West Reborn after ASF

ผู้เลี้ยงภาคตะวันตกเตรียมความพร้อมหลัง ASF & COVID เริ่มสงบ

26 กันยายน 2565 นครปฐม - การสัมมนาหลังเว้นวรรคกระจายตัวในภูมิภาค ผู้เลี้ยงภาคตะวันตกรวมตัวครั้งใหญ่เตรียมพร้อมหลังทั้ง ASF และ COVID-19เริ่มสงบ

          การจัดในครั้งนี้เป็นการร่วมกันระหว่างสำนักงานปศุสัตว์ เขต 7 สมาคมผู้เลี้ยงสุกร เขต 7 และภาคเอกชนกลุ่มฟาร์มสุกร บริษัทเกษตรครบวงจร เวชภัณฑ์ อาหารสัตว์ อุปกรณ์ฟาร์ม 51 ราย โดยเขต 7 ครอบคลุมพื้นที่ 8 จังหวัด ประกอบด้วย กาญจนบุรี เพชรบุรี นครปฐม ราชบุรี สมุทรสาคร ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสงคราม และ สุพรรณบุรี เป็นพื้นที่การเลี้ยงสุกรหนาแน่นที่สุดในประเทศไทย

          วิทยากรในการสัมมนา 4 ท่านประกอบด้วย

  1. น.สพ.วินัย ทองมาก“เทคนิคก่องลงหมูอย่างไรให้รอด เพื่อไปต่ออย่างยั่งยืน”
  2. ผศ.น.สพ.ดร.ปริวรรต พูลเพิ่ม “เลี้ยงหมูให้ยั่งยืน ยุคหลัง ASF”
  3. น.สพ.จำลอง วรศรี “การคุมเข้มตรวจสอบ การลักลอบนำเข้าซากสุกร”
  4. ผศ.น.สพ.คัมภีร์ กอธีระกุล“3 วิธีในการกลับมาเลี้ยงใหม่หลังเว้นวรรค วางแผนอย่างให้ได้ลูกหมูปลอดภัย”

 

          น.สพ.วินัย ทองมาก ได้ให้คำแนะนำวิธีการด้านการเตรียมโรงเรือนหลังเคยประสบกับการติดเชื้อโรค ASF ในสุกรมาก่อน  

หลักการและขั้นตอนก่อนเข้าหมูใหม่ RESTART

  1. เมื่อโรคสงบต้องยืนยันด้วยการ Swab บริเวณฟาร์มทั้งหมดอย่างน้อย 43 จุด
  2. ตรวจแม่ทุกตัวที่จะย้ายขึ้นคอกและทุกตัวที่จะหย่านมด้วย PCR ติดต่อกันอย่างน้อย 6 สัปดาห์
  3. ตรวจอนุบาลทุกคอกที่จะลงขุนด้วย OFs,PCR
  4. ตรวจหมูสาวเข้าฝูงทุกตัวด้วย PCR และ ELISA
  5. เฝ้าระวังตัวป่วยซึมไม่กินอาหารในหมูทุกระยะ ถ้าเจอให้รีบตรวจด้วย TESTKIT ถ้าผลบวก ให้รีบคัดทิ้งตัวนั้นคอกนั้นด้วยวิธีที่ปลอดภัย แล้วยืนยันหมู่ที่เหลือด้วย PCR
  6. ลดการใช้เข็มตลอดการเลี้ยง

 

3 ระยะฟื้นตัวและกลับมาเลี้ยงใหม่(จากข้อมูลต่างประเทศ 6-8 เดือน)

  1. ทำความสะอาดโรงเรือนให้ละเอียด และพ่นยาฆ่าเชื้อตามโปรแกรมปกติของฟาร์มเป็นเวลา 3 รอบ แต่ละรอบการฆ่าเชื้อให้ห่างกัน 10 วัน (รวมระยะเวลา 1 เดือน)
  2. หลังจากนั้นให้ทำความสะอาดโรงเรือนทุก 1 เดือนเป็นเวลา 4 เดือนรวมระยะเวลาตั้งแต่ต้น 5 เดือน
  3. เมื่อเวลาผ่านไป 5 เดือนให้ทำความสะอาดโรงเรือนนั้นอีกครั้งหนึ่งแล้วหลังจากนั้น 10 วันจึงทำการ swab เชื้อที่พื้นโรงเรือนเพื่อตรวจหาเชื้อ Staphylococcus spp. และ ASFV (ต้องไม่เจอเชื้อ)รวมระยะเวลา 5 เดือน 2 สัปดาห์

