สรุปสัมมนางาน “โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African Swine Fever-ASF) มหันตภัยวงการสุกรไทย ทำอย่างไรจะรอดพ้น”
สรุปสัมมนางาน “โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African Swine Fever-ASF) มหันตภัยวงการสุกรไทย ทำอย่างไรจะรอดพ้น”
สรุปโดย นายสัตวแพทย์ฐปณัฐ สงคสุภา นายสัตวแพทย์ชำนาญการ สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ กลุ่มไวรัสวิทยา
18 กันยายน 2561 โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ กรุงเทพฯ - นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธานการสัมมนา “โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African Swine Fever-ASF) มหันตภัยวงการสุกรไทย ทำอย่างไรจะรอดพ้น” จัดโดยสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญจากสาธารณรัฐประชาชนจีนและผู้มีประสบการณ์จากยุโรปมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ของโรคและมาตรการควบคุมโรค เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดมาตรการควบคุมป้องกันโรค และจัดทำแผนเตรียมความพร้อมเผชิญเหตุโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร
เนื้อหา
Session 1: updates on the global and regional ASF situation
“ASF current situation in China and EU”
โดย Dr. Ronello Abila, OIE Sub-Regional Representative for South-East Asia
Session 2: ASF risks in Thailand
“ASF risks update” โดย ผศ.น.สพ.คัมภีร์ กอธีระกุล, ผู้เชี่ยวชาญวงการสุกร
Session 3: Lessons learned from ASF in China
“Case of ASF in China” โดย Dr Shao Guoqing, Jiangsu Academy of Agricultural Sciences
“Case of ASF in China II” โดย Dr Cai Xuchui
Session 4: Lessons learned from ASF in EU
“Case of ASF in EU” โดย Dr John Carr, Specialist in Pig Medicine UK
Session 5: มาตรการควบคุมโรค ASF
“แนวทางมาตรการป้องกันโรค ASF ในประเทศไทย”
โดย สพ.ญ.นพวรรณ บัวมีธูป, ผู้อานวยการกลุ่มพัฒนาระบบสุขภาพสัตว์ กรมปศุสัตว์
Session 1: updates on the global and regional ASF situation
1. บรรยายพิเศษเรื่อง “ASF current situation in China and EU”
โดย Dr. Ronello Abila, OIE Sub-Regional Representative for South-East Asia
- สถานการณ์การระบาดของโรค ASF ปี 2561 มีพื้นที่การระบาดในหลายทวีป ได้แก่ แอฟริกา ยุโรป (สาธารณรัฐเช็ก โรมาเนีย บัลแกเรีย สหพันธรัฐรัสเซีย เบลเยียม) และเอเชีย (จีน มองโกเลีย)
- สถานการณ์ของโรคนี้ ในยุโรป 2560-2561 พบว่ามากกว่า 25% ของพื้นที่ทวีปยุโรปมีการตรวจพบรายงานโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร โดยเจอทั้งในสุกรป่าและสุกรเลี้ยง
- การระบาดของโรคดังกล่าว สร้างความสูญเสียมหาศาลแก่การเลี้ยงสุกรและอุตสาหกรรมสุกร คิดเป็นสุกรเลี้ยงจำนวนมากกว่า 227,000 ตัว และสุกรป่า มากกว่า 7,500 ตัว
- ข้อมูลการระบาดของโรคพบว่า การระบาดของโรคในช่วงระหว่างปี 2550-2557 มีการรายงานตรวจพบการระบาดของโรค น้อยกว่า 60 ครั้ง ขณะที่ช่วงปัจจุบันระหว่างปี 2557-2561 มีปริมาณการระบาดและรายงานโรคมากถึง 820 ครั้งทั่วโลก นั่นหมายถึงการมีปัจจัยบางอย่างที่กระตุ้นให้เกิดการระบาดครั้งใหญ่ของโรค ASF
- องค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) ได้จัดทำแผนที่การระบาดของโรค คู่มือการปฏิบัติงานด้านการควบคุมป้องกันโรค คู่มือการตรวจวินิจฉัยโรคทางห้องปฏิบัติการ และแอพพลิเคชันทางโทรศัพท์มือถือ WAHIS เพื่อเฝ้าระวังโรคแบบเรียลไทม์
- ความปลอดภัยทางชีวภาพอย่างเข้มงวด เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการนาเข้าของเชื้อ เข้าสู่ฟาร์มการเลี้ยงสุกร
- ระบบการแจ้งโรค (notification obligation) เมื่อมีการตรวจเจอสุกรที่มีอาการตามนิยามให้แจ้ง key responsibility ของประเทศนั้นๆ และทำการแจ้งมายัง OIE ภายใน 24 ชม.
