เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรยื่นหนังสือนายกฯ ขอคัดค้านการเข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิก TPP

เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรยื่นหนังสือนายกฯ ขอคัดค้านการเข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิก TPP

4 ธันวาคม 2558 กำแพงแสน - นายสุรชัย  สุทธิธรรม (ที่ 4 จากซ้าย) นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ  และ น.สพ.วิวัฒน์ พงษ์วิวัฒนชัย  (ที่ 4 จากขวา) ประธานสหกรณ์การเกษตรปศุสัตว์ราชบุรี จำกัด ร่วมกับสมาชิกสมาคมและสหกรณ์ผู้เลี้ยงสุกรทั่วประเทศยื่นหนังสือคัดค้านการเข้าร่วม “ความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (Trans-Pacific Strategic Economic Partnership Agreement : TPP)” ต่อพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีผ่าน พลเอกปัฐมพงศ์ ประถมภัฏ (ที่ 3จากซ้าย) ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่เป็นประธานเปิดงาน “วันสุกรแห่งชาติ ครั้งที่ 9” เพื่อแสดงจุดยืนการคัดค้านความตกลง TPP ที่จะส่งผลกระทบต่อผู้เลี้ยงหมูของไทย จากการดั๊มพ์ตลาดเนื้อหมู ในส่วนที่เหลือจากการบริโภคของสหรัฐอเมริกาผู้ผลิตรายใหญ่ของโลก ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
         
 
นายสัตวแพทย์วิวัฒน์ พงษ์วิวัฒนชัย ประธานจัดงานวันสุกรแห่งชาติ ครั้งที่ 9 กล่าวระหว่างการยื่นหนังสือคัดค้านผ่านประธานเปิดงานจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ “ตามที่รัฐบาลได้หันมาพิจารณา “ความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก”หรือ TPP โดยอยู่ระหว่างรอผลการศึกษาเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียก่อนการตัดสินใจจะเข้าร่วมหรือไม่นั้น
 
         
เกษตรกรในสายปศุสัตว์โดยเฉพาะผู้เลี้ยงสุกรตระหนักดีว่า รัฐบาลมีความพยายามเดินหน้าเพื่อสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจของประเทศ แต่เนื่องจากสมาชิกในกลุ่ม TPP ปัจจุบัน มีสหรัฐอเมริกาและแคนาดาที่โครงสร้างทางการเกษตรทั้งปศุสัตว์และพืชไร่ที่เหมือนกันกับประเทศของเรา  โดยเฉพาะการเลี้ยงสุกร การเลี้ยงไก่เนื้อ หรือแม้แต่การเพาะปลูกข้าวโพดอาหารสัตว์ ที่สมาชิก TPP ทั้ง 2 ประเทศนี้มีความได้เปรียบทั้งต้นทุนการผลิตและปริมาณที่สามารถผลิตได้ ซึ่งการจะเข้าร่วมหลังจากที่สมาชิกบรรลุข้อตกลงไปแล้วนั้น เท่ากับเราไม่สามารถที่จะยกกลุ่มสินค้าที่ได้ตกลงกันไว้แล้วออกได้เลย
 
         
การที่ประเทศจะเข้าร่วมนั้น ผลที่จะเกิดกับเกษตรปศุสัตว์ของไทย จะเกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวง เนื่องจากผู้เลี้ยงสุกรไทยได้ติดตามเรื่องนี้มาโดยตลอด จึงเห็นว่ารัฐบาลไม่ควรเข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกกับความตกลงนี้
 
         
กลุ่มผู้เลี้ยงสุกรจึงขอแสดงความจำนงยื่นคัดค้านการเข้าเป็นภาคีสมาชิก TPP ในครั้งนี้ โดยขอยื่นหนังสือคัดค้านถึงท่านนายกรัฐมนตรีโดยผ่านกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในวันนี้”
 
        
จากท่าทีของกลุ่มประเทศสมาชิกความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (Trans-Pacific Strategic Economic Partnership Agreement : TPP) ที่แสดงออกถึงความต้องการให้ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิก โดยเรื่องดังกล่าวท่านนายกรัฐมนตรีได้ให้ข่าวออกสื่อสาธารณะว่ากำลังพิจารณาถึงผลดีผลเสียที่จะเกิดกับประเทศหลังการเข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกอยู่นั้น
 
         
เรื่องดังกล่าวสร้างความกังวลต่อเกษตรกรไทยในหลายแขนงและไม่เห็นด้วยต่อการเดินหน้าของรัฐบาลโดยเฉพาะกรณีทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลไทยที่สื่อออกข่าวมาในทำนองว่ากำลังเจรจาให้ญี่ปุ่นสนับสนุนการเข้าร่วมของไทยเพื่อเป็นภาคีสมาชิก TPP
 
