คุณสมบัติของโปรไบโอติกที่ดีและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง

คุณสมบัติของโปรไบโอติกที่ดีและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง

สพ.ญ. นาฏยา  แบ่งลาภ

 

การเลือกใช้โปรไบโอติก ผู้ใช้ย่อมคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของการใช้ ดังนั้น ในบทนี้จะกล่าวถึงคุณสมบัติของโปรไบโอติกที่ดี และข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์โปรไบโอติก ของกรมปศุสัตว์ในประเทศไทย โดยก่อนอื่นจะขอกล่าวถึงลักษณะทั่วไปของระบบทางเดินอาหารของสุกร เชื้อจุลินทรีย์และปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อปริมาณของจุลินทรีย์ก่อน

ระบบทางเดินอาหารของสุกร (The gastro-intestinal tract of pig)

อวัยวะและการย่อยของสัตว์กระเพาะเดี่ยว (Organ and digestion)

 

 

 

 

 

 

 

ตารางที่ 1  แสดงปริมาตรและความยาวของอวัยวะในระบบทางเดินอาหารของสุกร

อวัยวะต่างๆ                        ปริมาตร (ลิตร)                   ความยาว (เมตร)

         กระเพาะอาหาร                              9                                   -

         ลำไส้เล็ก                                 11.5                                18.3

         ลำไส้ใหญ่                                   9                                 4.9 

 

ปาก  (The Mouth)

                        กระบวนการที่เกิดขึ้นหลัก ๆ คือการลดขนาดของโมเลกุลอาหารให้เล็กลงโดยการเคี้ยว โดยมีน้ำลายช่วยในการหล่อลื่น ในน้ำลายจะมีส่วนประกอบของ mucin น้ำและเอนไซม์ amylase ช่วยในการย่อยแป้งลงมาเป็น maltose อย่างไรก็ตามมีแป้งเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ถูกย่อยบริเวณนี้เนื่องจากสภาวะความเป็นกรด-ด่างที่ไม่เหมาะสม                       

กระเพาะอาหาร (Stomach)    

 

                   กระเพาะอาหารเป็นอวัยวะสำหรับการย่อยอาหาร โดยในสุกรตัวเต็มวัยจะมีความจุของกระเพาะอาหารประมาณ 8 ลิตร และมี pH ประมาณ 2 กระเพาะอาหารจะถูกแบ่งเป็น 4 ส่วนที่มีโครงสภาพแวดล้อมและ microbial flora ที่แตกต่างกัน กระเพาะอาหารเป็นบริเวณที่มีความเป็นกรดสูงทำให้การย่อยโปรตีนได้ดีมีประสิทธิภาพ ผลของความเป็นกรดนี้ทำให้การทำงานของ microbial flora ในบริเวณนี้จึงต่ำกว่าบริเวณอื่น

                        กระเพาะอาหารแบ่งได้เป็น 4 บริเวณได้แก่ 1.oesophageal  2.cardiac  3.gastric  หรือ peptic และ  4.pylorus โดยเมื่อบริเวณ pylorus หลั่งฮอร์โมน pvlorin จะกระตุ้นการสร้างน้ำย่อยที่ประกอบไปด้วย น้ำ กรดไฮโดรคลอริก pepsinogen, inorganic salts, mucus และ factor ที่มีส่วนในการดูดซึมวิตามิน B12 โดย pH ที่เหมาะสมที่จะทำให้เอนไซม์ pepsin ทำงานคือระดับ pH 2-3.5 โดยเอนไซม์ที่ย่อยโปรตีนนี้จะทำการตัด polypeptide ไปเป็นสายอะมิโนสายสั้นและท้ายที่สุดเป็น peptide เดี่ยวและกรดอะมิโนในที่สุดบริเวณ oesophageal ซึ่งเป็นบริเวณที่ต่อมาจากหลอดอาหารเป็นบริเวณที่แตกต่างจากบริเวณอื่นคือไม่มี glandular secretion และลักษณะพื้นผิวบริเวณนี้จะมีลักษณะเหมือนกระเพาะพัก หรือ crop ของนก โดย microbial flora ที่อยู่บริเวณนี้จะประกอบด้วยเชื้อจุลินทรีย์กลุ่มหลักๆ ได้แก่ Lactobacilli ซึ่งสามารถพบได้ในสุกรทุกช่วงอายุ โดยในลูกสุกรจะพบเชื้อ L. fermentum, L. salvaricus และ s. salivarusในขณะที่สุกรเต็มวัยจะพบ L.acidophilusและ S. bovis                