- สุกรที่ตรวจให้ผลบวกทางห้องปฏิบัติการต่อโรค ASF ให้ทำลาย ณ พื้นที่นั้นๆ
Session 2: ASF risks in Thailand
2. บรรยายพิเศษเรื่อง “ASF risks update”
โดย ผศ.น.สพ.คัมภีร์ กอธีระกุล, ผู้เชี่ยวชาญวงการสุกร
- เนื่องด้วยเชื้อมีความทนทานสูงในสภาวะแวดล้อม ดังนั้นผลิตภัณฑ์จากสุกรจึงมีความเสี่ยงสูงในการแพร่ระบาดของโรค โดยมีความเสี่ยงสูงมากกว่าการแพร่ระบาดจาก สุกรป่าสู่สุกรเลี้ยง และสุกรเลี้ยงสู่สุกรเลี้ยง
- อาหารเหลือจากท่าเรือหรือท่าอากาศยาน (port of entry) ต่างๆ ทั้งทางบก อากาศและเรือ มีความเสี่ยงที่จะแพร่โรคไปยังสุกรได้ ดั่งที่เคยมีการระบาดของโรคจากทวีปแอฟริกาไปสู่ประเทศจอร์เจีย ต้องมีการเข้มงวดไม่ไห้อาหารส่วนนี้นำไปใช้ในการเลี้ยงสุกร
- อาหารที่เหลือจากครัวเรือน และภัตตาคาร หากไม่มีการจัดการที่ชัดเจน ก็อาจจะมีความเสี่ยงในการแพร่โรคไปยังสุกรได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่บ่อขยะ ที่มีพื้นที่ติดต่อกับสุกรป่า
- ภาครัฐต้องเตรียมความพร้อมในการเตรียมน้ำยาฆ่าเชื้อ และชุดตรวจทดสอบภาคสนาม เพื่อยับยั้งโรคในทันทีที่เกิดการตรวจพบโรค (early detection)
Session 3: Lessons learned from ASF in China
3. บรรยายพิเศษเรื่อง “Case of ASF in China”
โดย Dr Shao Guoqing, Jiangsu Academy of Agricultural Sciences
- มีการเตรียมความพร้อมรับมือการระบาดของโรค ASF ในสาธารณรัฐประชาชนจีนแล้ว แต่เนื่องจากโรคนี้เป็นโรคอุบัติใหม่ จึงไม่มีประสบการณ์ในการควบคุมโรคดังกล่าว ปัจจุบันใช้ข้อมูลการควบคุมโรคอื่นๆ มาประยุกต์ในการควบคุมโรคนี้
- หัวใจสำคัญในมาตรการควบคุมโรค คือ Early (detection/report/diagnosis), Fast (response), Strict (measures) และ Small (minimize the impact) หรือ EFSS
- มาตรการควบคุมโรคจะได้รับร่วมมือ หากมีการชดเชยเกษตรกร 100% ดังนั้นภาครัฐ จึงต้องหางบในการชดเชยสุกรที่ทำลายในมาตรการการควบคุมโรค
- ข้อมูลทางระบาดวิทยาของเชื้อในประเทศจีน พบว่าเชื้อมีลักษณะทางชีวโมเลกุลคล้ายคลึงกับ Eastern Europe (genotype II) และมีความคล้ายคลึงกับเชื้อที่แยกได้ในประเทศจอร์เจีย ปี 2550 โดยจากข้อมูลพบว่ามีการเดินทางจากจีน-แอฟริกา แต่เชื้อที่ระบาดในประเทศจีนอยู่คนละกลุ่มกับที่ระบาดในทวีปแอฟริกา
- การระบาดของโรคในจีน อยู่ในพื้นที่ทีมีการเลี้ยงสุกรหนาแน่น ตะวันออกเฉียงเหนือ, เหนือ และ ตะวันออกของประเทศ
- สมมติฐานการระบาดของโรคในประเทศ น่าจะมาจากการนำเข้าเนื้อและผลิตภัณฑ์สุกร จากประเทศรัสเซียที่มีการระบาดของโรค ASF เข้าสู่ประเทศ
