6 ปัจจัยเดิม กับ กระแสอุตสาหกรรมอาหารสัตว์โลก

6 ปัจจัยเดิม กับ กระแสอุตสาหกรรมอาหารสัตว์โลก

โดย สมาคมผู้เลี้ยงผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ

          ปี 2562 ตลาดอาหารสัตว์ของโลกยังคงขับเคลื่อนแนวทางจาก 6 ประการ

  1. อิทธิพลของผู้บริโภคเป็นปกติ โดยพืชอาหารสัตว์กลุ่ม GMO ยังเป็นพืชอาหารสัตว์หลัก รวมไปถึงการปราศจากการผสมยาปฏิชีวนะ กลุ่มอินทรีย์ อาหารสัตว์ปลอดภัย รวมไปถึงการเลี้ยงแบบเน้นสวัสดิภาพสัตว์ โดยผู้บริโภคยังคงห่วงใยด้านสุขภาพ และมุ่งอาหารจากธรรมชาติ เช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา โดยอาหารสัตว์จะเป็นประตูด่านแรกกับสุขภาพสัตว์สู่อาหารปลอดภัยกับคน

  2. การผลิตที่ปราศจากยาปฏิชีวนะ รวมทั้งสารเร่งโตทั้งหลายที่กลุ่มสหภาพยุโรปการห้ามใช้มามากกว่า 25 ปี โดยมีการทยอยประกาศห้ามใช้ตลอดมา โดยการใช้อย่างฉลาดเพื่อการรักษา ป้องกัน และควบคุมเท่านั้น กลุ่มผู้ผลิตสารเติมแต่งยังคงเดินหน้าพัฒนาผลิตภัณฑ์ทดแทนยาปฏิชีวนะ โดยเฉพาะคุณสมบัติที่ให้ความสำคัญกับสุขภาพลำไส้ และนวัตกรรมภูมิต้านทาน จากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในกลุ่มดังกล่าวกลุ่มสมาคมการค้าอาหารสัตว์โลกมีเป้าหมายที่จะเร่งกระบวนการเห็นชอบในกลุ่มผลิตภัณฑ์เพื่อให้เข้าสู่ตลาดได้เร็วขึ้น          สำหรับประเทศไทยมีกฎหมายห้ามการใช้สารเร่งการเจริญเติบโตในการเลี้ยง โดยสัตว์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มีประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่ 417 /2528 ลงวันที่ 23 ก.ย.2529 ให้เพิกถอนทะเบียนตำรับยาสำหรับสัตว์ Hexoestrol ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ใช้ในสัตว์ปีก หากมีการลักลอบใช้ถือว่าผิดกฎหมาย การใช้สารเร่งการเจริญเติบโตผิดทั้งกฎหมายของไทย และขัดต่อข้อบังคับของสหภาพยุโรปและญี่ปุ่นซึ่งเป็นกลุ่มประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย
  1. การรักษาโรคสัตว์ อุตสาหกรรมอาหารสัตว์โลกกำลังทดสอบความเป็นไปได้ของบทบาทในการติดต่อโรคสัตว์ที่มุ่งเป้าไปที่การบรรเทาความเสี่ยงจากการปนเปื้อนและพัฒนาระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ โดยโรคสุกรหลักๆ คือ PED และด่วนที่สุดกับ ASF โดยความกังกลจะอยู่ที่โรคติดต่อที่จะมาจากต่างประเทศที่ปนเปื้อนได้นานในวัตถุดิบอาหารระหว่างการขนส่ง ซึ่งมีการให้ความสำคัญกับการวิจัยการคงอยู่โรคในอาหารสัตว์ และพัฒนามาตรการการบรรเทาอย่างต่อเนื่อง

