Pig Production Cost Q4 2567
ต้นทุนหมูไตรมาส 4/2567 ยึดต้นทุน 75 บาทต่อกิโลกรัม ภาคผู้เลี้ยงขอปรับอัตราการสูญเสียเพิ่มหลังเผชิญโรคสุกรรุนแรงอีก
26 พฤศจิกายน 2567 สศก.- การประชุมคณะอนุกรรมการต้นทุนการผลิตสุกรครั้งที่ 4/2567 กับข้อสงสัย ผลสูญเสีย กระทบผลผลิตในฟาร์มลดลง ขัดแย้งกับ ตัวเลขเข้าเชือดต่อวันเฉลี่ย 64,000 ตัว(ปี 2567 เฉลี่ย 1.93 ล้านตัวต่อเดือน) สูงมาก ย้อนแย้งคำชี้แจงผลสูญเสียอาจถึง 30-40% หลังข้อสรุปต้นทุนสูงสุดไตรมาสที่ 4 ยึดตัวเต็มที่ 75 บาทต่อกิโลกรัม โดยกลุ่มซื้อลูกสุกรพันธุ์มีต้นทุนสูงจากค่าพันธุ์สุกร แม้วัตถุดิบอาหารสัตว์ลดลง
1. กรณีซื้อลูกสุกรมาเลี้ยงขุน ต้นทุนการผลิตทั้งหมดหักผลพลอยได้เฉลี่ย
o ไตรมาส 4/2567 เป็นกิโลกรัมละ 73.96 บาท
o เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 3/2567 กิโลกรัม ที่ 72.44 บาท
o เนื่องจากค่าลูกสุกรพันธุ์เพิ่มขึ้น ค่าอาหารลดลง
o อัตราสูญเสียจากการขุน ยังคงใช้ร้อยละ 5 หลังภาคผู้เลี้ยงแจงสถานะการณ์โรคสุกรมีสูงขึ้น สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ เสนอ 2 ข้อเพื่อจะติดตามต่อในคณะอนุกรรมการวิเคราะห์ การผลิต และการตลาด ในเดือนธันวาคม 2567 เรื่อง
• ปรับอัตราการสูญเสียเพิ่ม
• สะท้อนความไม่สอดคล้อง ของต้วเลขเข้าโรงเชือด และ ปริมาณสุกรจริงในฟาร์ม
ส่วนประกอบของต้นทุนการผลิตจะมีมูลค่าเพิ่มในส่วนของค่าพันธุ์สุกร โดยมีค่าอาหารลดลงค่าพลังงานค่าน้ำ ค่าไฟ ลดลง โดยส่วนของค่าพันธุ์สุกร เป็นกลุ่มของผู้ผลิตลูกสุกรเองจะยังคงมีต้นทุนในส่วนนี้สูงกว่ากลุ่มที่ซื้อลูกสุกรเข้า
2. กรณีผลิตลูกสุกรเอง ต้นทุนการผลิตทั้งหมดหักผลพลอยได้เฉลี่ย
o ไตรมาส 4/2567 เป็นกิโลกรัมละ 74.87 บาท
o ลดลงจากไตรมาส 3/2567 เฉลี่ยที่ 76.89 บาทต่อกิโลกรัม
o ค่าอาหารลดลง อัตราสูญเสียจากการขุน ยังคงใช้ร้อยละ 5 ตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ปี 2566
o กลุ่มนี้ภาระจากการผลิตลูกสุกรลดลง เพราะขายลูกสุกรได้ราคาใกล้ต้นทุนการผลิตมากขึ้น
o โดยต้นทุนการผลิตสุกรทั้งอุตสาหกรรม ไตรมาสที่ 4/2567 จะยึดถือตามต้นทุนของฟาร์มครบวงจรเป็นเกณฑ์ โดยสามารถอ้างอิงตัวเลขจำนวนเต็มได้ที่ 75 บาทต่อกิโลกรัม
น.สพ.สุทัศน์ ตั้งธโนปจัย กรรมการสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ มี 2 ข้อเสนอในที่ประชุมเพื่อจะติดตามต่อในคณะอนุกรรมการวิเคราะห์ การผลิต และการตลาด ในเดือนธันวาคม 2567 ได้แก่
1. การปรับเพิ่มอัตราความสูญเสีย ที่ปัจจุบันใช้อัตรา 5% ของจำนวนสุกรที่เข้าขุน
2. สภาพการณ์ที่เกิดขึ้นของอุตสาหกรรม จากการหยุดเลี้ยง และการลดกำลังการผลิต ที่จะส่งผลต่อผลผลิตที่น่าจะลดลง สะท้อนความไม่สอดคล้องของตัวเลขเข้าโรงเชือดในแต่ละวันของทางราชการ เมื่อเทียบกับปริมาณสุกรจริงในฟาร์ม ที่เฉลี่ย 1.93 ล้านตัวต่อเดือน ของปี 2567 ที่สามารถคำนวณต่อเป็นทั้งปีสูงถึง 23.16 ล้านตัว
ในขณะที่ฝ่ายเลขาฯ รายงานประมาณการทั้งปี 2567
1. ปริมาณผลผลิตสุกรขุนคาดการณ์ปี 2567 เป็น 21.48 ล้านตัว เพิ่มจากปี 2566 ร้อยละ 4.99
2. เนื่องจากประสิทธิภาพของแม่พันธุ์สุกรปรับเพิ่มขึ้น ส่งผลให้จำนวนสุกรขุนออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น
3. ผลผลิตสุกรขุนเดือนกันยายน 2567 เป็น 1.93 ล้านตัว เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2566 ร้อยละ 8.97 และลดลงจากเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 3.92