          โดยแนะนำตั้งทีมงานฝีมือดีไว้ใจได้พร้อมสัตวบาลควบคุม 1 คน (QC) โดยจุดสำคัญของการจัดการโรงเรือน คือ

  • ไม่มีเชื้อเก่า เชื้อใหม่ไม่เข้า ไม่เป็นโรค
  • ล้างทำความสะอาดตามขั้นตอน

o   ห้ามใช้เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง (High Pressure Cleaner) ก่อนถึงขั้นตอนขัดด้วยมือเสร็จ เพื่อป้องการกระจายของเชื้อ

o   วันที่ 1 ลงโซดาไฟ 2.5% ปล่อยแห้ง พ่นโฟมยาฆ่าเชื้อ(ด่าง)แล้วลงมือขัด ล้างออกแล้วปล่อยให้หมาด แล้วเป่าไฟให้ทั่วถึงหรือใช้น้ำร้อนมากกว่า 75 องศาเซลเซียส พ่นโฟมยาฆ่าเชื้อ

o   ก่อนลงยาฆ่าเชื้ออาจจะต้องมีค่าการตรวจระดับสารบ่งชี้ทางชีวภาพระดับโมเลกุลของจุลชีพสิ่งมีชีวิต ในวัฏฏะจักรวงจร สารอะดีโนซีนไตรฟอสเฟต (Adenosine triphosphate (ATP)) อยู่ไม่เกินหลักหมื่น ถ้าเกินล้างใหม่

o   วันที่ 2 ทำซ้ำเหมือนวันแรก อีกรอบ ปล่อยข้ามคืน โรงเรือนปิด ทำความสะอาดพัดลม ถอด Cooling Pad ออกล้างหรือทิ้งเลย วันที่ 3 เปิดหน้าดินรอบโรงเรือน ลาดโซดาไฟ โรยปูนขาวจนไม่เห็นพื้น

o   วันที่ 3 โรงเรือนเปิดเอามุ้งลงให้ตึงมิดชิด พ่นยาฆ่าเชื้อ ตัวที่ใช้พ่นโฟมทั้งข้างในและข้างนอกโรงเรือนเพดาน มุ้งฟ้าให้ครบ 100%

o   วันที่ 3 โรงเรือนปิดใส่ Cooling Pad ตัวใหม่ ปิดเล้าพ่นโฟมยาฆ่าเชื้อให้ทั่วทั้งข้างนอกและข้างในโรงเรือน

o   วันที่ 4 พ่นยาฆ่าแมลงกลุ่มไพริทอยด์ชนิดออกฤทธิ์นานทั้งในและนอกโรงเรือน เล้าเปิดให้พ่นไปที่มุ้งให้ทั่วและที่ชายมุ้งป้องกันแมลงคลาน พ่นซ้ำทุกๆ 2 สัปดาห์ ยกเว้นฝนตกหนัก ให้พ่นรอบนอกโรงเรือนใหม่ ควรตัดต้นไม้ใกล้โรงเรือนออก เพื่อลดที่อาศัยแมลงดูดเลือด

o   รมควันด้วยด่างทับทิมและฟอร์มาลีน (1.2 ลิตร ต่อ 800 กรัม) พัก 3-4 วันแล้ว Swab ตรวจด้วยเครื่องตรวจ ATP ได้ต่ำกว่า 1,000 และ Swab ส่งตรวจ ASF 13 จุดในวันเดียวกัน ถ้าผลผ่านเอาหมูลงได้ ไม่ผ่านเริ่มกระบวนการล้างใหม่ทั้งหมด