ลำไส้เล็ก (The small intestine)

                        เป็นอวัยวะที่ต่อจากส่วน pylorus ของกระเพาะอาหารและจบที่บริเวณ ileocaecal junction ของลำไส้ใหญ่ ในสุกรลำไส้เล็กยาวถึง 20 เมตรและกินพื้นที่ความจุถึง 1 ใน 3 ของระบบทางเดินอาหารทั้งหมด
โดยประกอบไปด้วย 3 บริเวณคือ
duodenum, jejunum และ ileum มีบริเวณ jejunum กินพื้นที่ไป 85% ของลำไส้เล็ก อาหารที่เดินทางมาถึงบริเวณลำไส้เล็กจะถูกย่อยมาบ้างแล้วเมื่อมาถึงบริเวณนี้อาหารจะถูกคลุกเคล้าด้วยสารคัดหลั่งจากลำไส้เล็กส่วน duodenum ตับและตับอ่อน

                        ลำไส้เล็กเป็นอวัยวะที่สำคัญในการย่อยและดูดซึม การย่อยส่วนใหญ่เกิดขึ้นภายในของตัวสัตว์เองและบางส่วนถูกหมักโดย microflora ชนิดเดียวกับในส่วนของลำไส้ใหญ่ การดูดซึมอาหารจะดีหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับพื้นที่ผิวของลำไส้ หากมีวิลไลที่ยาวและกว้างก็จะมีพื้นที่ผิวในการดูดซึมมากขึ้นตามไปด้วย

ลำไส้ใหญ่ (The large intestine)

                   ลำไส้ใหญ่จะประกอบไปด้วยส่วนของ colon  และ caecum ในบริเวณนี้เป็นจุดที่มีการย่อยอาหารกลุ่ม cellulose และ hemicellulose โดย microbial flora ได้แก่ Lactobaclli, Streptococci, Coliforms, Bacteroides, Clostridia และยีสต์ การย่อยโดย microbial flora จะทำให้ได้  end product คือ กรด acetic, กรด propionic, กรด butyric, indole, skatole, phenol, hydrogen sulphide, amines และ ammonia นอกจากการย่อยอาหารแล้วพื้นที่ในบริเวณนี้ยังเป็นบริเวณที่ดูดซึมสารอาหารมากด้วยเช่นกัน

                        ลำไส้ใหญ่เป็นจุดที่ทำให้สัตว์สามารถใช้ประโยชน์จากอาหารได้อย่างเต็มที่โดยเป็นบริเวณที่มีการดูดซึมพลังงานจากคาร์โบไฮเดรต น้ำตาลและ oligosaccharides ที่ไม่ถูกย่อยและดูดซึมที่ลำไส้เล็กโดยกระบวนการนี้จะอาศัย anaerobic bacteria ในการย่อยกลุ่มคาร์โบไฮเดรตไปเป็น short chain fatty acids โดยอาศัยการหมักและการทำงานของ anaerobic bacteria นี้ยังช่วยในการเก็บกวาดเศษอาหารและพวก substances ของ host เช่น เอนไซม์ เมือก ออกจาก epithellal cell อีกด้วย

pH

            ความเป็นกรด-ด่างในระบบทางเดินอาหารนั้นจะแตกต่างกันในแต่ละส่วน ซึ่งกระเพาะอาหารจะเป็นส่วนที่มีความเป็นกรดสูงโดยอาจมี pH ต่ำได้ถึง 1.5 แต่ pH ปกติของกระเพาะอาหารในสุกรโตเต็มวัยจะอยู่ในช่วง 2.5-4.5 ส่วนในลูกสุกรก่อนหย่านมนั้นจะมี pH ในช่วง 4.5-7 ผลจากความเป็นกรดที่สูงทำให้บริเวณกระเพาะอาหารเป็นบริเวณที่มี microbial น้อยในขณะที่ส่วนของ ceacum และ colon ของลำไส้ใหญ่นั้นจะมีความเป็นกลาง

