CPTPP จะได้ไม่คุ้มเสีย? ในยามไม่มีสหรัฐ แต่ได้จีนมาแทน

CPTPP จะได้ไม่คุ้มเสีย? ในยามไม่มีสหรัฐ แต่ได้จีนมาแทน

6 ตุลาคม 2564 สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ – คณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์เชิญภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องและอาจมีส่วนได้เสีย เข้าร่วมให้ข้อมูลกับคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ วันที่ 6 ตุลาคม 2564 เวลา 13.00 น. ผ่านระบบประชุมออนไลน์

สรุปประเด็น CPTPP โดยการรวบรวมข้อมูลของสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ

 

1. ประเทศภาคี CPTPP 11 ประเทศ ประเทศไทยมีความตกลง FTA การค้าเสรี ทั้งในรูปภูมิภาค และ ทวิภาคี เกือบหมดแล้ว เช่น  ASEAN  ASEAN-จีน  โดยที่ ASEAN-แคนาดา กำลังอยู่ในระหว่างพิจารณาจัดทำ FTA กันอยู่  ยังขาดเพียงเม็กซิโกเท่านั้น ที่ประเทศไทยยังไม่มีด้วย (ซึ่งไม่น่าสนใจ)

 

2. ประเด็นประเทศจีน ได้ยื่นใบสมัครเข้าร่วม CPTPP ผ่านนิวซีแลนด์ เมื่อกลางเดือนกันยายน ที่ผ่านมา ไม่เป็นประเด็นที่น่าสนใจ เพราะ ประเทศไทยมี FTA กับจีนอยู่แล้ว (ASEAN-จีน)  และยังมี RCEP ซึ่งเป็น FTA ที่มี ASEAN 10 ประเทศ รวมถึงประเทศคู่เจรจาของ ASEAN อีก 5 ประเทศ ได้แก่ จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์  

 

ที่ผ่านมา หลังจากที่ประเทศไทยมี FTA กับจีน ปรากฏว่าจีนส่งสินค้ามาขายบ้านเราเป็นส่วนใหญ่ ไทยส่งออกน้อยกว่านำเข้า  การที่ประเทศจีนเข้าร่วม CPTPP เพิ่มเติม จึงมีประเด็นที่น่าสนใจไม่มากนัก อาจมีการเปิดตลาดเพิ่มทั้งจากไทยให้สมาชิก CPTPP รวมถึงจีน ขณะที่ก็มีการเปิดตลาดเพิ่มจากสมาชิก CPTPP ด้วยเช่นกัน รวมถึงไทยต้องปรับตัวและแก้กฎหมายจำนวนมาก แต่ได้ตลาดเพิ่มไม่มากนัก

 

3. ข้อกำหนดเงื่อนไขต่างๆ หลังจากเป็น CPTPP ก็ยังมีความเข้มงวดค่อนข้างสูงเหมือนเดิม (ซึ่งประเด็นนี้ทีมเจรจาก็ไม่ได้มีข้อมูลให้ภาคเอกชนศึกษาเท่าที่ควร) โดย ญี่ปุ่นที่กลับมารื้อฟื้นเป็น CPTPP อีกครั้งก็หวังเพียงแค่ว่าจะได้สหรัฐอเมริกากลับมา แต่หลังจากที่จีนเข้ามาร่วมนั้น มั่นใจว่าสหรัฐอเมริกาจะไม่กลับเข้ามาเป็นสมาชิกอีกอย่างแน่นอน ซึ่งทำให้ CPTPP ขาดความน่าสนใจ เพราะ FTA ไทย-สหรัฐ ยังไม่เกิด และสหรัฐฯ เป็นตลาดที่น่าสนใจของทุกประเทศ

 

4. การยกเนื้อหมูและผลิตภัณฑ์ออกจากการเจรจา อาจจะทำได้ยาก เพราะไทยมาเข้าทีหลัง  ไม่รู้ว่าข้อตกลงต่างๆ เบื้องต้นเขาคุยกันไปถึงไหน อย่างไร แต่ก็อาจเป็นไปได้ว่า ประเทศไทยอาจเสนอให้ยืนภาษีนำเข้าสุกรในอัตราปัจจุบัน ที่อยู่ประมาณ 30% - 60%  แต่ก็อาจจะไม่ได้เป็นการปกป้อง เพราะการส่งออกสินค้าที่แทบไม่มีมูลค่าจากประเทศที่ต้นทุนต่ำอยู่แล้วเมื่อสินค้าถึงไทย ก็ยังคงถูกกว่าของไทยอยู่ดี ถึงแม้จะรวมอัตราภาษีนำเข้าแล้วก็ตาม  ยิ่งกลุ่มเครื่องในสุกรด้วยแล้ว ยิ่งทำให้โอกาสที่จะนำเข้ามาไม่จำกัดจำนวนเป็นไปได้สูง โดยเฉพาะจากประเทศแคนาดา

 

7. หากในที่สุดแล้ว ประเทศไทยเข้าร่วม  CPTPP แล้วภาษีนำเข้าหมูต้องเหลือ 0% แต่จะขอจำกัดโควต้าได้ไหม? (เช่นเดียวกับญี่ปุ่นที่มีโควต้ากับไทย ในกรอบความตกลง JTEPA ที่นำเข้าหมูจากไทย)  ได้รับคำตอบว่า "เราเข้าทีหลัง คงจะไปตั้งเงื่อนไขไม่ได้"  เมื่อเทียบกับกรณีของญี่ปุ่นเขากำหนดโควตาในกรณีนี้ไว้ตั้งแต่ต้นแล้ว

 

8. ปัจจุบันสหรัฐอเมริกา หันไปให้ความสนใจกับ Digital Economy Partnership Agreement มากกว่า ที่เรียกภาษาไทยว่า "ข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจดิจิทัล"  เป็นข้อตกลงการค้ารูปแบบใหม่ เพื่ออำนวยความสะดวกในการค้าดิจิทัล และการสร้างกรอบสำหรับเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งถือกำเนิดขึ้นจากผลประโยชน์ร่วมกันของ ชิลี  นิวซีแลนด์ และสิงคโปร์ ข้อตกลงดังกล่าวได้ลงนามเมื่อ วันที่ 12 มิถุนายน 2563

 

ในการประชุมบ่ายนี้จะมีผู้แทนจากสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติเข้าร่วมให้ข้อมูล 6 ท่าน โดยมีนักวิชาการจากกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 1 ท่าน

Visitors: 397,126