3A ของความท้าท้ายของผู้เลี้ยงสุกร ปี 2562

ASF, Antibiotics reduction และ American Pork  3 ความท้าท้ายของผู้เลี้ยงสุกร ปี 2562

โดย ผศ.น.สพ.ณัฐวุฒิ รัตนวนิชย์โรจน์ รองคณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน

          ณ เวลานี้หลายคนคงมีความรู้ความเข้าใจเรื่อง ASF กันเยอะ ยิ่งทราบว่า ASF ได้คืบคลานมาถึงประเทศเวียดนามแล้วตามรายงานเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2562 โดย ผศ.น.สพ.ณัฐวุฒิ รัตนวนิชย์โรจน์ ได้รับมอบหมายให้นำเสนอเรื่องความท้าทายของผู้เลี้ยงสุกร ปี 2562 การสัมมนาในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2561 สมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อ 18 มกราคม 2562 ที่จังหวัดบุรีรัมย์ จึงวางหัวข้อไว้ AAA หรือ 3 A ซึ่งก็คือ African Swine Fever, Antibiotic Reduction และ American Pork ที่เป็น 3 เรื่องของความท้าทาย ที่ African Swine Fever จะเป็นความท้ายทายและเป็นความน่ากลัวที่ใกล้ที่สุดในปีนี้

1. ASF โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร หรือ“แอฟริกา สไวน์ ฟีเวอร์(AFRICAN SWINE FEVER-ASF.)

          ประเทศไทยตื่นตัวมากที่สุดขณะนี้ในเรื่อง “แอฟริกัน สไวน์ ฟีเวอร์” ซึ่งหากเกิดขึ้นในไทย มั่นใจได้ว่า จะไม่ได้เกิดขึ้นพื้นที่เดียวแน่ๆ เพียงแต่ว่า จะมีการเปิดเผยเรื่องนี้หรือไม่อย่างไร ซึ่งเรื่องนี้ น่าคิดและต้องดูสถานการณ์ถึงตอนนั้นกันอีกครั้งหนึ่ง

          ทั้งนี้ ตอนนี้ยังตอบไม่ได้ว่า ASF จะมาถึงไทยหรือไม่อย่างไร หรือจะกระทบกับใครบ้าง ซึ่งเราก็ยังไม่รู้ รู้แต่เพียงว่า ต้นกำเนิดมาจาก ประเทศจีน (พาหะ คือ หมูป่า) แต่ ASF เชื้อของมันมีขนาดใหญ่ เชื้อ ตายได้ง่าย โดยเวลาอยู่ในอากาศ จะอยู่ไม่ได้นาน (non-airborne virus)  แต่มันจะไปหรือไม่ไปทางอากาศหรือไม่อย่างไร ก็ยังไมฟันธง 100%  แนะนำให้เชื่อครึ่ง ไม่เชื่อครึ่งเอาไว้ก่อน

          สำหรับ กรมปศุสัตว์ มีการประชุมพูดคุยกันแล้ว ซึ่งไม่มีเงินอุดหนุน จึงคิดว่า หรือจะทำลาย/กำจัดทิ้ง ซึ่งต้องหารือกับผู้ประกอบการว่า จะต้องทำอะไรได้บ้างหากโรคดังกล่าวเข้ามาในไทย

          โดยฟาร์มต้องจัดการอะไรหากเกิดขึ้น จะมีความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการฟาร์ม และเกษตรกรจะอยู่ร่วมกันอย่างไร ให้ไม่เกิดปัญหาทั้งระบบ ทั้งในประเทศและการส่งออก

 

          ทั้งนี้ ในส่วนมาตรการการจัดการฟาร์ม เมื่อเกิดโรค ASF ขึ้นแล้ว จะแบ่งออกเป็น 2 เฟส ดังนี้


เฟส
1  เมื่อโรคเข้ามาแล้ว จะทำอย่างไร จะจัดการอย่างไร

เฟส คือ รู้แล้วต้องวินิจฉัยให้เร็ว ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีห้องปฏิบัติการวิจัย(Laboratory) จากมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศหลายๆ แห่ง ที่มีเทคโนโลยี ที่ได้มาตรฐานสามารถตรวจวินิจฉัยได้ทั้งหมด  

          สิ่งสำคัญที่อยากฝากถึงผู้ประกอบการฟาร์มสุกร คือ ฟาร์มจะต้องรู้หากเกิดโรค จะต้องไปคุยกับใครก่อนเป็นคนแรก แล้วจะตรวจโรคอย่างไร ตรวจที่ไหน ฯลฯ หลังจากนั้น เมื่อรู้แล้วจะมีขั้นตอนการควบคุม กักกัน ป้องกันอย่างไร ซึ่งประเทศไทยมีบทเรียนในอดีตแล้วจากสถานการณ์ “ไข้หวัดนก”

