สุกรพันธุ์เปียแตรงหรือเพียเทรนสายใหม่
สุกรพันธุ์เปียแตรงหรือเพียเทรนสายใหม่
โดย รองศาสตราจารย์ ศรีสุวรรณ ชมชัย*
พอพูดถึงพ่อพันธุ์ที่เราใช้สำหรับเป็นพ่อสายสุดท้ายเพื่อผลิตสุกรขุนแล้ว ผู้เลี้ยงสุกรส่วนใหญ่มักจะนึกถึงสุกรพันธุ์ดูรอคเป็นหลักเพราะเรามักจะคุ้นเคยในการใช้พ่อพันธุ์ดูรอคเป็นพ่อพันธุ์มานานแสนนานแล้ว และมีพ่อพันธุ์สายสุดท้ายที่เป็นพ่อพันธุ์ไฮบริดที่บริษัทต่างๆ ผลิตขึ้นมาใช้แทนพ่อพันธุ์ดูรอคซึ่งอาจจะมีข้อด้อยบางอย่างในการให้ผลผลิต ส่วนพันธุ์อื่นที่ผู้เลี้ยงพอนึกได้ก็คือพ่อพันธุ์เปียแตรงหรือเพียเทรน (Pietrain) ในสมัยก่อนที่มีการนำพ่อพันธุ์เปียแตรงมาใช้เป็นพ่อพันธุ์สายสุดท้ายแทนพ่อพันธุ์ดูรอคเพื่อผลิตสุกรขุน ผู้เลี้ยงสุกรต่างบอกว่าสุกรขุนในช่วงท้ายก่อนจะมีน้ำหนักถึงส่งตลาดจะโตช้า ทำให้ใช้เวลาในการเลี้ยงนานออกไป และมีปัญหาเรื่องการช็อกตายง่าย เวลาสุกรมีความเครียดจากการเคลื่อนย้ายหรือรวมกลุ่ม จึงทำให้ผู้เลี้ยงทั่วไปไม่กล้าที่จะใช้พ่อพันธุ์เปียแตรงผสมกับแม่พันธุ์สองสายเพื่อผลิตลูกสุกรขุนเท่าไร ยกเว้นฟาร์มที่ต้องการปรับหุ่นสุกรขุนให้มีกล้ามเนื้อมากๆ เพื่อเอาใจพ่อค้าคนกลางจับสุกรขุน ซึ่งจะยอมใช้พ่อพันธุ์เปียแตรงหรือพ่อพันธุ์ลูกผสมที่มีพันธุกรรมของสุกรเปียแตรงอยู่ด้วย อย่างไรก็ตามในปัจจุบันพันธุกรรมของสุกรพันธุ์เปียแตรงได้มีการพัฒนาให้มีความแตกต่างจากสุกรพันธุ์เปียแตรงในสมัยก่อนโดยเฉพาะในเรื่องของยีนเครียด ซึ่งจะไม่มีในสุกรพันธุ์เปียแตรงสายใหม่ แต่ยังคงให้คุณภาพซากที่สูงเหมือนเดิมและมีอัตราการเจริญเติบโตที่เร็วกว่า มีอัตราการแลกน้ำหนักที่ต่ำกว่าซึ่งผู้เลี้ยงสุกรในบ้านเราอาจจะยังไม่ทราบ ผู้เขียนจึงขอแนะนำให้ผู้เลี้ยงสุกรได้ทราบข้อมูลของสุกรพันธุ์เปียแตรงสายใหม่ซึ่งถูกพัฒนาพันธุ์โดย Professor Dr.Pascal Leroy แห่งมหาวิทยาลัย Liege ประเทศเบลเยียม ที่ผู้เขียนเคยไปฝึกงานทางด้านการปรับปรุงพันธุ์และผสมเทียมสุกรที่นี่ดังนี้
สุกรพันธุ์เปียแตรงมีต้นกำเนิดที่หมู่บ้านเปียแตรงในประเทศเบลเยียม ซึ่งได้จดทะเบียนรับรองเป็นสุกรพันธุ์แท้ตั้งแต่ปี 1926 หรือประมาณ 89 ปีมาแล้ว ในสมัยก่อนสุกรพันธุ์เปียแตรงทุกตัวจะมียีนเครียดซึ่งจะทำให้สุกรช็อกง่ายอย่างที่พวกเราทราบกันดี เนื่องจากสุกรพันธุ์เปียแตรงจะให้คุณภาพซากที่ดี เช่น มีเปอร์เซ็นต์ซากแต่งเฉลี่ย 83% เนื้อแดงมากกว่า 60% และมีความหนาของไขมันบาง พ่อสุกรเปียแตรงจึงถูกนำไปใช้เป็นพ่อสายสุดท้ายในการผลิตสุกรขุนของบริษัทใหญ่ๆ เช่น ไฮโปร (Hypor) เชเกอร์ (Segher) พีไอซี (PIC) อะโกรซีเรส (Agroceres) ดัลแลนด์ (Dahland) เป็นต้น
