Pig Production Cost Q2 2567

ต้นทุนหมูไตรมาส 2/2567 ปรับตัวสูงกว่าไตรมาส 1 จาก 69.56 บาท เป็น 72.07 บาทต่อกิโลกรัม น้ำหนักปัจจัยความต่างมาจากต้นทุนลูกสุกรพันธุ์ และอาหารสัตว์ ในขณะที่ฟาร์มครบวงจรย่อลงอยู่ที่ 77.43 บาทต่อกิโลกรัม

07 พฤษภาคม 2567 สศก.-ผลการประชุมคณะอนุกรรมการต้นทุนการผลิตสุกรครั้งที่ 2/2567 พิจารณาทบทวนต้นทุนการผลิตสุกรไตรมาส 1/2567 และคาดการณ์ต้นทุนการผลิตไตรมาส 2/2567 สูงขึ้นตามต้นทุนลูกสุกรพันธุ์ ในขณะที่วัตถุดิบอาหารสัตว์ลดลงเล็กน้อย เฉลี่ยทั้งไตรมาสกลุ่มซื้อลูกเข้าขุน อยู่ที่ 72.07 บาทต่อกิโลกรัม ขณะที่กลุ่มฟาร์มครบวงจรต้นทุนไตรมาส 2/2567 อยู่ที่ 77.43 บาทต่อกิโลกรัม โดยมาตรการตัดวงจรการผลิตสุกรที่จะมีเงินช่วยเหลือจากภาครัฐ จะมี Target Price สำหรับราคาขายสุกรขุนหน้าฟาร์มอยู่ที่ 80 บาทต่อกิโลกรัม ที่จะทำให้ผู้เลี้ยงสุกรทั้งระบบสามารถฟื้นตัวจากการขาดทุนอย่างยาวนานได้ 

  1. กรณีซื้อลูกสุกรมาเลี้ยงขุน ต้นทุนการผลิตทั้งหมดหักผลพลอยได้เฉลี่ยไตรมาส 2/2567 เป็นกิโลกรัมละ 72.07บาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 1/2567 กิโลกรัม ที่ 69.56 บาท เนื่องจากค่าลูกสุกรพันธุ์เพิ่มขึ้น  ค่าอาหารปรับลดลงเล็กน้อย   อัตราสูญเสียจากการขุน ยังคงใช้ร้อยละ 5
  2. กรณีผลิตลูกสุกรเอง ต้นทุนการผลิตทั้งหมดหักผลพลอยได้เฉลี่ยไตรมาส 2/2567 เป็นกิโลกรัมละ 77.43 บาท ลดลงจากไตรมาส 1/2567 เฉลี่ยที่ 78.27 บาทต่อกิโลกรัม ค่าอาหารปรับลดลงเล็กน้อย  อัตราสูญเสียจากการขุน ยังคงใช้ร้อยละ 5 ตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ปี 2566 กลุ่มนี้ยังคงแบกภาระจากการผลิตลูกสุกร และขายลูกสุกรในราคาต่ำกว่าต้นทุนการผลิต

              นายสัตวแพทย์เกียรติภูมิ พฤกษะวัน เลขาธิการสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ติงกรมการค้าภายในรู้ต้นทุนทั้งหมดในขณะที่ความพยายามขยับราคาหน้าฟาร์มเป็นเรื่องที่กลุ่มผู้เลี้ยงสุกรพยายามลดความเสียหายจากการขายต่ำกว่าต้นทุน

              นายสัตวแพทย์เกียรติภูมิ ให้ข้อสังเกตว่ามีความพยายามที่จะลดค่าความสูญเสียให้ต่ำลงซึ่งปัจจุบันอยู่ในระดับที่ต่ำมากในระดับร้อยละ 5 ของการเข้าขุน  แต่ในความเป็นจริงค่าความสูญเสียไม่ใช่อยู่ที่ 5- 10% เท่านั้น มีความสูญเสียมากกว่านั้น สภาวะโรคระบาดยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง

              อยากให้คณะอนุกรรมการต้นทุนการผลิตสุกรมีความมั่นคง และมีเสถียรภาพในการคาดการณ์ต้นทุนการผลิตสุกรในแต่ละไตรมาส โดยฝากถึงคณะอนุการผลิตในเรื่องของอัตราการสูญเสียให้พิจารณาอัตราการสูญเสียอีกครั้ง ซึ่งอาจจะมาพิจารณาในการประชุมคาดการณ์ต้นทุนในไตรมาสที่ 3 เพราะปัจจุบันอัตราความสูญเสียมีอัตราที่มากกว่า 5% 

              สำหรับมาตรการตัดวงจรการผลิตสุกรที่จะมีเงินช่วยเหลือจากภาครัฐ จะมี Target Price สำหรับราคาขายสุกรขุนหน้าฟาร์มอยู่ที่ 80 บาทต่อกิโลกรัม ที่จะทำให้ผู้เลี้ยงสุกรทั้งระบบสามารถฟื้นตัวจากการขาดทุนอย่างยาวนานได้ โดยจะเป็นราคาขั้นต่ำที่อยู่ได้ถ้าราคามีเสถียรภาพ

 

 

 

 

 

Visitors: 400,097