เทคนิคการให้อาหารสุกรเพื่อลดต้นทุน และเพิ่มเปอร์เซ็นต์เนื้อแดงในยุคปัจจุบัน

เทคนิคการให้อาหารสุกรเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มเปอร์เซ็นต์เนื้อแดงในยุคปัจจุบัน

โดย รองศาสตราจารย์ ดร.เยาวมาลย์ ค้าเจริญ ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิยาลัยขอนแก่น จ.ขอนแก่น

        อาชีพการเลี้ยงสุกรในประเทศไทยปัจจุบันนี้ได้มีการพัฒนาและก้าวหน้ามาก ส่วนใหญ่มักเป็นฟาร์มขนาดกลางและขนาดใหญ่ ดังนั้นจึงมีการพัฒนากันในเวลาเดียวกันหลายด้าน เริ่มตั้งแต่การปรับปรุงพันธุ์และการเปลี่ยนแปลงพันธุ์ที่โตเร็ว ให้ผลผลิตสูงและคุณภาพซากต้องดีด้วย ผู้เลี้ยงสุกรจึงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาเกี่ยวกับการประกอบสูตรอาหาร การจัดการเลี้ยงดู ตลอดจนโรงเรือน ให้เหมาะสมและประหยัดเพื่อหาแนวทางพัฒนาประสิทธิภาพในการผลิตโดยเฉพาะเกี่ยวกับอาหาร เพราะต้นทุนเกี่ยวกับการผลิตนั้นเป็นค่าอาหารประมาณ 60-80% หากผู้เลี้ยงสามารถลดต้นทุนส่วนนี้ลงได้ โอกาสที่จะยืนหยัดในธุรกิจการผลิตสุกรก็ยิ่งมีสูงขึ้น

        เทคนิคขั้นตอนในการให้อาหารสุกรเพื่อลดต้นทุนและเปอร์เซ็นต์เนื้อแดงมีดังนี้คือ

        1.  พันธุกรรมของสุกรที่จะนำมาขุนเป็นสุกรเนื้อ พันธุ์มาตรฐานส่วนใหญ่เป็น 3 สายเลือด ซึ่งควรจะทราบอัตราการเจริญเติบโตของแต่ละช่วงอายุและน้ำหนัก จึงจะสามารถประกอบสูตรอาหารได้ถูกต้องตามความต้องการของพันธุกรรม

        2.  ชนิดของพื้นคอกและโรงเรือน

        3.  การจัดการและวิธีการให้อาหาร

        4.  น้ำหนักและอายุของแต่ละช่วงฤดูกาลที่ส่งสุกรจำหน่าย

        ปัจจัยทั้ง 4 ประการนี้ถ้าได้ข้อมูลละเอียดและถูกต้องก็จะสามารถนำมาพัฒนาการประกอบสูตรอาหาร เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มเปอร์เซ็นต์เนื้อแดงดังนี้

        1.  ประกอบสูตรอาหารให้สุกรขุนได้รับสารอาหารต่อตัวต่อวันให้พอเหมาะโดยไม่ให้น้อยหรือมากเกินไป

        2.  ต้องรู้ขบวนการใช้ประโยชน์ของอาหารสุกร สุกรเมื่อกินอาหารเข้าไปแล้วจะนำไปใช้ประโยชน์ 3 ทางคือ ดำรงชีพ ทำกิจกรรมต่างๆ และเจริญเติบโตคือ ให้เนื้อและให้ผลผลิต ดังนั้นจะต้องให้อาหารให้พอเพียงแต่ไม่ใช่มากเกินพอ ถ้าให้อาหารไม่ถูกต้องก็จะไม่สามารถลดต้นทุนได้และยิ่งกลับทำให้คุณภาพซากไม่ดีอีกด้วย

        3.  จะต้องรู้อัตราการเจริญเติบโตและปริมาณอาหารที่ใช้ประโยชน์ ตามปกติอัตราการเจริญเติบโตของสุกรจะเพิ่มขึ้นเมื่ออายุเพิ่มขึ้นเพียงระยะเวลาหนึ่งแล้วค่อยๆ ลดลง และในทำนองเดียวกันประสิทธิภาพการใช้อาหารจะค่อยๆ ลดลงเมื่อสุกรมีอายุมากขึ้น

ตารางที่ 1  แสดงประสิทธิภาพการใช้อาหาร (เอฟซีอาร์) ของสุกรขุนในช่วงน้ำหนักต่างๆ

น้ำหนักสุกร

(กก.)