ซึ่งสุกรพันธุ์เปียแตรงที่ถูกนำไปใช้ในสมัยก่อนยังไม่ได้รับการปรับปรุงพันธุกรรมเพื่อขจัดเอายีนเครียดออก ดังนั้นจึงอาจทำให้สุกรขุนที่ออกมาเครียด ช็อกตายง่าย และการเจริญเติบโตในช่วงท้ายก่อนส่งตลาดช้าลงในปีประมาณ 1990 มหาวิทยาลัยลิเอจ (University of Liege) โดยศาสตราจารย์ ดร.ปาสคาล เลอวัว (Professor Dr. Pascal Leroy) ได้ทำการปรับปรุงพันธุ์สุกรพันธุ์เปียแตรงให้มีความทนทานต่อความเครียด และได้สุกรพันธุ์เปียแตรงสายใหม่มีชื่อว่า เปียแตรง สเตรส เนกาตีบ (Pietrain stress negative) ซึ่งจะมีอยู่ 2 สาย คือ เปียแตรง ซีซี (PietrainCC) และเปียแตรง ซีที (PietrainCT) ซึ่งสุกรพันธุ์เปียแตรงทั้ง 2 สายนี้ (ที่เป็นทั้ง โฮโมไซกัส และเฮทเตอโรไซกัส) ยังคงให้คุณภาพซากเหมือนเปียแตรงปกติแต่ปราศจากยีนเครียด เปียแตรง สเตรส เนกาตีบ เป็นสุกรที่เป็นอนาคตของยุโรป เพราะว่าเป็นที่ปรารถนาของผู้บริโภค ซึ่งไม่ต้องการที่จะเห็นการใช้ยากล่อมประสาทสุกรก่อนที่จะมีการขนส่ง
ในปัจจุบันสุกรพันธุ์เปียแตรง สเตรส เนกาตีบ โฮโมไซกัส (CC) ได้ถูกผลิตขึ้นอย่างเอาใจใส่ในฟาร์มของมหาวิทยาลัยลิเอจ โดยมีแม่สุกรพันธุ์อยู่ 80 แม่ ซึ่งแบ่งเป็นแม่สุกรกลุ่มต่างๆ ได้ 3 กลุ่ม คือ แม่สุกรกลุ่มที่เป็นสเตรส เนกาตีบ โฮโมไซกัส (CC) แม่สุกรกลุ่มที่เป็นสเตรส เนกาตีบ เฮทเตอโรไซกัส (CT) และแม่สุกรกลุ่มที่เป็นสเตรส โพซิตีบ (TT) ซึ่งเป็นแม่สุกรในกลุ่มที่ช๊อกง่าย ตั้งแต่ปี 1998 จนถึง ปี 2006 จะเห็นว่าฝูงแม่สุกรที่มียีนเครียด ช็อกง่าย (TT) เกือบจะหมดไปจากฝูงแล้ว แต่จะมีแม่สุกรที่เป็นสเตรส เนกาตีบ โฮโมไซกัส (CC) อยู่ในฝูงมากที่สุด ดังแสดงในตารางที่ 1 และภาพที่ 1
ตารางที่ 1 แสดงสัดส่วนประชากรของแม่สุกรที่เป็นสเตรส เนกาตีบ โฮโมไซกัส (CC) สเตรส เนกาตีบ เฮทเตอโรไซกัส (CT) และสเตรส โพซิตีบ (TT) ตั้งแต่ปี 1998-2006 ที่ฟาร์มสุกรมหาวิทยาลัยลิเอจ
จำนวนแม่ พันธุ์กลุ่ม |
ปี ค.ศ. |
||||||||
1998 |
1999 |
2000 |
2001 |
2002 |
2003 |
2004 |
2005 |
2006 |
|
CC |
7.79 |
