Pig Parliament News

พิธาสวนรัฐบาล สุกเอาเผากินบี้สต็อกหมูเอาหน้ารอด ทำคนเลี้ยงหมูน้ำตาตกหลังราคาดิ่งลง

1กุมภาพันธ์ 2565 รัฐสภา – หัวหน้าพรรคก้าวไกลสวนรัฐบาลแก้ปัญหาให้ตัวเอง แบบ “สุกเอาเผากิน” บี้สต็อกกดดันราคาหมูเอาตัวรอดทางการเมือง แต่กลับชี้แจงราคาสุกรเป็นไปตามกลไกตลาด

              นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล อภิปรายเชิงเสนอแนะและตั้งคำถาม 3 ข้อถึง พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ควรเร่งใส่ใจและแก้ปัญหาเรื่องสินค้าราคาแพง อุตสาหกรรมแห่งอนาคต และปัญหาการค้ามนุษย์

              ช่วงหนึ่งนายพิธา ได้กล่าวถึงการแก้ปัญหาราคาเนื้อสุกรที่สูงขึ้นของรัฐบาล โดยการใช้กลยุทธ์ตรวจสต็อกห้องเย็นทั่วประเทศ ทำให้บรรดาห้องเย็นเอกชนทั้งหลายกดดันให้ผู้ฝากนำเนื้อสุกรออกจากการนำเข้าฝาก ซึ่งทำให้การบริหารสินค้าคงคลังในอุตสาหกรรมสุกรเสียหาย ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาให้ตัวเอง ทำให้สต็อกหมูลดลงมา อาจส่งผลให้เดือนมีนาคมปีนี้หมูกลับมาแพงอีกรอ  

              นายพิธาได้กล่าวถึง Inflation Rate ที่เป็นหนึ่งใน Economic Indicator ที่รัฐบาลไทยต้องหัดมองให้แตกฉาน เพราะทฤษฎีเงินเฟ้อที่ใช้กันมากว่า 200 ปี น่าจะใช้ไม่ได้แล้ว ซึ่งคงต้องให้เป็นการบ้านรัฐบาลเอากลับคิดโยงใยเองว่าจะบริหารจัดการ Inflation Rate กับ GDP อย่างไร เพราะเป็นตัวเลขที่ไปทางเดียวกัน ไปตระหนกตัวหนึ่งและแทรกแซงเกินอำนาจหน้าที่ ก็จะไปกระทบ GDP

              จากราคาสุกรขุนหน้าฟาร์มที่ลดลงเร็วนายสุรชัย สุทธิธรรม นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ได้ประเมินผลกระทบจากการเร่งระบายเนื้อสุกร ทำให้ความต้องการสุกรขุนเข้าโรงเชือดลดลงจากเฉลี่ย 45,000 ตัวต่อวัน เหลือเพียง 20,000 ตัวต่อวัน ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ที่ราคาเนื้อสุกรเกิน 200 บาทต่อกิโลกรัม

              ทีมงานวิชาการสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ มองปัญหาการนำเสนอข่าวราคาหมูแพงของสื่อต่างๆ เป็นเรื่องปกติของสื่อไทย ไม่เคยเปลี่ยน การเสนอข่าวมักเสนอไม่ครบ ที่สมัยก่อนมักชอบเปรียบเทียบราคาไข่ไก่ของแต่ละนายกรัฐมนตรี แต่เมื่อสภาพเศรษฐกิจเปลี่ยนไป ราคาไข่ไก่กลายเป็นเรื่องเล็กน้อย แม้แต่ราคาเนื้อสัตว์ก็ตาม เพราะคนไทยมีค่าใช้จ่ายการใช้ชีวิตสูงขึ้นมาก ชนิดที่ไม่ได้ใส่ใจเรื่องค่าใช้จ่ายด้านวัตถุดิบอาหาร เช่น ไข่ไก่ เนื้อหมู เนื้อไก่ อีกแล้ว  ในขณะที่รัฐบาลไทย กระทรวงพาณิชย์ และแม้แต่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กับยังตื่นตระหนกเกินเหตุ กับ การเสนอข่าวของสื่อและฝ่ายค้าน จนขาดหลักในการบริหารราคาสินค้าโภคภัณฑ์เหล่านี้ จนทำให้ราคาสุกรหน้าฟาร์มใกล้ราคาที่ต้องประสบกับสภาวะขาดทุนในเร็วๆ นี้

              สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติชี้แจงกับสังคมเสมอมาว่าราคาสุกรเป็นไปตามกลไกตลาด เวลาราคาขาขึ้นจะถูกแทรกแซงราคาเสมอๆ ซึ่งปัจจุบันกรมการค้าภายในเริ่มเข้าใจกรอบของกฎหมายที่ใช้ในการกำกับดูแลมากขึ้น แต่จะถูกภาคการเมืองกดดันให้จัดการราคาสุกรให้เด็ดขาดจึงเกิดปฏิบัติการที่แสดงถึงความไม่เข้าใจผลกระทบทางเศรษฐกิจที่จะตามมา ทั้งหนี้สินเกษตรกรที่เป็นส่วนสำคัญของหนี้สินภาคครัวเรือนที่เสียโอกาสในการบรรเทา ที่ทะยานขึ้นจากช่วงการระบาดของโรคร้ายแรงในสุกรช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ(GDP) หนี้สินสาธารณะของรัฐบาลที่น่าจะได้อานิสงส์ไปด้วยก็เสียโอกาสไป เช่นกัน โดยปัจจุบันหนี้สินภาคครัวเรือน ณ สิ้นปี 2564 น่าจะอยู่ระดับ 14.4-14.5 ล้านล้านบาท หรือ 90% ของ GDP ที่มีแนวโน้มพุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง ยังไม่เห็นรัฐบาลไหนขยับ หรือหาเจ้าภาพร่วมในการลดตัวเลขนี้เลย ซึ่งจะไปลดอำนาจซื้อของภาคครัวเรือนอย่างมาก การบริหารเศรษฐกิจของรัฐบาลก็จะยากยิ่งขึ้น

              สินค้าเกษตรทุกชนิดควรได้รับการดูแลผลผลิตและราคาที่สะท้อนต้นทุน จะทำให้การจัดการ GDP รายสินค้ามีเป้าหมาย ที่จะไปลดปัญหาหนี้สินเกษตรกรอย่างมีการบริหารจัดการ แต่ที่ผ่านมายังไม่ปรากฎการมองเส้นทางเศรษฐกิจของแต่ละผลิตภัณฑ์ได้อย่างเข้าใจลึกซึ้ง ทำให้อัตราการเติบโต GDP ประเทศไทยเติบโตน้อยลงมาตลอด ในระดับเพิ่มเพียงปีละ 3-4% ซึ่งบุคลากรทางการเมืองไทยยังขาดมือระดับเจ้ากระทรวงที่มือถึง มีการวางเส้นทางของเศรษฐกิจที่จะเอื้อต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจด้วยตัวเองเป็นรายสินค้า แทนที่จะใช้แต่งบประมาณแผ่นดินมากระตุ้น ที่สามารถผลักดันได้เพียง 10% ของมูลค่าทางเศรษฐกิจเท่านั้น ซึ่งจะตามมาด้วยตัวเลขหนี้สาธารณะ เช่น รายได้จากการจัดเก็บของรัฐบาล ไตรมาส 1 ปีงบประมาณ 2565(ตุลาคม-ธันวาคม 2564) จัดเก็บได้ 5.3 แสนล้าน แต่ก็กู้กว่า 3 แสนล้าน

 

              การดูแลราคาวัตถุดิบต้นทางต้องดูแลทั้ง Floor และ Cap เช่น ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สูงขึ้นแบบไร้การควบคุม กับสารพัดปัจจัยบวกที่รัฐบาลประเคนให้ ในขณะที่มีการเข้มงวดต่อสินค้ากลุ่มเกษตรปศุสัตว์ ทั้ง หมู ไก่ ไข่ ที่ต้นทุนการผลิตสูงแล้วสูงอีกจากการที่รองนายกฯ จุรินทร์ชี้แจงในสภาว่าดูแลตลอดห่วงโซ่ แต่มีการคุมราคาจำหน่ายโดยอ้างผู้บริโภคเสมอมา สินค้าควบคุมไม่ได้ให้อำนาจควบคุมตามอำเภอใจ ต้องกลับไปทำความเข้าใจให้ละเอียดกับพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ.2542 ให้ดี   ทั้งๆ ที่ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีราคาประกันที่กิโลกรัมละ 8.50 บาท ในขณะที่ต้นทุนต่อไร่ที่ 4,000-5,000 บาท ณ ผลผลิตที่คาดการณ์โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรปี 2565 ที่ 700 กิโลกรัมต่อไร่ เท่ากับต้นทุนต่อกิโลกรัม 5.72-7.15 บาทต่อกิโลกรัมเท่านั้น แต่ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หน้าโรงงานอาหารสัตว์สูงถึง 11.10 บาทต่อกิโลกรัมในสัปดาห์นี้(Gross Profit 55.25-94.06%) สูงมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี 2564 ที่ราคาหน้าโรงงานอาหารสัตว์ประมาณ 9.20 บาทต่อกิโลกรัม เกษตรกรภาคปศุสัตว์คงต้องรอเจ้ากระทรวงที่มือถึงและไม่เลือกปฏิบัติ หรือไม่งั้นภาคปศุสัตว์ต้องเข้มแข็งและจี้แบบไม่ปล่อยกรณีการกดดันภาคปศุสัตว์ จนไปกดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไม่ให้ติดบวก จนทำให้ภาคปศุสัตว์ และเศรษฐกิจของประเทศโดยรวมเสียหาย  อีกแนวทางหนึ่งก็คือใช้วิจารญาณในการไม่เลือกพรรคการเมืองนั้นๆ อีก ที่นับวันจะขาดแคลนกูรูและหัวก้าวหน้าที่รอบด้านเศรษฐกิจลงไปทุกที  

ที่มา : วิชาการสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ 

Visitors: 397,126