o   ทีมดูแลหมูจะแบ่งเป็น สีเขียว สีส้ม และสีแดง ตามความเสี่ยง อย่างเคร่งครัด

ประเมินปิดท้าย

  • ถ้าทุกอย่างเอื้ออำนวยใช้เวลา 7-14 วันสามารถลงเลี้ยงได้เลย
  • ถ้าทำไม่ได้ทุกข้ออย่างเคร่งครัดและหรือยังมีเชื้อวนเวียนใกล้เคียงอย่างหนาแน่น ไม่ควรเข้าหมู
  • ถ้าไม่แน่ใจว่าสามารถฆ่าเชื้อเก่าได้หมด ไม่สามารถปฏิบัติตามระเบียบ BIOSECURITY ได้ 100% ไม่ควรเริ่มต้นเสี่ยงเลี้ยงใหม่
  • ยังไม่มีวัคซีนที่ได้ผลในเมืองไทย (อยู่ในขั้นตอนวิจัยพัฒนา) ไม่มียาใดรักษาโรคนี้ได้ เมื่อติด ASF Virus แล้ว ถึงตายช้าลงก็ต้องคัดทิ้งเพื่อไม่ให้โรคกระจายทั้งฟาร์มอยู่ดี BIOSECURITY จึงสำคัญที่สุด
  • กรณีใช้น้ำบ่อน้ำหน้าดิน และเคยเกิดการปนเปื้อน ASF Virus ในแหล่งน้ำแล้ว ควรปรึกษาสัตวแพทย์ถึงวิธีฆ่าเชื้อที่ถูกต้องก่อนจะเริ่มต้นเลี้ยงใหม่

          แล้วใช้ตัวหมูปลอดเชื้อไปลองเลี้ยงดูว่าป่วยหรือไม่ โดยใช้วิธี Sentinel pigs หรือลงเลี้ยงประมาณ 10% ของกำลังการเลี้ยงของโรงเรือน

  • ใส่ทุกคอกและทางเดิน กระจายทั่วทั้งโรงเรือน
  • สังเกตอาการป่วย และสุ่มเก็บตัวอย่างเลือดหลังจากเลี้ยงสุกร 2 สัปดาห์ เพื่อตรวจ ASF Virus (รวมเวลา 6 เดือน)

          ถ้าสุกรที่นำเข้ามาเลี้ยงใหม่ไม่แสดงอาการและตรวจเชื้อในเลือดสุกรดังกล่าวเป็นลบ จึงให้ทำการเลี้ยงสุกรกลุ่มใหม่ในโรงเรือนดังกล่าวได้

  • สังเกตอาการและสุ่มเก็บตัวอย่างเลือกตรวจเชื้อ ASF Virus
  • ถ้าลบก็เริ่มขยายการเลี้ยงมากขึ้นต่อไป

          ผศ.น.สพ.ดร.ปริวรรต พูลเพิ่ม เทียบหลักการ COVID Free Setting มีลักษณะคล้าย ASF คนในวงการสุกรคุ้นเคยกับการป้องกัน ASF ก่อนที่จะเกิดการระบาดของ COVID-19 ในคน ซึ่งการปฏิบัติ BIOSECURITY ในฟาร์มจะมีลักษณะเดียวกันคือลด Contact Transmission การแยกกลุ่มกำหนดพื้นที่เสี่ยงสูง เสี่ยง เฝ้าระวัง ออกจากกลุ่มปกติกำหนดพื้นที่เสี่ยงสูง กลาง ต่ำ เฝ้าระวัง ที่มีคำถามว่าคนเลี้ยงพร้อมที่จะ Re-Start หรือยังต้องถามใจตัวเองดูก่อนว่า จะไปอย่างไร Reborn อย่างไร? ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางในการจัดการในเบื้องต้นของโรงเรือนและสิ่งแวดล้อมฟาร์ม ตามที่นายสัตวแพทย์วินัย ทองมาก ได้นำเสนอไปในช่วงแรก

          ถ้าจะกลับมาเลี้ยงใหม่ต้องปรับ MINDSET ระหว่าง FIXED MINDSET และ GROWTH MINDSET ความคิดเดิม กับ ความคิดตามบริบทที่ต้องปรับเปลี่ยนเพราะส่วนใหญ่ของพาหะนำโรค คือ คน กับ หมู ในอดีตฟาร์มแต่ละความใช้คนงานร่วมกันแต่ปัจจุบันต้องแยก ต้องจ้างเพิ่ม ค่าแรงคนงานเพิ่มเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เป็นค่าใช้จ่ายส่วนเพิ่ม ปัจจุบันนอกจากอาบน้ำก่อนเข้าฟาร์ม การล้างมือซอกเล็บต่างๆ เป็นสิ่งที่ต้องเข้มงวดมากขึ้น