17.62 |
8.26 |
18.42 |
34.8 |
54 |
43 |
61 |
67 |
CT |
47.94 |
52.14 |
61.1 |
61.5 |
46.5 |
39 |
52 |
37 |
31 |
TT |
44.26 |
30.23 |
30.63 |
20 |
18.7 |
7 |
6 |
2 |
2 |
ภาพที่ 1 แสดงสัดส่วนประชากรของแม่สุกรที่เป็นสเตรส เนกาตีบ โฮโมไซกัส (CC) สเตรส เนกาตีบ เฮทเตอโรไซกัส (CT) และสเตรส โพซิตีบ (TT) ตั้งแต่ปี 1998 - 2006 ที่ฟาร์มสุกรมหาวิทยาลัยลิเอจ
ลักษณะทางการสืบพันธุ์ ของสุกรพันธุ์เปียแตรงสายใหม่ข้อมูลในปี 2006 จำนวนครอกต่อแม่ต่อปี 2.3 จำนวนลูกแรกคลอดมีชีวิต 8.47 ตัวต่อครอก จำนวนลูกเกิดต่อแม่ต่อปี 19.63 ตัว จำนวนลูกหย่านมต่อแม่ต่อปี 18.17 ตัว ข้อมูลการให้ผลผลิตของแม่สุกรพันธุ์เปียแตรงนี้ เป็นข้อมูลที่ดีเลิศสำหรับสุกรพันธุ์นี้ ซึ่งเป็นสุกรสายพ่อพันธุ์ จะแตกต่างจากการให้ผลผลิตของแม่สุกรสายแม่พันธุ์อื่นๆ ซึ่งผู้เลี้ยงคงจะทราบดีอยู่แล้ว ดังนั้นในสายแม่ไม่ควรมีพันธุกรรมของสุกรพันธุ์เปียแตรงอยู่ เพราะจะทำให้ได้ลูกไม่ดก ผู้เลี้ยงจะใช้พ่อพันธุ์เปียแตรงเป็นสายพ่ออย่างเดียวเพื่อผสมข้ามกับแม่สองสายเพื่อผลิตสุกรขุน
ลักษณะการผลิตและซาก
ข้อมูลลักษณะซากที่ได้จากสุกรเปียแตรงสาย สเตรส เนกาตีบ โฮโมไซกัส (CC) ที่มีชีวิต ในฟาร์มของมหาวิทยาลัย ลิเอจ โดยใช้เครื่องอัลตร้าซาวด์ยี่ห้อ Piglog 105 ข้อมูลตั้งแต่ปี 1991 จนถึงปี 2006 จะเห็นว่าอัตราการเจริญเติบโต เนื้อสัน และ เปอร์เซ็นต์ เนื้อแดงในปี 2006 จะมีค่าสูงกว่าปีที่ถัดลงไป ดังแสดงในตารางที่ 2 แสดงให้เห็นว่าสุกรพันธุ์เปียแตรงสายใหม่ นอกจากจะไม่มียีนเครียดแล้ว ยังทำให้ลักษณะการเจริญเติบโต เปอร์เซ็นต์ เนื้อแดงสูงขึ้นด้วย
ตารางที่ 2 แสดงลักษณะการผลิตและซากของสุกรพันธุ์เปียแตรงสายสเตรส เนกาตีบ โฮโมไซกัส ในระหว่างปี 1999 – 2006
ปี |
อายุ (วัน) |
น้ำหนัก (กก.) |
ADG* (กรัม/วัน) |
L.Dors 1 (ซม.) |
L.Dors 2 (ซม.) |
Loin (ตร.ซม.) |
เนื้อแดง (%) |
1999 |
|
119.0 |
|
9.8 |
9.8 |
66.6 |
63.04 |
2000 |
243 |
131.3 |
540 |
7.0 |
9.3 |
66.3 |
64.50 |
2001 |
232 |
116.6 |
503 |
6.2 |
6.7 |
64.2 |
65.90 |
2002 |
234 |
117.8 |
500 |
7.5 |
8.4 |
66.5 |
64.75 |
2003 |
261 |
132.0 |
509 |
9.6 |
10.8 |
67.7 |
62.80 |
2004 |
226 |
118.9 |
530 |
8.7 |
9.3 |
69.4 |
64.13 |
2005 |
234 |
120.9 |
519 |
7.4 |
