20 เหตุผลทำไมเอเชียต้องกลัวโรคอหิวาต์แอฟริกันในสุกร

20 เหตุผลทำไมเอเชียต้องกลัวโรคอหิวาต์แอฟริกันในสุกร

โดย Vincent ter Beek Editor of Pig Progress

แปลเรียบเรียงโดยทีมวิชาการสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ 

หลังจากโรคอหิวาต์แอฟริกันในสุกร African Swine Fever (ASF) ได้เกิดระบาดครั้งแรกในประเทศจีน และมีการกระจายตัวมาก และดูเหมือนจะมีโอกาสกระจายตัวไปยังประเทศต่างๆ ในเอเชียไม่น้อยเช่นกัน    

โดยรวมแล้ว ตั้งแต่ 1 สิงหาคม จนถึงเดือน 13 กันยายน มีการระบาดถึง 19 ครั้งในหลายมณฑล การระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกันในสุกร ในประเทศจีนครั้งนี้อาจจะดูไม่มากมายเท่าการระบาดของ  Porcine Epidemic Diarrhoea (PED) ในสหรัฐอเมริกาเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา หรือ การระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกันในสุกร African Swine Fever (ASF) ในยุโรปตอนกลางและยุโรปตะวันออก

ในทุกรายงานขององค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ หรือ World Organization of Animal Health (OIE) และสำนักข่าวรอยเตอร์ได้กล่าวถึงการตัดสินใจของเจ้าหน้าที่ทางการจีนว่ารวดเร็วต่อสถานะการณ์เพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่กระจาย

คุณVincent ter Beekบรรณาธิการบริหารของ Pig Progress ได้สรุปเหตุผลที่หลายประเทศในเอเชียที่ยังไม่มีการระบาดต่างมีความกังวลมาก ซึ่งเขาหวังว่าเขาจะวิเคราะห์ผิด และไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง นี่เป็นเป็นเหตุผลที่เขาสรุปมาว่าทำไม !

1. ประวัติศาสตร์ของ ASF ในประเทศจีน (History of ASF in China)

จากข่าวดูเหมือนว่าการระบาดของ ASF ในประเทศจีนเริ่มต้นเดือนสิงหาคม  แต่มีการศึกษาอย่างจริงจังตามแหล่งข้อมูลต่างๆ น่าจะเกิดขึ้นตั้งแต่มิถุนายน หรือแม้แต่เดือนเมษายน 2561 ก็ตาม กับบางแหล่งข่าว ถ้ามาตรการเข้มงวดเริ่มต้นหลังพบการติดเชื้อ  ในเชิงเปรียบเทียบสามารถประเมินเทียบเคียงในลักษณะเดียวกันว่าประเทศใกล้เคียงและที่มีการเดินทางไปมาระหว่างกันมีโอกาสที่จะเกิดการแพร่เชื้อก่อนที่จะปรากฏเป็นทางการได้อย่างน้อย 2 เดือน

มีข้อสังเกตถึงการพบเชื้อที่โรงฆ่าที่เหอหนาน (Henan) มีการเดินทางมาจากเฮยหลงเจียง (Heilongjiang) ที่ใกล้กับรัสเซีย มีข้อสงสัยเช่นกันว่ามีไวรัสติดเชื้อแล้วนานเท่าไรก่อนที่จะมีการขนส่งเคลื่อนย้ายมาที่เหอหนาน

2. ความรวดเร็วของการระบาดกำลังเป็นข้อกังวล (The speed of the spread is worrying)

ในยุโรปที่มีการระบาดในปี ค.ศ. 2007 หรือ พ.ศ. 2550 การเดินทางจากประเทศจอร์เจีย เป็นประเทศที่อยู่ทางตะวันออกของทะเลดำในคอเคซัสตอนใต้ ในอดีตเป็นสาธารณรัฐหนึ่งของสหภาพโซเวียต  และระบาดไปยังสาธารณรัฐเช็ก ที่ห่างกันถึง 3,000 กิโลเมตร ใช้เวลา 11 ปี จากปี 2550 ถึง 2561 ในขณะที่จากเสิ่นหยางตอนเหนือของจีนมายัง เหวินโจว ตอนใต้ของเซี่ยงไฮ้ ใช้เวลาเพียง 3 สัปดาห์ ในระยะทางใกล้เคียงกันที่ 2,100 กิโลเมตร