          ปูนขาวที่ใช้ในการฆ่าเชื้อต้องโดนน้ำก่อน ปูนขาวแห้งไม่สามารถฆ่าเชื้อได้ โดยในกรณีที่ปูนขาวปนเปื้อนขี้หมูจะลดประสิทธิภาพลง จัดบ้านพักคนงานอยู่หน้าฟาร์ม ให้คนงานพักในบริเวณฟาร์มเพื่อลดปัญหาการไปกลับจากที่พักซึ่งเราจะควบคุมการเดินทางไปในที่ต่างๆ ของคนงานไม่ได้

          ในฟาร์มแม่พันธุ์สุกรต้องเว้นระยะกรง เช่น 4 เว้น 1 บ้าง 5 เว้น 1 บ้าง การเว้นซองนอกจากลดการติดเชื้อเป็นกลุ่ม  ยังเป็นการลดความหนาแน่นจะทำให้หมูปลอดภัยยิ่งขึ้น ต่อยอดจากการบรรยายของนายสัตวแพทย์วินัยคือ ในเรื่องของการทำลายเชื้อในสภาพแวดล้อมจุดต่างๆ ในฟาร์ม  ลดจุดเสี่ยงที่ลมผ่านไม่ได้ให้มากที่สุด

          วัคซีนจากเวียดนามยังคงมีปัญหา วัคซีนจากทั้งเวียดนามและจีนยังไม่มีประสิทธิภาพพอ ฉะนั้นระบบ BIOSECURITY ยังเป็นหลักอยู่ในปัจจุบัน

          ผศ.น.สพ.ดร.ปริวรรต พูลเพิ่ม ได้ทิ้งท้ายถึงการประกอบการของรายย่อยเป็น GDP ประเทศเช่นกัน สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจเช่นกัน ไม่ใช่รัฐมุ่งไปแต่รายใหญ่ เพราะรายย่อยรายเล็กเมื่อรวมกันก็จะเป็นจำนวนมหาศาลถึงแม้จะไม่ได้ถูกนำไปรวมกับยอดใหญ่ทั้งระบบมันก็คือการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้พลเมืองให้กินดีอยู่ดี เพียงแค่รัฐบาลอาจไม่มีตัวเลขไปแสดงผลงานเท่านั้น แต่มันจะไปลดปัญหาหนี้สินภาคเกษตรและหนี้สินภาคครัวเรือนได้เอง

          น.สพ.จำลอง วรศรี วิทยากรจากกรมปศุสัตว์ ในหัวข้อ “การคุมเข้มตรวจสอบ การลักลอบนำเข้าซากสุกร” การบรรยายของนายสัตวแพทย์จำลองจะเน้นไปที่ระเบียบการเคลื่อนย้าย การขอจัดทำใบอนุญาตทำการค้าหรือหากำไรในลักษณะคนกลางซึ่งสัตว์หรือซากสัตว์ (ร.10) และ บทกำหนดโทษของ 2 พระราชบัญญัติ ประกอบด้วยพระราชบัญญัติโรคระบาด พ.ศ.2558 และ พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2560 เช่น

          พระราชบัญญัติโรคระบาด พ.ศ.2558

มาตรา ๒๒ เมื่อได้ประกาศกําหนดเขตโรคระบาดชั่วคราวตามมาตรา ๒๐ หรือประกาศกําหนดเขตโรคระบาดหรือเขตเฝ้าระวังโรคระบาดตามมาตรา ๒๑ ห้ามมิให้ผู้ใดเคลื่อนย้ายสัตว์หรือซากสัตว์ตามที่กําหนดในประกาศดังกล่าว เข้า ออก ผ่าน หรือภายในเขตนั้น เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากสัตวแพทย์ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบประจําเขตนั้นทุกครั้งที่มีการเคลื่อนย้าย

 

มาตรา ๓๑ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและควบคุมโรคระบาด ผู้ใดนําเข้า ส่งออก หรือนําผ่าน

