วงการสุกรไทย...ถึงเวลาสร้างราคาตามมาตรฐานฟาร์ม หลัง...องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ผลักดันสวัสดิภาพแม่สุกรพันธุ์ในประเทศไทยผ่านห้างค้าปลีก

ราคาสุกรขุนถึงเวลาที่ต้องสร้างราคาตามมาตรฐานฟาร์ม หลัง...องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ผลักดันสวัสดิภาพแม่สุกรพันธุ์ในประเทศไทยผ่านห้างค้าปลีก

23 มิถุนายน 2562องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค  ได้ส่งจดหมายเปิดผนึกถึง Tesco Lotus สนับสนุนให้สนับสนุนสินค้าเนื้อสุกรปลอดภัยให้ทั้งผู้บริโภค และ ส่งเสริมสวัสดิภาพสัตว์

โดยในหนังสือได้กล่าวว่า เนื่องจาก Tesco Lotus คือหนึ่งในซุปเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ของประเทศไทยที่ทำหน้าที่ส่งมอบสินค้าที่ปลอดภัยแก่ผู้บริโภคทั้งมีอำนาจมหาศาลในการกำหนดชีวิตของสัตว์ในประเทศไทยเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะอย่างยิ่ง...หมู

ทุกวันนี้หมูต้องทนทุกข์ทรมาน

แม่หมูเกือบ 1 ล้านตัวในประเทศไทยถูกขังอยู่ในกรงเล็กๆ ถูกใช้เป็นเครื่องสืบพันธุ์หมูเหล่านี้ใช้ทั้งชีวิตอยู่ในคอกเหล็กที่มีขนาดเท่าตู้เย็นพวกมันต้องประสบกับความเจ็บปวดทรมานอย่างแสนสาหัสทางร่างกาย รวมถึงผลกระทบต่อสภาพจิตใจอันเกิดจากความเครียดสะสมที่มีสาเหตุจากการที่ไม่สามารถแสดงออกพฤติกรรมตามธรรมชาติได้เลยและจากความเครียดสะสมและความเบื่อในนี้ทำให้หมูแสดงพฤติกรรมที่ผิดปกติเช่นการกัดกรงเหล็กหรือการเคี้ยวฟันเนื่องจากพวกมันต้องการบรรเทาความเจ็บปวดทรมานที่ได้รับ

ใส่ใจหมูเท่ากับใส่ใจเรา

วิธีการเลี้ยงหมูที่ไม่ใส่ใจสวัสดิภาพหมูเช่นนี้ มักเชื่อมโยงกับการใช้ยาปฏิชีวนะเกินความจำเป็นในฟาร์มหมู ในเดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2561 กรมการพิทักษ์สัตว์แห่งโลก (World Animal Protection) ได้ทำการตรวจเชื้อหาแบคทีเรียดื้อยาปฏิชีวนะในเนื้อหมูจาก 4 ประเทศรวมถึงประเทศไทยโดยเราได้นำตัวอย่างของเนื้อหมูมาจากซุปเปอร์มาเก็ตต่างๆ รวมถึง Tesco Lotus จากผลการตรวจสอบพบเชื้อแบคทีเรียดื้อยาปฏิชีวนะจำนวนที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อสุขภาพของคนในตัวอย่างเนื้อหมู ที่นำมาจาก Tesco Lotus แสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงที่เกิดขึ้นต่อสุขภาพของผู้บริโภค โดยในแต่ละปี มีผู้เสียชีวิตจากเชื้อแบคทีเรียดื้อยา ราว 700,000 คนทั่วโลกและ 38,000 คนในประเทศไทย

มุ่งสู่การเลี้ยงหมูด้วยใจ องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกมุ่งทำงานหลากหลายวิธีการเพื่อให้หมูมีสวัสดีครับที่ดีขึ้น เราทำงานร่วมกันร่วมกันกับผู้ผลิตในฟาร์มเพื่อยกระดับการเลี้ยงให้มีสวัสดิภาพมากขึ้นเรารณรงค์อย่างเข้มข้นและต่อเนื่องผ่านการจัดการกิจกรรมสื่อสารกับผู้บริโภค รวมถึงการรวมถึงทางกิจกรรมออนไลน์ปัจจุบันตัวเลขของผู้สนับสนุนของเราเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องผ่านการลงชื่อร่วมสนับสนุนแคมเปญเลี้ยงหมูด้วยใจ(Raise Pigs Right) เพื่อเรียกร้องให้ Tesco Lotus จำหน่ายผลิตภัณฑ์หมูที่มาจากความที่มีสุขภาพที่ดี

สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติยืนยันว่าฟาร์มหมูเป็นจำนวนมากต้องการเห็นการปฏิบัติต่อหมูในฟาร์มที่ดีขึ้น และมีฟาร์มหมูจำนวนไม่น้อยที่ได้เริ่มเปลี่ยนวิธีการเลี้ยงแล้ว นอกจากนี้มูลนิธิผู้บริโภคก็ได้ตีพิมพ์บทความบนเว็บไซต์และนิตยสารฉลาดซื้อ เพื่อแสดงให้เห็นว่าฟาร์มหมูที่ใส่ใจสวัสดิภาพของหมูนั้นปลอดภัยกว่าสำหรับผู้บริโภค

ถึงเวลาแล้วที่ Tesco Lotus ต้องลงมือ!

