Official Pig Supply Cut Regulation Meeting
สมาคมหมูทั้งส่วนกลางและภูมิภาคเตรียมทำหนังสือเชิญฟาร์มที่เข้าเกณฑ์สมัครร่วมโครงการรักษาเสถียรภาพราคาสุกร สมัครได้ถึง 23 พฤษภาคม
13 พฤษภาคม 2567 กรมปศุสัตว์ - กรมปศุสัตว์เรียกปศุสัตว์เขตปศุสัตว์จังหวัดประชุมทำความเข้าใจขั้นตอนดำเนินการโครงการรักษาเสถียรภาพราคาสุกร โดยสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ขอรายชื่อฟาร์มที่เข้าเกณฑ์เพื่อทำหนังสือเชิญทุกฟาร์ม
นายสัตวแพทย์ณรงค์ เลี้ยงเจริญ ผู้อำนวยการสำนักควบคุม ป้องกัน และบำบัดโรคสัตว์ เป็นประธานการประชุมเพื่อทำความเข้าใจขั้นตอนการสมัครและร่วมโครงการรักษาเสถียรภาพราคาสุกร โดยประธานการประชุมเตรียมส่งรายชื่อฟาร์มที่เข้าเกณฑ์ให้กับสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ โดยสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติและสมาคมผู้เลี้ยงสุกรภูมิภาค ประสานโครงการรักษาเสถียรภาพราคาสุกร เตรียมส่งหนังสือตรงถึงฟาร์มที่เข้าเกณฑ์ในแต่ละภูมิภาคเพื่อสมัครร่วมโครงการ โดยหมดเขตการสมัครวันที่ 23 พฤษภาคม 2567 นี้
โดยช่วงระหว่างรอการเริ่มโครงการของรัฐ การส่งลูกสุกรเข้าตัดวงจรการผลิตภาคสมัครใจ ช่วงตั้งแต่ 24 เมษายน 2567 ที่ผ่านมา มีรายละเอียด ดังนี้
วันที่ 24 เมษายน
- ฟาร์มสุกรพันธุ์ มหาสารคาม ส่ง 300 ตัว
วันที่ 25 เมษายน
- บริษัท เบทาโกร ภาคตะวันออก จำนวน 300 ตัว
- บริษัท ซีพีเอฟประเทศไทย จำกัด (มหาชน) ภาคตะวันตก จำนวน 300 ตัว
- บริษัท เจริญภัณฑ์ สามชุก จำกัด จำนวน 200 ตัว
- บริษัท เบทาโกร เกษตรอุตสาหกรรม จำกัด ภาคใต้ จำนวน 500 ตัว
- บริษัท ฟาร์เมช จำกัด จำนวน 516 ตัว
วันที่ 26 เมษายน
- บริษัท เอช อกรี บอนดิ้ง จำกัด โดยคุณเฉลิมพล จำนวน 150 ตัว
- บริษัท ไทย-เดนมาร์ค ฟาร์มมิ่ง จำกัด ปราจีนบุรี 200ตัว โดยกลุ่มไทย-เดนมาร์ค ฟาร์มมิ่ง ได้ลดกำลังการผลิตสาขาปากช่องจาก 2,000 แม่พันธุ์ลงเหลือ 1,800 แม่พันธุ์ ฟาร์มที่ลาดตะเคียนจาก 2,000 แม่พันธุ์ลงเหลือ 1,400 แม่พันธุ์
- บริษัท อาร์เอ็มซีฟาร์ม จำกัด บุรีรัมย์ 300 ตัว ครั้งที่ 2
วันที่ 30 เมษายน
- บริษัท กาญจนาไฮบริด จำกัด ราชบุรี 250 ตัว
- สิทธิพันธุ์ฟาร์ม ชัยภูมิ 240 ตัว
- กาญจนาฟาร์ม ราชบุรี 300 ตัว
วันที่ 2 พฤษภาคม
- บริษัท โคกไทยแปลงยาว ฟาร์ม จำกัด 150 ตัว
วันที่ 3 พฤษภาคม
- เอสพีเอ็มฟาร์ม ในนาม เอพีเอ็ม อะโกร จำนวน 300 ตัว
วันที่ 4 พฤษภาคม
- บริษัท เอช อกรี บอนดิ้ง จำกัด โดย คุณเฉลิมพล 150 ตัว
วันที่ 7 พฤษภาคม
- มิตรไทย 1994 อุดรธานี จำนวน 150 ตัว
- ปิยะฟาร์ม อุดรธานี จำนวน 100 ตัว
- บริษัท ณัฐพงษ์ฟาร์ม จำกัด หนองบัวลำภู จำนวน 100 ตัว