ราชอาณาจักรซึ่งสัตว์หรือซากสัตว์ ต้องได้รับใบอนุญาตจากอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายทุกครั้งที่นําเข้า

ส่งออกหรือนําผ่านราชอาณาจักร

          การขออนุญาต การออกใบอนุญาต และวิธีการนําเข้า ส่งออก หรือนําผ่านราชอาณาจักร

ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกําหนด

 

มาตรา ๓๓ เมื่อปรากฏว่าท้องที่ใดภายนอกราชอาณาจักรมีหรือสงสัยว่ามีโรคระบาด ให้อธิบดีมีอํานาจประกาศเพื่อชะลอการนําเข้าหรือนําผานราชอาณาจักรซึ่งสัตว์หรือซากสัตว์จากท้องที่นั้นได้ครั้งละไม่เกินเก้าสิบวัน หากรัฐมนตรีเห็นสมควรอาจประกาศกําหนดห้ามการนําเข้า หรือนําผ่านราชอาณาจักรซึ่งสัตว์หรือซากสัตว์จากท้องที่นั้นได้


มาตรา ๖๘
ผู้ใดนําเข้า ส่งออกหรือนําผ่านราชอาณาจักรซึ่งสัตว์หรือซากสัตว์โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๓๑ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ

มาตรา ๖๙ ผู้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๓๑ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๒ หรือฝ่าฝืนประกาศของอธิบดีที่ออกตามมาตรา ๓๓ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ

มาตรา ๗๐ ผู้ใดฝ่าฝืนประกาศของรัฐมนตรีที่ออกตามมาตรา ๓๓ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

          ผู้บรรยายไม่ได้ลงรายละเอียดการทำงานร่วมกับกรมศุลกากรถึงมาตรการคุ้มเข้มต่างๆ ที่น่าจะสอดคล้องกับหัวข้อ “การคุมเข้มตรวจสอบ การลักลอบนำเข้าซากสุกร”มากกว่า เพราะบทกำหนดโทษจะกำหนดไว้สูงเพียงใด จะไม่สามารถนำไปใช้ได้ ถ้าผู้กระทำความผิดหลุดรอดการจับกุม จึงเป็นเรื่องที่ผู้เลี้ยงต้องช่วยกันสอดส่อง เพราะจากที่ปรากฏการจับกุม ที่บรรจุภัณฑ์แสดงแหล่งกำเนิดมาจากประเทศที่มีการระบาดของโรค ASF ในสุกรเกือบทั้งหมด เช่น สปป.ลาว รัสเซีย เยอรมัน บราซิล จึงไม่แปลกที่มีการตั้งข้อสงสัยว่าเนื้อสุกรลักลอบเป็นเนื้อสุกรที่ไม่สามารถทำการค้าได้ และถูกลักลอบเข้ามาในประเทศไทยในราคาถูกมาก

          จึงขอให้ผู้เลี้ยงช่วยกันสอดส่องเมื่อพบเห็นการกระทำความผิดในการลักลอบ โดยสามารถแจ้งการกระทำความผิดไปยังกรมปศุสัตว์ โทร 063-225-6888  

          คุณสุรชัย สุทธิธรรม นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ได้กล่าวถึงการจัดงานในวันนี้ที่ยินดีมากกับหัวข้อการสัมมนาที่มุ่งประเด็นไปที่การเตรียมความพร้อมที่สำคัญมาก เพราะต่างได้รับบทเรียนกันมาทั้งนั้น ทั้งความพร้อมของเงินทุน   ความพร้อมต่อระเบียบใหม่ของกรมปศุสัตว์ ความพร้อมของสภาพโรงเรือน พันธมิตรทางการค้า Supplier ต่างๆ ความพร้อมต่อเพื่อนร่วมอาชีพ เพราะความไม่พร้อมนอกจากจะสร้างปัญหาให้ตนเอง สร้างปัญหาให้เพื่อนร่วมอาชีพแล้ว ยังสร้างปัญหาให้ทางราชการด้วย

          การกลับมาใหม่ในขณะนี้ต้องใช้ทุนในการป้องกันสูงมาก ในขณะที่ยังมีหมูกล่องมารบกวน แย่งตลาดผลผลิต ซึ่งเราจะปล่อยให้หมูลักลอบเข้ามาทำลายอุตสาหกรรมหมูไทยไม่ได้  