- ข้อมูลทางห้องปฏิบัติการพบว่า เนื้อสุกรที่มีการติดเชื้อ น้ำหนัก 1 กรัม มีปริมาณเชื้อ 109ID50 (10 ยกกำลัง 9 ต่อ 50% ของ Infection Dose)
- มาตรการทางภาครัฐต้องเข้มงวดการนำเข้าเนื้อและผลิตภัณฑ์สุกร และการรณรงค์หลีกเลี่ยงการใช้เศษน้ำเศษอาหาร (swill feed) ในการเลี้ยงสุกร
4. บรรยายพิเศษเรื่อง “Case of ASF in China II”
โดย Dr Cai Xuchui
- กรณีตัวอย่างฟาร์มสุกรที่มีการระบาดของโรค ASF
o ฟาร์มสุกรใหม่ เดือนพฤษภาคม – มิถุนายน 2561 มีการรับสุกร 4,000 ตัว สุกรมีการตรวจโรคก่อนนำเข้าฟาร์ม โดยปลอดโรคอหิวาต์สุกร(CSF) โรคพิษสุนัขบ้าเทียม(AD) โรคพีอาร์อาร์เอส(PRRS) โรคปอดและเยื่อหุ้มปอดอักเสบ(APP) และ โรคไมโคพลาสมา(mycoplasma)
o ช่วงเดือน พฤษภาคมถึงสิงหาคม 2561 มีการตายของสุกร 18 ตัว มีอาการถ่ายเหลวเป็นเลือดสด จึงมองข้ามและไม่ได้สอบสวนสาเหตุการตาย เนื่องจากคิดว่าน่าจะเป็นโรคติดเชื้อโรคท้องเสียในสุกร (Lawsonia intracellularis)
o วันที่ 15 สิงหาคม 2561 สุกร 3 ตัวมีอาการไข้สูง และตายเฉียบพลัน ไม่ตอบสนองต่อการรักษา
o วันที่ 16 สิงหาคม 2561 สุกรป่วยเพิ่ม 16 ตัว และตายทั้งหมด 8 ตัว
o วันที่ 17 สิงหาคม 2561 สุกรป่วยเพิ่ม 150 ตัว และตายทั้งหมด 23 ตัว
o วันที่ 18 สิงหาคม 2561 สุกรป่วยเพิ่ม 300 ตัว และตายทั้งหมด 26 ตัว
o วันที่ 19 สิงหาคม 2561 ทำการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ผลตรวจเป็นบวกต่อ ASF จึงทำการแจ้งภาครัฐและสั่งทำลายซากภายใน 24-36 ชั่วโมง และขยายพื้นที่รอบฟาร์มนี้ 3 กิโลเมตร เพื่อทำลายสุกรทั้งหมด 15,000 ตัว
- จากการสอบสวนเพิ่มเติม โดยได้ทำการตรวจสอบย้อนกลับไปยังฟาร์มต้นทาง โรงฆ่าและโรงงานผลิตภัณฑ์อาหาร ให้ผลการทดสอบเป็นลบ จึงไม่ทราบสาเหตุของการระบาดของโรคดังกล่าว
- ลักษณะอาการสัตว์ป่วยที่พบ ดีซ่าน เลือดออกทางจมูก ถ่ายเหลวมีเลือดปน มีไข้สูง 41-42 องศาเซลเซียส นอนสุมรวมกัน ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ หายใจลำบาก มีอาการทางประสาทร่วม เช่น ชัก และถีบขาก่อนตาย ม้ามโต ขยายขนาดมากกว่า 3-6เท่า (เกือบ10เท่า) เลือดออกหลายอวัยวะ ต่อมน้าเหลืองขั้วลาไส้มีเลือดออก ปอดบวมน้า ปอดอักเสบและจุดเลือดออกที่ปอด ท้องมาน
Session 4: Lessons learned from ASF in EU
5. บรรยายพิเศษเรื่อง “Case of ASF in EU”
โดย Dr John Carr, Specialist in Pig Medicine UK
- เกิดจากเชื้อไวรัสดีเอ็นเอสายคู่(double-stranded DNA) ที่มีเปลือกหุ้ม และสามารถจัดแบ่ง genotype จาก p72 nucleotide sequence (B646L gene) ของ African swine fever virus (ASFV) ได้ถึง 22 จีโนไทป์ เชื้อมีความทนทานสูงในสิ่งแวดล้อม สามารถแพร่ผ่านเห็บ เช่น Carios spp.
