ระเบียบกรมปศุสัตว์ว่าด้วยการอนุญาตเคลื่อนย้ายสัตว์หรือซากสัตว์เข้าในเขตควบคุมโรคระบาดสัตว์ชนิดปากและเท้าเปื่อยในภาคตะวันออกของประเทศไทย พ.ศ.2558

ระเบียบกรมปศุสัตว์ว่าด้วยการอนุญาตเคลื่อนย้ายสัตว์หรือซากสัตว์เข้าในเขตควบคุมโรคระบาดสัตว์ชนิดปากและเท้าเปื่อยในภาคตะวันออกของประเทศไทย พ.ศ.2558

จากการทำยุทธศาสตร์โรคปากและเท้าเปื่อยฉบับที่ 2 โดยแผนระหว่างปี 2559-2566 ซึ่งมีวัตถุประสงค์

  1. เพื่อควบคุม ป้องกัน และกำจัดโรคปากและเท้าเปื่อยให้หมดไปจากประเทศไทย
  2. เพื่อสร้างพื้นที่ปลอดโรคปากและเท้าเปื่อยให้ได้รับการรับรองจากองค์การสุขภาพสัตว์โลก
  3. เพื่อสนับสนุนการส่งปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ไปจำหน่ายยังต่างประเทศ

เป้าหมายของยุทธศาสตร์ คือ

  1. ประเทศไทยไม่มีการแพร่ระบาดของโรคปากและเท้าเปื่อยในสุกรที่เลี้ยงระบบฟาร์มภายใน 2 ปี (พ.ศ. 2561) และสุกรรายย่อยภายใน 4 ปี (พ.ศ. 2563)
  2. ประเทศไทยไม่มีการแพร่ระบาดของโรคปากและเท้าเปื่อยในโค กระบือ แพะ แกะภายใน 4 ปี (พ.ศ. 2563)
  3. ประเทศไทยไม่พบอุบัติการณ์โรคปากและเท้าเปื่อยในปี 2565

3.1            เขต 2 ปลอดโรคปากและเท้าเปื่อยภายในปี 2559

3.2            เขต 8 และเขต 9 ไม่พบอุบัติการณ์โรคปากและเท้าเปื่อยภายในปี 2563 และปลอดโรคปากและเท้าเปื่อยภายในปี 2564

3.3            เขต 3 และเขต 4 ไม่พบอุบัติการณ์โรคปากและเท้าเปื่อยภายในปี 2563

3.4            เขต 1 เขต 5 เขต 6  และเขต 7 ไม่พบอุบัติการณ์โรคปากและเท้าเปื่อยภายในปี 2565

ในการก้าวไปสู่พื้นที่ปลอดโรคปากและเท้าเปื่อย มีขั้นตอนตามมาตราที่ 17 แห่งพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558  ให้รัฐมนตรีประกาศกำหนดท้องที่นั้นเป็นเขตควบคุมโรคระบาด และให้ระบุชนิดของสัตว์และโรคระบาด รวมทั้งชนิดของสัตว์และซากสัตว์เพื่อควบคุมกำจัดโรค และพัฒนาเป็นพื้นที่ปลอดโรคต่อไป

ดังนั้นในการสร้างพื้นที่ภาคตะวันออกเป็นพื้นที่ปลอดโรคปากและเท้าเปื่อย กรมปศุสัตว์จึงเสนอรัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เรื่อง กำหนดท้องที่ภาคตะวันออกเป็นเขตควบคุมโรคระบาด

ชนิดปากและเท้าเปื่อยในโค กระบือ แพะ แกะ สุกร หมูป่า และกวาง ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 26 มิถุนายน 2558

ระเบียบกรมปศุสัตว์ ว่าด้วยการอนุญาต เคลื่อนย้ายสัตว์หรือซากสัตว์ เข้าในหรือผ่านเขตควบคุมโรคปากและเท้าเปื่อย พ.ศ.2558

-                  ระเบียบนี้จะกล่าวถึง สัตว์หรือซากสัตว์ ที่เกี่ยวข้องคือ โค กระบือ แพะ แกะ สุกร หมูป่า และกวาง อันรวมถึงซากของสัตว์เหล่านี้ และน้ำเชื้อสำหรับผสมพันธุ์ชนิดสุกรและโค หรือเอ็มบริโอของสัตว์

-                  กระบวนการหรือแนวทางการเคลื่อนย้ายฯ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ดังนี้

uสัตว์มีชีวิต เพื่อ ทำพันธุ์ หรือ เข้าโรงฆ่า

uซากสัตว์ เพื่อทางการค้า

uน้ำเชื้อสำหรับผสมพันธุ์ และเอ็มบริโอ

เอกสารประกอบการเคลื่อนย้ายสัตว์หรือซากสัตว์เข้าในเขตควบคุมโรคระบาดสัตว์ชนิดปากและเท้าเปื่อยในภาคตะวันออกของประเทศไทย