วันที่ 8 พฤษภาคม
- บริษัท เบทาโกร ภาคตะวันออก จำนวน 301 ตัว
วันที่ 10 พฤษภาคม
- บริษัท เอกหฤษฏ์ โดย น.สพ.นพลิศ เสริมศักดิ์ศศิธร จำนวน 300 ตัว ส่งโรงฆ่าที่เกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี โดยบริษัทมีกำหนดส่งลูกสุกรตัดวงจรครั้งต่อไปวันที่ 23 พฤษภาคมจำนวน 240 ตัว
สำหรับกำหนดการในการจองคิวส่งลูกสุกรตัดวงจรลูกสุกรล่วงหน้าของบริษัท ไทยฟู้ดส์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย
- 17 พฤษภาคม จำนวน 200 ตัว
- 31 พฤษภาคม จำนวน 200 ตัว
- 14 มิถุนายน จำนวน 200 ตัว
สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติขอขอบพระคุณฟาร์ม ที่ส่งลูกสุกรมาร่วมตัดวงจรการผลิตสุกรในภาคสมัครใจ
โดยการตัดวงจรการผลิตสุกรเพื่อทำหมูหัน ที่เป็นโครงการของรัฐบาลที่จะมีเงินให้การสนับสนุนจำนวนตัวละ 400 บาท เริ่มสมัครเข้าโครงการตั้งแต่วันที่ 9 ถึงวันที่ 23 พฤษภาคมระยะเวลา 15 วัน โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
รายละเอียดโดยสรุปโครงการรักษาเสถียรภาพราคาสุกร โดยการตัดวงจร ลูกสุกรทำหมูหันปี 2567
กรมปศุสัตว์ได้นำส่งหลักเกณฑ์ วิธีการ พร้อมคู่มือการปฏิบัติงาน ตามมติจากคณะกรรมการบริหารงานกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ที่อนุมัติการช่วยเหลือ สนับสนุนค่าลูกสุกรทำหมูหัน ขนาด 3-7 กิโลกรัม ที่มีสุขภาพ ดีตัวละ 400 บาท จำนวน 75,000 ตัว โดยเกษตรกรจะได้รับการสนับสนุนเงินค่าลูกสุกรไม่เกิน 5% ของจำนวนแม่พันธุ์ในฟาร์มต่อเดือน
โดยคุณสมบัติของเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการ กำหนดไว้ดังนี้
- เป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลที่ประกอบอาชีพการเลี้ยงสุกร
- ขึ้นทะเบียนผู้เลี้ยงสัตว์กับกรมปศุสัตว์
- เป็นฟาร์มที่ได้รับการรับรองการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับความสุกรหรือ GAP โดยใบรับรองความต้องไม่หมดอายุ ณ วันที่สมัคร หรือมีหลักฐานว่าอยู่ระหว่างการพิจารณาอนุมัติในการต่ออายุ
- มีหนังสือรับรองการเป็นสมาชิกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ หรือ สมาคมผู้เลี้ยงสุกรภูมิภาคหรือ สหกรณ์ผู้เลี้ยงสุกร รวมทั้งมีสุกรเป็นของตนเอง
คุณสมบัติผู้ประกอบการรับซื้อลูกสุกร
- เป็นผู้ประกอบการที่สมัครเข้าร่วมโครงการและเป็นผู้ที่สามารถปฏิบัติตาม หลักเกณฑ์ของโครงการ
- จ่ายค่าลูกสุกรตามอัตราที่ตกลงระหว่างสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ กับผู้ประกอบการรับซื้อลูกสุกร
- รับผิดชอบค่าใช้จ่าย นับตั้งแต่ลูกสุกรออกจากฟาร์ม จนถึงทำเป็นหมูหันเพื่อจำหน่าย