- โรคมีการระบาดแถบคาบสมุทรบอลติก โดยแพร่ขึ้นเหนือและลงใต้ การแพร่ระบาดของโรคที่โรมาเนีย เกิดจากผลิตภัณฑ์จากสุกรขณะที่ โปแลนด์ เกิดจากหมูป่าและหมูเลี้ยง
- จากข้อมูลทางระบาดวิทยา พบว่าหมูป่ามีขอบเขตการเดินทาง ประมาณ 25 กิโลเมตร แต่เส้นทางจะไม่เกิน 5 กิโลเมตร ดังนั้นการระบาดของโรคจาก สาธารณรัฐเช็กไปยังเบลเยียม ไม่สามารถทำได้ในระยะเวลาไม่กี่วัน มนุษย์จึงเป็นตัวการที่สำคัญของการแพร่ระบาดโรคนี้
- ลักษณะอาการสัตว์ป่วยที่พบเช่นเดียวกับที่พบในสาธารณรัฐประชาชนจีน คือ ตายเฉียบพลันทุกช่วงอายุ ถ่ายเหลวมีเลือดปน มีไข้สูง 42องศาเซลเซียส เปื้อนเลือดออกตามใบหู นอนสุมรวมกัน ไม่ลุกเดิน ม้ามโตเลือดออกหลายอวัยวะ แท้งในฟาร์มแม่พันธุ์ (กรณีที่ระบาด พบ สุกรท้อง จำนวน 800 ตัว จะแท้งทั้งหมดภายใน 4 วัน) ระยะฟักตัว 3-15วัน และจะตายภายใน 2 วันหลังแสดงอาการ
- การตรวจวินิจฉัยแยกแยะ โรคอหิวาต์สุกร(CSF) โรคพีอาร์อาร์เอส(PRRS) โรคไข้หนังแดง(PDNS Erysipelas) โรคปอดและเยื่อหุ้มปอดอักเสบ(APP) ยาละลายลิ่มเลือด (warfarin) และเชื้อแบคทีเรียHaemophulus parasuisที่เป็นเชื้อสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคแกลสเซอร์(Glasser) ในสุกรไม่สามารถแยกได้จากตาเปล่าต้องส่งห้องปฏิบัติการตรวจยืนยัน และควรอัดวีดีโออาการประกอบการวินิจฉัยโรคด้วย
Session 5: มาตรการควบคุมโรค ASF
6. บรรยายพิเศษเรื่อง “แนวทางมาตรการป้องกันโรค ASF ในประเทศไทย”
โดย สพ.ญ.นพวรรณ บัวมีธูป, ผู้อานวยการกลุ่มพัฒนาระบบสุขภาพสัตว์
- มาตรการของประเทศไทย 4P ได้แก่ public-private partnership, precaution, prevention, preparedness
- จากการประเมินความเสี่ยง พบพื้นที่เสี่ยงมากบริเวณชายแดนของประเทศ
- มาตรการของประเทศไทย เข้มงวดการนำเข้าสุกรและผลิตภัณฑ์ตามแนวชายแดน และท่าอากาศยานระหว่างประเทศ ชะลอการนำเข้า 90 วัน
- มาตรการควบคุมโรคเมื่อพบสุกรสงสัย มีรัศมีควบคุมโรคชั่วคราว 5 กิโลเมตร ระยะเวลา 1 เดือน และจัดการทำลายซาก เข้มงวดการเข้าออกพื้นที่ น้ำยาฆ่าเชื้อ
- มาตรการควบคุมโรคกรณีผลบวก ASF ให้ทำลายสัตว์ในพื้นที่รัศมี 5 กิโลเมตร เข้มงวดการเข้าออก ตั้งจุดตรวจในพื้นที่ งดการฆ่าในพื้นที่ ค้นหาโรคเพิ่มเติม เฝ้าระวังโรค
บทสรุป
เนื่องด้วยโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร สร้างความเสียหายต่ออุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกร คิดเป็นมูลค่ามหาศาล ด้วยความคงทนของเชื้อในสิ่งแวดล้อมและการเข้ามาของเชื้อ สามารถติดต่อได้หลายทาง เช่น สุกรมีชีวิต ผลิตภัณฑ์จากสุกร ทาให้ควบคุมป้องกันโรคเป็นไปได้อย่างยากลาบาก ต้องอาศัยความร่วมมือหลายภาคส่วน และความร่วมมือจากนานาประเทศในการควบคุมป้องกันโรคต่อไป เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการสร้างเขตประเทศปลอดโรคต่อไป