จากผลการสำรวจขององค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกพบว่าลูกค้าของซุปเปอร์มาร์เก็ตในประเทศไทยจำนวน 86% มีความวิตกกังวลเรื่องการใช้ยาปฏิชีวนะเกินความจำเป็นในฟาร์มหมู

ถึงเวลาแล้วที่ Tesco Lotus ต้องลงมือสร้างความเปลี่ยนแปลง เราเรียกร้องให้คุณฟังเสียงของผู้บริโภคซึ่งคือลูกค้าคนสำคัญของคุณร่วมกับบริษัทคู่ค้าของคุณ ตลอดจนใช้อำนาจทางการตลาดที่ มหาศาลในการพัฒนาสวัสดิภาพของหมู่ให้ดีขึ้น โดยการประกาศพันธะสัญญาสาธารณะที่จะคัดเลือกเฉพาะเนื้อหมูจากฟาร์มที่ไม่ขังแม่หมูจากมาจำหน่ายให้กับผู้บริโภคภายในปี 2557 ตลอดจนรายงานความคืบหน้าของความสำเร็จแก่สาธารณะเป็นประจำทุกปี

มาตรฐาน TESCO UK สำนักงานใหญ่ที่สหราชอาณาจักร(UK) ปฏิบัติตามกฎหมายที่บัญญัติห้ามตั้งแต่ปี 1999 หรือ ปี 2542 ห้ามเลี้ยงแม่พันธุ์ในซองและโยง ปัจจุบันได้เพิ่มเป็น TESCO Standard สนับสนุนกลุ่มเกษตรกรที่ทำเกษตรปศุสัตว์ได้ตรงมาตรฐาน ให้ราคารับซื้อที่สูงกว่าคุณภาพทั่วไป

สำหรับห้างค้าอื่นๆ ที่ร่วมมือ กับ องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกแล้ว ได้แก่ ท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต ซึ่งประกาศว่าจะจำหน่ายเฉพาะเนื้อหมูที่มาจากฟาร์มที่ไม่ขังแม่หมูภายในปี พ.ศ. 2571 นอกจากนั้นทางองค์กรฯยังคงมุ่งแสวงหาความร่วมมือจากห้างค้าปลีกอื่นๆอีกในอนาคต โดยหวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่การเลี้ยงสุกรที่มีสวัสดิภาพที่ดีขึ้นทั้งระบบ

เบทาโกรเลิกแล้ว เลี้ยงแม่หมูแบบยืนซองหลังคลอด

เบทาโกร ประกาศเจตนารมณ์ ในการพัฒนาการเลี้ยงสุกร เน้นคำนึงถึงหลักสวัสดิภาพสัตว์ที่ดี และการปฏิบัติต่อสัตว์อย่างมีคุณธรรม ด้วยยกเลิกการเลี้ยงแม่สุกรแบบยืนซองภายหลังคลอดและระหว่างคลอด หันมาเลี้ยงแบบรวมกลุ่มและคอกคลอด ตั้งเป้าครบทุกฟาร์มภายใน 10 ปี ระบุจะช่วยให้แม่สุกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ผู้อำนวยการองค์กรพิทักษ์สัตว์ฯ ชี้เป็นนิมิตหมายอันดีต่ออนาคตของสุกรที่เลี้ยงในระบบฟาร์มเพราะจะส่งผลทำให้ผู้ประกอบการรายอื่นนึงถึงหลักสวัสดิภาพสัตว์ที่ดีด้วย

เครือเบทาโกร ได้ร่วมมือกับองค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก(World Animal Protection) เป็นรายแรกในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิก ในโครงการยกระดับสวัสดิภาพสัตว์รวมถึงลักษณะของสุขภาพสัตว์ที่เกี่ยวข้องในการผลิตสุกรและสัตว์ปีกจากการทำงานร่วมกันตลอดระยะเวลากว่า 3 ปี ทำให้เบทาโกรตัดสินใจประกาศยกเลิกการเลี้ยงแม่สุกรแบบยืนซองภายหลังคลอดและซองคลอดเป็นรายแรกในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเปลี่ยนมาเป็นระบบการเลี้ยงแบบรวมกลุ่มและคอกคลอด

ทั้งนี้เพื่อให้สุกรในฟาร์มสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ ลดภาวะเครียดและสามารถแสดงออกถึงพฤติกรรมตามธรรมชาติได้มากขึ้นโดยตั้งเป้าครบทุกฟาร์มในเครือฯ ภายในปีพ.ศ.2570 ซึ่งจะมีจำนวนแม่สุกรไม่ต่ำกว่า 250,000 แม่ ได้รับการปรับปรุงด้านสวัสดิภาพสัตว์ที่ดีขึ้น