          อย่างที่หลายคนทราบกันดี กรณีการเตรียมแผนรับมือ ASF ซึ่งเชื้อ จะส่งผลต่อสุกรโดยต่ำอัตราการป่วยต่ำ การตายต่ำ แต่สุกรตัวที่ป่วยแล้วนั้น อัตราการตายสูงมาก  และยังไม่มีวัคซีนรักษา ดังนั้น เมื่อเป็นโรคแล้ว เจ้าของฟาร์มจะต้องเตรียมการรับมือ 100% ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ

          ส่วนเรื่องมาตรการป้องกันด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) โดยสภาพแล้วสำหรับเจ้าของฟาร์มในสภาวะที่ไม่ค่อยมีเงิน ต้องวางมาตรการป้องกัน Contact Time ในระยะสั้นๆ ที่ละชั้นๆ  ยกตัวอย่างเช่น มาตรการใช้ยาฆ่าเชื้อ ต้องรู้ด้วยว่า ระยะเวลาป้องกันได้นานแค่ไหน ฯลฯ

          แต่สำหรับมาตรการ Contact Time ในระยะยาว แต่อาจจำแนกในกรณีป้องกันที่ละขั้นๆ และอาจเสริมมาตรการกักกันป้องกันโรคได้ เช่น รถบรรทุกหมู ต้องมีระยะพักแห้ง กำหนดจุดจอด  รมยาฆ่าเชื้อคนรถ  กักกันพักประมาณ 30 นาที หรือ อาจต้องมีจุดตากรถให้แห้งด้วยซ้ำ เป็นต้น

          ทั้งนี้ปัญหาคือ ASF  ไม่มีใครไปทดสอบ Contact Time แต่คาดว่าประมาณ 30 นาที ถือว่าอยู่ในระยะสั้น ดังนั้น เราต้องมีมาตรการป้องกันเป็นชั้นๆ วางเป็นแนวทางเอาไว้ให้เป็นระบบและปลอดเชื้อที่สุด

2. AntibioticReduction การลดใช้ยาปฏิชีวนะ

          จริงๆ เจ้าของฟาร์มน่าจะทราบและต้องเริ่มเตรียมตัวกันได้แล้ว เพราะกรมปศุสัตว์ จะค่อยๆ ลด และถอดถอนยาในอนาคต ซึ่งจะกระทบต่อรายได้ของเจ้าของฟาร์มแน่นอน

          ซึ่งหากต้องลดใช้ยาปฏิชีวนะ ความสามารถในการแข่งขันหรือการทำกำไรของฟาร์ม จะเป็นอย่างไร ซึ่งมีข้อมูลเป็นตัวเลขของสหรัฐอเมริกา ผลวิเคราะห์ คือ 

1. มีผลต่อเปอร์เซ็นต์ที่ต้องสูญเสียของลูกหมูช่วงหย่านม
2. กระทบ ปริมาณหมูที่คัดทิ้งหรือขายไม่ได้หลังจากปิดโรงเรือนขุน
3. มีผลต่อเปอร์เซ็นต์ลูกตายก่อนหย่านม จะกระทบหมูที่ออกจำหน่ายของฟาร์ม

          โดยหากจะถอดยาปฏิชีวนะ ประสิทธิภาพหมูขุนเป็นสิ่งที่สำคัญ ถ้าถอดแล้ว ประสิทธิภาพหมูขุนไม่ดี แสดงว่าผู้ประกอบการจะได้รับผลกระทบแน่ๆ  ซึ่งในอนาคตอันใกล้ ผู้ประกอบการจะปรับให้ได้ 

          ทั้งนี้ กรอบความร่วมมือของ สหภาพยุโรป (European Union) ได้ออกกฎห้ามใช้ยา ประเทศแรกที่ให้ถอดยาปฏิชีวนะ คือ ประเทศสวีเดน ในปี 1986 เนื่องจากมันมีการดื้อยาของเชื้อในคน  อย่างไรก็ตาม การลดใช้ยาปฏิชีวนะไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไร แต่หลายๆ ฟาร์มจะต้องมีการเตรียมตัวให้ได้เท่านั้น

          ส่วนต้นทุน ยาปฏิชีวนะ จากการคำนวณจากตัวเลข ต้นทุนการใช้ยาปฏิชีวนะ ในแม่พันธุ์เฉลี่ยอยู่ที่ 21% ของต้นทุนเวชภัณฑ์ ส่วนหมูอนุบาลประมาณ 15% และ ต้นทุนการใช้ยาปฏิชีวนะ ในหมูขุนประมาณ 15% เพราะฉะนั้น ถ้าต้องการลดต้นทุน ยาปฏิชีวนะ ให้เห็นผลจริงๆ ต้องไปลดที่หมูขุน