         
กระบวนการพิจารณาใดๆ ที่จะมีผลกระทบทางเศรษฐกิจทั้งของประเทศและประชาชนในวงกว้าง จะจัดให้มีการร่วมหารือกับทุกฝ่าย จนกระทั่งมีกระบวนการทางกฎหมายสูงสุดที่ได้ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับที่มีการลงประชามติก่อนมีการประกาศยกเลิกไป และอยู่ระหว่างกระบวนการจัดทำขึ้นมาใหม่ โดยเหตุผลของการที่เรื่องดังกล่าวที่เคยถูกบัญญัติไว้ในมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 (ฉบับประชามติ) เนื่องจากมีเจตนารมย์มิให้รัฐบาลกระทำการเบ็ดเสร็จสร้างข้อผูกพันให้ประเทศที่นำมาซึ่งความเสียหายกับประชาชนในระยะยาว เฉกเช่นการไปตกลงเขตการค้าเสรีกับหลายๆ ประเทศในอดีตที่เกิดผลกระทบกับอุตสาหกรรมเกษตรบางแขนง เช่น พืชผักผลไม้ และโคนม
 
        
ผู้เลี้ยงสุกรทั้งประเทศทราบดีถึงการเดินหน้าทางเศรษฐกิจของประเทศว่าจะต้องเดินหน้าไปพร้อมกันในทุกภาคส่วน โดย 9 ใน 12 ประเทศของภาคีสมาชิกTPP ได้มีการทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีไว้แล้วทั้งระดับทวิภาคีและพหุภาคี เช่น AFTA ในกลุ่มประเทศอาเซียน JTEPA กับญี่ปุ่น  โดยทุกคู่เจรจาข้อตกลงมีการพิจารณากรอบการเจรจาการค้าในแต่ละกลุ่มสินค้าชัดเจนที่คำนึงถึงผลได้ผลเสียของประเทศคู่สัญญา ซึ่งจะไม่เป็นการสร้างผลกระทบกับแต่ละอุตสาหกรรมของคู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่าย โดยที่ผ่านมาประเทศเรามีประสบการณ์ที่ผิดพลาด จากข้อตกลงกับบางประเทศที่มีกรอบการเจรจาการค้าที่รวมกลุ่มสินค้าที่มีการประกอบการเหมือนกันแต่ต่างกันที่ความสามารถในการผลิต จึงเป็นอุทาหรณ์ จนกระทั่งมีการบัญญัติขั้นตอนที่รอบคอบขึ้นไว้ในรัฐธรรมนูญดังที่กล่าวไว้ข้างต้น
 
         
สำหรับ3 ประเทศสมาชิกในกลุ่ม TPP ที่ประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา แคนาดาและเม็กซิโก ยังไม่บรรลุข้อตกลงเขตการค้าเสรีในระดับทวิภาคีซึ่งในบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกาได้เริ่มการเจรจากันไปนานแล้วและจากการติดตามข่าวนี้ปรากฏว่าสหรัฐอเมริกาไม่ได้ให้ความสนใจที่จะเจรจาต่อโดยหยุดไปตั้งแต่ปี 2549 ถึงแม้หลังจากนั้นเรามีรัฐบาลจากการเลือกตั้งแล้วก็ตาม โดยสหรัฐอเมริกาหันมาผลักดัน TPP แทนซึ่งสามารถกำหนดแนวทางเพื่อประโยชน์ของสหรัฐอเมริกาเองได้มากกว่า
 
        
ปัจจุบันอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรของไทยมีการพัฒนามาตรฐานการเลี้ยง มาตรฐานผลผลิตสูงขึ้นในระดับที่เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคภายในประเทศ แต่ยังถูกจำกัดการเข้าถึงการค้าในระดับนานาชาติ ซึ่งได้แก่การที่องค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ(OIE) ซึ่งเป็นองค์การหนึ่งภายใต้การกำกับดูแลขององค์การสหประชาชาติยังไม่รับรองการเป็นเขตปลอดโรคปากและเท้าเปื่อย ซึ่งเป็นปัญหาต่ออุตสาหกรรมสุกรไทยมาอย่างยาวนาน โดยปัจจุบันถึงแม้เกษตรกรครบวงจรบางส่วนสามารถเข้าสู่ตลาดระหว่างประเทศได้แล้ว โดยประเทศผู้นำเข้ารับรองเองโดยการเข้าตรวจฟาร์ม โรงเชือด และโรงงานแปรรูปสุกร โดยไม่ให้ความสำคัญกับการที่องค์การโรคระบาดสัตว์จะรับรองหรือไม่ แต่ยังเป็นส่วนน้อย โดยการรับรองขององค์การนี้ก็เข้าข่ายถูกมองว่าเป็นมาตรการกีดกันที่ไม่ใช่ภาษี(Non-Tariff Barrier :NTB) ของประเทศใหญ่ๆ เช่นกัน
 
