ทีมกฎหมายสุกรไทยเตรียมเป็นกำแพงให้รัฐ เขี่ยปมปัญหา MRLs ของ CODEX ที่สร้างปัญหาทั้งไทยและนานาชาติมากว่าครึ่งทศวรรษ

ทีมกฎหมายสุกรไทยเตรียมเป็นกำแพงให้รัฐ เขี่ยปมปัญหา MRLs ของ CODEX ที่สร้างปัญหาทั้งไทยและนานาชาติมากว่าครึ่งทศวรรษ

11 ตุลาคม 2560 สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติประชุมหารือแนวทางปกป้องอาชีพเกษตรกรไทยทั้งระบบ โดยมุ่งไปที่ต้นตอปัญหา คือ ข้อกำหนด MRLs ของโคเด็กซ์ ที่เป็นข้ออ้างของสหรัฐอเมริกาในการกดดันนานาชาติสมาชิกโคเด็กซ์และประเทศไทย มากว่า 5 ปีที่ยังหาข้อยุติไม่ได้

MRLs หรือ Maximum Residue Limited ที่กำหนดให้มีแรคโตพามีน หรือสารเร่งเนื้อแดงตกค้างในเนื้อสุกรสูงสุดที่ 10 ppb ซึ่งผ่านมติอย่างมีข้อกังขาในการประชุมที่อิตาลี เมื่อ 2-7 กรกฎาคม 2555 ที่การลงคะแนนลับครั้งที่ 2 ผ่านมติแบบฉิวเฉียดที่ 69 ต่อ 67 ยอมรับให้มีการกำหนดค่าสารเร่งเนื้อแดงดังกล่าว ในขณะที่ผ่านมา 5 ปีกว่า กลุ่มสหภาพยุโรปและนานาชาติประมาณ 160 ประเทศยังคงห้ามใช้ ถึงแม้มติดังกล่าวจะถือว่าเป็นกฎหมายระหว่างประเทศที่ภาคีสมาชิกต้องแก้กฎหมายภายใน แต่สำหรับประเทศไทยถือปฏิบัติระบบทวินิยม(Dualism) จะต้องแก้ไขกฎหมายในประเทศก่อนจึงจะมีผลบังคับ แต่ประเทศไทยคำนึงถึงสุขอนามัยมากกว่าเพราะรายงานปี 2559 ของนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ชี้สารตกค้างดังกล่าวนอกจากส่งผลเสียจากการเป็นสารก่อมะเร็ง แล้วยังส่งผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดของผู้บริโภค ที่ขัดอย่างมากกับมาตรการอาหารปลอดภัยของชาติ

มติที่ประชุมเห็นด้วยกับแนวทางที่ทีมกฎหมายเสนอมาเพราะจะเป็นการเข้าไปแก้ปัญหาที่ต้นตอ เพราะหลังมติเมื่อปี 2555 เป็นต้นมา กลุ่มผู้เลี้ยงสุกรไทยต้องกังวลกับการบีบบังคับให้รัฐบาลไทยรับหมูและชิ้นส่วนหมูจากสหรัฐอเมริกาให้สามารถส่งมาขายประเทศไทยให้ได้ เพราะถัดมาเพียงไม่กี่เดือนจากการประชุมครั้งนั้น อเมริกาก็เริ่มกดดันรัฐบาลไทย จนมีการต่อต้านครั้งใหญ่ที่สุดของเกษตรกรผู้เลี้ยงกว่า 5,000 คน ที่หน้าทำเนียบรัฐบาลเมื่อ 11 มิถุนายน 2556 และล่าสุดเมื่อ 11 กันยายน 2560 รัฐจะต้องให้เราต่อสู้ไปถึงไหน ข้อกังวลที่เกษตรกรถามไปก็ไม่เคยตอบเหตุผล เพราะประเทศเราจะเสียความมั่นคงทางอาหารไม่ได้เช่นกัน

ส่วนการแก้ปัญหาในจุดนี้จะเริ่มอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับทีมทนายความ ที่เราได้รับความช่วยเหลือจากสมาคมทนายความแห่งประเทศไทย โดยคุณชูชาติ กันภัย รองนายกสมาคมที่มีความชำนาญทั้งกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชน ที่มีมุมมองและมีการศึกษาความเป็นไปของปัญหานี้มาอย่างดี