pH 6-8 ส่งผลให้บริเวณนี้มีปริมาณของ microbial ค่อนข้างสูงในขณะที่เชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อโรค เช่น E. coli จะชอบบริเวณที่มีความเป็นด่างสูง pH สูง

ตารางที่ 2 แสดงระดับความเป็นกรด-ด่าง (pH) ของอวัยวะส่วนต่าง ๆ ในระบบทางเดินอาหารของสุกร

        บริเวณต่าง ๆ ของระบบทางเดินอาหาร                                                             pH

    กระเพาะอาหาร                                                                              1.5 – 6.0

    ลำไส้เล็กส่วน Duodenum                                                                      6.0 – 8.5

    ลำไส้ใหญ่ส่วน Ceacum                                                                       6.0 – 9.0

    ลำไส้ใหญ่ส่วนที่เหลือ                                                           8.0 – 9.0                                                                                             

 

ตารางที่ 3 แสดงความเป็นกรดสะสมของด่างที่เหมา-micro-organisms

ชนิดของเชื้อจุลินทรีย์                pH ต่ำสุด                      pH ที่เหมาะสม                         pH สูงสุด         

แบคทีเรีย                       3.0 – 4.0                     6.0 – 7.5                           9.0 – 10.0

ยีสต์                           2.0 – 3.0                     4.5 – 5.5                           7.0 – 8.0

รา                            1.0 – 2.0                      4.5 – 5.5                          7.0 – 8.0         

บริเวณที่มีการหมักของจุลินทรีย์ (Site of microbial fermentation)

            บริเวณที่มีการหมักของจุลินทรีย์ในสุกร คือ  colon ซึ่งผลผลิตที่ได้จากการหมักของเชื้อจุลินทรีย์นั้นจะแตกต่างกันไปตามชนิดของจุลินทรีย์

ตารางที่ 4 ผลผลิตจากการหมักของเชื้อจุลินทรีย์

                        กลุ่มเชื้อ                                      ผลผลิตจากการหมักที่ได้

            Lactobacillus                                               กรดแลคติก

            Streptococcus                                               กรดแลคติก

            Clostridium                                  Acetone, กรด Butyric, butanol, isopropanol

            Saccharomyces                                               คาร์บอนไดออกไซด์, เอทานอล

 

เชื้อจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร (Micro-flora of the gastrointestinal tract)

            เชื้อจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารจะเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วภายหลังสัตว์เกิดโดยเชื้อจุลินทรีย์อันดับแรกๆ ที่เกิดขึ้นในระบบทางเดินอาหารคือ Lactobacilli ซึ่งน่าจะเป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่มีแหล่งกำเนิดจากช่องคลอด (Vagina) ของแม่สุกรในระหว่างที่ออกลูก หรือมาจากสภาพแวดล้อมรอบ ๆ ตัวสัตว์เอง เชื้อจุลินทรีย์ Lactobacilli เป็นเชื้อจุลินทรีย์เฉพาะถิ่น (Micro-flora) ที่มีบทบาทสำคัญในบริเวณ Vagina ของแม่สุกรโดยเฉพาะในช่วงอุ้มท้อง (Speck, 1976) เชื้อจุลินทรีย์ Lactobacilli, Streptococci และ Enterobacteria เป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่อยู่ในระบบทางเดินอาหารของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมซึ่งจุลินทรีย์กลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจน (Strictly anaerobic bacteria) (Hentges, 1983 Hungate, 1966; Savage, 1986; Steffen and Berg, 1983; Stephen and Cummings, 1980; Wolin, 1981)            เชื้อจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารมีปริมาณกว่า 400 ชนิดซึ่งมีความแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสัตว์แต่ละชนิด โดยที่ส่วนต่าง ๆ ของระบบทางเดินอาหารจะเป็นตัวคัดเลือกการเจริญเติบโตหรือการเพิ่มจำนวนของเชื้อจุลินทรีย์แต่ละชนิดในสัตว์แต่ละสปีชีส์เช่น ความเป็นกรด-ด่าง น้ำดี ในระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น