ซีพีเอฟ ยันยึดหลักสวัสดิภาพสัตว์สากลอย่างมีจริยธรรม

ซีพีเอฟ มีการยกระดับการเลี้ยงสัตว์ตามหลักสวัสดิภาพสัตว์สากลที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง เดินหน้าตามเป้าหมายขยายการเลี้ยงสุกรแม่พันธุ์อุ้มท้องแบบคอกขังรวมให้ครอบคุลมธุรกิจประเทศไทยในปี 2568 และกิจการในต่างประเทศในปี 2571

สำหรับฟาร์มสร้างใหม่ในประเทศ ตั้งแต่ปี 2560 ถูกออกแบบเป็นคอกขังรวมสำหรับแม่พันธุ์สุกรอุ้มทองทั้งหมด ส่วนฟาร์มเก่าที่เป็นคอกขังเดี่ยว จะทยอยปรับเปลี่ยน ส่วนฟาร์มสร้างใหม่ของธุรกิจในต่างประเทศได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2561 เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ให้ครอบคลุมกิจในและต่างประเทศ

การสร้างแรงจูงใจเชิงพาณิชย์ ด้านมาตรฐานฟาร์มต่างๆ

เสียงสะท้อนหนึ่งจากผู้ประกอบการ ทั้งระดับฟาร์มครบวงจร และฟาร์มสุกรทั่วไป เกี่ยวกับการทำเพียงระบบฟาร์มมาตรฐานตามกรมปศุสัตว์ ก็ไม่ได้ความแตกต่างใดๆ เชิงพาณิชย์เลย ปัจจุบันตลาดผู้บริโภคเริ่มเลือกบริโภคโดยเน้นด้านสุขอนามัยมากขึ้น ทำให้กลุ่มที่มีนโยบายมากไปกว่าแค่ฟาร์มมาตรฐาน สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มจากตลาด Premium ได้มากขึ้นหลังการแปรรูป และยังคงปฏิเสธไม่ได้ว่าความต้องการเนื้อสุกรจากฟาร์มที่ใส่ใจสวัสดิภาพจะเพิ่มสูงขึ้นอีกในอนาคต ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางการบริโภคทั่วโลก

ราคาสุกรขุนถึงเวลาที่ต้องแยกราคาจากฟาร์มเกรด Premium A B C

ถึงแม้การจัดการฟาร์มในประเทศไทยยังไม่มีภาคบังคับในการทำมาตรฐานฟาร์มในแต่ละชนิด ตั้งแต่มาตรฐานส่งออก มาตรฐาน GAP มาตรฐาน GFM ซึ่งหลักๆ จะให้ความสำคัญด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity)  ซึ่งมาตรฐานด้านการปลอดการใช้ยาโดยเฉพาะยาปฏิชีวนะน่าจะเป็นภาคบังคับในอนาคต มาตรฐานด้านสวัสดิภาพสัตว์ ที่องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกผลักดันอย่างต่อเนื่อง น่าจะถูกกดดันจากสังคมและกฎหมายมากขึ้น รวมไปถึงมาตรฐานด้านการจัดการแรงงานที่ดี หรือ Good Labour Practices (GLP) ในอนาคต ที่จะถูกบังคับอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในยุคที่เป็นโลกแห่งการกีดกันทางการค้า ที่มีสารพัดมาตรการออกมาอย่างต่อเนื่อง

ปัจจุบันราคาสุกรขุนแปรผันตามคุณภาพผลผลิตทางกายภาพเนื้อ หรือ คุณภาพซาก แต่ปัญหาด้านมาตรฐานฟาร์ม การบริหารจัดการฟาร์มเชิงคุณภาพที่แตกต่างกัน แต่ราคาสุกรขุนยังมีความแตกต่างที่ไม่ชัดเจน ไม่นับรวมถึงราคาเนื้อสุกรที่มีความแตกต่างชัดเจน กับคุณภาพเนื้อสุกรสำหรับฟาร์มครบวงจรขนาดใหญ่ที่พัฒนาคุณภาพฟาร์ม คุณภาพเชิงคุณภาพ  ส่งผลให้ขาดแรงจูงใจเชิงพาณิชย์กับราคาสุกรขุน ที่ตลาดในประเทศอิงราคารายงานสภาวะราคารายวันพระของสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ สำหรับฟาร์มครบวงจรขนาดใหญ่ทั้ง 2 รายดังกล่าว กับ ราคาสุกรขุนที่เป็นส่วนเกินจากกระบวนการชำแหละ กระบวนการแปรรูป น่าจะมีการแยกราคาตามเกรดของฟาร์ม เพื่อสร้างความยุติธรรมและจูงใจให้ผู้ประกอบการที่ผลักดันมาตรฐานต่างๆ ตามตารางสมมติฐานแบบจำลองด้านล่างนี้

 

เป็นเพียงแนวคิดเสนอแบบจำลอง เพื่อสร้างความแตกต่างให้ตลาดได้ตั้งแต่ สุกรขุน การค้าเนื้อสุกร ธุรกิจอาหารและการแปรรูป จนถึงสร้างมาตรฐานเพื่อการส่งออกที่จะทำให้นโยบาย Compartment ที่กรมปศุสัตว์ผลักดันบรรลุผลทั้งในระดับฟาร์มและในระดับคุณภาพผลผลิตด้วย

Visitors: 397,168