7.4 |
70.3 |
65.76 |
2006 |
212 |
127.0 |
600 |
7.0 |
7.0 |
75.0 |
67.06 |
*ADG น้ำหนักเริ่มต้นคิดจากน้ำหนักแรกคลอด
ภาพที่ 2 แสดงการพัฒนาของการเจริญเติบโตและเปอร์เซ็นต์ เนื้อแดงของสุกรพันธุ์เปียแตรง สายสเตรส เนกาตีบ โฮโมไซกัส โดยใช้เครื่อง Pig log 105
อัตราการเจริญเติบโตและอัตราแลกน้ำหนัก
ในปี 2006 อัตราแลกน้ำหนักของสุกร พันธุกรรมของสุกรและการปรับปรุงพันธุ์ที่ต่อเนื่องกันของสุกรพันธุ์เปียแตรงดังแสดงในภาพที่ 3 ส่วนอัตราแลกน้ำหนักเมื่อแยกตามกลุ่มของสุกรจะเห็นว่าสุกรในกลุ่มสเตรส เนกาตีบ โฮโมไซกัส มีอัตราแลกน้ำหนักต่ำที่สุด ดังแสดงในตารางที่ 3
อัตราการเจริญเติบโตของสุกรพันธุ์เปียแตรงสายสเตรส เนกาตีบ โฮโมไซกัส (CC) จะมีค่าสูงที่สุดส่วนสายที่เป็นสเตรส โพซิตีบ (TT) จะโตช้าที่สุด ดังแสดงในตารางที่ 3 ดังนั้นจึงไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมเมื่อก่อนเราใช้พ่อพันธุ์เปียแตรงผสมข้ามกับแม่สุกรสองสาย จึงทำให้ลูกโตช้า เพราะเราใช้พ่อพันธุ์สายสเตรสโพซิตีบ (TT) นี่เอง บางคนอาจจะสงสัยว่าทำไมอัตราการเจริญเติบโตถึงต่ำ เมื่อดูตัวเลขแล้วเพียง 614.59 กรัม/วัน ซึ่งตัวเลขที่ต่ำนี้เพราะเขาคิดอัตราการเจริญเติบโตจากเกิดจนถึงออกทดสอบพันธุ์ ไม่ได้คิดจากน้ำหนัก 30 กก. จนออกทดสอบพันธุ์ ดังนั้นจึงดูคล้ายกับว่ามันโตช้า แต่จริงๆ แล้วก็น่าจะอยู่ที่ 800 กรัม/วัน ขึ้นไป
ตารางที่ 3 แสดงอัตราการเจริญเติบโตและอัตราการแลกน้ำหนักของสุกรพันธุ์เปียแตรงใน
สายเสตรส เนกาตีบ โฮโมไซกัส (CC) สเตรส เนกาตีบ โฮโมไซตัส (CT) และสเตรส
โพซิตีบ (TT) จากคลอดจนถึงน้ำหนักออกทดสอบพันธุ์
สุกรในกลุ่ม |
อัตราการเจริญเติบโต (กรัม/วัน) |
อัตราการแลกน้ำหนัก |
CC |
614.59 |
2.76 |
CT |
606.62 |
2.90 |
TT |
534.00 |
3.62 |
ภาพที่ 3 แสดงการเปลี่ยนแปลงของอัตราการแลกน้ำหนักของสุกรพันธุ์เปียแตรง ตั้งแต่ปี 1996 – 2006
GQMin French means ADG
%Viand = Meat%
ภาพที่ 4 แสดงการเปลี่ยนแปลงของอัตราการเจริญเติบโตของสุกรพันธุ์เปียแตรง ตั้งแต่ปี 1996 – 2006
สิ่งที่น่าสนใจมากอันหนึ่ง คือ การปรับปรุงในเรื่องเปอร์เซ็นต์ เนื้อแดงจะเห็นว่าในสุกรเปียแตรง สเตรส เนกาตีบ โฮโมไซกัส (CC) เมื่อมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องจะทำให้เปอร์เซ็นต์ เนื้อแดงสูงขึ้นเรื่อยๆ ดังแสดงในตารางที่ 5 และภาพที่ 5