            ในระบบทางเดินอาหารของสุกรพบว่าเชื้อจุลินทรีย์หลายชนิด เชื้อจุลินทรีย์สามัญที่พบในระบบทางเดินอาหารของสุกร ได้แก่ Bacteroides ruminicola, Bacteroides uniformis, Bacteroides succinogenes, Bacteroides  fibrisolvens, Clostridium  perfringens,  Escherichia  coli,  Eubacterium  aerofaciens,  Lactobacillus  acidophilus,  Lactobacillus  brevis,  Lactobacillus  cellobiosus,  Lactobacillus  fermentum,  Lactobacillus  sarivarius,  Peptostreptococcus  productus,  Proteus  spp.,  Ruminococcus  falvefaciens,  Selenomonas  ruminantium,  Streptococcus  bovis,  Streptococcus  equines, Streptococcus  faecalis,  Streptococcus  salivarius  และVeillonella spp. (Adapted from Harrison and Hansen (1950); Smith (1965); Barnes et al. (1972); Tannock and Smith, (1970); Fuller and Brooker (1974); Salanitro et al., (1974a), Fuller et al.(1978); Russel, (1979); Robinson et al. (1984); Varel et al. (1987) and cited by Wu (1987)

            โดยปริมาณเชื้อจุลินทรีย์แต่ละชนิดในทางเดินอาหารมีปริมาณแตกต่างกันไป ดังแสดงไว้ดังตารางที่ 5

ตารางที่ 5 แสดงปริมาณของเชื้อจุลินทรีย์แต่ละชนิด (log10/g fresh weight content) ในส่วนต่าง ๆ ภายในระบบทางเดินอาหารของสุกร (Henderickx, Decuypere and Vervaeke, 1976)

ชนิดของเชื้อจุลินทรีย์       Stomach          Duodenum       lleum                Caecum           Rectum

Lactobacilli            7-8              6-7           7-8                   8-9             7-8

Coliforms               5-6              4-5           6-7                   7-8              8

Clostridia              Nil              Nil           0-4                     4              5

Enterococci             Nil              Nil           0-4                   5-6             5-6      

การเปลี่ยนแปลงของเชื้อจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร

1.ความเครียด (Stress)

ความเครียดในที่นี้มาจากหลายสาเหตุ เช่น การเลี้ยงที่หนาแน่น, การย้ายที่อยู่, การเปลี่ยนอาหารการหย่านมหรือการติดเชื้อต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้มีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเชื้อจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารได้ทั้งสิ้น เช่น มักพบว่าปริมาณของเชื้อจุลินทรีย์กลุ่ม Lactobacilli มีแนวโน้มลดลงและพบว่า Coliform  และ E. coliจะเพิ่มขึ้นทำให้สัตว์เกิดการติดเชื้อจากแบคทีเรียที่ก่อโรคมากขึ้น

2.การหย่านม (Weaning)

การหย่านมในสุกรเป็นสาเหตุที่ทำให้การทำงานของกระเพาะอาหารเปลี่ยนไปจากเดิม ทำให้เชื้อ E. coliเพิ่มจำนวนมากขึ้นมีผลทำให้เกิดปัญหาท้องเสียตามมาได้ (Schulman, 1973) และมีการรายงานว่าเชื้อโปรไบโอติกเช่น Lactobacilli สามารถลดปริมาณของเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อโรคเช่น E. coliในช่วงที่มีการหย่านมซึ่งช่วงที่มีความสำคัญอย่างมากของลูกสุกร (Muralidhara et al, 1977;  Mitchell and Kenworthy, 1976; Porter and Kenworthy,1969; Moon, 1975)

