ผลการใช้เนื้อในเมล็ดยางพารา ในสูตรอาหารต่อสมรรถภาพการผลิตสุกรขุน

ผลการใช้เนื้อในเมล็ดยางพาราในสูตรอาหารต่อสมรรถภาพการผลิตสุกรขุน

บทคัดย่อ

          เนื้อในเมล็ดยางพาราเป็นผลพลอยได้จากการสกัดน้ำมันเมล็ดยางพารา ประกอบด้วยโภชนะที่เป็นโปรตีนสูง ชนิดกะเทาะเปลือก มีโปรตีน 28-30% เยื่อใย 9% ชนิดไม่กะเทาะเปลือก มีโปรตีน 16% เยื่อใย 42% จากการทดลองหลายๆ งานวิจัยสรุปได้ว่า ในสุกรขุนระดับของ การใช้เนื้อในเมล็ดยางพาราที่เหมาะสมอยู่ที่ 20% ทำสุกรมีอัตราการเจริญเติบโต ประสิทธิภาพ การใช้อาหารใกล้เคียงกับสูตรควบคุมไม่ทำให้สมรรถนะการผลิตด้อยลง แต่ถ้าใช้ในระดับที่สูงเกินไป จะมีผลต่อการกินได้ของสุกร เนื่องจากปัจจัยด้านรสชาติและกลิ่น การใช้เนื้อในเมล็ดยางพารา ในอาหารสุกรในปริมาณที่เหมาะสมกับสุกรในระยะต่างๆ รวมถึงความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ และการลดต้นทุนทางด้านอาหารจึงเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึง

          บทนำ

          การเลี้ยงสุกรในปัจจุบันอาหารเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งโภชนะโปรตีน ในอาหารโดยอาหารสุกรส่วนใหญ่ แล้วนิยมใช้โปรตีนจากปลาป่นและกากถั่วเหลืองเป็นหลัก แม้จะเป็นแหล่งโปรตีนที่มีคุณภาพแต่ก็ มีข้อจำกัด ทางด้านราคาที่ค่อนข้างแพง เป็นเหตุให้ต้นทุน ด้านอาหารสูงตามไปด้วย การค้นหาโปรตีนจากแหล่งใหม่มาทดแทนจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งเนื้อในเมล็ดยางพาราเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสม ในการนำมาเป็นแหล่งโปรตีน ในสูตรอาหารสัตว์ ซึ่งจะช่วยให้ลดต้นทุนทางด้านอาหาร เนื่องจากเนื้อในเมล็ดยางพารา มีปริมาณมากเพียงพอต่อความต้องการ นอกจากนี้แล้วยังพบว่า เป็นแหล่งโปรตีนทางเลือกใหม่ที่อาจนิยม นำมาใช้เป็นแหล่งโปรตีนทดแทน ในยามที่ปลาป่นและกากถั่วเหลืองขาดแคลนโดยใช้ เนื้อในเมล็ดยางพารา เป็นแหล่งโปรตีนในอาหารสุกรในช่วงของการเลี้ยงสุกรขุน ในสูตรอาหาร ที่เหมาะสม