3.ข้อสังเกตรูปแบบการระบาดในยุโรป (Look at the spread pattern in Europe)

ในยุโรปและยุโรปกลาง การระบาดทั้งหมดมีรูปแบบการกระจายผ่านประชากรหมูป่าท้องถิ่น  โดย ASF ไวรัส สร้างอัตราการตายสูง กับ การติดต่อที่ไม่สูง จากการสัมผัสโดยตรง ที่จะติดไปถึงฟาร์มสุกรท้องถิ่น แต่พื้นที่การติดต่อค่อนข้างยากที่จะเคลื่อนกระจายจากพื้นที่หนึ่งไปต่างพื้นที่

บ่อยครั้งที่มีการเคลื่อนตัวของไวรัสไปกว่า 500 กิโลเมตร ไปตามถนน เนื่องจากคนนำพาผลิตภัณฑ์หมูไปด้วยกับการเดินทาง  จนถึงตอนนี้ ในยุโรปตะวันออกยังไม่สามารถหยุดการระบาดของเชื้อ ASF ได้เลย โดยการระบาดเป็นไปอย่างช้าๆ ไม่รวดเร็วเหมือนประเทศจีน

4.ความหนาแน่นประชากรสุกรในประเทศจีน (China’s pig density)

ประชากรสุกรของโลกครึ่งหนึ่งอยู่ประเทศจีน  จากตัวเลขของ FAO แสดงตัวเลข 457 ล้านตัวในปี 2559 โดยพื้นที่ 2 ใน 3 ของประเทศเป็นเขาและทะเลทราย การเลี้ยงสุกร 1 ใน 3 จะอยู่ในแถบภาคตะวันออก โดยประชากรพลเมืองจีนในแถบนี้มีจำนวน 1,300 ล้านคน ในแหล่งที่ค้นพบการระบาด ปฏิบัติการเฝ้าระวังจึงต้องครอบคลุมสุกรเป็นจำนวนมาก


5.การเลี้ยงแบบหลังบ้านยังคงมีจำนวนมาก (Still many backyard farms)

ลักษณะในแต่ละพื้นที่ของประเทศจีน เป็นประเทศที่อยู่ระหว่างการเปลี่ยนแปลง ไปสู่สังคมอุตสาหกรรม สังคมเมือง มีการเคลื่อนย้ายสู่สังคมเมืองสูงขึ้น ซึ่งยังมิได้หมายความว่าทุกอย่างจะเปลี่ยนแปลงไปในทุกแขนง นักวิชาการ ดร จอห์น สแตรค บรรณาธิการ Editor Whole Hog จากเว็บไซต์  www.porkinfo.com ได้ประเมินเมื่อสิ้นปีที่แล้วว่า 52% ยังคงเป็นการเลี้ยงหลังบ้าน ซึ่งเสมือนว่ากว่าครึ่งหนึ่งของการเลี้ยงสุกรในประเทศจีนยังเป็นการเลี้ยงแบบหลังบ้าน ซึ่งเป็นจุดเสี่ยงที่สุดของโรคนี้

6.มีจำนวนฟาร์มขนาดใหญ่เป็นจำนวนมาก (Many huge swine farms)

จำนวนฟาร์มสุกร 48% เป็นไปในลักษณะฟาร์มสมัยใหม่ โดยบางส่วนจะมีรูปแบบตามความปลอดภัยทางชีวภาพที่ดี (Good Biosecurity)เช่นเดียวกับ ฟาร์มที่กำหนดแบบที่สอดคล้องตามระบบนี้ เช่นเดียวกับฟาร์มในยุโรปและอเมริกา และจากตลาดที่มีความต้องการการบริโภคสุกรใหญ่มากทำให้มีการสร้างฟาร์มลักษณะ Complex ล้ำหน้าจากแบบที่เคยเห็นในยุโรปและอเมริกาเหนือ


7.นโยบายเดียวครอบคลุมกับ ASF ทั้งประเทศใช้ได้แน่หรือ?( One policy covering all ASF?)