         
แต่ละปีปริมาณการค้าเนื้อสุกร(มีตารางและข้อมูลประกอบ)ทั้ง 3 ประเทศใน TPP ประกอบด้วย
 
1.ประเทศสหรัฐอเมริกามีการผลิตเนื้อสุกรในเชิงการค้าระหว่างประเทศสูงถึงประมาณ 2.4 ล้านตันต่อปี (จากการผลิตเกินกว่า 11 ล้านตันต่อปี และบริโภคเองประมาณกว่า 8 ล้านเมตริกตัน) โดยมีหน่วยงานสภาผู้ผลิตสุกรแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา National Pork Producer Council (NPPC) ที่ผลักดันให้รัฐบาลสร้างนโยบายหรือข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมสุกรสหรัฐมาตลอดโดยเฉพาะข้อตกลงที่ผ่านTPP
 
2.ประเทศแคนาดามีการผลิตเชิงการค้ามากกว่าการบริโภคในประเทศสูงถึง 1.2 ล้านตันต่อปี(ผลิตทั้งหมดประมาณ 1.8 ล้านตันต่อปี) ซึ่งเป็นปริมาณที่ทำตลาดต่างประเทศโดยมีหน่วยงานสภาผู้ผลิตสุกรแห่งแคนาดา Canadian Pork Council ที่ผลักดันให้รัฐบาลสร้างนโยบายหรือข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมสุกรแคนาดามาตลอดเช่นกัน
 
3.ประเทศเม็กซิโกมีปริมาณการค้าสุกร(บางส่วนจะนำเข้าเนื้อสุกรจากสหรัฐอเมริกาแล้วแปรรูปเพื่อการส่งออก)เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญโดยคาดว่าปี 2559 จะมีปริมาณตลาดต่างประเทศสูงถึง 190,000 เมตริกตัน(ปรับตัวเลขจากเดิมที่ 150,000 เมตริกตัน)ซึ่งมากกว่าสุกรแปรรูปส่งออกจากประเทศไทย 11-12 เท่า
 
        
โครงสร้างต้นทุนการผลิตในส่วนของพืชอาหารสัตว์ทั้ง 3 ประเทศได้เปรียบเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรไทยอย่างมาก โดยใช้ตัวเลขเดือนพฤศจิกายน 2558 ข้าวโพดอเมริกาต่อกิโลกรัม 5 บาทต้นๆ ในขณะที่ไทยตอนนี้ประมาณ 8.65บาท  ต้นทุนกากถั่วเหลืองของอเมริกาตอนนี้ประมาณต่อกิโลกรัม 11.20 บาทในขณะที่ไทย 17.25 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งนอกจากผู้เลี้ยงสุกรไทยจะสู้ไม่ได้ในทุกมิติ เกษตรกรข้าวโพดไทยก็จะเปลี่ยนไปปลูกพืชเศรษฐกิจอย่างอื่นอีกเช่นกันเพราะไม่สามารถแข่งขันข้าวโพดจากสหรัฐอเมริกาได้ เช่นกัน
 
         
กรณีการหามาตรการกีดกันทางการค้าอื่นๆ ของสหรัฐอเมริกาและประเทศในยุโรป ก็คือมาตรการด้านแรงงาน สิ่งแวดล้อม เข้ามารวมในความตกลงใน TPP ด้วย ซึ่งปัจจุบันจะเห็นได้ว่าเกษตรกรภาคประมงที่ยังคงต้องแก้ปัญหาเป็นรายวันกับ ข้อกล่าวหาเรื่องค้ามนุษย์ที่สหรัฐอเมริกาจัดลำดับไทยตาม TIP Report (Trafficking in Persons) อยู่ที่ Tier 3 ซึ่งจะไม่สามารถส่งออกกุ้ง อาหารทะเลแช่แข็งเข้าอเมริกาได้อีก หรือแม้แต่ IUU (Illegal Unreported and Unregulated fishing หรือ IUU Fishing) ที่เป็นมาตรการเพื่อปกป้องความมั่นคงทางอาหารของสหภาพยุโรป ปัจจุบันสหรัฐอเมริกาได้ร่างกฎหมายเพื่อขจัดการทำประมงที่ผิดกฎหมาย หรือ Presidential Task Force on Combating IUU Fishing เลียนแบบ IUU สหภาพยุโรปขึ้นมาอีก ในขณะที่ทั้งสหรัฐอเมริกาและประเทศในสหภาพยุโรปที่หันมาเพิ่มน้ำหนักด้านอุตสาหกรรมเกษตรกันมากขึ้น หลังกลุ่มประเทศเหล่านี้ต่างประสบกับวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจจากระบบทุนนิยมโดยมุ่งเป้าการตลาดมาที่กลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออก แต่กลับกีดกันสินค้าเกษตรจากประเทศแถบเอเชียกับสารพัดรูปแบบมาตรการที่ไม่ใช่ภาษี โดยไม่คำนึงถึงสิทธิในการเข้าถึงการค้าระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศที่ตัวเองกีดกัน ซึ่งนับวันจะเพิ่มความรุนแรงมากขึ้น
 