ตารางที่ 5 แสดงเปอร์เซ็นต์เนื้อแดงของสุกรพันธุ์เปียแตรงที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมีการปรับปรุงพันธุ์อย่างต่อเนื่อง
ปี |
เปอร์เซนต์เนื้อแดง |
1996 |
60.68 |
1997 |
61.07 |
1998 |
61.48 |
1999 |
63.65 |
2000 |
63.09 |
2001 |
61.98 |
2002 |
61.73 |
2003 |
62.27 |
2004 |
63.77 |
2005 |
62.84 |
2006 |
62.65 |
% Viand = Meat %
ภาพที่ 5 แสดงเปอร์เซ็นต์เนื้อแดงของสุกรพันธุ์เปียแตรงที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมีการปรับปรุง
พันธุ์อย่างต่อเนื่อง
พันธุ์เพียรเทนสายใหม่ที่ไม่มียีนเครียด
ข้อมูลจากโรงฆ่าสัตว์ที่รับสุกรขุนจากหลายๆ บริษัทที่เกิดจากการใช้พ่อสุกรพันธุ์ เปียแตรงหลายๆ พ่อผสมกับแม่สุกรและนำเข้าชำแหละในช่วงเดือนมกราคม 2006 – เดือนมิถุนายน 2007 ดังแสดงในตารางที่ 6 สิ่งที่เราเห็นได้ชัดเจนอีกอย่างหนึ่งของสุกรพันธุ์เปียแตรง สเตรส เนกาตีบ คือ หลังจากตัดแต่งซากแล้วการสูญเสียน้ำจากซาก (drip loss) จะน้อยกว่าสุกรสายพันธุ์ สเตรส โพซิตีบ และจะเห็นว่าเปอร์เซ็นต์ซากของสุกรทั้ง 2 กลุ่ม แทบไม่แตกต่างกันเลย ไม่ว่าจะเป็นเปอร์เซ็นต์ เนื้อแดงหรือความหนาไขมันสันหลัง
ตารางที่ 5 เปรีบเทียบคุณภาพซากของสุกรขุนที่เกิดจากพ่อพันธุ์เปียแตรงสาย สเตรส เนกา
ตีบ และสายสเตรส โพซิตีบ
พ่อพันธุ์ |
เปียแตรง สายสเตรส โพซิตีบ |
เปียแตรง สายสเตรส โพซิตีบ |
เปียแตรง สายสเตรส โพซิตีบ |
เปียแตรง สายสเตรส เนกาตีบ |
จำนวนสุกรขุน |
1956 |
2814 |
2905 |
2920 |
น้ำหนักซากเย็น(กก.) |
91.4 |
93.2 |
96.9 |
95.0 |
ตำแหน่ง* |
7.5 |
6.7 |
6.6 |
7.4 |
เปอร์เซ็นต์เนื้อแดง |
59.3 |
60.6 |
60.9 |
60.3 |
รูปร่างภายนอก |
1.76 |
1.74 |
1.69 |
1.87 |
ความหนาไขมันสันหลัง(มม.) |
15.4 |
14.1 |
14.3 |
14.0 |
ความลึกของเนื้อสัน (มม.) |
68.6 |
68.6 |
70.9 |
66.3 |
*การจัดระบบตำแหน่งของซาก กำหนดขึ้นเองโดยโรงฆ่าสัตว์
ภาพที่ 6 ลักษณะภายนอกของสุกรพันธุ์เปียแตรงสายสเตรส เนกกาตีบ
ภาพที่ 7 แสดงลักษณะภายนอกของสุกรพันธุ์เปียแตรงสายสเตรส เนกาตีบ ที่ส่งออกไป
ประเทศคองโก
