หมูไทยจับตา NPPC หลังล็อบบี้ยิสต์แขนงอื่นเรียงหน้ายื่นหนังสือถึง WHITE HOUSE หลัง EXECUTIVE ORDER ของทรัมป์ให้หลายหน่วยงานไล่บี้ 16 ประเทศเกินดุลสหรัฐ

หมูไทยจับตา NPPC หลังล็อบบี้ยิสต์แขนงอื่นเรียงหน้ายื่นหนังสือถึง WHITE HOUSE หลัง EXECUTIVE ORDER ของทรัมป์ให้หลายหน่วยงานไล่บี้ 16 ประเทศเกินดุลสหรัฐ

1 มิถุนายน 2560 จับตาสภาผู้เลี้ยงสุกรของสหรัฐ หรือ NATIONAL PORK PRODUCER COUNCIL(NPPC) หลังล๊อบบี้ยิสต์อุตสาหกรรมอื่นๆ ส่งหนังสือชี้แจงผ่านตัวแทนการค้าสหรัฐ

หลังจากที่มีหนังสือลงวันที่ 31 มีนาคม 2560 ลงนามโดยประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ 2 ฉบับ ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อยุติการขาดดุลการค้าในปริมาณมหาศาลถึง 50,000 ล้านดอลลาร์ต่อเดือน หรือราว 500,000 ล้านดอลลาร์ต่อปีลง สำหรับประเทศไทยเมื่อปี 2559 สหรัฐส่งออกมาไทยเป็นมูลค่า 10,570 ล้านดอลลาร์ และนำเข้าจากไทย เป็นมูลค่า 29,490 ล้านดอลลาร์ ซึ่งทำให้สหรัฐฯ ขาดดุลการค้ากับไทยถึง 18,920 ล้านดอลลาร์

โดยคำสั่งประธานาธิบดีฉบับที่ 1 จะมีการวิเคราะห์การค้า "เป็นรายประเทศ" และ "เป็นรายสินค้า" เพื่อมองหาหลักฐานบ่งชี้ว่า มีการ "โกง" หรือพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมทางด้านการค้าอยู่หรือไม่ พฤติกรรมที่เข้าข่ายนี้มี อาทิ การไม่ทำการค้าตามความตกลงระหว่างกัน, การไม่บังคับใช้ให้เป็นไปตามความตกลงทางการค้า, การบิดเบือนค่าเงิน, การเสียเปรียบทางการค้าที่เกิดจากข้อจำกัดตามกฎขององค์การการค้าโลก (ดับเบิลยูทีโอ) และข้อจำกัดที่เกิดขึ้นจากความตกลงการค้าต่าง ๆ

ถ้ามีประเทศใดประเทศหนึ่งมีพฤติกรรมเข้าข่ายที่ว่านี้ ก็จะมีการบังคับใช้ตามคำสั่งประธานาธิบดีฉบับที่ 2 ที่มีการลงนามพร้อมกันในวันเดียวกันนั้น

คำสั่งฉบับที่ 2 นั้นเป็นการให้อำนาจเจ้าหน้าที่ของสำนักงานเพื่อการคุ้มครองพรมแดนและศุลกากร (ซีบีพี หรือสำนักงานศุลกากรเดิม) ในการประเมิน,ดำเนินมาตรการ "ลงโทษทางการเงิน" ต่อสินค้าที่ส่งเข้ามาด้วยพฤติกรรมทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม หรือการเรียกเก็บภาษีขาเข้า อย่างที่เรียกกันว่า "ภาษีเพื่อปรับสมดุล"

"ปีเตอร์ นาวาร์โร" ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการค้าของทรัมป์ ก็พยายามอธิบายในทำนองเดียวกันว่า สิ่งที่ทรัมป์สั่งให้ดำเนินการไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นแนวปฏิบัติที่มีมานานแล้ว และเคยทำมาแล้วด้วย เพียงแต่ที่ผ่านมา "ทำได้ไม่ดีนัก" เท่านั้น

หลายปีก่อนสหรัฐอเมริกาเคยหยิบยกปัญหาการอุดหนุนสินค้ากุ้งของไทยที่จะไปขัดกับ Tariff ACT 1930 ในประเด็นที่จะต้องใช้ภาษีตอบโต้การอุดหนุน (Countervailing Duties: CVD) แต่สุดท้ายหลังการตรวจสอบกุ้งไทยก็รอดจากการตรวจสอบในครั้งนั้น