          ผศ.น.สพ.คัมภีร์ กอธีระกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านสุกรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และจีน กับ หัวข้อ “3 วิธีในการกลับมาเลี้ยงใหม่หลังเว้นวรรค วางแผนอย่างให้ได้ลูกหมูปลอดภัย” โดยพื้นฐานการเป็นนายสัตวแพทย์สายอายุรกรรม จึงเสริมในประเด็นการสร้างภูมิคุ้มกันผ่านวิธีการทางโภชนาการ เป็นหลัก ซึ่งเสมือนปราการที่สองนอกเหนือจากระบบ BIOSECURITY ที่มองว่ายังเป็นที่ 1 เสมอ

          กรณี ASF เข้าทาง  GI Tract (gastrointestinal tract) เกี่ยวข้องกับ Mucosal ที่ไปโยงกับกรณี PED ที่ใช้วัคซีน antigen-specific IgA ซึ่งเป็นแนวคิดสร้างภูมิสู้โรคให้หมู

          Tylvalosin tartrate เป็นยาปฏิชีวนะ Macrolide ที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียต่อแกรมบวกสิ่งมีชีวิตแกรมลบบางชนิดและมัยโคพลาสม่า มันทําหน้าที่โดยการยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีนในเซลล์แบคทีเรีย ช่วยการแบ่งตัวของ Macrophage เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งและเป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกัน มีหน้าที่กลืนกินและย่อยสลายสิ่งใดๆ ที่ไม่มีโปรตีนผิวที่บ่งบอกว่าเป็นเซลล์ร่างกายปกติ เช่น เชื้อแปลกปลอมต่างๆ และอื่นๆ

          บทสรุป 3 ด้านหลักประกอบด้วย

  1. ระบบ Bio Security ยังคงเป็นทางรอดหลัก
  2. การใช้สูตรผสมของสารเสริมต่างๆ เช่น Tylvalosin ที่สามารถต้านไวรัสได้ โดยผสมผสานกับ Fatty Acid และโมโนกลีเซอไรด์   และการใช้ Probiotics สู้ ASF กับบางฟาร์มดำเนินอยู่และประสบความสำเร็จมาแล้ว โดยผลการให้อาหารกลุ่ม Fatty Acid และ Probiotics ที่มีค่าใช้จ่ายพอๆ กับค่ายาสามารถเสริมคุณภาพการเลี้ยงได้  โดยสูตร Combination สามารถทำให้การตรวจเลือดสุกรเป็นลบได้
  3. การใช้วัคซีนที่เป็นทางเลือกในอนาคต และยังสามารถใช้ร่วมกับสูตรผสมตามข้อ 2 ได้  โดยวัคซีนจะเป็นใน 2 ลักษณะคือ เวกเตอร์วัคซีน และ วัคซีนรีคอมบิแนนท์

          วงการสุกรในปัจจุบันมีทางออกในเรื่องนี้แล้วอย่างไร มีทางออกอย่างไรบ้าง มีทางออกเพิ่มเติมจากเดิม ที่ BIOSECURITY เป็นหลัก ทางออกที่สองที่ลงมือทำเสร็จแล้ว คือแนวทางเลือกที่ประสานงานด้านอายุรรรม-ระบาดวิทยา-ภูมิคุ้มกันในระบบผิวเยื่อเมือก(Mucosal) พร้อมกำกับด้วยเนื้องานตรวจวินิจฉัยทางวิทยาศาสตร์ ประสานเป็นการใช้หลายๆ อย่างร่วมกัน(Combination) สามารถลดความเสียหายจากการระบาด เข้ากำกับต่อด้วยการเลือกสรร หมูที่ตรวจเลือดผลยังเป็นลบนำใช้ต่อในการผลิตสุกรขุนปลอดโรคสู่ตลาด

          ทางออกที่สามคือการค้นคว้าเรื่องวัคซีน ซึ่งเป็นมติอย่างไม่เป็นทางการแล้วว่า ประเทศไทยจะไม่ใช้วัคซีนเชื้อเป็น ASF โดยเด็ดขาด แต่อยู่ในช่วงค้นคว้าทำเวกเตอร์วัคซีน กับ วัคซีนรีคอมบิแนนท์