          พื้นที่ปลูกยางและเมล็ดยางพาราในประเทศไทย

          ยางพารา (Hevea brasiliensis) เป็นไม้ยืนต้นที่มีถิ่นกำเนิดในแถบลุ่มแม่น้ำอะเมซอน ในประเทศบราซิล ทวีปอเมริกาใต้นำมาปลูกครั้งแรกในประเทศไทยที่จังหวัดตรัง ในปีพ.ศ. 2442 โดยพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี จากการสำรวจ ในปี พ.ศ.2542 พบว่า ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูก ยางพาราประมาณ 9.7 ล้านไร่ และพื้นที่ 1 ไร่ สามารถปลูกต้นยางพาราได้ 76-80 ต้น ในแต่ละปียางพารา 1 ไร่ จะให้เมล็ดยางพาราประมาณ 50 กิโลกรัมซึ่ง เมื่อคำนวณกับพื้นที่ปลูกยางพารา ในปีพ.ศ.2542 ประเทศไทยจะมีผลผลิตเมล็ดยางพาราประมาณ 484 ล้านกิโลกรัม ที่ถูกปล่อยให้เน่าสลายไปในสวนยาง จะมีการนำมาสกัดน้ำมัน หรือใช้ผลิตต้นตอประมาณ 1 ล้านกิโลกรัม เมล็ดยางพาราประกอบด้วย เปลือก 34.1% เนื้อใน 41.2% และความชื้น 24.7% จะมีเนื้อในเมล็ดยางพาราที่นำมาใช้เลี้ยงสัตว์ได้ถึง 254 ล้านกิโลกรัม (สนิท, 2523) ในปัจจุบันพื้นที่ปลูกยางพาราของประเทศไทย ในปี 2556 มีจำนวน 14,338,046 ไร่ อยู่ในภาคเหนือจำนวน 198,171 ไร่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1,539,623 ไร่ ภาคตะวันออกรวมภาคกลาง 1,644,704 ไร่ และภาคใต้มีพื้นที่ปลูกยางมากที่สุด 10,955,548 ไร่ (สำนักงานสถิติการทำสวนยาง, 2556) ดังนั้น จำนวนเมล็ดยางพาราทั้งหมด

คุณค่าทางโภชนะของเนื้อในเมล็ดยางพารา

          สมศักดิ์ (2542) กล่าวว่า กากเมล็ดยางพาราแบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ ชนิดกะเทาะเปลือกและไม่กะเทาะเปลือก ซึ่งจะมีคุณสมบัติต่างกัน ส่วนของเมล็ดยางที่ผ่านการอัดน้ำมันหรือสกัดน้ำมันด้วยสารเคมี มีกลิ่นหอมชวนกิน ชนิดกะเทาะเปลือกออกมีคุณค่าทางอาหารดีกว่า และคุณสมบัติใกล้เคียงกับกากถั่วลิสง และกากเมล็ดฝ้าย กากเมล็ดยางพาราชนิดกะเทาะเปลือกมีโปรตีน 28-30% เยื่อใย 9% และยอดโภชนะย่อยได้ 63% และชนิดไม่กะเทาะเปลือกมีโปรตีน 16% เยื่อใย 42% และยอดโภชนะย่อยได้ประมาณ 58% เนื่องจากกากเมล็ดยางพารามีสารพิษ คือ กรดไฮโดรไซยานิคอยู่ซึ่งสามารถทำให้ปริมาณสารพิษนี้ลดลงได้ โดยการเก็บกากเมล็ดยางพาราทิ้งไว้นาน 1 เดือน หรือนำไปอบด้วยความร้อน 100 องศาเซลเซียส นาน 18 ชั่วโมง หรือผึ่งกลางแดด เป็นเวลา 2 วัน หลังจากแยกเอาส่วนที่เป็นยางออกไป เพื่อทำยางพาราแล้ว กากสามารถนำมาเป็นอาหารสัตว์ได้ โดยใช้เป็นแหล่งโปรตีน เพราะมีกากเหลือมากถึง 53%

ดังแสดงในตารางที่ 1

ตารางที่ 1  ผลวิเคราะห์ส่วนประกอบของเมล็ดยางพาราสดและเนื้อใน (กะเกาะเปลือกแล้ว)

ส่วนประกอบในเมล็ดยางพาราสด

%

ส่วนประกอบเนื้อในเมล็ดยางพารา

%

เปลือก

34.1

น้ำมัน

42.0

เนื้อใน

41.2

ความชื้น

5

ความชื้น

1.00

กากที่แยกน้ำมันแล้ว

10.0

ที่มา: สมศักดิ์ (2542)

 

          สุกัญญา (2549) กล่าวว่า ส่วนประกอบของโภชนะต่างๆ ในกากเมล็ดยางพาราชนิดมีเปลือก ชนิดไม่มีเปลือกอัดน้ำมันและสกัดน้ำมันมีความแตกต่างกัน ดังแสดงในตารางที่ 2