สมดุลของจุลินทรีย์ที่ก่อโทษและจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์

            มีการศึกษาที่น่าสนใจ พบว่าการใช้ยาปฎิชีวนะและความเครียดมีผลทำให้ปริมาณของจุลินทรีย์ Lactobacilli ในระบบทางเดินอาหารลดลง แต่อย่างไรก็ตามหากได้รับโปรไบโอติก  Lactobacilli ในปริมาณที่มากเกินไป คือ1.0x108 -1.0x109 cfu/วัน อาจจะพบอาการถ่ายเหลวได้ ในลูกสุกรเกิดใหม่อาจจะมีการให้โปรไบโอติก เพื่อลดปริมาณของเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อโรค ดังนี้

1.การลดปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อโรคในสิ่งแวดล้อมเช่นในครอบของสุกรโดยการใช้ยาฆ่าเชื้อ

2.การให้โปรไบโอติกทันทีหลังจากสัตว์เกิดเพื่อลดปริมาณการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อโรคในระบบทางเดินอาหาร

3.การให้กรดอินทรีย์ เช่น แลคติก แอชิด เพื่อสร้างสภาวะแวดล้อมในระบบทางเดินอาหารให้ไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่ก่อโรค

ภูมิคุ้มกันในระบบทางเดินอาหาร (lmmune response in the gut)

            ในระบบทางเดินอาหารจะได้พบกับแอนติเจนหลากหลายรูปแบบ เช่น แบคทีเรียไวรัสและปรสิตต่าง ๆ ซึ่งจะมีการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันที่ผิวเยื่อเมือก (mucosal defence) โดยการหลั่ง immunoglobin (แอนติบอดี) แอนติบอดีที่เกิดขึ้นนี้ถูกสร้างโดยเม็ดเลือดขาวชนิด lymphocyte ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการต่อสู้กับเชื้อโรคภายในระบบทางเดินอาหาร lgA เป็นแอนติบอดีเฉพาะที่ ซึ่งถูกสร้างโดยเซลส์ที่อยู่ในเยื่อบุผิวของระบบทางเดินอาหารและเป็น first line of defence ส่วน lgG เป็นแอนติบอดีที่อยู่ในกระแสเลือดเป็น second line of defence ซึ่ง lgG ถูกสร้างโดยอวัยวะของระบบภูมิคุ้มกันต่าง ๆ เช่น ต่อมน้ำเหลือง ม้าม

สัตว์วัยอ่อน (The young animal)

            ในสุกรจะไม่สามารถถ่ายทอดภูมิคุ้มกันจากแม่สู่ลูกผ่านทางรกในระหว่างที่มีการตั้งท้องได้ เนื่องจากโครงสร้างรกของสุกร เป็นอีพิทีลีโอคอเรียล (Epitheliochorial) ดังนั้นลูกสุกรแรกคลอดทุกตัวควรได้รับปริมาณของน้ำนมเหลืองอย่างเพียงพอ คือ ประมาณร้อยละ 5-7 ของน้ำหนักตัว นอกจากนี้ยังพบว่าในนมน้ำเหลือง (Colostrum) จะมีปริมาณภูมิคุ้มกัน (lmmunoglobulin) ค่อนข้างสูงโดยเฉพาะปริมาณของ lgA ที่สูงมาก แล้ว ปริมาณ lgA ดังกล่าวจะมีปริมาณลดลงตามลำดับแต่จะสามารถพบได้ตลอดในระหว่างเลี้ยงลูก แม้ว่า lmmunoglobulin นี้จะมีขนาดของโมเลกุลใหญ่แต่ในสุกรเกิดใหม่จะสามารถดูดซึม lmmunoglobulin ดังกล่าวได้ในระยะเวลา 24 ชั่วโมงหลังจากเกิด lgA นี้มีความจำเป็นมากในสุกรวัยอ่อน เพื่อใช้ในการป้องกันและต่อต้านเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายและพบว่าอายุประมาณ 3 สัปดาห์จะสามารถผลิต secretory lgA ได้เอง

