Finisher Production Cut

ฟาร์มสุกรรายใหญ่ร่วมตัดวงจรลูกสุกรเพื่อลดผลผลิตเฉลี่ย 5,000 ตัวต่อวัน ระยะเวลา 90 วันเริ่มวันที่ 11 มีนาคมนี้ เพื่อดึงราคาสุกรขุนทั้งประเทศ

19 กุมภาพันธ์ 2567 กรมปศุสัตว์ - 20 ฟาร์มสุกรรายใหญ่ทั้งครบวงจรและฟาร์มปกติ มีฉันทามติร่วมกัน ลดกำลังการผลิตสุกร 450,000 ตัวระยะเวลา 90 วัน เพื่อผลักดันราคาสุกรขุนให้สูงกว่าต้นทุนเพื่อช่วยเหลือผู้เลี้ยงสุกรทั้งระบบ

          นายสัตวแพทย์ณรงค์ เลี้ยงเจริญ ผู้อำนวยการสำนักควบคุมป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ เป็นประธานการประชุม โดยมีผู้แทนจากสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ และ ผู้ประกอบการฟาร์มสุกรขนาดใหญ่เข้าร่วม ซึ่งเป็นการประชุมต่อเนื่องเพื่อที่จะกำหนดวันในการเริ่มโครงการ

          สำหรับจำนวนลูกหมูที่จะตัดวงจรลดการผลิตในช่วง 90 วัน มีทั้งสิ้นจำนวน 450,000 ตัว หรือเฉลี่ย 5,000 ตัวต่อวัน ซึ่งจะเป็นการลดจำนวนสุกรเขาเชือดในแต่ละวัน ที่ปัจจุบันมีเฉลี่ยอยู่ที่ 55,000 ตัวต่อวัน โดยการลดปริมาณผลผลิตดังกล่าวจะทำให้มีส่วนผลักดันให้ราคาสุกรขุนในประเทศปรับตัวขึ้นเกินกว่าต้นทุน ซึ่งเกษตรกรทั้งประเทศประสบสภาวะขาดทุนมาร่วม 1 ปีด้วยกัน

          นายสิทธิพันธ์ ธนาเกียรติภิญโญนายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ได้กล่าวว่าโครงการดังกล่าวมั่นใจว่าจะผลักดันให้ราคาสุกรขุนปรับตัวขึ้นมาอยู่ในระดับเหนือกว่าต้นทุนที่ 80 บาทต่อกิโลกรัมได้  เพราะการตกต่ำลงของราคาสุกรส่งผลอย่างมาก ทั้งอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเห็นได้ชัดในช่วงไตรมาสที่ 3 และไตรมาสที่ 4 ของปี 2566 ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP)เติบโตเพียงแค่ 1.5% และ 1.7% ตามลำดับ เทียบกับไตรมาสที่ 3 และไตรมาสที่ 4 ของปี 2565 เห็นได้ชัดว่าสินค้าสุกรเป็นหนึ่งในสินค้าที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจเพราะเป็นตัวตั้งต้นในธุรกิจอาหาร และการจับจ่ายของประชาชน

          ถึงแม้ไตรมาสที่ 4 ของปี 2566 GDP จะโตเพียงแค่ 1.7% แต่การบริโภคภาคเอกชนเติบโตถึง 7.4% แสดงให้เห็นว่าการบริโภคภาคเอกชนอยู่ในระดับที่สูงมาก รองจากปริมาณการส่งออกด้านบริการ

