยู่ใน Trans-Pacific Partnership โดยเฉพาะกลุ่มสุกรที่สหรัฐต้องการที่สุด

 

  • ข้ออ้างสิ่งแวดล้อม Environmental เช่น กรณี EU มีใช้ IUU (Illegal, Unreported and Unregulated Fishing) เพื่อควบคุมความมั่นคงทางอาหาร โดยใน TPP มีเรื่องสิ่งแวดล้อมในข้อบทที่ 20 ที่ตั้งมาตรฐานไว้สูง ซึ่งน่าจะสร้างปัญหาการกีดกันมาก ในขณะที่ปัญหาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำทั้งหลาย ไม่พูดถึงเรื่องนี้กันเลย ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกันแล้วการทำฟาร์มสุกรไทยมีมาตรฐานการจัดการของเสียสูงกว่าสหรัฐอเมริกามาก

          ประเทศพัฒนามักตั้งตัวเป็นผู้ตรวจสอบประเทศอื่นๆ โดยสมาชิกอื่นๆ ไม่ปรากฏว่ามีการตรวจสอบ เรื่อง สิ่งแวดล้อมในประเทศพัฒนาเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่อง การปล่อยก๊าซเรือนกระจก

          สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติขอแนะนำให้ตรวจสอบมาตรฐาน TPP เทียบกับ GATT และ WTO กรณีที่ TPP ตั้งมาตรฐานสูงกว่า WTO หรือ GATT ให้มองภาพต่อไปว่าจะเป็นอุปสรรคในทางการค้าในอนาคตหรือไม่ เพราะเป็นการวางหมากเพื่อกีดกันในอนาคต เพราะชนชั้นกลางในสหรัฐต้าน TPP เช่นกัน ซึ่งสหรัฐอเมริกาน่าจะใช้มาตรการเหล่านี้ปกป้องอุตสาหกรรมกลุ่มต่างๆ ของตัวเองที่เป็นรองด้าน Labor Intensive กับประเทศแถบเอเชีย โดยเรื่องเหล่านี้ถ้าได้ตรวจสอบและเห็นความไม่ยุติธรรมจากประเทศพัฒนา NGO ในกลุ่มปศุสัตว์และเกษตรของไทย แนะนำให้ยื่นเรื่องร้อง WTO ได้เพื่อล้ม Trans-Pacific Partnership ลงไปเลย

          กรณีการเจรจาที่เกิดกับ TTIP หรือ FTA US-EU ของสหรัฐอเมริกากับสหภาพยุโรปหรือ Trans-Atlantic Trade and Investment Partnership Agreement เรื่องการเข้าไปแก้ไขเกณฑ์ต่างให้เข้าทางสหรัฐอเมริกา ก็น่าจะเกิดกับ Trans-Pacific Partnership หรือ TPP

  1. US ขอ EU ให้ Approve การชำระล้างเนื้อสุกรด้วย Lactic Acid เช่นเดียวกับเนื้อวัว
  2. US ขอ EU ยกเลิกการห้ามใช้ Antibiotic กลุ่ม Growth Promoter
  3. US ขอ EU ยกเลิกการห้ามใช้ Ractopamine
  4. US ขอ EU ให้ยอมรับพืช GMO
  5. US ขอ EU ยกเลิกข้อจำกัดการให้ใช้ by products (เครื่องใน) สำหรับผลิตอาหารสัตว์(Feed) และอาหารสัตว์เลี้ยง(Pet)
  6. US ขอ EU ลดข้อจำกัดการยอมรับผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์และนมจากสัตว์โคลนนิ่ง
  7. US ของ EU ผ่อนคลายมาตรการสวัสดิภาพสัตว์ (Animal Welfare)
  8. US ขอ EU ยกเลิกอากร Artificially Cheap Pork ออก
  9. US ขอ EU พิจารณาผ่อนคลายกฎที่เข้มงวดลงของ Food Safety Standard ลง
  10. US ขอ EU ให้ใช้กฎเกณฑ์อาหารปลอดภัยตามกฎ WTO

จะเห็นว่าถ้า US เสียเปรียบจะขอให้คู่เจรจาลดมาตรฐาน แต่ถ้าได้เปรียบอย่าง TPP ก็จะยกระดับมาตรฐานที่สูงกว่ากฎของ GATT และ WTO เพื่อสร้างความได้เปรียบของตัวเองกับภาคีสมาชิก

Visitors: 438,191