  1. American Pork นโยบายการนำเข้าสุกรจากสหรัฐอเมริกา          โดยปัจจุบัน ทาง “สถาบันทางสมอง” มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตรได้ทำวิจัย ซึ่งแบ่งเป็น 3 ส่วน  คือ วิจัยทางด้านเศรษฐกิจ วิจัยทางด้านผลกระทบทางสุขภาพ (ร่วมกับ มหาวิทยาลัยมหิดล) และ วิจัยผลกระทบทางกฎหมาย (ร่วมกับอาจารย์จาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) พบว่า ถ้าประเทศไทย หรือในบางภูมิภาค ยังมีการใช้สารเร่งเนื้อแดงกันอยู่  ซึ่งต่างประเทศเขาจะไม่ยอมรับ และเกิดเป็นข้ออ้างได้ว่าไทยเรายังใช้อยู่  ซึ่งจะทำให้เกิดข้อพิพาทตอบโต้กลับมาหาประเทศไทยได้

          ยกตัวอย่างข้อมูล แต่ละประเทศๆ ที่นำเข้าสุกรจากสหรัฐอเมริกา แล้วได้รับผลกระทบอย่างไรบ้าง โดย 3 ประเทศที่ผลิตหมูมากที่สุดในโลก ปัจจุบัน คือ  ประเทศจีน สหรัฐอเมริกา และ สหภาพยุโรป(EU)  โดยที่นำเข้าสุกรมากที่สุด คือ ประเทศจีน และประเทศญี่ปุ่น ส่วนที่ส่งออกมากที่สุด คือ จีน สหรัฐฯ และ แคนนาดา

          สำหรับประเทศญี่ปุ่นมีตัวเลขการผลิตภายในประเทศใกล้เคียงตัวเลขการนำเข้าหมู โดยปริมาณการผลิตใกล้เคียงกับประเทศไทยมากที่สุด คิดเป็น 100% นำเข้าพอดี  ซึ่งญี่ปุ่นตอนนี้ ผลิตหมูเองประมาณ 59% ของความต้องการบริโภคในประเทศ ปริมาณการนำเข้าเฉลี่ย 29% เป็นนำเข้าหมูจากสหรัฐฯ โดยเป็นประมาณ 15% ของหมูส่งออกของสหรัฐ

          สรุปได้ว่า ปริมาณการผลิตหมูภายในประเทศญี่ปุ่น ค่อยๆ ลดลงๆ หลังจากนำเข้า แต่สำหรับประเทศไทยจะกระทบโดยตรงอย่างแน่นอนสำหรับผู้ประกอบการฟาร์ม โดยเฉพาะรายย่อย ซึ่งอาจจะถึงขั้นเลิกกิจการ หากมีการนำเข้าสุกร

          เหตุเพราะ ปริมาณการผลิตในประเทศจะลดลงเรื่อยๆ อีกทั้ง ไทยไม่มีงบประมาณมาอุดหนุนเจ้าของฟาร์ม เหมือนที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจะช่วยกำหนดราคาหมูนำเข้าให้แพง เพื่อให้คนในประเทศญี่ปุ่นหันกลับมาซื้อ/บริโภคหมูในประเทศ

          ประเทศเกาหลี ตัวเลขระบุว่า มีปริมาณการผลิตหมูอยู่ที่ 72% โดยปริมาณการนำเข้าหมูเพิ่มขึ้นประมาณ 6.2% ต่อปี



          ประเทศไต้หวัน มีปริมาณการผลิตหมูเพียงพออยู่ที่ 91% และปริมาณการนำเข้าหมูเพิ่มขึ้นประมาณ 9% ต่อปี  โดยจำนวนฟาร์มลดลงต่อเนื่อง ร้อยละ 4.8 ต่อปี

          ประเทศจีน มีปริมาณการผลิตหมูเพียงพออยู่ที่ 97%  ของความต้องการบริโภค ถือได้ว่าผลิตไม่เพียงพอ มีการนำเข้าจากสหภาพยุโรป(EU)  โดยจีนนำเข้าหมูจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นทุกปี

          สหภาพยุโรป(EU)  ส่งออกสุกรสูงสุดเพราะฉะนั้น จึงเป็นรายใหญ่ของโลกที่ส่งออกหมูมากที่สุด เพราะมีมาตรฐานการเลี้ยงที่สูงมาก เพราะฉะนั้น สหภาพยุโรป(EU)  จึงปฏิเสธการนำเข้าหมูจากประเทศอื่นทั่วโลกได้อย่างไม่ยาก

          สิ่งที่อยากฝากเอาไว้ คือ เราทุกคนต้องช่วยกัน ลด ละ เลิกสารเร่งเนื้อแดง และลดการใช้ “ยาปฏิชีวนะ” เพื่อแต่ละประเทศทั่วโลกจะไม่มีข้ออ้างกับประเทศไทย

          สรุป 3 หัวข้อในการบรรยายครั้งนี้ ถือเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้นๆ ที่ท้าทาย คนเลี้ยงหมูในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม นอกจากนี้ ยังมีปัญหาอื่นๆ อีกเช่น ปัญหาเรื่องแรงงาน ปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อม เป็นต้น  ที่ควรเร่งดำเนินแก้ไขโดยเร็ว จึงขอฝากเอาไว้เพื่อศึกษาและเตรียมความพร้อมในอนาคต

 

Visitors: 398,190