INET SAT

สมาคมหมูประชุมหารือ INET เพื่อสร้างแนวทางสร้างความยั่งยืนให้กับวงการสุกรไทย

21 สิงหาคม 2566 INET - สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติหารือ INET เตรียมสร้าง Platform บูรณาการทั้งระบบ เข้าสู่ยุคดิจิตอลทรานฟอร์เมชั่น

สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติร่วมประชุมกับทีมบริหารของ บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด(มหาชน) หรือ INET เพื่อหาแนวทางสร้างแพลตฟอร์มระบบสมาชิก และการบริหารจัดการสุกรทั้งระบบ เพื่อบริหารจัดการโดยใช้ตัวตั้ง Supply Side ปริมาณการผลิต เพื่อบริหารจัดการผลผลิตออกสู่ตลาด การสร้างตลาดรองรับที่ไม่ใช่เป็นเพียงแค่ตลาดรองรับตามธรรมชาติแบบเดิม ที่เน้นจำหน่ายสุกรหน้าฟาร์มผ่านพ่อค้าคนกลาง ที่ใช้การบริโภคที่เป็นส่วนของ Demand Side เป็นไปตามธรรมชาติของการบริโภคในกลุ่ม Foods Service และภาคครัวเรือน

ปัจจุบันฟาร์มสุกรขนาดใหญ่และฟาร์มสุกรครบวงจรจะมีแพลตฟอร์มในการจัดการฟาร์มทั้งด้านการผลิตและการประเมินประสิทธิภาพของการจัดการเป็นของตัวเองอยู่แล้ว ในขณะที่บางส่วนยังคงใช้บันทึก Manual ซึ่ง INET มี Platform ที่สำเร็จรูปให้กับการจัดการฟาร์มสุกรระดับกลางและระดับเล็กอยู่แล้ว

โดย INET สามารถสร้างแพลตฟอร์มที่ดึงข้อมูลของแต่ละฟาร์มผ่าน Application ที่ฟาร์มมีอยู่หรือใช้ของ INET เพื่อสร้างเป็นระบบแพลตฟอร์มรวมเพื่อประเมินซัพพลายไซต์ โดยปัจจุบันข้อมูล Demand Side  ยังคงเป็นข้อมูลจาก E-Movement ของกรมปศุสัตว์ ซึ่งจะมีการหารือกับกรมปศุสัตว์ในรูปแบบการผนวกข้อมูลเพื่อได้ข้อมูลที่สมบูรณ์ทั้ง Demand Side และ Supply Side เพื่อให้ผู้ประกอบการทั้งระบบมีส่วนร่วมในการสร้างตลาดใหม่ขึ้นมา เช่น กระตุ้นการบริโภคโดยผ่าน ช่องทางต่างๆ เช่น สถาบันการศึกษาด้านเทคโนโลยีอาหาร เพื่อสร้างเป็นเมนูอาหารจานด่วน หรือ เมนูใหม่ๆ ที่ใช้หมูเป็นวัตถุดิบหลัก หรือเทศกาลหมูตามภูมิภาคต่าง ที่สามารถต่อยอดในเรื่องของการส่งออกเพิ่มเติมได้

จากการประชุมวันนี้ สรุป INET มีระบบรองรับ :-

  1. ระบบจัดการสมาคม กับ สมาชิก ที่สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติจะเริ่มใช้บริการนี้ก่อน
  2. ระบบจัดการสมาคม กับ ฟาร์มสุกรทั้งระบบ
  3. Application สำหรับจัดการฟาร์มกลางเล็ก กรณี ฟาร์มยังไม่มีระบบ
  4. ดึง Big DATA ภาครัฐ Demand Side ผสมผสาน Supply Side ภาคเอกชน เข้าสู่ระบบ Digital Transformation เป็น Country Platform 
  5. ปัจจุบัน INET ให้คำปรึกษากับกรมปศุสัตว์อยู่แล้ว กับ สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ - สพส

Visitors: 397,127