กรณีราคาสุกรมีชีวิตหน้าฟาร์มเข้าสู่สถานการณ์ปกติสามารถยุติโครงการได้เมื่อราคาสุกรมีชีวิตประเภททั่วไปขายส่งตลาดกรุงเทพมหานครจากเว็บไซต์กรมการค้าภายในราคาคงที่เป็นเวลา 1 เดือน เท่ากับต้นทุนการผลิตกรณีผลิตลูกสุกรเองในไตรมาสที่ 1 ปี 2567 ของคณะอนุกรรมการต้นทุนการผลิตสุกร โดยมีราคาเฉลี่ยทั้งไตรมาสที่ 1 อยู่ที่ 78.27 บาทต่อกิโลกรัม
สำหรับราคาสุกรมีชีวิตประเภททั่วไปขายส่งตลาดกรุงเทพฯ หลักๆจะเป็นราคา ในพื้นที่ภาคตะวันตก
กรณีการประชาสัมพันธ์โครงการจะมีกรมปศุสัตว์ กรมการค้าภายใน สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ สำนักงานปศุสัตว์เขต สมาคมผู้เลี้ยงสุกรภูมิภาค ประชาสัมพันธ์รับสมัครเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรเข้าร่วมโครงการ โดยเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการ ณ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด ตามที่ตั้งของสถานที่เลี้ยงสุกร ตามวันเวลาที่กำหนด โดยสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดจะส่งเอกสารใบสมัคร และตารางสรุปการสมัครให้สมาคมผู้เลี้ยงสุกรภูมิภาค และกรมปศุสัตว์ ซึ่งเมื่อสิ้นสุดการรับสมัครสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติจะจัดสรรสิทธิ์จำนวนลูกสุกรที่เข้าร่วมโครงการ โดยต้องมีการหารือกันเพื่อไม่ให้จำนวนสุกรเกินเป้าหมาย
การเก็บสต๊อกซากลูกสุกร และการจำหน่ายหมูหัน ให้สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติแจ้งกรมปศุสัตว์ทราบเดือนละ 1 ครั้ง
ในวันส่งมอบลูกสุกร ต้องมีภาพถ่ายรูปสุกรที่มีสุขภาพดี โดยภาพถ่ายทุกภาพต้องระบุวันที่ เวลา ทั้งนี้ต้องมีภาพถ่ายดังนี้
- ภาพถ่ายป้ายชื่อฟาร์ม
- ภาพถ่ายที่แสดงถึงรูปสุกรสุขภาพดี
- ภาพถ่ายการนำลูกสุกรขึ้นรถจากฟาร์ม
- ภาพถ่ายซากลูกสุกรหลังจากฆ่าแล้ว
- ภาพถ่ายการเก็บซากลูกสุกรที่ห้องเย็น
ระยะการรับสมัครเข้าร่วมโครงการหลังจากประกาศหลักเกณฑ์โดยรับสมัครเป็นเวลา 15 วัน
การรับซื้อลูกสุกรเพื่อทำหมูหันตั้งแต่วันที่มีการจัดสรรสิทธิ์เสร็จสิ้น และอนุมัติโดยคณะกรรมการบริหารโครงการรักษาเสถียรภาพราคาสุกร โดยการตัดวงจรลูกสุกรทำหมูหันปี 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ระยะเวลาจ่ายเงินตั้งแต่มีการเริ่มรับซื้อลูกสุกรเพื่อทำหมูหันจนถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2567
รายละเอียดการปฏิบัติงานโครงการรักษาเสถียรภาพราคาสุกร โดยการตัดวงจรลูกสุกรทำหมูหันปี 2567 อย่างละเอียดแต่ละขั้นตอนกรมปศุสัตว์มีการจัดทำคู่มือการปฏิบัติการโครงการรักษาสุขภาพราคาสุกรให้กับผู้เข้าร่วมโครงการ เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