การดำเนินการทางศาลในครั้งนี้มีความจำเป็นมาก เพราะผลกระทบไม่ใช่เกิดผลกระทบกับคนเลี้ยงหมูอย่างเดียว ธุรกิจอาหารสัตว์ เกษตรผู้ผลิตอาหารสัตว์ ธุรกิจเวชภัณฑ์สุกร ภาคแรงงาน จะเสียหายอย่างหนัก ซึ่งห่วงโซ่นี้เป็นภาคเศรษฐกิจเสาหลักของประเทศ ที่จะบานปลายสู่ภาคบริการ ภาคการเงิน ซึ่งการดำเนินการทางกฎหมายในครั้งนี้ จะมีทั้งทางอาญาและกระบวนการร้องศาลปกครอง ซึ่งเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรจำเป็นต้องทำ เพราะผลของการต้องสู้ที่จะเกิดผลทางกฎหมายในครั้งนี้ มั่นใจว่าจะเป็นแนวทางที่ช่วยหาทางออกให้ภาครัฐได้ด้วยเช่นกัน

 

ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายระหว่างประเทศกับกฎหมายภายในประกอบไปด้วยทฤษฎี 2 ทฤษฎี คือ

 

1. ทฤษฎีทวินิยม (Dualism) ทฤษฎีนี้ถือว่ากฎหมายภายในกับกฎหมายระหว่างประเทศ มีลักษณะที่แตกต่างกัน ไม่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน เป็นกฎหมายคนละระบบแยกออกจากกันโดยเด็ดขาด แตกต่างกันทั้งที่มา การบังคับใช้ และความผูกพัน ในการนี้ถ้ากฎหมายภายในขัดกับกฎหมายระหว่างประเทศ ยังถือว่ากฎหมายภายในสมบูรณ์อยู่ใช้บังคับได้ภายในรัฐ แต่ถ้าการบังคับใช้กฎหมายภายในดังกล่าวก่อให้เกิด ความเสียหายต่อรัฐอื่น รัฐนั้นในฐานะเป็นบุคคลตามกฎหมายระหว่างประเทศต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายนั้นด้วย นอกจากนี้รัฐที่นิยมในทฤษฎีดังกล่าว เมื่อเข้าผูกพันในกฎหมายระหว่างประเทศแล้ว ในกรณีที่จะนำ กฎหมายระหว่างประเทศมาใช้บังคับภายในประเทศ จะนำมาใช้บังคับเลยไม่ได้ จะต้องนำกฎหมายนั้นมาแปลง ให้เป็นกฎหมายภายในเสียก่อน เช่น ออกประกาศ หรือ พ.ร.บ. รองรับ เป็นต้น

 

2. ทฤษฎีเอกนิยม (Monism) อธิบายว่า กฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายภายใน ไม่แตกต่างกัน มีความสัมพันธ์กัน ทั้งนี้เพราะกฎหมายภายในและกฎหมายระหว่างประเทศต่างมีเจตนารมณ์ เดียวกัน คือ เพื่อก่อให้เกิดความสงบเรียบร้อย ไม่ว่าจะเป็นสังคมภายในหรือระหว่างประเทศ แต่ก็เห็นว่า กฎหมายระหว่างประเทศมีศักดิ์ทางกฎหมายสูงกว่า ดังนั้นรัฐที่นิยมทฤษฎีนี้จึงไม่ต้องทำการแปลงรูปกฎหมาย ระหว่างประเทศ เพราะกฎหมายระหว่างประเทศจะเข้ามามีผลเป็นกฎหมายกายในโดยอัตโนมัติ เพราะกฎหมายที่มีศักดิ์ต่ำกว่าจะขัดหรือแย้งกับกฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่าไม่ได้

 

สำหรับประเทศไทยยึดถือปฏิบัติตามแนวทาง ทฤษฎีทวินิยม หรือ Dualism” ซึ่งเห็นว่า กฎหมายภายในและกฎหมายระหว่างประเทศมีฐานะเท่าเทียมกัน และเป็นอิสระจากกันและกัน ดังนั้นจึงไม่อาจที่ จะนำกฎหมายระหว่างประเทศมาบังคับใช้ภายในประเทศได้โดยอัตโนมัติ แต่ต้องผ่านกระบวนการเปลี่ยนหรือแปลง รูปกฎหมายนั้นให้เป็นกฎหมายภายในเสียก่อนจึงจะสามารถนำมาบังคับใช้ได้

Visitors: 397,167