เอฟซีอาร์

อาหารคุณภาพทั่วไป

อาหารคุณภาพดี

7-15

15-30

30-60

60-100

20-100

1.4-1.6

2.1-2.3

2.8-3.0

3.7-4.0

2.7-2.8

1.2-1.4

1.8-2.1

2.4-2.8

2.8-3.3

2.5-2.6

 

รูปที่ 1  แสดงผลปริมาณอาหารที่ให้สุกรกินต่อคุณภาพซากและเอฟซีอาร์ของสุกรในช่วงอายุ

         15-100 กก.

รูปที่ 2  แสดงการสร้างเนื้อแดงและไขมันของสุกรในช่วงมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น

 

        4.  เทคนิคการปรับปรุงทางด้านปริมาณของสารอาหารต่างๆ ที่สุกรต้องการ

        5.  ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการใช้อาหารของสุกรมีดังนี้

                ก.  พันธุกรรม : อัตราการเจริญเติบโต เอฟซีอาร์ ความสามารถในการย่อยอาหาร

                ข.  อาหาร : ความฟ่าม คุณภาพ สิ่งปนเปื้อน ความอร่อย

                ค.  โรคต่างๆ และความคงทนต่อโรค

        6.  เทคนิคในด้านการคำนวณและการประกอบสูตรอาหารสุกร ซึ่งต้องพิจารณาดังนี้

                ก.  อาหารที่ให้พลังงาน : อาหารแป้งและไขมัน ซึ่งสุกรต้องย่อยได้ง่าย ไม่มีสารพิษ และไม่ฟ่ามมาก

                ข.  อาหารที่ให้โปรตีน : โปรตีนต้องคุณภาพดี ย่อยและนำไปใช้ประโยชน์ได้สูง ไม่มีสารพิษ ไม่มีกากสูง ไม่ฟ่าม และไม่มีเกลือเกินพิกัด

                ค.  วัตถุที่เติมในอาหารและอาหารเสริม : ต้องรู้จักคุณภาพที่แท้จริงและคุ้มกับราคาที่เติมลงไป ต้องรู้กลไกการออกฤทธิ์และการทำงานที่ชัดเจน และได้รับการพิสูจน์ในทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นที่ยอมรับ

                ง.  อาหารวิตามินและแร่ธาตุ : มีทั้งในรูปสารผสมล่วงหน้าหรือพรีมิกซ์ และวิตามินแร่ธาตุตัวเดี่ยวที่นำเข้ามาผสมใช้เอง ซึ่งจะต้องพิถีพิถันมากในการเลือกซื้อจึงจะสามารถลดต้นทุนการผลิตลงได้

                จ.  เทคนิคทางด้านการจัดการในการประหยัดอาหาร ควรให้อาหาร 90-95% ของปริมาณที่กินเต็มที่ ควรให้วันละ 2-3 ครั้งในปริมาณที่สุกรสามารถกินได้หมดในแต่ละมื้อเท่านั้น และควรเริ่มการจำกัดอาหารเมื่อสุกรมีน้ำหนักเกิน 45 กก. ขึ้นไป เพราะในช่วงแรกสุกรจะมีการสร้างเนื้อแดงและสะสมเนื้อแดงอย่างรวดเร็วมากในช่วงแรกเกิดถึง 40 กก. เมื่อสุกรมีน้ำหนักเกิน 45 กก. ให้จำกัดอาหาร จะทำให้สามารถประหยัดอาหารได้ประมาณ 5-10% และเอฟซีอาร์ดีขึ้น 5-7% นอกจากนี้คุณภาพซากเมื่อส่งตลาดดีขึ้นด้วย

        7.  เทคนิคในขบวนการทำอาหารที่ถูกต้องและได้มาตรฐาน ซึ่งต้องคำนึงถึง

                ก.  การบดอาหารในแต่ละชนิดและแต่ละประเภทให้เหมาะสม

                ข.  ขบวนการผสมอาหาร ซึ่งจะต้องมีมาตรฐานการตรวจเช็คในการผลิตทุกขั้นตอน

                ค.  ขบวนการเก็บและลำเลียงอาหารไปใช้

        8.  เทคนิคในการให้อาหารสุกรเนื้อตามมาตรฐานในแต่ละช่วงอายุต่างๆ เพื่อให้สุกรมีคุณภาพซากดี (ตารางที่ 2)