ในเดือนธันวาคมปี 2557 ฟาร์มอะกริฟีดแอนด์ไลฟ์สต๊อค ของบริษัทอะกริไทย ได้นำเข้าสุกรเปียแตรง สายสเตรส เนกตีบ จากมหาวิทยาลัยลิเอจ ประเทศเบลเยี่ยม จำนวน 30 ตัว เข้ามาในประเทศไทย เพื่อใช้ในการปรับปรุงพันธุ์สายพ่อและระบบการผลิตสุกรขุน โดยมีฝูงตัวผู้ 6 ตัวและตัวเมีย 24 ตัว ข้อมูลการทดสอบพันธุ์ตั้งแต่ 30 กก.จนถึง 100 กก. ดังแสดงในตารางที่ 6
ตารางที่ 6 แสดงผลการทดสอบสมรรถภาพพันธุ์ของสุกรพันธุ์เปียแตรงสายสเตรส เนกาตีบ
ระหว่างเดือน ธันวาคม 2557 ถึงเดือน พฤษภาคม 2558 ในประเทศไทย
ลักษณะ |
เพศผู้ |
เพศเมีย |
รวม |
จำนวน (ตัว) |
6 |
24 |
30 |
น้ำหนักเริ่มต้น (กก.) |
34.2 |
29.8 |
30.7 |
น้ำหนักสุดท้าย (กก.) |
113.0 |
97.4 |
100.5 |
น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น (กก.) |
78.8 |
67.6 |
69.8 |
ระยะเวลาในการเลี้ยง (วัน) |
96 |
96 |
96 |
อัตราการเจริญเติบโต (กก.) |
821.2 |
704.0 |
727.4 |
ปริมาณอาหารที่ใช้ทั้งหมด (กก.) |
158.6 |
150.2 |
151.9 |
อัตราแลกน้ำหนัก |
2.01 |
2.24 |
2.20 |
ภาพที่ 8 แสดงลักษณะภายนอกของสุกรพ่อพันธุ์เปียแตรง สายสเตรส เนกาตีบ ที่ผ่านการ
ทดสอบสมรรถภาพพันธุ์ ที่ฟาร์มอะกริฟีดแอนด์ไลฟ์สต๊อค ประเทศไทย
ในปัจจุบันประเทศไทยยังไม่อนุญาตให้ใช้สารเบต้า อะดรีเนอจิก อะโกรนิส (สารเร่งเนื้อแดง) ในการปรับปรุงซากสุกร ดังนั้นผู้ผลิตสุกรควรจะหันมาสนใจการปรับปรุงพันธุ์สุกรในฟาร์มของตัวเองให้มากขึ้น โดยหลีกเลี่ยงสารที่ผิดกฎหมายในการเลี้ยงสุกร จากข้อมูลที่กล่าวมาแล้วข้างต้น จะเห็นแล้วว่าสุกรพันธุ์เปียแตรง สายสเตรส เนกาตีบ จะให้ผลผลิตไม่ว่าจะเป็นอัตราการเจริญเติบโต อัตราแลกน้ำหนักและเปอร์เซ็นต์เนื้อแดง ดีกว่าสุกรพันธุ์เปียแตรงสายสเตรส โพซิตีบ แต่ที่ดีไปกว่านั้นคือสุกรพันธุ์เปียแตรงสายสเตรส เนกาตีบ ไม่ทำให้สุกรช๊อคง่าย และเนื้อสุกรไม่มีลักษณะเนื้อมีสีชีดนิ่ม และมีน้ำเย็น (PSE) สุกรพันธุ์เปียแตรง สายเนกาตีบ น่าจะเป็นสายพ่อพันธุ์ที่จะมาแทนพ่อพันธุ์ดูรอคได้ในอนาคต ยิ่งถ้าเกษตรกรต้องการสุกรขุนที่มีหุ่นดี มีกล้ามเนื้อมาก ทุกวันนี้ผู้เลี้ยงที่ใช้พ่อสุกรพันธุ์ดูรอคอยู่อย่านึกว่าเป็นดูรอคแท้ๆ 100% ทั้งหมดนะครับ เพราะมีการนำเอาสุกรพันธุ์เปียแตรงไปผสมข้ามกับพันธุ์ดูรอคอยู่แล้ว สังเกตเห็นได้ว่าดูรอคจะมีมัดกล้ามเนื้อคล้ายเปียแตรง แต่จะมีพันธุกรรมอยู่กี่เปอร์เซ็นต์ไม่ทราบอยู่ที่เทคนิคของแต่ละฟาร์มในการปรับปรุงพันธุ์ เพื่อให้ถูกใจลูกค้าและตลาดครับ