  1. การเคลื่อนย้ายสัตว์เข้าโรงฆ่า

        1.1  บันทึกข้อความตามหนังสือที่ กษ 0621/ว 2551 ลงวันที่ 31 สิงหาคม 2558 โดยสำนักงานปศุสัตว์จังหวัด ต้นทางต้องทำเครื่องหมายและกรอบแบบฟอร์มให้ครบถ้วน

        1.2  คำขออนุญาตนำหรือย้ายสัตว์หรือซากสัตว์ภายในราชอาณาจักร (ร.1)

        1.3  สำเนาใบรับรองฟาร์มปลอดโรคปากและเท้าเปื่อยที่ได้ขึ้นทะเบียนจากคณะกรรมการฯ (หมดเขตผ่อนผันการขึ้นทะเบียนจากคณะกรรมการฯ วันที่ 30 กันยายน 2558)

        1.4  ใบรับรองการฉีดวัคซีนจากต้นทาง

        1.5  บันทึกสั่งกักสัตว์จากต้นทาง

        1.6  สำเนาสถานกักกันสัตว์ปลายทาง ต.ร.3 หรือ ต.ร.4 (ถ้ามี)

        1.7  สำเนาใบรับรองว่าเป็นโรงฆ่า GMP

        18.  สำเนา ร.10 จากต้นทาง

  1. การเคลื่อนย้ายสัตว์ที่มิได้มีจุดประสงค์เข้าโรงฆ่า

        2.1  บันทึกข้อความตามหนังสือที่ กษ 0621/ว 2551 ลงวันที่ 31 สิงหาคม 2558 โดยสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดต้นทางต้องทำเครื่องหมายและกรอกเบบฟอร์มให้ครบถ้วน

        2.2  คำขออนุญาตนำหรือย้ายสัตว์หรือซากสัตว์ภายในราชอาณาจักร (ร.1)

        2.3  สำเนาใบรับรองฟาร์มปลอดโรคปากและเท้าเปื่อยที่ได้ขึ้นทะเบียนจากคณะกรรมการฯ (หมดเขตผ่อนผันการขึ้นทะเบียนจากคณะกรรมการฯ วันที่ 30 กันยายน 2558)

        2.4  ใบรับรองการฉีดวัคซีนจากต้นทาง

                2.4.1  หากเป็นการเคลื่อนย้ายลูกสุกรที่อายุน้อยกว่า 8 สัปดาห์ และ/หรือ ลูกโค ลูกกระบือ ลูกแพะ ลูกแกะ ที่มีอายุน้อยกว่า 4 เดือน ให้สัตวแพทย์ประจำท้องที่ระบุในบันทึกสั่งกักด้วย เนื่องจากมีอำนาจในการยกเว้นการฉีดวัคซีนในสัตว์ดังกล่าวได้

        2.5  บันทึกสั่งกักสัตว์จากต้นทาง

        2.6  ใบตอบผลทางห้องปฏิบัติการ โดยจะต้องให้ผล NSP negative ของสัตว์ที่จะเคลื่อนย้ายทุกตัว ผลทางห้องปฏิบัติการต้องมีอายุไม่เกิน 1 เดือน และต้องอยู่ในช่วงสั่งกัก

        2.7  สำเนาหนังสือรับรองสถานกักกันสัตว์ปลายทาง (ตร.3 หรือ ต.ร.4)

        2.8  สำเนา ร.10 จากต้นทาง

  1. “ระเบียบกรมปศุสัตว์ว่าด้วยการอนุญาตเคลื่อนย้ายสัตว์หรือซากสัตว์ เข้าในหรือผ่านเขตควบคุมโรคระบาดหรือเขตปลอดโรคระบาด ชนิดปากและเท้าเปื่อยในภาคตะวันออกของประเทศไทย พ.ศ.2558

การเคลื่อนย้ายสัตว์ เพื่อเข้าโรงฆ่า

            สัตว์ต้องมาจากฟาร์มปลอดโรค FMD เกิดหรืออยู่ในฟาร์มนั้น เป็นระยะเวลาไม่น้อย

            กว่า 90 วัน และพื้นที่โดยรอบฟาร์มต้องไม่เกิดการระบาดในรัศมี 10 กม. ตามระยะ

            เวลาดังกล่าว

            หลังจากนั้นจะมีการกักดูอาการ ระยะเวลา 30 วันก่อนการเคลื่อนย้าย และ บริเวณ

            โดยรอบสถานที่กักสัตว์ในรัศมี 10 กม. ต้องไม่พบการระบาดของโรค FMD ตาม

            ระยะเวลาดังกล่าว

            มีการฉีดวัคซีนเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 30 วัน และไม่เกิน 120 วัน