ตามที่ศาสตราจารย์ หยาง ฮันชุน (Prof Yang Hanchun) ได้ให้ข้อสังเกตเมื่อกลางเดือนสิงหาคม ในนิตยสาร  Science Magazine  ว่าความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดของรัฐบาลจีนที่จะดำเนินการตามแผนเดียวกับทุกลักษณะของฟาร์ม ทั้งฟาร์มหลังบ้านและฟาร์มที่ได้รับการพัฒนาในเชิงพาณิชย์  นั่นยิ่งไม่สามารถทำได้ในความเป็นจริงเลยกับขนาดที่ใหญ่ของประเทศ

8.ความเข้าใจถึงลักษณะของเชื้อไวรัส (The understanding of the virus)

เพื่อให้เห็นภาพว่าประเทศจีนจัดการอย่างไรกับตัวเองกับการจัดการกับเชื้อไวรัส ASF  กล่าวอย่างตรงไปตรงมาว่าทุกคนทราบดีกับลักษณะการเลี้ยงต่างๆ จะสามารถเกิดการติดเชื้ออะไร อย่างไร ต่างจากการเลี้ยงหลังบ้าน เขาจะไม่สามารถทราบปัญหาการติดเชื้อต่างๆ ได้เลย จนกระทั่งหลังรัฐบาลออกมาตรการเมื่อช่วงเดือนที่มีการระบาดที่ผ่านมา

9.ความเข้าใจของระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ (The understanding of biosecurity)

ยังคงมีคำถามว่าผู้เลี้ยงสุกรหลังบ้านตระหนักรู้และให้ความสำคัญเพียงใดกับการจัดการความปลอดภัยทางชีวภาพ เมื่อได้ข่าวการเคลื่อนย้ายสุกรขุนจากเฮยหลงเจียง (Heilongjiang) มาเหอหนาน(Henan) ซึ่งมีการพบการติดเชื้อ ASF เป็นเหตุการณ์หนึ่งที่น่าสงสัย

ข้อสังเกตเพิ่มเติม ไม่นานมานี้เมื่อปี 2556 กับภาพซากสุกรตายลอยน้ำในแม่น้ำฮวงโป ใกล้กับนครเซี้ยงไฮ้  นำมาซึ่งการระบาดครั้งใหญ่ของเซอร์โคไวรัส Circovirus เจ้าของฟาร์มเกรงกลัวเจ้าหน้าที่และกลบเกลื่อนความผิดลงไปในแม่น้ำ

10.สภาวะอากาศอุปสรรคต่อระบบที่ดี (The weather doesn’t help)

องค์ประกอบที่ดีของความปลอดภัยทางชีวภาพ อาจได้รับผลกระทบจากธรรมชาติที่แปรปรวน  เพื่อให้เห็นภาพชัดเจน กับ ไต้ฝุ่นรัมเบีย ช่วงปลายเดือนสิงหาคม 2561 โจมตีฝั่งตะวันออกของประเทศจีนทำให้เผชิญสภาวะน้ำท่วมครั้งใหญ่  ภาพผลกระทบกับสัตว์ตายถึงแม้จะเป็นเพียงฟาร์มเดียว แต่ซากสัตว์สามารถลอยไปยังที่ต่างๆ

11. ความพร้อมของการวินิจฉัยและห้องปฏิบัติการ (Availability of diagnostics and laboratories)

เมื่อเหตุการณ์เปลี่ยนไป จำนวนตัวอย่างที่ส่งตรวจอาจเปลี่ยนรูปแบบไป จนกระทบกับการเข้าตรวจ เราอาจจะไม่สามารถยืนยันผลการตรวจได้ว่า มันคือเชื้อไวรัส ASF หรือไม่?

12. ความโปร่งใสของเจ้าหน้าที่? (Transparency of the Chinese authorities?)

ความไม่ชอบมาพากลอาจเกิดขึ้นได้ ประเทศที่โปร่งใสจะมีการสื่อสารอย่างโปร่งใสของการติดเชื้อ ASF ได้  ในสถานการณ์ที่เลวร้าย จะเกิดผลร้ายในเชิงการค้าและธุรกิจ เช่น ตอนเกิดที่เบลารุส มีรายงานการระบาดเพียง 2 รายไปยัง OIE ในปี 2556  ในขณะที่การระบาดในประเทศโดยรอบมากมายจนนับแทบไม่ทัน ในขั้นนี้เราจะควบคุมและสื่อสารเรื่องนี้อย่างไร  การจัดการจะต้องมีการเข้ามาควบคุมมากกว่าการปฏิบัติการเพียงเจ้าหน้าที่ของรัฐ