 

ตารางที่ 2  การให้อาหารสุกรเนื้อในช่วงอายุต่างๆ (กิโลกรัม)

อายุ(สัปดาห์)

อาหาร/วัน

อาหารสะสม

อายุ(สัปดาห์)

อาหาร/วัน

อาหารสะสม

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15

16

0.15

0.30

0.51

0.68

0.83

1.05

1.22

1.41

1.58

1.76

1.82

1.91

2.20

1.05

3.15

6.72

11.48

17.29

24.64

33.18

43.05

54.11

66.43

79.17

92.54

106.54

17

18

19

20

21

22

23

24

25

26

27

28

2.09

2.20

2.20

2.20

2.20

2.20

2.20

2.20

2.20

2.20

2.20

2.20

121.17

136.57

152.32

167.72

183.12

198.52

213.92

229.32

244.72

260.12

275.52

290.92

 

หลักสำคัญในการให้อาหารสุกรในยุคปัจจุบัน

        ปัจจุบันการเกิดปัญหาการบริโภคอาหารของประชาชนมักจะเป็นในเรื่องปัญหาของสุขภาพ และหวาดกลัวต่อการปนเปื้อนของสารต่างๆ เช่น ไดออคซิน โรควัวบ้า ไวรัสนก แอนแทร็ค สารตกค้างของยาปฏิชีวนะ ยาฆ่าแมลง สารพิษจากเชื้อรา และอาหารดัดแปลงพันธุกรรม หรือ จีเอ็มโอ ปัญหาทั้งหมดเหล่านี้สร้างความเสียหายในทางเศรษฐกิจอย่างมากมายในแต่ละประเทศ ดังนั้นในแต่ละประเทศได้มีการวางมาตรฐานมหาชนต่อความเสี่ยงของอาหาร และบางประเทศวางมาตรฐานสูงกว่าการตรวจวัดได้จากการวิเคราะห์และประเมินทางวิทยาศาสตร์ (Scientific assessment) และมีผลกระทบอย่างมากต่อประเทศที่กำลังพัฒนาและส่งสินค้าไปขายในตลาดโลก โดยเฉพาะประเทศไทย ดังนั้นทางเลือกที่ดีของประเทศไทยจะต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนคือ

        1.  ให้ความรู้ความเข้าใจแก่เกษตรกรในการจัดการอาหารให้ได้มาตรฐาน

        2.  แนะนำการใช้ยาปฏิชีวะและสารเคมีทั้งการฉีดและการผสมในอาหารให้ถูกต้อง

        3.  แนะนำการใช้วัตถุที่เติมในอาหารที่เหมาะสมและวิธีการใช้ที่ถูกต้อง

หลักสำคัญในการให้สูตรอาหารในยุคปัจจุบัน

        เพื่อตอบสนองความต้องการกระแสการบริโภคทั้งในและต่างประเทศต่อห่วงโซ่ของอาหาร ต่อการเลี้ยงสุกรในประเทศ สิ่งสำคัญอันดับแรกในการเลี้ยงสุกร คือ อาหารสุกร ซึ่งจะมีผลต่อภาพรวมในการเลี้ยงสุกร ดังนี้คือ

        1.  ส่วนประกอบของวัตถุดิบในอาหารสัตว์

        2.  ขนาดและชนิดของอาหาร

        3.  การเกิดความเครียดของสัตว์ต่อการกินได้ของสัตว์

        4.  สภาพแวดล้อมต่อสุขภาพของสัตว์ ซึ่งจะมีผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อระดับของสารอาหารที่สุกรต้องการ