6.1 ลักษณะของโปรไบโอติกที่ดี ควรมีคุณสมบัติ ดังนี้

1.มีความปลอดภัยต่อสัตว์

            ต้องไม่ก่อให้เกิดโรคหรือก่อให้เกิดความเป็นพิษ (fuller, 1989) หรือถูกกำหนดให้อยู่ในกลุ่มของ “สารเสริมชีวนะ”

2.ทนทานต่อความเป็นกรด-ด่างในระบบทางเดินอาหาร

            จุลินทรีย์ต้องสามารถผ่านกระเพาะอาหารได้และมีชีวิตอยู่รอดถึงลำไส้ของสัตว์

3.สามารถยึดเกาะและเพิ่มจำนวนได้ในระบบทางเดินอาหาร

            3.1 จุลินทรีย์ต้องสามารถยึดเกาะผนังลำไส้ได้แม้จะมีการบีบตัวของอาหาร หรือการบีบตัวของลำไส้จากส่วนต้นไปทางส่วนท้ายก็ตาม โดยทั่วไปเชื้อจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารสามารถยึดเกาะผนังลำไส้ (gut wall) ได้ โดยใช้ fimbria (หรือบางคนรู้จักในนาม ligand หรือ pili) ส่วนของ fimbria ของจุลินทรีย์ คือ Lectin จะมีความจำเพาะต่อ oligosaccharide ที่อยู่บนผนังลำไส้ส่งผลให้เกิดการเพิ่มจำนวนของจุลินทรีย์ต่อไป ดังนั้นแนวทางหนึ่งในการป้องกันการยึดเกาะของเชื้อจุลินทรีย์ก่อโทษในระบบทางเดินอาหารสามารถทำได้โดยการแย่งพื้นที่ยึดเกาะของ receptor บนผนังลำไส้ให้เต็มก่อนเชื้อแบคทีเรียก่อโทษมายึดเกาะภายหลัง โดยการให้โปรโอติกในสัตว์นั่นเอง ซึ่งจุลินทรีย์ที่ต่างชนิดกันจะใช้วิธีการที่แตกต่างกันในการยึดเกาะผนังลำไส้ ยกตัวอย่างเช่น Streptococcus จะใช้ M-Protein ในการยึดเกาะ ในขณะที่การยึดเกาะของเชื้อ Lactobacilli จะถูกควบคุมโดย Glycolyx และ โปรตีนที่ผนังเซลล์บนผนังลำไส้ ปัจจัยอื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อความสามารถในการยึดเกาะของเชื้อจุลินทรีย์ได้ เช่น การติดเชื้อไวรัสและได้รับสารพิษ (Toxin) ต่าง ๆ

            3.2 จุลินทรีย์ต้องมีความสามารถในการเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ในสัตว์ทุกชนิดก่อนการคลอดจะปราศจากเชื้อจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร (Kenworthy and Crab, 1963) แต่อย่างไรก็ตามเชื้อจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารจะมีการเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็วภายหลังจากสัตว์เกิด โดยจะสามารถตรวจพบเชื้อ E. coli, Streptococci ในมูลของสัตว์ที่เกิดใหม่ภายหลังจากเกิดได้ 2 ชั่วโมง และพบว่าภายใน 5-6  ชั่วโมงหลังจากการคลอด จะพบปริมาณของเชื้อ E. coli และ Streptococci ปริมาณสูง คือ 109 cfu/g และ 1010 cfu/g ของมูลสัตว์ตามลำดับ) และการเพิ่มจำนวนของเชื้อจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารจะเสร็จสิ้นสมบูรณ์ได้ภายใน 2 วันหลังจากสัตว์เกิด ซึ่งเชื้อจุลินทรีย์ที่พบในอันดับแรก ๆ นั้นจะมาจากบริเวณช่องคลอดของแม่สุกร ดังนั้น คุณสมบัติของโปรไบโอติกเกี่ยวกับการเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็วภายหลังจากการให้จึงมีความจำเป็นมากเช่นกัน