         
นอกจากนี้ TPP เป็นความตกลงที่มีเงื่อนไขเข้าทางประเทศใหญ่ โดยเฉพาะเรื่องที่มีลักษณะเป็นมากกว่าเขตการค้าเสรี เนื่องจากครอบคลุมหลายมิติ ตั้งแต่
 
·        
การส่งเสริมการเปิดเสรีทางการค้า บริการ การลงทุน ซึ่งประเทศใหญ่จะได้เปรียบเรื่องขนาดของทุนและเทคโนโลยีซึ่งคาดว่าจะมีการสร้างกฎเกณฑ์เพิ่มสัดส่วนการถือครองหุ้นส่วนของต่างชาติ สิทธิในการถือครองที่ดินในประเทศที่เข้าไปลงทุน ซึ่งมีภาพตัวอย่างให้เห็นแล้วจากร่างเงื่อนไขเสรีการลงทุนไทย-สหภาพยุโรป ซึ่งกลุ่มผู้เลี้ยงสุกรโดยสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติได้ต่อสู้จนมีการยกกรอบเสรีการลงทุนออกไปจากกรอบการเจรจา
 
·        
การกำหนดมาตรฐานสิ่งแวดล้อมที่เป็นเรื่องที่ประเทศใหญ่ใช้เป็นข้ออ้างตลอด ซึ่งไทยเราก็โดนข้ออ้างเรื่องสิ่งแวดล้อมมาแล้ว ประเทศใหญ่จะทำหน้าที่ตรวจสอบ ในขณะที่เรา หรือประเทศในอาเซียนไม่เคยให้ความสำคัญกับการตรวจสอบประเทศอื่น
 
·        
มาตรฐานแรงงานที่ไทยยังมีปัญหาเรื่องการใช้แรงงานทาส ที่ยังติด Tier 3 ซึ่งถือว่าสหรัฐอเมริกาเล่นเกมส์นี้ เพื่อกีดกันสินค้าประมงไทย เพราะเกษตรกรประมงของสหรัฐแข่งขันกับประเทศแถบเอเชียไม่ได้ ซึ่งประเทศในอาเซียนโดนการจัดลำดับลักษณะนี้ไปหลายประเทศ ซึ่งจุดเริ่มก็เป็นการเข้ามาทำข่าวของนักข่าวสหรัฐเมื่อหลายปีก่อน ตอนนั้นไปเริ่มว่าเราใช้แรงงานเด็กก่อน
 
·        
ตลอดจนการปกป้องสิทธิทางปัญญาที่ประเทศใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกามีสินค้านวัตกรรมที่ถูกละเมิดเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาตลอด ซึ่งประเทศเราก็มีกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาและมิได้ส่งเสริมให้มีการละเมิดแต่ประการใด แต่ทุกครั้งที่มีปัญหาการละเมิดโดยผู้กระทำความผิด บ่อยครั้งที่สหรัฐอเมริกาหยิบยกมาเป็นข้ออ้างเสมอมา และออกมาตรการลงโทษที่เกิดความเสียหายต่อประเทศในภาพรวมซึ่งไม่มีความเป็นธรรม
 
         
อีกทั้งมีการกำหนดเงื่อนไขในการลงโทษประเทศที่ฝ่าฝืน นี่ก็สร้างบทลงโทษเข้าทางประเทศใหญ่ๆ อย่างสหรัฐอเมริกาอีก จึงอาจกล่าวได้ว่า TPP เข้าข่ายข้อตกลงที่มีแต่ความเสียเปรียบซึ่งไม่ต่างจากสัญญาทาส
 
         
4ธันวาคม 2558กำแพงแสน - นายสุรชัย  สุทธิธรรม (ที่ 4 จากซ้าย) นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ  และ น.สพ.วิวัฒน์ พงษ์วิวัฒนชัย  (ที่ 4 จากขวา) ประธานสหกรณ์การเกษตรปศุสัตว์ราชบุรี จำกัด ร่วมกับสมาชิกสมาคมและสหกรณ์ผู้เลี้ยงสุกรทั่วประเทศยื่นหนังสือคัดค้านการเข้าร่วม “ความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (Trans-Pacific Strategic Economic Partnership Agreement : TPP)” ต่อพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีผ่าน พลเอกปัฐมพงศ์ ประถมภัฏ (ที่ 3จากซ้าย) ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่เป็นประธานเปิดงาน “วันสุกรแห่งชาติ ครั้งที่ 9” เพื่อแสดงจุดยืนการคัดค้านความตกลง TPP ที่จะส่งผลกระทบต่อผู้เลี้ยงหมูของไทย จากการดั๊มพ์ตลาดเนื้อหมู ในส่วนที่เหลือจากการบริโภคของสหรัฐอเมริกาผู้ผลิตรายใหญ่ของโลก ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
         