อ่านเพิ่มเติมที่  Pig Progress Health Tool URL : https://www.pigprogress.net/Health/Health-Tool/?cmpid=ILC|Tool|C3_contentmarketing|in-article|in-article|in-article

13.ต้องควบคุมสื่อสังคมออนไลน์ให้ได้ (People complain on social media)

การปล่อยข่าวทางสื่อสังคมออนไลน์ หรือแม้แต่การออกมาแสดงความเห็น ในช่วงวิกฤตผู้คนต่างเกาะติดข่าว จะสร้างแรงกดดัน เช่นเดียวกับข้อความที่ผ่าน WeChat ในจีนมีการตัดพ้อมากเรื่องข้อมูล โดยช่วงหลังจะมีข่าวที่ออกผ่านเว็บไซต์ทางการที่ชัดเจนขึ้น เรื่องนี้ในเมืองไทยน่าห่วง เพราะคนไทยไม่ค่อยเชื่อสื่อทางการและเป็นประเทศที่ผู้คนคิดลบมากมายเป็นลำดับต้นๆ ของโลก


14.มีหมูป่าในประเทศจีนด้วยหรือ (There are wild boar in China too!)

ประเทศจีนมีหมูป่าเช่นกัน ถึงแม้สุกรพันธุ์ใหม่เชิงพาณิชย์มีการเลี้ยงมากมาย แต่กรณีที่การคงเชื้อและกระจายเชื้อโดยหมูป่าในประเทศจีนก็ยังคงมีความเป็นไปได้ เช่นเดียวกับลักษณะที่เกิดกับยุโรป ถึงแม้จะมีโอกาสน้อยกับจำนวนหมูป่าที่จะเก็บไวรัส ASF ไว้นั้นน้อยมากก็ตาม

15.เห็บกับภาวะภูมิอากาศที่เอื้ออำนวย (Ticks – the right climate)

อีกกรณีที่หมูป่าอาจเป็นพาหะจากเห็บที่มีเชื้อ ไม่ใช่ปัญหากับยุโรป เพราะจีนส่วนใหญ่จะมีอากาศหนาวเกินไปสำหรับการอยู่ได้ของเห็บ แต่ภาคใต้ของจีนอากาศอบอุ่น อาจเป็นจุดอ่อนได้ โดยเห็บที่จีนมีมากกว่า 100 สปีชี่ส์ ประกอบกับการบริโภคตอนใต้ชื่นชอบการบริโภคหมู

 

16.การตรวจพบเจอ ASF ในอาหารของนักท่องเที่ยวที่เกาหลีใต้(ASF in food in South Korea)

มีคำถามที่สำคัญมาก กับ การตรวจพบเกี๊ยวซ่าและไส้กรอกที่นำมาจากประเทศจีน มีปนเปื้อนไวรัส ASF ในกรณีนี้สามารถสกัดได้ซะก่อน ถึงอย่างไรก็ตามเชื้อจะตายถ้าผ่านความร้อนสูง

อ่านเพิ่มเติมสถานการณ์สุกรในเกาหลีใต้ตามลิงค์  https://www.pigprogress.net/Finishers/Articles/2015/2/South-Korea-A-market-with-potential-and-problems-1692109W/

ในประเทศเกาหลีใต้ เป็นประเทศที่มีการเลี้ยงสุกรหนาแน่นเช่นกัน ตามตัวเลขของ FAO ชายแดนพื้นดินจะมีเกาหลีเหนือคั่นไว้ และการตรวจสอบทางเรื่อและทางเครื่องบินได้ทำอย่างเข้มงวด

17.มีอะไรเกิดขึ้นบ้างที่เกาหลีเหนือ (What’s going on in North Korea??)

ในภาพทั่วไป เกาหลีเหนือเป็นกล่องดำ ไม่ทราบเลยว่ามีการเลี้ยงสุกรกันมากน้อยเพียงใด ในขณะที่ประเทศจีนเกิดระบาดแถบที่ใกล้กับเกาหลีเหนือเช่นกัน  ไม่ทราบข่าวคราว สถานะการณ์ที่นั่นเลยว่ารัฐบาลเกาหลีเหนือเตรียมการอย่างไรบ้างเรื่องนี้ หรือแม้แต่เกิดผลกระทบเรื่องนี้หรือไม่

18.ย่านเอเชียใต้ โดยเฉพาะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Further south: South East Asia)

