สถานการณ์อาหารสัตว์และวัตถุดิบอาหารสัตว์หลักของโลกและไทย

สถานการณ์อาหารสัตว์และวัตถุดิบอาหารสัตว์หลักของโลกและไทย ปี 2561/62

          ตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นมาปริมาณอาหารสัตว์โลกมีผลผลิตเกินกว่า 1,000 ล้านตัน  โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยที่ 2.5% ในแต่ละปีมีการเติบโตที่แข็งแรงและกระจายตัวมากขึ้น โดยล่าสุดจะเป็นการเก็บข้อมูล 144 ประเทศ โดยมีการเพิ่มเติมประเทศใหม่ๆ ลงไปอีก เช่น กัมพูชา สปป.ลาว ฟิจิ และซามัว  โดยการเติบโตจะมีปัจจัยจากความต้องการการบริโภค เนื้อสัตว์ นม และไข่ กลุ่มอาหารสัตว์ที่มากขึ้นต่อเนื่องของโลกจะเป็นอาหารไก่เนื้อจะโตสูงที่สุดที่ประมาณปีละ 3%  

          การเติบโตผลผลิตอาหารสัตว์สุกรในประเทศจีนเติบโตตามปริมาณผลผลิตในแต่ละปี แต่ที่น่าสนใจคือ การเติบโตของการผลิตอาหารสัตว์สุกรในรัสเซียสูงขึ้นตามปริมาณการผลิตสุกรที่สูงขึ้นตามนโยบายของรัฐบาลที่ส่งเสริมการเลี้ยงเพื่อชดเชยการนำเข้าเนื้อสุกรจากต่างประเทศ ซึ่งรัสเซียเคยเป็นที่หมายปองของบรรดาผู้สูงออกสุกรทั้งหลายโดยปริมาณความต้องการการนำเข้าลดลงอย่างต่อเนื่องจากการเพิ่มของผลผลิตสุกรดังกล่าว โดยในปี 2562 คาดว่าจะมีผลผลิตเนื้อสุกรถึง 3.310 ล้านตัน  เพิ่มจากปี 2557 ที่มีผลผลิตเพียง 2.510 ล้านตัน ปัจจุบันประเทศรัสเซียจึงเข้าข่ายเป็นประเทศผู้ส่งออกเนื้อสุกร

          ข้อมูลที่น่าสนใจอีกกลุ่มหนึ่งคือ ผลผลิตอาหารสัตว์ในกลุ่มสุกรเติบโตสูงมากเช่นกันในประเทศกลุ่มแอฟริกา ประกอบด้วย เคนยา แทนซาเนีย โมซัมบิก ยูกันดา และ นามิเบีย

สถานการณ์วัตถุดิบอาหารสัตว์โลก

การผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

          ปี 2557/58 – 2561/62 การผลิตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก 1,022.66 ล้านตัน ในปี 2557/2558 เป็น 1,068.31 ล้านตัน ในปี 2561/62 หรือเพิ่มร้อยละ 1.50 ต่อปี

          ปี 2561/62 การผลิตมีปริมาณ 1,068.31 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 1,034.23 ล้านตัน ในปี 2560/61 ร้อยละ 3.30 โดยสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกผลิตได้เพิ่มขึ้นจาก 370.96 ล้านตัน ในปี 2560/61 เป็น 375.37 ล้านตัน ในปี 2561/62 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.19 นอกจากนี้ จีน บราซิล อาร์เจนตินา และยูเครนผลิตได้เพิ่มขึ้น

ผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโลก ปี 2557/58 -2561/62            หน่วย : ล้านตัน

ประเทศ

2557/58

2558/59

2559/60

2560/61

2561/62

+/- ร้อยละ

สหรัฐอเมริกา

361.09

345.51

384.78

370.96

375.37

1.50

จีน

215.65

224.63

219.55

215.89

225.00

0.45

บราซิล

85.00

67.00

98.50

82.00

94.50

4.23

สหภาพยุโรป

75.73

58.75

61.89

62.28

61.00

-3.67

อาร์เจนตินา

29.75

29.50

41.00

32.00

41.00

7.50

ยูเครน

28.45

23.33

27.97

24.12

31.00

2.07

เม็กซิโก

24.17

22.57

25.90

28.72

26.00

3.95

อินเดีย

25.48

25.97

27.58

27.45

26.00

0.96

อื่นๆ

177.34

175.63

191.15

190.82

188.44

2.06

รวม

1,022.66

972.89

1,078.31

1,034.23

1,068.31

1.50

ที่มา : Grain : World Markets and Trade. USDA Foreign Agriculture Service, October 2018

การตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

  • ความต้องการใช้

          ปี 2557/58 - 2561/62 ความต้องการใช้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก 987.85 ล้านตัน ในปี 2557/58

เป็น 1,107.17 ล้านตัน ในปี 2561/62 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.26 ต่อปี

          ปี 2561/62 ความต้องการใช้มีปริมาณ 1,107.17 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 1,063.81 ล้านตัน ในปี

2560/61 ร้อยละ 4.08 โดยสหรัฐอเมริกามีความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพิ่มขึ้นจาก 313.83 ล้านตัน ในปี 2560/61 เป็น 322.09 ล้านตัน ในปี 2561/62 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.63 นอกจากนี้ จีน สหภาพยุโรป บราซิลเม็กซิโก อินเดีย และอียิปต์ มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้น

  • การค้า

          ปี 2557/58 - 2561/62 การค้ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก 128.39 ล้านตัน ในปี 2557/58 เป็น 158.60 ล้านตัน ในปี 2561/62 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.74 ต่อปี

          ปี 2561/62 การค้ามีปริมาณ 158.60 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 150.95 ล้านตัน ในปี 2560/61 ร้อยละ 5.07 โดยประเทศผู้ส่งออกสำคัญ คือ สหรัฐอเมริกา ส่งออกได้ปริมาณ 62.50 ล้านตัน เท่ากับปี 2560/61 สำหรับประเทศที่ส่งออกได้เพิ่มขึ้น คือ อาร์เจนตินา ส่งออกได้เพิ่มขึ้นจาก 23.50 ล้านตัน ในปี 2560/61 เป็น

27.00 ล้านตัน ในปี 2561/62 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.89 ประกอบกับสหภาพยุโรป เม็กซิโก เกาหลีใต้ อียิปต์

และเวียดนาม มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น

การผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของไทย

การผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

ปี 2557/58 - 2561/62 เนื้อที่เพาะปลูกมีแนวโน้มลดลงจาก 7.23 ล้านไร่ ในปี 2557/58 เหลือ

6.71 ล้านไร่ ในปี 2561/62 หรือลดลงร้อยละ 1.29 ต่อปี เนื่องจากราคาที่เกษตรกรขายได้ไม่จูงใจเกษตรกรจึง

ปรับเปลี่ยนพื้นที่ไปปลูกพืชที่ให้ผลตอบแทนดีกว่า เช่น มันสำปะหลัง และอ้อยโรงงาน ประกอบกับภาคเอกชน

มีมาตรการไม่รับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ปลูกในพื้นที่ไม่มีเอกสารสิทธิ/พื้นที่ป่า สำหรับผลผลิตต่อไร่มีแนวโน้ม

เพิ่มขึ้นจาก 654 กิโลกรัม ในปี 2557/58 เป็น 746 กิโลกรัม ในปี 2561/62 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.61 ต่อปี

ส่งผลให้ผลผลิตรวมเพิ่มขึ้นจาก 4.73 ล้านตัน ในปี 2557/58 เป็น 5.00 ล้านตัน ในปี 2561/62 หรือเพิ่มขึ้น

ร้อยละ 3.24 เนื่องจากไม่กระทบแล้งในช่วงออกดอก ประกอบกับในปี 2559/60 - 2561/62 ภาครัฐมีนโยบายส่งเสริมการปลูกข้าวโพดฤดูแล้งหลังนา เพื่อเพิ่มผลผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ในประเทศ

          ปี 2561/62 เนื้อที่เพาะปลูกมี 6.71 ล้านไร่ ลดลงจาก 6.72 ล้านไร่ ในปี 2560/61 ร้อยละ 0.15

เนื่องจากต้นทุนการผลิตมีราคาสูงขึ้น เช่น เมล็ดพันธุ์ สารเคมี เป็นต้น เกษตรกรจึงปรับเปลี่ยนพื้นที่ไปปลูก

มันสำปะหลังและอ้อยโรงงาน เนื่องจากให้ผลตอบแทนดีกว่า และเป็นพืชที่ทนแล้งดูแลรักษาง่าย สำหรับผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นจาก 738 กิโลกรัม ในปี 2560/61 เป็น 746 กิโลกรัม ในปี 2561/62 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.08 ส่งผลให้ผลผลิตรวมเพิ่มขึ้นจาก 4.96 ล้านตัน ในปี 2560/61 เป็น 5.00 ล้านตัน ในปี 2561/62 เนื่องจากไม่กระทบแล้งในช่วงออกดอก ประกอบกับในปี 2559/60 - 2561/62 ภาครัฐมีนโยบายส่งเสริมการปลูกข้าวโพดฤดูแล้งหลังนา เพื่อเพิ่มผลผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ในประเทศ

