ภาคเอกชนมองทะลุ หมูอเมริกามาพร้อมบูรณการภาคเกษตรทั้งระบบ และเอื้อบริษัทเวชภัณฑ์ผู้จำหน่ายแรคโตพามีน
ภาคเอกชนมองทะลุ หมูอเมริกามาพร้อมบูรณการภาคเกษตรทั้งระบบ และเอื้อบริษัทเวชภัณฑ์ผู้จำหน่ายแรคโตพามีน
22 พฤศจิกายน 2560 กรุงเทพฯ – นักวิชาการระดมสมองหาทางออกแก้ปัญหาการกดดันจากสหรัฐอเมริกาเรื่องการผลักดันสินค้าเนื้อและชิ้นส่วนสุกรจากสหรัฐอเมริกา
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย สกว. จัดระดมความคิด “การประชุมหารือกรอบการวิจัยเพื่อเป็นข้อมูลในการพิจารณาเกี่ยวกับสาร Ractopamine กับการนำเข้าเนื้อสุกร” ซึ่งเป็นการประชุมเพื่อนำเสนอข้อมูลในลักษณะปกปิด เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2560 ที่ผ่านมา
นักวิชาการท่านหนึ่งที่มีประสบการณ์การเจรจาการค้าเนื้อไก่ เนื้อสุกร เพื่อเปิดตลาดไปยังสหรัฐอเมริกา ได้รับการกีดกันอย่างเต็มทีจากสหรัฐฯ ด้วยเหตุผลว่ากฎหมายประเทศไทยต่างจากสหรัฐอเมริกาโดยสิ้นเชิง ซึ่งสะท้อนภาพปัจจุบันที่ประเทศไทยกำลังถูกกดดันให้แก้กฎหมายในลักษณะลดมาตรฐานอาหารปลอดภัยลงเพื่อเปิดทางให้เนื้อและชิ้นส่วนสุกรจากสหรัฐให้มาบุกตลาดในไทยให้ได้ นักวิชาการท่านนี้ย้ำว่า การที่ไทยจะต้องแก้กฎหมายเพื่อสหรัฐในครั้งนี้ ผลกระทบวิกฤตศรัทธาด้านศักดิ์ศรีชาติอย่างมาก และที่สำคัญจะทำให้มีการใช้สารเร่งเนื้อแดงอย่างไม่ผิดกฎหมาย ซึ่งบริษัทเวชภัณฑ์ยักษ์ใหญ่จากสหรัฐจะได้ประโยชน์จากการขายเวชภัณฑ์แรคโตพามีนอย่างมหาศาล ไม่เพียงแต่การขายในประเทศไทยเท่านั้น
ในขณะที่อีกท่านหนึ่งได้นำเสนอประสบการณ์ในที่ประชุมว่าในสหรัฐว่า การเลี้ยงสุกร กับ การเกษตรอาหารสัตว์ เป็นการบูรณการกันอย่างมาก (vertical integration) ซึ่งการใช้สินค้าเนื้อและชิ้นส่วนสุกรมาบุกตลาด เศรษฐกิจของประเทศจะได้ประโยชน์โภชผลอย่างต่อเนื่องมหาศาล ทั้งอุตสาหกรรมข้าวโพด ข้าวสาลี ถั่วเหลือง ซึ่งไม่ต่างจากกับการที่อุตสาหกรรมไทยเป็นบูรณการห่วงโซ่อุปทานให้กับเกษตรอาหารสัตว์ และ เสาหลักเศรษฐกิจใหญ่เช่นกัน
จากตารางเป็นการวัดค่าตกค้างจริงของเนื้อและชิ้นสุกรสหรัฐ เทียบกับ MRLs ที่กำหนดไว้เพียง เนื้อ ตับ และไต เท่านั้น ที่เป็นข้อกังวลของประเทศจีนที่ประชากรนิยมบริโภคชิ้นส่วนเครื่องในแทบทุกส่วน โดยเฉพาะ ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ กระเพาะหมู และหัวใจหมู
ถึงแม้ปริมาณการบริโภคเนื้อวัวและเครื่องในวันมีปริมาณน้อยกว่าสุกร แต่ สกว.เห็นด้วยที่จะนำปัญหาเนื้อวัวเข้ามาเป็นประเด็นในการทำวิจัยต่อไปด้วย เพราะการกำหนด MRLs ของแรคโตพามีนของ CODEX ที่กำหนด MRL ในเนื้อสัตว์ 10 ไมโครกรัม ตับ 40 ไมโครกรัม ไต 90 ไมโครกรัม ต่อกิโลกรัม มีการกำหนดทั้งในสุกรและโค