4.สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่ก่อโรคได้

            จุลินทรีย์ต้องสามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่ก่อโรคได้ในห้องปฏิบัติการ เช่น ต้องสามารถผลิตกรดหรือสารอื่นๆ ที่สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่ก่อโรคได้เช่น E. coli (Tramar, 1966; Sandine, 1979)

5.มีความคงตัวและมีชีวิตอยู่รอดได้ภายใต้กระบวนการผลิต

6.มีความคงตัวและมีชีวิตอยู่รอดได้ภายใต้กระบวนการเก็บรักษา

ปริมาณการใช้ (Dosage)

            ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยในการบอกถึงอัตราการใช้โปรไบโอติกที่ต่ำที่สุดที่ก่อให้เกิดผลการใช้ที่ดีมีประสิทธิภาพ (Fuller, 1989) ในงานทดลองส่วนใหญ่มักจะใช้ปริมาณ 1 กก./ตัน แต่โปรไบโอติกที่ขายในท้องตลาดทั่วไปมักมีหลายรูปแบบ เช่น ผงเม็ด กรานูล paste capsule จึงเป็นการยากในการประเมินปริมาณของโปรไบโอติกที่สัตว์ได้รับอย่างแท้จริงในแต่ละครั้งของการให้

6.2 ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับโปรไบโอติกในปศุสัตว์ในประเทศไทย

            บัญชีรายชื่อของจุลินทรีย์ที่ระบุให้อยู่ในกลุ่ม “สารเสริมชีวนะ” ตามพระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ.๒๕๒๕ ของกรมปศุสัตว์ มีรายละเอียดดังนี้ (ปัจจุบันพระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ.๒๕๕๘ เริ่มใช้เมื่อ ๕ มีนาคม ๒๕๕๘)

ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

เรื่อง กำหนดชื่อ ประเภท ชนิดหรือลักษณะของวัตถุที่เติมในอาหารสัตว์ ที่ให้ใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหารสัตว์เพื่อขาย ตลอดจนอัตราส่วนหรือปริมาณที่ให้ใช้หรือห้ามไม่ให้ใช้วัตถุนั้นเกินกำหนด พ.ศ.๒๕๓๙

ข้อ ๘ กำหนดให้ชีวภัณฑ์ ซึ่งมีชื่อทางวิชาการอาหารสัตว์ว่า “สารเสริมชีวนะ” ต่อไปนี้เป็นวัตถุที่เติมในอาหารสัตว์และให้ใช้ชนิดหนึ่งหรือหลายชนิดของสารดังกล่าว ตามชื่อทางวิทยาศาสตร์ต่อไปนี้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหารสัตว์ผสมสำเร็จรูปเพื่อขายได้ในอัตราส่วนไม่น้อยกว่า 1x105 ซี.เอฟ.ยู. (CFU) ต่ออาหารสัตว์หนึ่งกิโลกรัม ได้แก่

(ก) จำพวกแบคทีเรีย

(๑) แล็กโทบาซิลัส แพลนทารัม (Lactobacillus plantarum)

(๒) แล็กโทบาซิลัส เคซีไอ (Lactobacillus case)

(๓) แล็กโทบาซิลัส  เฟอร์เมนตัม (Lactobacillus fermentum)

(๔) แล็กโทบาซิลัส เบรวิส  (Lactobacillus brevis)

(๕) แล็กโทบาซิลัส บัสการิคัส (Lactobacillus bulgaricus)

(๖) แล็กโทบาซิลัส แอซิโดพิลัส (Lactobacillus acidophilus)

(๗) แล็กโทบาซิลัส เซลโลไบโอซัส (Lactobacillus cellobiosus)

(๘) แล็กโทบาซิลัส เคอร์วาตัส (Lactobacillus curvatus)

(๙) แล็กโทบาซิลัส เดลบรูคิไอ (Lactobacillus delbruekii)

(๑๐) แล็กโทบาซิลัส แล็กติส (Lactobacillus lactis)

(๑๑) แล็กโทบาซิลัส ริวเทอริไอ (Lactobacillus reuterii)

