สุกรและไก่เนื้อ : ตลาดโลกและการค้า 2021

สุกรและไก่เนื้อ : ตลาดโลกและการค้า

การบริโภคเนื้อสัตว์ของจีนคาดว่าจะฟื้นตัวในปี 2564

โดย USDA

          จากการประมาณการความต้องการเนื้อหมูที่สูงขึ้น การคาดการณ์การนำเข้าเนื้อสัตว์รวมของจีนในปี 2563 และ 2564 มีการปรับประมาณการ 4 ครั้ง และสูงขึ้น 1 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่อัตราการเติบโตของการนำเข้าเนื้อหมูชะลอตัวลงในไตรมาสที่ 4 ของปี 2563  ซึ่งยังคงเกินกว่าที่คาดและเป็นผลให้แนวโน้มเติบโตมากขึ้นสำหรับ ปี 2564 ผลกระทบของโรค ASF ในสุกร คาดว่าได้ถึงจุดสูงสุดไปแล้วในปี 2563 กดดันการบริโภคและเพิ่มการพึ่งพาการนำเข้าเนื้อสัตว์ของประเทศ แม้การบริโภคเนื้อสัตว์ของจีนในปี 2563 ลดลงต่ำสุดในรอบกว่าทศวรรษ   โดยในปี 2564 มีประมาณการที่สูงขึ้นสำหรับการผลิตเนื้อหมูภายในของจีนและการนำเข้าเนื้อสัตว์ทั้งหมดโดยเพิ่มขึ้น 2 เปอร์เซ็นต์จากการคาดการณ์ก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ตามการบริโภคเนื้อสัตว์ทั้งหมดยังคงคาดว่าจะต่ำกว่าระดับก่อนการระบาดของโรค ASF ในสุกร

ชุดข้อมูลการผลิต การจัดหา และการจัดจำหน่าย (PSD) ของสหภาพยุโรป และ สหราชอาณาจักร และ "Brexit"

          ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 การแยกตัวของสหราชอาณาจักร (UK) ออกจากสหภาพยุโรป (EU) เสร็จสมบูรณ์ ซึ่งรวมถึงการค้าระหว่างทั้งสองกลุ่มประเทศ USDA จะยังคงใช้คำว่า "สหภาพยุโรป" ต่อไปเพื่อหมายถึงประเทศที่เกี่ยวข้องในสหภาพศุลกากรก่อนหน้านี้ซึ่งก็คือ EU27+UK  โดยตั้งแต่เดือนมกราคม 2564 ถึงตุลาคม 2564 สำหรับ PSD ปศุสัตว์และสัตว์ปีก  และจนถึงเดือนธันวาคม 2564 สำหรับ PSDs นม เริ่มในเดือนตุลาคม 2564 ด้วยการเปิดตัวข้อมูลปี 2565  PSDs ของปศุสัตว์และสัตว์ปีกจะสะท้อนให้เห็นถึงสหภาพยุโรป เริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคม 2564 ด้วยการเปิดตัวข้อมูลปี 2565 นม PSDs จะสะท้อนให้เห็นถึง EU27 และ สหราชอาณาจักรแยกต่างหาก

สุกร :

 

  • การผลิตเนื้อหมูทั่วโลกในปี 2564 ได้รับการแก้ไขเพิ่มขึ้นร้อยละ 2 เป็น 103.8 ล้านตันเนื่องจากการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของภาคการผลิตสุกรของจีนจากโรค ASF ในสุกร ราคาที่สูงขึ้นยังคงจูงใจให้ผู้ผลิตขยายการเลี้ยง ส่งผลให้การคาดการณ์การผลิตของจีนได้รับการแก้ไขให้มีการปรับตัวสูงขึ้น 5 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตาม, แม้จะมีการปรับปรุงขึ้น, การผลิตของจีนยังคงคาดว่าจะยังคงอยู่ต่ำกว่าระดับก่อนการระบาดของโรค ASF ในสุกร ผลจากค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นและความท้าทายการจัดการเลี้ยงทำให้ผู้เลี้ยงรัดกุมมากขึ้น  การผลิตของจีนที่สูงขึ้นมากกว่าการชดเชยการผลิตที่ลดลงอย่างรวดเร็วของฟิลิปปินส์ที่เป็นประเทศที่โรค ASF ในสุกรยังคงแพร่กระจายในภูมิภาคที่สำคัญ

