VPF Farm ฟาร์มสุกรครบวงจรแห่งเชียงใหม่เตรียมขยายสู่ค้าปลีก

VPF Farm ฟาร์มสุกรครบวงจรแห่งเชียงใหม่เตรียมขยายสู่ค้าปลีก

 

เปิดฟาร์มคุณยุทธพงศ์ หรือ เฮียปึ้งแห่ง VPF Farm กับการขยายตัวอย่างมืออาชีพที่เน้นการผลิตเนื้อสุกรที่มีคุณภาพภายใต้สโลแกน “Healthy Farm, Happy Pig”

        คุณยุทธพงศ์  จีระประภาพงศ์ VPF Farm มีฟาร์ม 2 แห่ง

  1. อ.แม่ริม  จ.เชียงใหม่
  2. อ.แม่ทา  จ.ลำพูน เป็น เฟส 2 ของการขยายตั้งแต่ปี 2557 (2014) 70% เสร็จ คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2559 (2016)

        คาดว่าหลังจากฟาร์มสุกรแห่งที่ 2 แล้วเสร็จจะมีกำลังการผลิตสุกรขุน 300,000-350,000 ตัว ต่อปี

        ปัจจุบัน VPF ทั้ง 2 แห่งมี 12,000 แม่พันธุ์ (6,000 x 2) สุกรขุนผลิตปีนี้ได้ประมาณ 275,000 ตัว จากปี 2557 ที่ 200,000 ตัว การผลิตลูกสุกรจะมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดประมาณ 70-80% โดยกลุ่ม VPF มีโรงชำแหละสุกรเป็นของตนเอง โดยมีการทำตลาดในการจำหน่ายชิ้นส่วนต่างๆ ของสุกร โดยทีมงานตลาดของกลุ่ม โดยส่วนหนึ่งของผลิตภัณฑ์สุกรจะมาจากโรงชำแหละแห่งที่ 2 ของกลุ่ม ตั้งแต่กลางเดือนสิงหาคม 2558 ในส่วนของการผลิตลูกสุกร กลุ่มจะทำการผลิตเพื่อป้อนฟาร์มในกลุ่มทั้งหมด

        กลุ่ม VPF กำลังดำเนินการขยายเฟส 3 จะมีสายงานการผลิตส่วนของตัดแบ่งชิ้นส่วนการแปรรูปและการสร้างห้องเย็นแห่งใหม่ เป็นการขยายจากห้องเย็นเดิม โดยห้องเย็นใหม่จะสามารถเก็บเนื้อสุกร และผลิตภัณฑ์สุกรได้ถึง 1,000 เมตริกตัน

สุขอนามัยและคุณภาพ

        การขยายฟาร์มอยู่ในแผนการขยายธุรกิจของบริษัท ที่จะทำการขยายไประดับปลายน้ำ การแปรรูปอาหารและร้านค้าปลีกในปี 2558 นี้ โดยใช้ “Healthy farm, happy pig” เป็นสโลนแกน ที่จะเป็นกลยุทธ์ในการช่วยสนับสนุนแผนธุรกิจ

        คุณปิยภรณ์  รัตนวาณิชโรจน์  ได้กล่าวถึง สโลแกน บริษัท จะเป็นการสะท้อนภาพเนื้อสุกรของบริษัทว่ามาจากสินค้าคุณภาพ จากสุกรสุขภาพดี มีอนามัยสูง ที่มีการเติบโตดีภายใต้สภาพแวดล้อมที่ปลอดโรค และเป็นฟาร์มที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมีการนำระบบไบโอแก๊ส มาใช้ในการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยมีการใช้ระบบบำบัดน้ำเสีย เป็น 2 บ่อพัก มาใช้ในการบำบัดน้ำเสีย

  1. ภายใต้คอนเซ็ปต์ “healthy farm, happy pig” กลุ่มมีการบริหาร 3 ระดับ – สะดวกสบาย, สนุกกับอาหารดี และเสี่ยงต่ำกับการเกิดโรค

        น.สพ.ณัฐวุฒิ  รัตนวาณิชยโรจน์  ผู้อำนวยการฟาร์มและอาหารสัตว์ ได้กล่าวถึง 3 ระดับ ของการบริหารฟาร์ม ซึ่งโยงถึงกิจกรรมการบริหารโรงเรือน การบริหารงานบุคคล การคัดเลือกสายพันธุ์ และการติดตามผล การควบคุมโรคโดยโปรแกรมวัคซีน โดยการใช้ยาปฏิชีวะนะ จะใช้เฉพาะเพื่อการรักษากรณีมีการติดเชื้อหรือเกิดโรคในกลุ่มสุกร โดย น.สพ.ณัฐวุฒิ  รัตนวาณิชยโรจน์  ยังดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยย้ำถึงการใช้ยาปฏิชีวนะ จะใช้ยามจำเป็นเท่านั้น