(๑๒) แล็กโทบาซิลัส เฮลวีทิคัส (Lactobacillus helveticus)

(๑๓) ลิวโคนอสตอก เซนเทอรอยเดส (Leuconostoc mesenteroides)

(๑๔) สเตรปโทค๊อกคัส ฟีเซียมเซอร์เนลล์ ๖๘ (Streptococcus faecium cenelle ๖๘)

(๑๕) สเตรปโทค๊อกคัส เทอร์โมฟิลัส  (Streptococcus Thermophilus)

(๑๖) สเตรปโทค๊อกคัส ฟีเซียม  (Streptococcus Faecium)

(๑๗) สเตรปโทค๊อกคัส ครีโมริส  (Streptococcus Cremoris)

(๑๘) สเตรปโทค๊อกคัส ไดอะซิทีแล็กติส  (Streptococcus diacetylactis)

(๑๙) สเตรปโทค๊อกคัส แล็กติส  (Streptococcus lactis)

(๒๐) สเตรปโทค๊อกคัส อินเตอร์มีเดียส  (Streptococcus intermedius)

(๒๑) บาซิลลัส ซับทิลิส สเตรน บีเอ็น (Bacillus Subtilis Strain BN)

(๒๒) บาซิลลัส โคแอกูแลน (Bacillus coagulan)

(๒๓) บาซิลลัส เลนตัส (Bacillus lentus)

(๒๔) บาซิลลัส ไลเคนิเฟอร์มิส (Bacillus lichenifermis)

(๒๕) บาซิลลัส พูมิลัส (Bacillus pumilus)

(๒๖) บาซิลลัส ซับทิลิส (Bacillus subtilis) (สเตรนที่ไม่สร้างยาปฎิชีวนะ) (non antibiotic producing strains only)

(๒๗) บาซิลลัส โทโยอิ (Bacillus toyoi)

(๒๘) แบคทีรอยเดส แอมิโลพิลัส (Bacteroides amylophilus)

(๒๙) แบคทีรอยเดส คาพิลโลซัส (Bacteroides capillosus)

(๓๐) แบคทีรอยเดส รูมิโนโคลา (Bacteroides ruminocola)

(๓๑) แบคทีรอยเดส ซูอิส (Bacteroides suis)

(๓๒) ไบฟิโดแบคทีเรียม แอโดเลสเซนติส (Bifidobacterium adoiescentis)

(๓๓) ไบฟิโดแบคทีเรียม แอนิมาติส (Bifidobacterium animalis)

(๓๔) ไบฟิโดแบคทีเรียม ไบฟิดัม (Bifidobacterium bifidum)

(๓๕) ไบฟิโดแบคทีเรียม อินแฟนติส (Bifidobacterium infantis)

(๓๖) ไบฟิโดแบคทีเรียม ลองกัม (Bifidobacterium longum)

(๓๗) ไบฟิโดแบคทีเรียม เทอร์โมฟีลัม (Bifidobacterium thermophilum)

(๓๘) ดอมโมซัส (domosus)

(๓๙) พีดิโอค็อกคัส แอซิดิแล็กทิซิไอ (Pediococcus acidilacticii)

(๔๐) พีดิโอค็อกคัส เพนโทซาเซียส (Pediococcus pentosaceus)

(๔๑) โพรพิโดนอแบคทีเรียม ฟริวเดนไรซิโอ (Propionibacterium freudenreichii)

(๔๒) โพรพิโดนอแบคทีเรียม เซอร์มานิไอ (Propionibacterium shemanii)

(ข) จำพวกรา

(๑) พีดีโอคูเซียส สปิซีส์ (Pediocuceus sp.)

(๒) ยีสต์ (Yeast)

(๓) แอสเพอร์จิลลัส ไนเกอร์ (Aspergillus niger)

(๔) แอสเพอร์จิลลัส ออไรซี (Aspergillus oryaae)

(๕) แคนดิดา พินโทเลเพสซิ (Candida pintolepessi)

 

(๖) แซ็กคาโลไมเซส เซอรีวิซิอิ (Sacchalomyces cervisiae)

Visitors: 427,914