Pig Supply Cut Reach 20000

ยอดตัดวงจรภาคสมัครใจใกล้แตะ 20,000 ตัว ตลาดการซื้อขายเริ่มขอคิวหมูฟาร์มมากขึ้น  ทิศทางราคาบวกพระที่ 1 เมษายน ชาวหมูขอให้ตลอดห่วงโซ่ช่วยยกระดับราคา โดยเฉพาะโบรกเกอร์ กับ รายย่อย

28 มีนาคม 2567 สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ - สัปดาห์นี้ภาคบริษัทครบวงจรเริ่มทยอยส่งลูกสุกรเข้าโครงการ ในทุกภูมิภาค โดยแต่ละที่จัดเป็นตารางการสมทบเป็นรายสัปดาห์ ยอดสะสมการตัดวงจรและรอส่ง 19,603 ตัว ทั้งประเทศ   

          นายสัตวแพทย์นพลิศ เสริมศักดิ์ศศิธร นายกสมาคมพัฒนาธุรกิจสุกรไทย ในฐานะผู้ประสานงานหลักของโครงการปรับวงจรลูกสุกร และเป็นกลุ่มฟาร์มสุกรเริ่มต้นของภาคตะวันออกที่ส่งสุกรเข้าโครงการอย่างต่อเนื่องของกลุ่มฟาร์มในนามบริษัท เอก-หฤษฏ์ จำกัด ให้ข้อมูลว่าการค้าสุกรในช่วงนี้ ผู้ค้าสุกรหน้าฟาร์มเริ่มขอคิวในการเข้าจับมากขึ้น ทำให้ราคาสุกรเมื่อวันพระที่ 24 แม้จะมีราคายืนแต่ฐานค่อนข้างมั่นคง หรือ "ยืนแข็ง" ที่ผู้เลี้ยงมักเรียกกัน ทิศทางในวันพระหน้าในวันจันทร์ที่ 1 เมษายนนี้ น่าจะบวกได้ทุกภูมิภาค โดยขอให้ตลอดห่วงโซ่ช่วยยกระดับราคา โดยเฉพาะโบรกเกอร์ กับ รายย่อย ในพื้นที่ห่างไกล ซึ่งถ้ายังมีการกดราคา ผู้เลี้ยงสุกรสามารถร้องเรียน โทร 1569 สายด่วนกรมการค้าภายในได้

          การเข้าสู่ฤดูร้อนของไทยจะมีปัจจัยบวกในเรื่องของการท่องเที่ยวทั้งจากนักท่องเที่ยวไทย และต่างประเทศกับโครงการฟรีวีซ่าที่เริ่มไปแล้ว กับ ประเทศหลักๆ ที่จะเป็นตัวเสริมให้มีการบริโภคมากขึ้น ประกอบกับกลุ่มฟาร์มสุกรในระบบเปิดในช่วงฤดูร้อน สุกรจะโตช้าลง ส่งผลให้ผลผลิตที่ออกสู่ตลาดจะน้อยลง ในขณะที่การบริโภคปกติของผู้บริโภค ในกลุ่ม Food Service ที่ใช้วัตถุดิบเนื้อสุกรเป็นหลักมีการกระจายตัว และขยายตัวของเชนร้านชาบูปิ้งย่างมากขึ้น โดยมีผู้เล่นในตลาดเข้ามาในกลุ่มนี้มากขึ้น จากรายเดิมที่ขยายสาขาอย่างต่อเนื่อง เช่น สุกี้ตี๋น้อย ลักกี้สุกี้  และกลุ่มค้าปลีกรายใหญ่ที่ลงมาในธุรกิจนี้ได้สักระยะหนึ่งแล้วในกลุ่มของ CRC ที่ทำให้ตัวเลขสุกรเข้าเชือดในแต่ละวันอยู่ในระดับ 57,000 ถึง 58,000 ตัว ซึ่งเป็นตัวเลขแสดงปริมาณความต้องการบริโภค

          ในขณะที่ตัวเลข Supply Side หรือ ผลผลิตของภาคเอกชนที่ถึงกำหนดออกสู่ตลาด อยู่ระหว่างการพัฒนาระบบโดยสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ซึ่งมีการร่วมประชุมหารือ กับ ทีมงานกรมปศุสัตว์ไปก่อนหน้านี้แล้วเมื่อต้นเดือน มีภาพชัดเจนที่จะเดินต่ออย่างไร เช่น การรวม Demand Side และ Supply Side ที่สามารถดูได้อย่าง Real Time หน้า Dashboard บนสมาร์ทไฟนบนแอพพลิเคชั่น One Platform ซึ่งรอให้อธิบดีกรมปศุสัตว์สั่งการในเรื่องของการทำงานร่วมกันอย่างเป็นทางการ โดยจะมีเป้าหมายที่ชัดเจนขึ้น โดยมี INET หรือ บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน) เป็นผู้พัฒนาระบบ

          สำหรับกลุ่มฟาร์มแต่ละภูมิภาคที่ส่งหมูเข้าร่วมโครงการภาคสมัครใจการลดการตัดวงจรการผลิตประกอบด้วย ตามตาราง “โครงการตัดวงจรลูกสุกร ปี 2567”

Visitors: 397,168