กรมปศุสัตว์นำร่อง “หมูอีสาน” 21 พ.ค.นี้ บริหารจัดการพื้นที่การเลี้ยงสุกร 6 ภูมิภาค รองอธิบดีเชิญผู้เลี้ยงร่วมผลักดัน

กรมปศุสัตว์นำร่อง “หมูอีสาน” 21 พ.ค.นี้ บริหารจัดการพื้นที่การเลี้ยงสุกร 6 ภูมิภาค รองอธิบดีเชิญผู้เลี้ยงร่วมผลักดัน

13 พฤษภาคม 2562 กรมปศุสัตว์ – รองอธิบดีจีระศักดิ์ระดมมันสมองทุกหน่วยงานในกรมปศุสัตว์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมความพร้อม กับโครงการนำร่อง “หมูอีสาน-คนอีสานกิน” เป็นภาคแรก กับภาคใต้เป็นอันดับต่อไป สำหรับโครงการ บริหารจัดการพื้นที่การเลี้ยงสุกร 6 ภูมิภาค

การประชุมเตรียมความพร้อม กับ พื้นที่การเลี้ยงสุกร เขต 3 เขต 4 ในพื้นที่ภาคอีสาน ที่จะเป็นโครงการนำร่อง กับ โครงการบริหารจัดการพื้นที่การเลี้ยงสุกร 6 ภูมิภาค ที่เป็นนโยบายการตลาดนำการผลิตที่เป็นนโยบายที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำลังผลักดัน กับทุกสินค้าเกษตร เพื่อความยั่งยืน มั่นคง ให้กับกลุ่มเกษตรกรของประเทศ ในขณะที่สัดส่วนเศรษฐกิจของประเทศเริ่มกระจุกตัวอยู่เฉพาะกลุ่มบน ประเทศกำลังเผชิญกับฟันเฟืองทางเศรษฐกิจที่ฐานปิรามิดกำลังซื้อเหือดแห้ง จึงเกิดแนวคิด Sharing Economic ก่อนที่เศรษฐกิจของประเทศจะเข้าสู่ทางตัน จะเห็นได้จากหลากหลายนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐกระตุ้นการจับจ่าย กระตุ้นการท่องเที่ยวจังหวัดชั้นรอง ต่างเริ่มตระหนักถึงระบบ Sharing Economy

การประชุมคณะทำงานในวันนี้เป็นการระดมความคิดเพื่อจัดทำข้อมูลเชิงปริมาณ กับ ทุกกลุ่มที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในแต่ละพื้นที่

  • ตั้งแต่ฟาร์ม กลุ่มสถาบันเกษตรกร สมาคมผู้เลี้ยง สหกรณ์ผู้เลี้ยงสุกร การแบ่งกลุ่มของฟาร์มตามชนิดของมาตรฐานฟาร์ม GFM GAP ฟาร์มปลอดโรค ฯลฯ
  • โรงงานอาหารสัตว์ โรงฆ่า โรงงานแปรรูป
  • การเชื่อมโยงกับปริมาณการผลิตในพื้นที่ การเคลื่อนย้ายเข้าพื้นที่
  • การจำหน่ายสู่กระบวนการต่อเนื่อง
  • ช่องทางการจำหน่าย ห้างค้าส่งค้าปลีก ตลาดสด ตลาดนัด สภาพและปริมาณการบริโภคระดับภูมิภาค การจำหน่ายออกนอกพื้นที่ การส่งออกทั้งสุกรมีชีวิตและแปรรูป
  • การจำหน่ายเป็นเนื้อสุกร เป็นวัตถุดิบธุรกิจอาหาร ธุรกิจแปรรูป  ในแต่ละภูมิภาค

สรุปแนวทางในการบริหารจัดการพื้นที่การเลี้ยงสุกร 6 ภูมิภาคนี้นอกจากจะเกี่ยวข้องกับทุกกอง ทุกสำนัก ในกรมปศุสัตว์ ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคแล้ว จะต้องได้รับความร่วมมือในการทำงานกับผู้เลี้ยงสุกรในพื้นที่ด้วย รูปแบบการบริหารจัดการในแต่ละภูมิภาคมีความแตกต่างกัน เช่น สุกรในภาคอีสานเป็นแหล่งใหญ่มีจำนวนผู้เลี้ยงและจำนวนสุกรมาก ผู้เลี้ยงสุกรในภาคอีสานจะรวมกลุ่มง่ายกว่าภาคอื่น โดยสหกรณ์ผู้เลี้ยงสุกรในภาคอีสานปัจจุบัน มีถึง 10 องค์กรเกษตรกร