 

ตารางที่ 2  ส่วนประกอบของโภชนะต่างๆ ในกากเมล็ดยางพาราชนิดมีเปลือก และไม่มีเปลือก (คิดจากวัตถุแห้ง, เปอร์เซ็นต์)

 

ส่วนประกอบ

 

กากเมล็ดยางพารามีเปลือก

กากเมล็ดยางพาราไม่มีเปลือก

อัดน้ำมัน

สกัดน้ำมัน

โปรตีน

15.6

29.12

37.8

ไขมัน

6.33

12.47

-

เยื่อใย

41.92

9.39

3.9

เถ้า

0.002

5.29

5.3

ไซยาไนด์

43.90

0.00172

-

Gross energy (Kcal/kg)

0.22

47.13

-

แคลเซี่ยม

0.26

0.28

-

ฟอสฟอรัส

-

0.57

-

ที่มา: สุกัญญา (2549)

         

 

 

การใช้เนื้อในเมล็ดยางพาราในอาหารสุกรขุน

          สุกัญญา (2549) กล่าวว่า กากเมล็ดยางพาราสามารถนำไปใช้เลี้ยงสุกรได้สูงถึง 20-25% ในสูตรอาหาร แต่ให้ผลดีที่สุดที่ระดับ 20 ในไก่กระทงและไก่ไข่ที่ระดับ 20% ไม่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตตามปกติและการให้ไข่แต่อย่างใด ในสุกรขุน หากมีการปรับปรุงสูตรให้เหมาะสมสามารถใช้ได้ ถึง 50% โดยไม่มีผลกระทบต่อคุณภาพเนื้อ และการเพิ่มน้ำหนักตัว

          จุฑารัตน์และยุทธนา (2551) ได้ศึกษาผลของเนื้อในเมล็ดยางพาราในอาหารต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโตของสุกรระยะขุน โดยใช้สุกรลูกผสม (Duroc x Landrace x Large White) จำนวน 40 ตัว น้ำหนักเฉลี่ย 60 กิโลกรัม พบว่า ระดับเนื้อในเมล็ดยางพาราในสูตรอาหารที่ระดับ 20 เปอร์เซ็นต์ ทำให้สุกรมีสมรรถภาพการเจริญเติบโตใกล้เคียงกับสูตรควบคุม

          กำชัยและคณะ (2542) รายงานว่า จากการทดลองใช้กากเนื้อในเมล็ดยางพาราในสูตรอาหารข้น สำหรับเลี้ยงแพะ พบว่า สามารถใช้ได้ถึง 20% แต่ถ้าใช้มากกว่านี้ส่งผลให้ปริมาณการกินได้และการย่อยได้ ของเมล็ดยางพาราที่กะเทาะเปลือก

          ยุทธนา (2525) รายงานว่า จากการศึกษาการใช้กากเมล็ดยางพาราในอาหารสุกรขุน พบว่า สามารถ ใช้กากเมล็ดยางพาราได้สูงถึง 20 เปอร์เซ็นต์ในสูตรอาหาร โดยไม่พบความผิดปกติของกรดไฮโดรไซยานิก นอกจากนี้ ศิริศักดิ์ (2531) ได้ศึกษาการใช้กากเนื้อในเมล็ดยางพาราเสริมกรดอะมิโนสังเคราะห์ทดแทน กากถั่วเหลืองในสุกรรุ่นและขุนพบว่าการใช้กากเนื้อในเมล็ดยางพาราระดับ 20 เปอร์เซ็นต์ในอาหารและเสริมอะมิโนไลซีน 0.3 เปอร์เซ็นต์ จะทำให้สุกรมีอัตราการเจริญเติบโต ประสิทธิภาพการใช้อาหารใกล้เคียง กับสูตรควบคุม

 

ตารางที่ 3  แสดงการใช้เนื้อในเมล็ดยางพาราในรูปแบบต่างๆ ในอาหารสุกร

ชนิดของเนื้อในเมล็ด

ยางพารา

ระดับที่ให้ผลดี

(%)

ระยะสุกร

(กก.)