        5.  จุลินทรีย์เป็นโทษ สารพิษ ยาฆ่าแมลง และสารพิษจากเชื้อราที่มีอยู่ในอาหาร

        ดังนั้นในการแก้ปัญหาในยุคปัจจุบันในการให้อาหารและการประกอบสูตรอาหาร มีดังนี้คือ

        1.  การเลือกใช้วัตถุที่เติมในอาหารสัตว์ควรต้องพิจารณาดังนี้

                (1)  ได้รับการพิสูจน์และยอมรับก่อนในตลาด

                (2)  พิจารณาคำจำกัดความให้มากยิ่งขึ้น

                (3)  ใช้แล้วไม่เกิดอันตราย

                (4)  ใช้ความรู้สึกความเป็นจริงเป็นเกณฑ์ตัดสินการให้สรรพคุณเกินความเป็นจริงเป็นยุทธวิธีที่น่าตกใจ (ต้องระวังและตรวจเช็ค)

        2.  ใช้เทคนิคในการประกอบสูตรอาหารโดยคำนึงการให้คุณค่าทางโภชนาการทั้งหมด (Total nutrition) ในการคำนวณสูตรอาหารสุกร โดยคำนึงถึง :

                (ก)  ลดต้นทุนการผลิต

                (ข)  ผลผลิตที่ได้ให้คุณค่าทางโภชนาการเพิ่มขึ้น

                (ค)  สัตว์ได้รับอาหารที่มีสารกระตุ้นภูมิคุ้มกันโรคได้เพิ่มขึ้นและปราศจากโรค

                (ง)  อาหารที่ใช้ต้องย่อยและดูดซึมได้ดี ในขณะเดียวกันสามารถควบคุมจุลินทรีย์ที่เป็นโทษในระบบทางเดินอาหารได้ดี และป้องกันการเกิดความเครียดที่เกิดขึ้นในสัตว์

                (จ)  ลดมลภาวะให้น้อยที่สุดต่อสภาพแวดล้อม

        ดังนั้นการให้อาหารสุกรในยุคปัจจุบันจะต้องประกอบสูตรอาหารโดยใช้วิธีคำนวณจาก 2 แหล่งโมเลกุลในอาหาร 2 พวกใหญ่ๆ คือ

        (1)โภชนะหรือสารอาหาร (Nutrients) ที่ได้รับจากโภชนะปกติ (conventional nutricals) จากวัตถุดิบอาหารต่างๆ ซึ่งเป็นส่วนประกอบของอาหาร 6 หมู่ที่มีอยู่แล้วในอาหาร เช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน แร่ธาตุ วิตามิน และน้ำ

        (2)โภชนะบำรุงสุขภาพหรือสารอาหารบำรุงสุขภาพ (nutricins) ซึ่งได้จากการสกัดจากสารธรรมชาติ หรือขบวนการหมัก การแปรรูปต่างๆ ซึ่งสารอาหารเหล่านี้จะช่วยเสริมและมีประโยชน์ในการรักษาสุขภาพและสวัสดิภาพ (health and welfare) ในร่างกายของสุกร ดังนั้นการคำนวณการให้อาหารแบบการให้คุณค่าทางโภชนาการทั้งหมดที่จำเป็นที่จะต้องได้ ทั้งโภชนะและโภชนะบำรุงสุขภาพรวมกัน จะทำให้เกิดการเชื่อมโยง (links) ระหว่างสูตรอาหาร (diet) สุขภาพ (health) โรค (disease) และสภาพแวดล้อมร่วมกัน

 

ตารางที่ 3  แสดงคุณลักษณะและสมรรถนะการผลิตมาตรฐานของสุกรระยะต่างๆ

น้ำหนักสุกร หรือสุกรใน

ระยะการผลิตต่างๆ

จำนวนวันที่ใช้

(วัน)

ปริมาณอาหารที่กิน/

วัน (กรัม)

อัตราการเจริญเติบโต

ต่อวัน (กรัม)

อัตราการ

แลกเนื้อ

นน. 5-15 กก.

นน. 15-20 กก.

นน. 20-25 กก.

นน. 55-100 กก.

ระยะอุ้มท้อง

แม่สุกรสาวท้องแรก

แม่สุกรท้องต่อมา

ระยะเลี้ยงลูก

พ่อสุกรระยะว่างงาน

พ่อสุกรระยะทำงาน

32

10

51

55

 

114

114

21-42

-

-

550

910

1300

2950

 

1800

1800

3200-4500

1800-2200

2200-3200

320

550

680

820

 

400

270

-

-

-

1.72

1.82

2.67

3.60

 

-

-

-

-

-

 

Visitors: 397,133