          ทางออกที่สี่ คือ ค้นคว้าและพัฒนาต่อเนื่อง ตัวโปรไบโอติก เลียนแบบธรรมชาติของหมูปาวอร์ดฮ็อกของแอฟริกา ที่มีไมโครไบโอต้าของระบบทางเดินอาหารที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันในระบบผิวเยื่อเมือกต่อต้าน ASF ให้โฮสต์ได้

          ทางออกที่ห้า คือ ค้นหาคัดหมูที่มีความต้านทานต่อโรคระบาด ASF ดังธรรมชาติของสัตว์ทุกชนิดรวมทั้งคนด้วยที่การระบาดของทุกโรคจะมีตัวที่รอดโดยไม่เป็นโรคเลย(แสดงอาการอ่อนหรือมีอาการเพียงเล็กน้อย)แล้วมีภูมิต้านทานต่อโรคนี้ได้ ปัจจุบันได้พบเห็นได้เสมอในฝูงที่มีหมูรอดเหลือจากการระบาด  แต่ยังต้องศึกษาในรายละเอียดและต้องค้นหาติดตาม ต่ออีกหลายเจนเนอเรชั่น และต้องส่งเสริมการศึกษาด้านโครโมโซม

          เมื่อรวบรวมถึงปัจจุบัน จึงได้ห้าทางออก นี่คือการค้นคว้าศึกษาของประเทศไทย สำหรับการเลี้ยงหมูไทยในอนาคตอันใกล้นี้ 3-5 ปี

ฟาร์มที่ไม่พบการระบาดของ ASF จะมีผลประกอบการดี จึงมีกำไรไปขยายธุรกิจฟาร์มครบวงจรมากขึ้นฟาร์มเล็กจะมีความคล่องตัวเป็นจุดเด่น ขยายจำนวนแม่สุกรพันธุ์มากขึ้น มีโอกาสขยับเป็นฟาร์มใหญ่ จะปรับเปลี่ยนใช้สิ่งใหม่ๆ

          ฟาร์มเล็ก-คอนแทรคฟาร์ม-รายย่อย ต่างมีโอกาสเชื่อมต่อธุกิจ กับเครือข่ายฟาร์มใหญ่ หรือเครือบริษัทใหญ่ ใช้อาหาร-ให้เช่าเล้า

          ฟาร์มแม่พันธุ์เอกชนที่ผลิตหมูขุน จะเข้าร่วมเป็นคอนพาร์ทเมันต์กับบริษัทใหญ่ธุรกิจครบวงจร เพื่อร่วมใช้โรงฆ่าและช่องขาย

          ฟาร์มรายย่อย เล็ก คอนแทรค กลาง ใหญ่ ที่เจอเข้ากับโรค ASF ใช้เวลาพอสมควรในการกลับมา บางรายอาจต้องเว้นวรรคยาว รอธนาคารให้สินเชื่อ แต่รายที่มีความพร้อมมุ่งมั่นสามารถกลับมาได้อย่างมั่นคงถ้าเตรียมตัวได้อย่างดี

          การสัมมนาในลักษณะนี้จัดอย่างแพร่หลายในหลายภูมิภาค โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือจัดไปแล้วจำนวน 10 ครั้ง ภาคใต้ ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก ซึ่งมีเกษตรกรในทุกขนาดได้มีการทะยอยจัดในช่วงเดือนที่ผ่านมา โดยคาดว่าจำนวนเกษตรกรผู้เลี้ยงทั้งประเทศที่เหลือประมาณ 107,000 ราย จะกลับมาใกล้เคียงจำนวนเดิมน่าจะประมาณปี 2567 ที่จะมีบริบทของการเลี้ยงสุกรเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง โดยจะสามารถเป็นอาชีพหลักของเกษตรกรได้มากขึ้น

การสัมมนาที่เกี่ยวข้อง : สัมมนาสัญจรหมูอีสาน "หลังเว้นวรรค" 10 ครั้ง กับ 5 ภาพชัดเจนอุตสาหกรรมสุกรไทย

Visitors: 397,126