 

เนื้อที่เพาะปลูก ผลผลิตต่อไร่ ผลผลิต และการใช้ในประเทศของไทย ปี 2557/58 - 2562/63

ปี

เนื้อที่เพาะปลูก

(ล้านไร่)

ผลผลิตต่อไร่

(กิโลกรัม)

ผลผลิต

(ล้านตัน)

การใช้ในประเทศ

(ล้านตัน)

2557/58

7.23

654

4.73

7.03

2558/59

6.59

612

4.03

7.59

2559/60

6.49

676

4.39

7.82

2560/61

6.72

738

4.96

8.10

2561/62

6.71

746

5.00

8.25

2562/63(F)

6.73

769

5.18

N/A

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

 

การตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของไทย

  • ความต้องการใช้

          ปี 2556/57 - 2560/61 ความต้องการใช้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก 6.40 ล้านตัน ในปี 2556/57

เป็น 8.10 ล้านตัน ในปี 2560/61 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.95 ต่อปี เนื่องจากความต้องการใช้เพื่อเป็นวัตถุดิบ

ในอุตสาหกรรมผลิตอาหารสัตว์มีมากขึ้น ตามการขยายตัวของการเลี้ยงปศุสัตว์ ปี 2561/62 ความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีปริมาณ 8.25 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 8.10 ล้านตัน ในปี 2560/61 ร้อยละ 1.85

  • การส่งออก

          ปี 2556/57 - 2560/61 การส่งออกมีแนวโน้มลดลงจากปริมาณ 0.99 ล้านตัน มูลค่า 7,493.01

ล้านบาท ในปี 2556/57 เป็นปริมาณ 0.10 ล้านตัน มูลค่า 741.87 ล้านบาท ในปี 2560/61 หรือลดลงร้อยละ

31.12 และร้อยละ 31.90 ต่อปี ตามลำดับ เนื่องจากความต้องการใช้ภายในประเทศเพิ่มขึ้น การส่งออกไปยัง

ประเทศคู่ค้าของไทย ได้แก่ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ไต้หวัน และมาเลเซีย จึงลดลง

          ปี 2561/62 คาดว่าการส่งออกมีปริมาณ 0.09 ล้านตัน ลดลงจาก 0.10 ล้านตัน ในปี 2560/61

หรือลดลงร้อยละ 10.00 เนื่องจากความต้องการใช้ในประเทศยังคงมีทิศทางเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

  • การนำเข้า

          ปี 2556/57 - 2560/61 การนำเข้ามีแนวโน้มลดลงทั้งปริมาณและมูลค่า ร้อยละ 8.71 และ

ร้อยละ 0.95 ต่อปี ตามลำดับ โดยปี 2556/57 มีปริมาณการนำเข้า 0.14 ล้านตัน เท่ากับปี 2560/61 สำหรับ

มูลค่าการนำเข้ามีแนวโน้มลดลง แต่เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2556/57 และปี 2560/61 พบว่ามูลค่าการนำเข้า

เพิ่มขึ้นจาก 570.89 ล้านบาท ในปี 2556/57 เป็น 819.38 ล้านบาท ในปี 2560/61 ทั้งนี้ ปัจจัยที่ส่งผลให้มี

การนำเข้าลดลง เนื่องจากมีการนำเข้าวัตถุดิบอื่น เช่น ข้าวสาลี และ DDGS (กากข้าวโพดที่เหลือจากขบวนการผลิตเอทานอล) มาใช้ทดแทนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในสูตรอาหารสัตว์บางส่วน และส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการบริหารจัดการช่วงเวลานำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ สำหรับผู้นำเข้าทั่วไปที่นำเข้าภายใต้กรอบความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area: AFTA) และโครงการลงทุนเกษตรแบบมีสัญญากับประเทศเพื่อนบ้าน(Contract Farming) ภายใต้ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิระวดี - เจ้าพระยา - แม่โขง (Ayeyawady - Chao Phraya - Mekong Economic Cooperation Strategies: ACMECS) นำเข้าได้ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - สิงหาคม ของทุกปี

          ปี 2561/62 คาดว่าการนำเข้ามีปริมาณ 0.13 ล้านตัน ลดลงจากปริมาณ 0.14 ล้านตัน ในปี

2560/61 ร้อยละ 7.14 เนื่องจากมีผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