 
นายสัตวแพทย์วิวัฒน์ พงษ์วิวัฒนชัย ประธานจัดงานวันสุกรแห่งชาติ ครั้งที่ 9 กล่าวระหว่างการยื่นหนังสือคัดค้านผ่านประธานเปิดงานจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ “ตามที่รัฐบาลได้หันมาพิจารณา “ความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก”หรือ TPP โดยอยู่ระหว่างรอผลการศึกษาเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียก่อนการตัดสินใจจะเข้าร่วมหรือไม่นั้น
 
         
เกษตรกรในสายปศุสัตว์โดยเฉพาะผู้เลี้ยงสุกรตระหนักดีว่า รัฐบาลมีความพยายามเดินหน้าเพื่อสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจของประเทศ แต่เนื่องจากสมาชิกในกลุ่ม TPP ปัจจุบัน มีสหรัฐอเมริกาและแคนาดาที่โครงสร้างทางการเกษตรทั้งปศุสัตว์และพืชไร่ที่เหมือนกันกับประเทศของเรา  โดยเฉพาะการเลี้ยงสุกร การเลี้ยงไก่เนื้อ หรือแม้แต่การเพาะปลูกข้าวโพดอาหารสัตว์ ที่สมาชิก TPP ทั้ง 2 ประเทศนี้มีความได้เปรียบทั้งต้นทุนการผลิตและปริมาณที่สามารถผลิตได้ ซึ่งการจะเข้าร่วมหลังจากที่สมาชิกบรรลุข้อตกลงไปแล้วนั้น เท่ากับเราไม่สามารถที่จะยกกลุ่มสินค้าที่ได้ตกลงกันไว้แล้วออกได้เลย
 
         
การที่ประเทศจะเข้าร่วมนั้น ผลที่จะเกิดกับเกษตรปศุสัตว์ของไทย จะเกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวง เนื่องจากผู้เลี้ยงสุกรไทยได้ติดตามเรื่องนี้มาโดยตลอด จึงเห็นว่ารัฐบาลไม่ควรเข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกกับความตกลงนี้
 
         
กลุ่มผู้เลี้ยงสุกรจึงขอแสดงความจำนงยื่นคัดค้านการเข้าเป็นภาคีสมาชิก TPP ในครั้งนี้ โดยขอยื่นหนังสือคัดค้านถึงท่านนายกรัฐมนตรีโดยผ่านกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในวันนี้”
 
        
จากท่าทีของกลุ่มประเทศสมาชิกความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (Trans-Pacific Strategic Economic Partnership Agreement : TPP) ที่แสดงออกถึงความต้องการให้ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิก โดยเรื่องดังกล่าวท่านนายกรัฐมนตรีได้ให้ข่าวออกสื่อสาธารณะว่ากำลังพิจารณาถึงผลดีผลเสียที่จะเกิดกับประเทศหลังการเข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกอยู่นั้น
 
         
เรื่องดังกล่าวสร้างความกังวลต่อเกษตรกรไทยในหลายแขนงและไม่เห็นด้วยต่อการเดินหน้าของรัฐบาลโดยเฉพาะกรณีทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลไทยที่สื่อออกข่าวมาในทำนองว่ากำลังเจรจาให้ญี่ปุ่นสนับสนุนการเข้าร่วมของไทยเพื่อเป็นภาคีสมาชิก TPP
 
         
กระบวนการพิจารณาใดๆ ที่จะมีผลกระทบทางเศรษฐกิจทั้งของประเทศและประชาชนในวงกว้าง จะจัดให้มีการร่วมหารือกับทุกฝ่าย จนกระทั่งมีกระบวนการทางกฎหมายสูงสุดที่ได้ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับที่มีการลงประชามติก่อนมีการประกาศยกเลิกไป และอยู่ระหว่างกระบวนการจัดทำขึ้นมาใหม่ โดยเหตุผลของการที่เรื่องดังกล่าวที่เคยถูกบัญญัติไว้ในมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 (ฉบับประชามติ) เนื่องจากมีเจตนารมย์มิให้รัฐบาลกระทำการเบ็ดเสร็จสร้างข้อผูกพันให้ประเทศที่นำมาซึ่งความเสียหายกับประชาชนในระยะยาว เฉกเช่นการไปตกลงเขตการค้าเสรีกับหลายๆ ประเทศในอดีตที่เกิดผลกระทบกับอุตสาหกรรมเกษตรบางแขนง เช่น พืชผักผลไม้ และโคนม
 