 

แหล่งที่มา

กากเมล็ดยางพารา

20

35-90

สุกัญญา (2549)

กากเนื้อในเมล็ดยางพารา

20

20-90

ศิริศักดิ์ (2531)

เนื้อในเมล็ดยางพาราผ่าน

การตากแดด 6 วัน

และอบที่ 70 องศา

เซลเซียส นาน 24 ชั่วโมง

20

60-95

จุฑารัตน์

และ ยุทธนา (2551)

ที่มา: ภิราภรณ์ (2552)

 

          สรุป

          กากเมล็ดยางพาราสามารถใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสุกรได้โดยการปรับสูตรอาหารและเลือกใช้ในระดับที่เหมาะสมกับสุกรในแต่ละระยะ จะสามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในสุกรขุนพบว่า ที่ระดับ 20% เป็นระดับสูงที่สามารถใช้ในอาหารของสุกรขุนได้แม้จะไม่สามารถ ทำให้สมรรถภาพการเจริญเติบโตสูงขึ้น แต่ก็ไม่ทำให้ลดลงแต่อย่างใด

 

เอกสารอ้างอิง

กำชัย  ตันติกาพงศ์ ยุทธนา ศิริวธันนุกูล เสาวนิต  คูประเสริฐ และสุธา วัฒนสิทธิ์ 2542. การใช้เนื้อในเมล็ดยางพาราเสริมด้วยกรดแอมิโนแทนแทนถั่วเหลือง ไขมันสูงและกากถั่วเหลืองในอาหารสุกร (15-60 กก.). วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

จุฑารัตน์ พรหมพฤกษ์ และยุทธนา ศิริวัธนนุกูล. 2551 ผลของเนื้อในเมล็ดยางพาราในอาหารและเพศต่อ สมรรถภาพการเจริญเติบโตของสุกรระยะขุน (60-95 กก.).รายงานการประชุมวิชาการสัตวศาสตร์ภาคใต้ครั้งที่ 5 ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 14-15 สิงหาคม 2551. 39-49 น.

ภิราภรณ์  ทุมรัตน์. 2552. ผลของเนื้อในเมล็ดยางพาราในอาหาร เพศ และน้ำหนักต่อสมรรถภาพการผลิต และคุณภาพซากของสุกรขุน. วิทยานิพนธ์วิทยา ศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ยุทธนา  ศิริวัธนนุกูล. 2525. ผลของการใช้เนื้อในเมล็ดยางพาราต่อลักษณะของสุกร. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 325-329 น.

ศิริศักดิ์  โกศลคุณาภรณ์. 2531. ผลของการใช้เนื้อในเมล็ดยางพาราเสริมกรดอะมิโนสังเคราะห์ทดแทน กากถั่วเหลืองในอาหารสุกรรุ่นและขุน. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

สมศักดิ์  วรรณศิริ. 2542. ยางพารา. พิมพ์ครั้งที่ 3. สำนักพิมพ์ฐานเกษตรกรรม. กรุงเทพมหานคร

สุกัญญา จัตุพรพงษ์. 2549. การตรวจสอบคุณภาพวัตถุดิบอาหารสัตว์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. นครปฐม. 15-23 น.

สนิท  สโมสร 2523. ยางพารา. ในพืชสำคัญในภาคใต้ (พรชัย เหลืองอาภาพงศ์, บรรณาธิกา) หน้า 1-30 สงขลา : ภาควิชาพืชศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สำนักงานสถิติการทำสวนยาง. 2556.

 

ที่มา : สัตว์เศรษฐกิจ ปีที่ 32 ฉบับที่ 768 ปักษ์แรกมกราคม 2559 (หน้า 53-55)

Visitors: 397,124