หลังนาในปี 2560/61 ออกสู่ตลาดในช่วงเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2561 ทำให้มีการนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านลดลง

การผลิตถั่วเหลืองโลก

  • การผลิต

          ปี 2556/57 - 2560/61 ผลผลิตถั่วเหลืองของโลกเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.48 ต่อปี โดยในปี 2560/61 มีผลผลิตรวม 337.45 ล้านตัน ลดลงจาก 348.12 ล้านตัน ในปี 2559/60 ร้อยละ 3.07 ประเทศผู้ผลิตสำคัญ

3 ลำดับแรก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา บราซิล และอาร์เจนตินา มีผลผลิตรวม 277.64 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 82.28ของผลผลิตโลก

  • การตลาด

ความต้องการใช้ ปี 2556/57 - 2560/61 ความต้องการใช้ถั่วเหลืองเพื่อสกัดน้ำมันของโลกเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.76 ต่อปี ในปี 2560/61 มีปริมาณ 294.14 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 287.21 ล้านตัน ในปี 2559/60 ร้อยละ 2.41 ประเทศที่มีความต้องการใช้มากที่สุด คือ จีน รองลงมาได้แก่ สหรัฐอเมริกา และบราซิล โดยทั้ง 3 ประเทศ มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2559/60 สำหรับสต็อกสิ้นปี ปี 2556/57 - 2560/61 เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.49 ต่อปี โดยในปี 2560/61 มีปริมาณ 96.65 ล้านตัน ลดลงจาก 96.68 ล้านตัน ในปี 2559/60 ร้อยละ 0.03

  • การส่งออก

          ปี 2556/57 - 2560/61 การส่งออกถั่วเหลืองของโลกเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.98 ต่อปี ในปี 2560/61

มีการส่งออก 153.12 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 147.36 ล้านตัน ในปี 2559/60 ร้อยละ 3.91 ประเทศผู้ส่งออกสำคัญ ได้แก่ บราซิล สหรัฐอเมริกา และปารากวัย โดยทั้ง 3 ประเทศ มีปริมาณการส่งออกรวม 140.39 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 91.69 ของปริมาณการส่งออกโลก

  • การนำเข้า

          ปี 2556/57 - 2560/61 การนำเข้าถั่วเหลืองของโลกเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.75 ต่อปี ในปี 2560/61 มีการนำเข้า 152.45 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 144.35 ล้านตัน ในปี 2559/60 ร้อยละ 5.61 โดยจีนมีการนำเข้ามากที่สุด 94.00 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 61.66 ของปริมาณการนำเข้าโลก เนื่องจากผลิตได้ไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ภายในประเทศ สำหรับไทยนำเข้าถั่วเหลืองเป็นอันดับ 6 ของโลก ในปี 2560/61 มีปริมาณการนำเข้า 2.45 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 1.61 ของปริมาณการนำเข้าโลก

          คุณบุญธรรม อร่ามศิริวัฒน์ เลขาธิการสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ได้กล่าวถึงสถานการณ์อาหารสัตว์และวัตถุดิบไทยในปี 2562 โดยในด้านผลผลิตมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นสวนทางกับราคาวัตถุดิบที่มีแนวโน้มอ่อนตัวลง ซึ่งเป็นไปตามอุปสงค์อุปทานและในส่วนของสถานการณ์อาหารสัตว์และวัตถุดิบไทยนั้นเปลี่ยนไปตามกระแสโลก และนโยบายภาครัฐ ซึ่งมุ่งเน้นในการดูแลเกษตรกรปลูกพืชอาหารสัตว์เป็นหลัก ทำให้ไทยมีต้นทุนสูงกว่าตลาดโลกมาตลอดในช่วง 5 ปีหลัง นอกจากนี้ความท้าทายห่วงโซ่อุปทานอาหารของไทยที่ต้องคำนึงถึงคือปัจจัยภายในทั้งในเรื่อง การจัดการต้นทุน และการจัดการอุปสงค์อุปทานให้เหมาะสมกัน และปัจจัยภายนอกจะต้องมองถึงการสร้างความสามารถในการแข่งขันในภาคปศุสัตว์ต่างๆ โดยมองว่าสัตวแพทย์มีส่วนสำคัญในการส่งเสริมพัฒนาอุตสาหกรรม อาหารสัตว์ การเลี้ยงสัตว์ ตลอดจนอุตสาหกรรมอาหารมาโดยตลอด

Visitors: 397,146