        
ผู้เลี้ยงสุกรทั้งประเทศทราบดีถึงการเดินหน้าทางเศรษฐกิจของประเทศว่าจะต้องเดินหน้าไปพร้อมกันในทุกภาคส่วน โดย 9 ใน 12 ประเทศของภาคีสมาชิกTPP ได้มีการทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีไว้แล้วทั้งระดับทวิภาคีและพหุภาคี เช่น AFTA ในกลุ่มประเทศอาเซียน JTEPA กับญี่ปุ่น  โดยทุกคู่เจรจาข้อตกลงมีการพิจารณากรอบการเจรจาการค้าในแต่ละกลุ่มสินค้าชัดเจนที่คำนึงถึงผลได้ผลเสียของประเทศคู่สัญญา ซึ่งจะไม่เป็นการสร้างผลกระทบกับแต่ละอุตสาหกรรมของคู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่าย โดยที่ผ่านมาประเทศเรามีประสบการณ์ที่ผิดพลาด จากข้อตกลงกับบางประเทศที่มีกรอบการเจรจาการค้าที่รวมกลุ่มสินค้าที่มีการประกอบการเหมือนกันแต่ต่างกันที่ความสามารถในการผลิต จึงเป็นอุทาหรณ์ จนกระทั่งมีการบัญญัติขั้นตอนที่รอบคอบขึ้นไว้ในรัฐธรรมนูญดังที่กล่าวไว้ข้างต้น
 
         
สำหรับ3 ประเทศสมาชิกในกลุ่ม TPP ที่ประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา แคนาดาและเม็กซิโก ยังไม่บรรลุข้อตกลงเขตการค้าเสรีในระดับทวิภาคีซึ่งในบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกาได้เริ่มการเจรจากันไปนานแล้วและจากการติดตามข่าวนี้ปรากฏว่าสหรัฐอเมริกาไม่ได้ให้ความสนใจที่จะเจรจาต่อโดยหยุดไปตั้งแต่ปี 2549 ถึงแม้หลังจากนั้นเรามีรัฐบาลจากการเลือกตั้งแล้วก็ตาม โดยสหรัฐอเมริกาหันมาผลักดัน TPP แทนซึ่งสามารถกำหนดแนวทางเพื่อประโยชน์ของสหรัฐอเมริกาเองได้มากกว่า
 
        
ปัจจุบันอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรของไทยมีการพัฒนามาตรฐานการเลี้ยง มาตรฐานผลผลิตสูงขึ้นในระดับที่เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคภายในประเทศ แต่ยังถูกจำกัดการเข้าถึงการค้าในระดับนานาชาติ ซึ่งได้แก่การที่องค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ(OIE) ซึ่งเป็นองค์การหนึ่งภายใต้การกำกับดูแลขององค์การสหประชาชาติยังไม่รับรองการเป็นเขตปลอดโรคปากและเท้าเปื่อย ซึ่งเป็นปัญหาต่ออุตสาหกรรมสุกรไทยมาอย่างยาวนาน โดยปัจจุบันถึงแม้เกษตรกรครบวงจรบางส่วนสามารถเข้าสู่ตลาดระหว่างประเทศได้แล้ว โดยประเทศผู้นำเข้ารับรองเองโดยการเข้าตรวจฟาร์ม โรงเชือด และโรงงานแปรรูปสุกร โดยไม่ให้ความสำคัญกับการที่องค์การโรคระบาดสัตว์จะรับรองหรือไม่ แต่ยังเป็นส่วนน้อย โดยการรับรองขององค์การนี้ก็เข้าข่ายถูกมองว่าเป็นมาตรการกีดกันที่ไม่ใช่ภาษี(Non-Tariff Barrier :NTB) ของประเทศใหญ่ๆ เช่นกัน
 
         
แต่ละปีปริมาณการค้าเนื้อสุกร(มีตารางและข้อมูลประกอบ)ทั้ง 3 ประเทศใน TPP ประกอบด้วย
 
1.ประเทศสหรัฐอเมริกามีการผลิตเนื้อสุกรในเชิงการค้าระหว่างประเทศสูงถึงประมาณ 2.4 ล้านตันต่อปี (จากการผลิตเกินกว่า 11 ล้านตันต่อปี และบริโภคเองประมาณกว่า 8 ล้านเมตริกตัน) โดยมีหน่วยงานสภาผู้ผลิตสุกรแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา National Pork Producer Council (NPPC) ที่ผลักดันให้รัฐบาลสร้างนโยบายหรือข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมสุกรสหรัฐมาตลอดโดยเฉพาะข้อตกลงที่ผ่านTPP
 