ต่อมาถึงเอเชียใต้, สถานการณ์ที่ไม่ได้ดูเหมือนโรยด้วยกลีบกุหลาบ ประเทศเวียดนามที่ทราบกันดีว่าหนักหนากับแนวโน้มเช่นกันสำหรับสุกร ประเทศกำลังเดินหน้าสู่การพัฒนากับระบบฟาร์มสมัยใหม่ที่กำลังก่อตัว การย้ายสุกรไปตลาดยังมีให้เห็นในลักษณะที่บรรทุกท้ายจักรยานยนต์ จากเหวินโจว (Wenzhou) ตอนใต้ของเซี้ยงไฮ้ไปชายแดนเวียดนามแค่เพียง 1,800 กิโลเมตร จากที่เราเห็นเมื่อเดือนที่ผ่านมาเชื้อไวรัสเข้าไปที่เหวินโจว เพียงใช้เวลาไม่นาน

อ่านเพิ่มเติมการผลิตสุกรในเวียดนามตามลิงค์ https://www.pigprogress.net/Finishers/Articles/2015/12/The-seductive-promise-of-Vietnams-pork-sector-1710580W/

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว  เมียนมาร์ และกัมพูชา กำลังเริ่มขยายการผลิตและบริโภคสุกร แต่การพัฒนาจะต่ำกว่าเวียดนาม

19.อุตสาหกรรมสุกรของไทย : ระดับที่พัฒนาแล้ว (Thailand’s swine industry: well-developed)

อีกหนึ่งประเทศในเอเชียใต้ คือ ประเทศไทย ที่การพัฒนาวงการสุกรแตกต่างในระดับที่มีการพัฒนาไปสูงกว่าประเทศทั้งหมดในเอเชียใต้ และมีการเลี้ยงจำนวนมากครอบคลุมไปทั้งประเทศ มีผู้ประกอบการเด่นๆ ในระดับเอเชีย ประกอบทั้งยังเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวในลักษณะที่ถือได้ว่าเป็นที่พบกันของโลก


ธุรกิจการเกษตรยักษ์ใหญ่อย่างเครือเจริญโภคภัณฑ์ และเครือเบทาโกร และอีกหลายๆ กลุ่ม ซึ่งลักษณะการยกเลิกการเลี้ยงแม่พันธุ์ในซองบ่งชี้ถึงระดับของการพัฒนา มีโอกาสที่ ASF จะเข้าสู่ประเทศไทยเช่นกัน ซึ่งพอจะสรุปได้ว่าภูมิภาคเหล่านี้เป็นกลุ่มหลักที่มีโอกาสเกิดการระบาดโดยเฉพาะในกลุ่มที่มีการพัฒนาการเลี้ยงล้าหลัง

แนะนำอ่านเพิ่มเติม swine industry in Thailand ตามลิงค์ https://www.pigprogress.net/Home/General/2016/12/Thailand-A-tiger-cub-ready-to-leap-74446E/

20.ข้อสุดท้ายกับเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึง (The unexpected)

ภาพของสถานการณ์ที่คลุมเครือที่สุด เรารู้จักกับ ASF ดี แต่ก็เคยสร้างความประหลาดใจกับเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นมา  จะมีใครล่วงรู้ได้ว่าชนิดของการพัฒนาเพื่อการป้องกันแก้ไข อาจจะอยู่ใน มุมใกล้ๆ ตัวเราก็ได้

ท้องทะเลจะป้องกันไวรัสมหันตภัยนี้ได้ไหมกับญี่ปุ่น หรือ ฟิลิปปินส์ จะมีการเดินทางของผู้คนที่จะนำเชื้อนี้ไปยังอเมริกาไหม? และการพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคนี้คืบหน้าไปอย่างไร เพื่อไม่ให้เกิดผลร้ายแรงกับการเลี้ยงสุกรของโลก ราคาอาหารสัตว์จะตกลงไหม? หลังราคาตลาดล่วงหน้าของถั่วเหลืองได้ตกลงแล้วจากความกลัว ASF กับราคาสุกรของโลกจะเป็นไปอย่างไร ที่แน่ๆ คือข่าวสารของโรคอหิวาต์แอฟริกันในสุกรจะทะลักมาให้ท่านอ่านอย่างมหาศาลในช่วงนี้ 




 

Visitors: 398,109