  • การส่งออกเนื้อหมูทั่วโลกสำหรับปี 2564 มีการปรับตัวเลขสูงขึ้นเกือบ 3 เปอร์เซ็นต์ ถึง 11.1 ล้านตันผลจากความต้องการนำเข้าของจีนที่สูงแต่ยังมีผลลดลงเมื่อเทียบจากปีที่ผ่านมา คาดว่าจะยังคงอยู่ในระดับสูงตามมาตรฐานทางตัวเลขของอดีต  จำนวนที่พร้อมสำหรับการส่งออกคาดว่าต่างประสงค์จะมีตลาดในจีน ถึงแม้ว่าการบริโภคในจีนที่เป็นตลาดหลักยังคงต่ำกว่าระดับก่อนมีการระบาดของโรค  ASF ในสุกร ในขณะเดียวกันที่ค่าเงินเปโซเม็กซิโกที่อ่อนตัวและเศรษฐกิจภายในประเทศที่ซบเซานำไปสู่การลดความคาดหวังสำหรับการนำเข้าของอีกประเทศหลักอย่างเม็กซิโก

ไก่เนื้อ :

 

  • การผลิตเนื้อไก่ทั่วโลกในปี 2564 ได้รับการแก้ไขลดลงร้อยละ 1 เป็น 101.8 ล้านตันโดยได้แรงหนุนจากการลดลงอย่างรวดเร็วของความต้องการในสหภาพยุโรปและจีน สหภาพยุโรปกำลังต่อสู้กับการระบาดของโรคไข้หวัดนกที่ทำให้เกิดโรคสูง (HPAI) ในหลายประเทศสมาชิก ความต้องการภายในประเทศที่อ่อนแอและราคาธัญพืชที่สูงขึ้น ความต้องการเนื้อไก่ของจีนแม้ยังคงเติบโต แต่เติบโตในอัตราที่ช้าลงเนื่องจากการเลี้ยงสุกรและผลผลิตเนื้อสุกรฟื้นตัว

  • การส่งออกเนื้อไก่ทั่วโลกในปี 2564 ลดลงเกือบ 1 เปอร์เซ็นต์มาอยู่ที่ระดับ 12.1 ล้านตัน เป็นผลจากการต่ำลงของการส่งออกจากสหภาพยุโรป ประเทศไทย และบราซิล แต่ถูกชดเชยด้วยการเพิ่มขึ้นของสหรัฐอเมริกา แนวโน้มการนำเข้าสินค้าจีนยังคงไม่เปลี่ยนแปลง

 

          สถานการณ์ไก่เนื้อโลก ปี 2564 คาดว่าการผลิตเนื้อไก่ของโลกจะมีปริมาณ 101.8 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 100.4 ล้านตัน ของปี 2563 ร้อยละ 1.4 การผลิตเนื้อไก่ของโลกขยายตัวตามความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับ สถานการณ์โรคโควิด 19 ในหลายประเทศน่าจะเริ่มคลี่คลายและมีการผ่อนคลายมาตรการมากขึ้นหลังวัคซีนโควิด 19 ต่างทยอยออกมา ส่งผลให้ประเทศผู้ผลิตที่สำคัญ ทั้งสหรัฐอเมริกา จีน บราซิล และสหภาพยุโรป ขยายการผลิตเพิ่มขึ้น โดยคาดว่าจีนมีการขยายการผลิตเพิ่มขึ้นมากที่สุด ร้อยละ 2.05 เมื่อเทียบกับปี 2563

          สถานการณ์สุกรโลก ปี 2564 คาดว่าประเทศที่เกิดความเสียหายจากโรค ASF จะสามารถขยายการผลิตเพิ่มขึ้นเช่น จีน ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และบราซิล เป็นต้น ประกอบกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังการระบาดของโรคโควิด 19 และราคาสุกรที่เพิ่มสูงขึ้นจะจูงใจให้เกษตรกรขยายการผลิต

Visitors: 397,154