2.ประเทศแคนาดามีการผลิตเชิงการค้ามากกว่าการบริโภคในประเทศสูงถึง 1.2 ล้านตันต่อปี(ผลิตทั้งหมดประมาณ 1.8 ล้านตันต่อปี) ซึ่งเป็นปริมาณที่ทำตลาดต่างประเทศโดยมีหน่วยงานสภาผู้ผลิตสุกรแห่งแคนาดา Canadian Pork Council ที่ผลักดันให้รัฐบาลสร้างนโยบายหรือข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมสุกรแคนาดามาตลอดเช่นกัน
 
3.ประเทศเม็กซิโกมีปริมาณการค้าสุกร(บางส่วนจะนำเข้าเนื้อสุกรจากสหรัฐอเมริกาแล้วแปรรูปเพื่อการส่งออก)เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญโดยคาดว่าปี 2559 จะมีปริมาณตลาดต่างประเทศสูงถึง 190,000 เมตริกตัน(ปรับตัวเลขจากเดิมที่ 150,000 เมตริกตัน)ซึ่งมากกว่าสุกรแปรรูปส่งออกจากประเทศไทย 11-12 เท่า
 
        
โครงสร้างต้นทุนการผลิตในส่วนของพืชอาหารสัตว์ทั้ง 3 ประเทศได้เปรียบเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรไทยอย่างมาก โดยใช้ตัวเลขเดือนพฤศจิกายน 2558 ข้าวโพดอเมริกาต่อกิโลกรัม 5 บาทต้นๆ ในขณะที่ไทยตอนนี้ประมาณ 8.65บาท  ต้นทุนกากถั่วเหลืองของอเมริกาตอนนี้ประมาณต่อกิโลกรัม 11.20 บาทในขณะที่ไทย 17.25 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งนอกจากผู้เลี้ยงสุกรไทยจะสู้ไม่ได้ในทุกมิติ เกษตรกรข้าวโพดไทยก็จะเปลี่ยนไปปลูกพืชเศรษฐกิจอย่างอื่นอีกเช่นกันเพราะไม่สามารถแข่งขันข้าวโพดจากสหรัฐอเมริกาได้ เช่นกัน
 
         
กรณีการหามาตรการกีดกันทางการค้าอื่นๆ ของสหรัฐอเมริกาและประเทศในยุโรป ก็คือมาตรการด้านแรงงาน สิ่งแวดล้อม เข้ามารวมในความตกลงใน TPP ด้วย ซึ่งปัจจุบันจะเห็นได้ว่าเกษตรกรภาคประมงที่ยังคงต้องแก้ปัญหาเป็นรายวันกับ ข้อกล่าวหาเรื่องค้ามนุษย์ที่สหรัฐอเมริกาจัดลำดับไทยตาม TIP Report (Trafficking in Persons) อยู่ที่ Tier 3 ซึ่งจะไม่สามารถส่งออกกุ้ง อาหารทะเลแช่แข็งเข้าอเมริกาได้อีก หรือแม้แต่ IUU (Illegal Unreported and Unregulated fishing หรือ IUU Fishing) ที่เป็นมาตรการเพื่อปกป้องความมั่นคงทางอาหารของสหภาพยุโรป ปัจจุบันสหรัฐอเมริกาได้ร่างกฎหมายเพื่อขจัดการทำประมงที่ผิดกฎหมาย หรือ Presidential Task Force on Combating IUU Fishing เลียนแบบ IUU สหภาพยุโรปขึ้นมาอีก ในขณะที่ทั้งสหรัฐอเมริกาและประเทศในสหภาพยุโรปที่หันมาเพิ่มน้ำหนักด้านอุตสาหกรรมเกษตรกันมากขึ้น หลังกลุ่มประเทศเหล่านี้ต่างประสบกับวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจจากระบบทุนนิยมโดยมุ่งเป้าการตลาดมาที่กลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออก แต่กลับกีดกันสินค้าเกษตรจากประเทศแถบเอเชียกับสารพัดรูปแบบมาตรการที่ไม่ใช่ภาษี โดยไม่คำนึงถึงสิทธิในการเข้าถึงการค้าระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศที่ตัวเองกีดกัน ซึ่งนับวันจะเพิ่มความรุนแรงมากขึ้น
 
         
นอกจากนี้ TPP เป็นความตกลงที่มีเงื่อนไขเข้าทางประเทศใหญ่ โดยเฉพาะเรื่องที่มีลักษณะเป็นมากกว่าเขตการค้าเสรี เนื่องจากครอบคลุมหลายมิติ ตั้งแต่
 