 

  1. สมาคมผู้เลี้ยงสุกรเพื่อการค้านครราชสีมา
  2. สมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
  3. สหกรณ์การเกษตรด่านขุนทด จำกัด   
  4. สหกรณ์ผู้เลี้ยงสุกร 4.0 ร้อยเอ็ด จำกัด     
  5. สหกรณ์การเกษตรและปศุสัตว์หนองภัยศูนย์ จำกัด
  6. สหกรณ์การเกษตรปฎิรูปที่ดินปทุมราชวงศา จำกัด 
  7. สหกรณ์นิคมนาหว้าใหญ่ จำกัด
  8. สหกรณ์การเกษตรศุภนิมิตรกุดจับ จำกัด
  9. สหกรณ์ผู้เลี้ยงสุกรอำเภอกุดจับ จำกัด
  10. สหกรณ์ผู้เลี้ยงสุกรตระการพืชผล จำกัด                                         



จังหวัดนครราชสีมา
จังหวัดชัยภูมิ
จังหวัดนครราชสีมา
จังหวัดร้อยเอ็ด
จังหวัดหนองบัวลำภู
จังหวัดอำนาจเจริญ
จังหวัดอำนาจเจริญ
จังหวัดอุดรธานี
จังหวัดอุดรธานี
จังหวัดอุบลราชธานี

                                                                                          

   

 

 จึงต้องการให้มีการจัดประชุมนำร่องที่ภาคอีสานเป็นแห่งแรกที่สำนักงานปศุสัตว์เขต 4 จังหวัดขอนแก่น โดยเขตเองจะต้องช่วยคิดในเชิงระบบ โดยกรมมีแผนที่จะจัดประชุมครั้งต่อไปที่ภาคใต้

สำหรับการเริ่มต้นที่ภาคอีสาน ต้องการให้เกิดแนวคิด “หมูอีสาน-คนอีสานกิน” การบริหารจัดการพื้นที่การเลี้ยง 6 ภูมิภาค จะเป็นการดำเนินการในลักษณะของการ Zoning สุกร ปัจจุบันเรายังมีการบริหารจัดการไม่ดีพอ หากพิจารณาราคาสุกรในปัจจุบันสะท้อนความเป็นจริงหรือไม่ จำนวนโรงฆ่าที่ลดลง ในส่วนของปลายน้ำ Modern Trade ตลาดนัดมีกี่แห่ง เนื้อหมูปศุสัตว์ OK มีกี่ราย เกษตรกรแต่ละประเภทมีจำนวนกี่ราย การส่งออกสุกรชายแดนเป็นสุกรที่มาจากแหล่งไหน มีขนาดน้ำหนักอย่างไร ต้องมีข้อมูลทุกอย่างถูกต้องครบถ้วนเพื่อนำไปใช้ในการบริหารจัดการ การรณรงค์ให้มีการขอใบอนุญาตการค้าสุกร ประธานได้มอบหมายให้ที่ประชุมเตรียมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสุกรที่ตนเองรับผิดชอบ เพื่อการเตรียมความพร้อมในการไปประชุมที่สำนักงานเขตปศุสัตว์เขต 4 ในวันที่ 21 พฤษภาคม 2562 ต่อไป

โดยการประชุมกรรมการสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติในวันที่ 15 พฤษภาคม 2562 นี้ ตั้งแต่ 13.00 น.ที่สำนักงานสมาคมฯ ที่เขตบางนา กรุงเทพมหานคร รองอธิบดีจีระศักดิ์ พิพัฒนพงศ์โสภณ และเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์จะมาร่วมประชุมกับสมาคมฯ ด้วย โดยเป็นการร่วมหารือทั้งเรื่อง บริหารจัดการพื้นที่การเลี้ยงสุกร 6 ภูมิภาค และอัพเดทการเฝ้าระวังป้องกันการระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกันในสุกร ด้วย

 

 

Visitors: 397,158