      หมายเหตุ : ความแตกต่างของสัตว์เข้าโรงฆ่าคือ ไม่มีการเก็บตัวอย่างตรวจพิสูจน์

  1. “ระเบียบกรมปศุสัตว์ว่าด้วยการอนุญาตเคลื่อนย้ายสัตว์หรือซากสัตว์ เข้าในหรือผ่านเขตควบคุมโรคระบาดหรือเขตปลอดโรคระบาด ชนิดปากและเท้าเปื่อยในภาคตะวันออกของประเทศไทย พ.ศ.2558

การเคลื่อนย้ายสัตว์ เพื่อทำพันธุ์

   สัตว์ต้องมาจากฟาร์มปลอดโรค FMD อยู่ในฟาร์มนั้น เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 90

   วันหรือเกิดในฟาร์มนั้น และพื้นที่โดยรอบฟาร์มต้องไม่เกิดการระบาดในรัศมี 10 กม.

   ตามระยะเวลาดังกล่าว

   หลังจากนั้นจะมีการกักดูอาการ ระยะเวลา 30 วันก่อนการเคลื่อนย้าย พร้อมเก็บ

   ตัวอย่างพิสูจน์การติดโรค FMD (ผลการตรวจ NSP ต้องเป็นลบ) และบริเวณโดย

   รอบสถานที่กักสัตว์ในรัศมี 10 กม. ต้องไม่พบการระบาดของโรค FMD ตามระยะ

   เวลาดังกล่าว

   มีการฉีดวัคซีนเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 30 วัน และไม่เกิน 120 วัน ก่อนการ

   เคลื่อนย้าย

  1. “ระเบียบกรมปศุสัตว์ว่าด้วยการอนุญาตเคลื่อนย้ายสัตว์หรือซากสัตว์ เข้าในหรือผ่านเขตควบคุมโรคระบาดหรือเขตปลอดโรคระบาด ชนิดปากและเท้าเปื่อยในภาคตะวันออกของประเทศไทย พ.ศ.2558

การเคลื่อนย้ายซากสัตว์ ประเภทเนื้อสัตว์ ต้องเป็นซากที่ได้จากสัตว์ซึ่ง

            สัตว์ต้องมาจากฟาร์มปลอดโรค FMD เกิดหรืออยู่ในฟาร์มนั้น เป็นระยะเวลาไม่น้อย

            กว่า 90 วัน ก่อนเข้าฆ่า และพื้นที่โดยรอบต้องไม่เกิดการระบาดในรัศมี 10 กม.

            ระยะเวลา 30 วัน

            ต้องผ่านกระบวนการฆ่าจากโรงฆ่าสัตว์ GMP และโรงฆ่าสัตว์ต้องไม่พบโรคระหว่าง

            การฆ่า

            มีการฉีดวัคซีน 2 ครั้ง และครั้งสุดท้ายไม่น้อยกว่า 30 วัน และไม่เกิน 120 วัน ก่อน

            เข้าฆ่า

            ต้องเป็นเนื้อถอดกระดูก ซึ่งไม่มีเท้า หัวและเครื่องใน และเนื้อนั้นต้องไม่ปนต่อมน้ำ

            เหลือง โดยก่อนการถอดกระดูกจะต้องเก็บซากสัตว์ไว้ที่อุณหภูมิระหว่าง 2 ถึง 4

            องศาเซลเซียส เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง หรือวัดค่า pH ที่กล้ามเนื้อได้ต่ำกว่า

            6.0

  1. ผลการตรวจรับรองและขึ้นบัญชี

    ฟาร์มปลอดโรคปากและเท้าเปื่อย

        จำนวนที่ตรวจสอบ...42...ฟาร์ม

        จำนวนที่ผ่านการตรวจสอบ...33...ฟาร์ม

        และ มีฟาร์มมาตรฐานกำลังขอสถานะฟาร์มปลอดโรคฯ เพื่อขอตรวจสอบอีกประมาณ 200 ฟาร์ม

     โรงฆ่าสัตว์ GMP.

        จำนวนที่ตรวจสอบ....6....โรง

        จำนวนที่ผ่านการตรวจสอบ...6...โรง

ข้อมูลถึง ก.ค.2558

ดาวน์โหลด ระเบียบกรมปศุสัตว์ว่าด้วยการอนุญาตเคลื่อนย้ายสัตว์หรือซากสัตว์เข้าในเขตควบคุมโรคระบาดสัตว์ชนิดปากและเท้าเปื่อยในภาคตะวันออกของประเทศไทย พ.ศ.2558

 

Visitors: 398,084