·        
การส่งเสริมการเปิดเสรีทางการค้า บริการ การลงทุน ซึ่งประเทศใหญ่จะได้เปรียบเรื่องขนาดของทุนและเทคโนโลยีซึ่งคาดว่าจะมีการสร้างกฎเกณฑ์เพิ่มสัดส่วนการถือครองหุ้นส่วนของต่างชาติ สิทธิในการถือครองที่ดินในประเทศที่เข้าไปลงทุน ซึ่งมีภาพตัวอย่างให้เห็นแล้วจากร่างเงื่อนไขเสรีการลงทุนไทย-สหภาพยุโรป ซึ่งกลุ่มผู้เลี้ยงสุกรโดยสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติได้ต่อสู้จนมีการยกกรอบเสรีการลงทุนออกไปจากกรอบการเจรจา
 
·        
การกำหนดมาตรฐานสิ่งแวดล้อมที่เป็นเรื่องที่ประเทศใหญ่ใช้เป็นข้ออ้างตลอด ซึ่งไทยเราก็โดนข้ออ้างเรื่องสิ่งแวดล้อมมาแล้ว ประเทศใหญ่จะทำหน้าที่ตรวจสอบ ในขณะที่เรา หรือประเทศในอาเซียนไม่เคยให้ความสำคัญกับการตรวจสอบประเทศอื่น
 
·        
มาตรฐานแรงงานที่ไทยยังมีปัญหาเรื่องการใช้แรงงานทาส ที่ยังติด Tier 3 ซึ่งถือว่าสหรัฐอเมริกาเล่นเกมส์นี้ เพื่อกีดกันสินค้าประมงไทย เพราะเกษตรกรประมงของสหรัฐแข่งขันกับประเทศแถบเอเชียไม่ได้ ซึ่งประเทศในอาเซียนโดนการจัดลำดับลักษณะนี้ไปหลายประเทศ ซึ่งจุดเริ่มก็เป็นการเข้ามาทำข่าวของนักข่าวสหรัฐเมื่อหลายปีก่อน ตอนนั้นไปเริ่มว่าเราใช้แรงงานเด็กก่อน
 
·        
ตลอดจนการปกป้องสิทธิทางปัญญาที่ประเทศใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกามีสินค้านวัตกรรมที่ถูกละเมิดเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาตลอด ซึ่งประเทศเราก็มีกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาและมิได้ส่งเสริมให้มีการละเมิดแต่ประการใด แต่ทุกครั้งที่มีปัญหาการละเมิดโดยผู้กระทำความผิด บ่อยครั้งที่สหรัฐอเมริกาหยิบยกมาเป็นข้ออ้างเสมอมา และออกมาตรการลงโทษที่เกิดความเสียหายต่อประเทศในภาพรวมซึ่งไม่มีความเป็นธรรม
 
         
อีกทั้งมีการกำหนดเงื่อนไขในการลงโทษประเทศที่ฝ่าฝืน นี่ก็สร้างบทลงโทษเข้าทางประเทศใหญ่ๆ อย่างสหรัฐอเมริกาอีก จึงอาจกล่าวได้ว่า TPP เข้าข่ายข้อตกลงที่มีแต่ความเสียเปรียบซึ่งไม่ต่างจากสัญญาทาส
 
         
เหตุผลทั้งหมดที่ผู้เลี้ยงสุกรทั่วประเทศหยิกยกมาถือว่าเป็นมหันตภัยที่มีภาพชัดเจนอยู่เบื้องหน้า จึงขอคัดค้านรัฐบาลไทยอย่างเด็ดขาดเพื่อให้ประกาศชัดเจนว่าจะใช้แนวทางการค้าเสรีหรือกลุ่มความร่วมมืออื่นๆ เช่น ASEAN + 6 หรือ RCEP ที่เป็นความร่วมมือที่มีการเจรจามานานและเป็นกลุ่มเศรษฐกิจที่ไม่ได้ขัดกันทางผลประโยชน์แก่กันและกันมากจนเกิดความเสี่ยงอย่างมหาศาลเช่นเดียวกับ TPP
เหตุผลทั้งหมดที่ผู้เลี้ยงสุกรทั่วประเทศหยิกยกมาถือว่าเป็นมหันตภัยที่มีภาพชัดเจนอยู่เบื้องหน้า จึงขอคัดค้านรัฐบาลไทยอย่างเด็ดขาดเพื่อให้ประกาศชัดเจนว่าจะใช้แนวทางการค้าเสรีหรือกลุ่มความร่วมมืออื่นๆ เช่น ASEAN + 6 หรือ RCEP ที่เป็นความร่วมมือที่มีการเจรจามานานและเป็นกลุ่มเศรษฐกิจที่ไม่ได้ขัดกันทางผลประโยชน์แก่กันและกันมากจนเกิดความเสี่ยงอย่างมหาศาลเช่นเดียวกับ TPP
Visitors: 396,395