  2. ความไม่แน่นอนทางการค้า  ความสัมพันธ์ด้านการค้าจะยังเป็นหัวข้อต่อเนื่องในปี 2562 ที่ผลักดันโดยนโยบายคู่ค้าของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์แห่งสหรัฐอเมริกา กับการค้าสหรัฐอเมริกาอย่างต่อเนื่องในกลุ่มอาหารสัตว์ อาหารสัตว์เลี้ยง วัตถุดิบอาหารสัตว์และเทคโนโลยี กับประเทศคู่ค้าต่างๆ โดยเฉพาะความตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (North American Free Trade Agreement, NAFTA) ที่ประกอบด้วย 3 ประเทศ สหรัฐ แคนาดา และเม็กซิโก ส่วนจีนเป็นการค้าในกรอบขององค์การการค้าโลก  โดยมีสัญญาณที่จะไปหารือต่อในประเด็นการค้ากับสหภาพยุโรป สหราชอาณาจักร จีน และญี่ปุ่น 

          ตามรายงานของ CLFMA’s Sampathkumar ท่ามกลางข้อพิพาททางการค้า เอเชียยังคงเป็นผู้นำเข้าหลักวัตถุดิบอาหารสัตว์ มีอัตราการเติบโตสูงมากในอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะสัตว์น้ำและสัตว์ปีก

  1. การยกระดับสวัสดิภาพสัตว์ ความยั่งยืนจากโภชนาการ ประเด็นหลักของสวัสดิภาพสัตว์ คือการปกป้องสัตว์จากผลกระทบต่างๆ ที่ก่อให้เกิดความเครียดในช่วงต่างๆ ของการเลี้ยง

          อุตสาหกรรมอาหารสัตว์กำลังทำให้ก้าวย่างพัฒนาการของสวัสดิภาพสัตว์ดีขึ้นจากโภชนาการและคุณประโยชน์ของสารเติมแต่ง

  1. ความสามารถในการปรับเปลี่ยนได้ของวัตถุดิบอาหารสัตว์ ความจำเป็นที่ต้องปรับเปลี่ยนวัตถุดิบผลจากความตึงเครียดทางการเมืองเศรษฐกิจเป็นประเด็นท้าทายต่อผู้ประกอบการอาหารสัตว์และนักโภชนาการในปี 2562

          มีกลุ่มผลพลอยได้ต่างๆ ในตลาดเป็นจำนวนมากที่มีศักยภาพที่จะเป็นอาหารสัตว์แต่ยังมีคุณค่าทางอาหารที่ผันแปรไม่คงที่กับแต่ละการผลิต     

          สำหรับประเทศไทยการผลิตอาหารที่เหมาะสมสาหรับสุกรที่เป็นโครงการร่วมของกรมปศุสัตว์ กรมการข้าว และกรมส่งเสริมสหกรณ์ โดยมุ่งไปที่การใช้ข้าวกล้องมาเสริมส่วนที่ขาดของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ กำลังอยู่ระหว่างการร่วมหารือ

          การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการผลิตของสุกรระยะรุ่น –ขุน ที่เลี้ยงด้วยข้าวโพดและผลพลอยได้จากข้าว เป็นแหล่งพลังงานหลักโดย

  • แหล่งพลังงานหลักคือ ข้าวโพด หรือผลิตภัณฑ์จากข้าว ซึ่งทดแทนข้าวโพด 100% ในสูตรอาหารข้าวโพด-กากถั่วเหลือง เป็นหลัก
  • รำข้าว คือ รำละเอียด และรำข้าวขาว
  • สุกรกินรำข้าวเป็นพลังงานหลัก มีอัตราการเติบโตไม่ดี ด้อยกว่าสุกรที่กินข้าว
  • สุกรกินข้าวเปลือกเป็นพลังงานหลัก มีอัตราการแลกเนื้อไม่ดีต้องใช้อาหารเยอะกว่ากลุ่มอื่นๆ

          คุณลักษณะของพันธุ์ข้าวที่นามาใช้เลี้ยงสัตว์ ผลผลิตต่อไร่สูงประมาณ 1,000 กก./ไร่ ทนต่อโรคและแมลง และราคาต่ำกว่าข้าวโพด ซึ่งจะเป็นแนวทางหนึ่งในการลดต้นทุนอาหารสุกรซึ่งมีความเป็นไปได้สูงซึ่งสามารถเริ่มนำมาใช้ได้ทันที

Visitors: 397,167