          GDP ภาคเกษตรลดลงที่ -0.8% ส่วนหนึ่งเป็นผลจากราคาสินค้าปศุสัตว์โดยเฉพาะเนื้อสุกรลดลง ซึ่งสวนทางกับการเติบโตด้านการบริโภคของภาคเอกชนจึงสะท้อนให้เห็นว่าราคาสุกรปัจจุบันไม่ใช่เป็นปัญหาที่จะส่งผลกระทบในเรื่องของการบริโภคภาคเอกชนแต่อย่างใด  โดยการบริโภคภาคเอกชนเมื่อไตรมาสที่ 3 ปี 2566 ก็บวกถึง 8.1% อยู่ในระดับสูงเช่นกัน จึงเป็นข้อสังเกตได้ว่าสินค้าภาคปศุสัตว์สามารถไปสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับการบริโภคภาคเอกชนและธุรกิจด้านอาหาร จึงจำเป็นอย่างมากที่รัฐบาลควรจะกำกับดูแลสินค้าภาคปศุสัตว์โดยเฉพาะสุกรอย่างใกล้ชิด  ไม่ให้ต้องประสบกับชะตากรรมเช่นเดียวกับในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา 

          ราคาหมูตกต่ำในประเทศจีนก็สร้างปัญหาให้กับดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ดี เพราะจะเกิดปัญหากับผู้ประกอบการฟาร์มสุกร เช่นเดียวกับประเทศไทยใน  ขณะที่ผู้บริโภคที่ชอบหยิบยกกันมาอ้างก็ไม่ได้บริโภคอาหารที่มีส่วนประกอบของสุกรในราคาถูกแต่ประการใด  สังเกตได้จากตัวเลขการเติบโตของการบริโภคภาคเอกชน   จึงถึงเวลาที่รัฐบาลจะต้องมีความเป็นมืออาชีพสูงขึ้น ในเรื่องของการนำพารามิเตอร์และตัวเลขที่เป็นองค์ประกอบจริงในปัจจุบัน  มาประกอบการดูแลเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย  อย่างเช่นที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

          โดยนายสิทธิพันธ์ได้กล่าวถึงตัวเลขหนี้สินภาคครัวเรือนของไทย  ที่เป็นปัญหาใหญ่ที่เป็นปัญหาทางโครงสร้าง  การเข้าถึงระบบเศรษฐกิจ  ถึงแม้ตัวเลขสิ้นปี 2566 ยังไม่มีสรุปแต่คาดว่าน่าจะอยู่ที่ประมาณ 16.5 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 90-91% ต่อ GDP ถึงแม้ตัวเลขเมื่อเทียบกับปี 2565 ซึ่งอยู่ที่ 15.9 ล้านล้านบาทหรือ 91.4% ต่อ GDP แต่ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ของประเทศไทยยังคงมีอยู่สูง การเข้าถึงอาชีพของเกษตรกรและพลเมืองไทยต่ำลงเรื่อยๆ ที่เป็นเรื่องที่ต้องนำมาพิจารณาประกอบ เพราะ GDP ไปกระจุกในมือระดับบน แต่ตัวเลขหนี้สินภาคครัวเรือนจะอยู่ที่ฐานปิรามิด ซึ่งเทียบจำนวนที่เพิ่มขึ้น ปี 2565 กับ 2566 หนี้สินภาคครัวเรือนเพิ่ม 600,000 ล้านบาท ถ้าวิเคราะห์ GDP ที่เป็นของฐานปิรามิด สัดส่วนหนี้สินภาคครัวเรือนตามฐานพลเมืองที่เป็นหนี้จริง กับ GDP ของฐาน มันน่าจะเกิน 100% ไปนานแล้ว กำลังซื้อระดับพลเมืองจึงเหือดหายไปเรื่อยๆ เป็นไปตามที่ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยให้สัมภาษณ์เสมอว่าเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างของพลเมืองในระบบเศรษฐกิจที่จะต้องปรับปรุง

          ในที่ประชุมมีข้อเสนอจากบรรดาฟาร์มครบวงจรที่จะพร้อมใจกันจะเสริมด้วยการลดจำนวนแม่พันธุ์สุกรลงด้วยเพื่อที่จะควบคุมปริมาณผลผลิตไม่ให้ออกสู่ตลาดมาก  จนสร้างผลกระทบต่อราคา เช่นในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ซึ่งจะเป็นมาตรการเสริมหลังจากที่นำหน้าด้วยโครงการหมูหัน

Visitors: 397,110