        การบริหารฟาร์ม และการจัดการด้านวัคซีน เป็นภารกิจหลักของการดำเนินงานของบริษัท โดยประสิทธิภาพของการบริหารฟาร์มต้องออกมาดีที่สุด เพื่อสุขภาพที่ดีของฝูงสุกร โดยมีโปรแกรมวัคซีน ที่เสริมภูมิต้านทาน และลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค โดยเป้าหมายที่ต้องการลดการใช้ ยาปฏิชีวนะให้น้อยที่สุด เท่าที่สามารถทำได้

        ระบบของฟาร์ม จะเป็นฟาร์มปิดโดยใช้ระบบ Evaporative System โดยฟาร์มพ่อแม่พันธุ์ใช้ All-in-All-out โดยมีเกณฑ์โรงเรือนอยู่ที่ 1.1 ตารางเมตรต่อสุกร โดยกระบวนการคิดเลือกสายพันธุ์ มีความสำคัญที่สุด คัดมาจะเป็นทรัพยากรบุคคล เพื่อให้ได้บุคลากรที่มีคุณภาพ และอยู่กับบริษัทอย่างระยะยาว ซึ่งจะทำให้การบริหารฟาร์มเป็นไปอย่างราบรื่น

        ฟาร์มได้ร่วมมือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในการพัฒนา Autogenous Vaccine ที่พัฒนามาจากจุลินทรีย์ เพื่อเพิ่มภูมิต้านทาน การแพร่กระจายของโรค PRRS และ PED เพราะฟาร์มจะมีการใช้ถนนสาธารณะร่วมกับฟาร์มอื่นๆ ซึ่งมีความเสี่ยงเรื่องโรคระบาดสูง โดยมีการระบาดของ PRRS เข้ามาในฟาร์มเมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา โดยผลจากการใช้ Autogenous Vaccine  ที่ให้ฟาร์มลดปัญหาการติดโรคลงเป็นอันมาก

        สำหรับปัญหาโรค PED ที่ฟาร์ม มีการใช้ Autogenous Vaccine ที่เก็บในอุณหภูมิ 80 C ซึ่งเป็นวัคซีนเข้าทางปาก เพื่อเพิ่มภูมิต้านทานของฝูงสุกร

 

  1. ซึ่งวิธีการนี้อาจจะใช้ไม่ได้กับฟาร์มอื่นๆ แต่เหมาะสมกับฟาร์ม VPF

        สำหรับแม่พันธุ์มีอัตราการสร้างลูกสุกรเฉลี่ย 27.5 ลูกสุกร ต่อแม่พันธุ์ต่อปี ซึ่งเป็น 92% ของปี 2557 ซึ่งมีเป้าปรับให้เป็น 93% ของปี 2557 เป้าหมายลูกสุกร 12 ตัวต่อครอก จากปี 2557 ที่ 11.8 ตัวต่อครอก

        ในฟาร์มสุกรขุน FCR เฉลี่ย 2.45-2.55 โดยมีน้ำหนักออกขายเฉลี่ย 110 กิโลกรัม/ตัว ส่วน ADG ตั้งเป้าที่ 750-800 กรัม เพื่อเป้าหมายของคุณภาพซากที่ดี เทียบกับต้นทุนที่ต่ำที่สุด

        กรณี ADG ต่ำกว่า 750 กรัม ถือว่าประสิทธิภาพต่ำ เมื่อพิจารณาจาก การให้ความสำคัญกับการคัดเลือกสายพันธุ์ โดยสูงกว่า 800 กรัม เทียบกับคุณภาพซากแล้วสุกรจะมีปริมาณไขมันสูง ซึ่งจะไปกระทบกับค่าอาหารที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับคุณภาพซากที่ได้

        ณ จุดนี้ ถือว่า VPF บรรลุเป้าหมายคุณภาพซากที่ดี เหมาะสมกับต้นทุนการผลิต หมอณัฐวุฒิกล่าว ผสมผสานกับการมีโรงงานอาหารสัตว์ และโรงเชือดเองทำให้รักษาระดับต้นทุนการผลิต และความสามารถในการทำกำไรได้ดี

 

เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรและผู้สนใจสามารถลงทะเบียนงานวันสุกรพร้อมรับเสื้อโปโลที่ระลึก "งานวันสุกรแห่งชาติ ครั้งที่ 9" ได้ที่ www.thepigthailand.com หรือ www.swinethailand.com

 

ที่มา : ASIAN PORK August 2015

 

Visitors: 397,167