นักข่าวสำนักข่าวดังกล่าวประจำประเทศไทยวิเคราะห์ถึงประเด็นความพยายามส่งเนื้อสุกรมายังประเทศไทยที่น่าจะมีความเสี่ยงในรอบนี้คือปัญหาที่สหรัฐอเมริกาหยิบยกมาตลอดคือ ปัญหาที่กฎหมายไทยห้ามใช้สารเร่งเนื้อแดง ซึ่งอุตสาหกรรมของสหรัฐอเมริกามีการใช้ Ractopamine ซึ่งสหรัฐพยายามอ้างเกณฑ์ขององค์การการค้าโลกในประเด็น SPS หรือ ความตกลงว่าด้วยการใช้บังคับมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช(Agreement on the Application of Sanitary and Phytosanitary Measures-SPS) โดยอ้างว่าไทยไม่มีผลการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ถึงผลกระทบด้านลบของการใช้สารเร่งเนื้อแดงแต่ประการใด ดังนั้นการรื้อฟื้นรอบนี้เป็นความเสี่ยงอย่างมากที่จะมีการหยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาอีก  

กรณีสินค้ากลุ่มเนื้อสุกรที่เป็นสินค้าเกษตรที่สร้างมูลค่าการส่งออกเพิ่มมาตลอดให้กับเศรษฐกิจสหรัฐ ให้จับตาการเคลื่อนไหวกลุ่ม NPPC จนกว่าการจะมีการวิเคราะห์การค้า "เป็นรายประเทศ" และ "เป็นรายสินค้า" เพื่อมองหาหลักฐานบ่งชี้ว่า มีการ "โกง" หรือพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมทางด้านการค้าอยู่หรือไม่ ซึ่งมีโอกาสสูงที่ USTR จะมีการหยิบยกเรื่อง SPS กับไทยในประเด็นผลลบทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถฟังขึ้นต่อการห้ามใช้สารเร่งเนื้อแดงของไทย

มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (Sanitary and Phytosanitary Measures-SPS) คือ มาตรการที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้ควบคุมสินค้าเกษตรและอาหาร ไม่ให้เกิดโทษต่อชีวิต และ/หรือผลเสียต่อสุขภาพของชีวิตมนุษย์ พืช และสัตว์ โดยไม่ก่อให้เกิดอุปสรรคทางการค้า ซึ่งอยู่ภายใต้ความตกลง SPS ขององค์การการค้าโลก WTO เพื่อเหตุผลด้านความปลอดภัย ประเทศนำเข้าสินค้าเกษตรและอาหาร จะใช้มาตรการนี้ต่อสินค้านำเข้า แต่มีบางกรณีที่ประเทศนำเข้าอ้างใช้มาตรการนี้เพื่อซ่อนเร้น และใช้เป็นเครื่องมือในการกีดกันการนำเข้าสินค้าเกษตรและอาหาร ซึ่งการกำหนดมาตรการ SPS จะต้องมีข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์และโดยเฉพาะการกำหนดให้ประเทศสมาชิกใช้มาตรฐานระหว่างประเทศที่กำหนด โดย 3 องค์การ คือ Codex, IPPC, และ OIE

มาตรการ SPS                                           

             - เพื่อปกป้องชีวิตมนุษย์และสัตว์ จากสารปรุงแต่งสารปนเปื้อน สารพิษ หรือเชื้อโรคในอาหาร

             - เพื่อปกป้องชีวิตมนุษย์จากโรคที่ติดมากับพืชหรือสัตว์

             - เพื่อปกป้องชีวิตพืชและสัตว์จากศัตรูพืชและศัตรูสัตว์

             - เพื่อปกป้องอาณาเขตประเทศจากการแพร่ระบาดของโรคแมลง

             มาตรการ SPS ไม่ครอบคลุมเรื่องสิ่งแวดล้อม ความกังวลของผู้บริโภคและสวัสดิ (animal welfare)

วัตถุประสงค์ของความตกลง SPS

             - สิทธิที่ให้กับประเทศสมาชิกในการกำหนดมาตรการที่จะคุ้มครองมนุษย์ พืช และสัตว์

             - มีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์อ้างอิงในการกำนหดมาตรการ

             - ไม่ก่อให้เกิดการบิดเบือนทางการค้า และการเลือกปฏิบัติ

บทบาทของเหตุผลทางวิทยาศาสตร์

             1. การกำหนดมาตรการโดยใช้มาตรฐานะหว่างประเทศจาก 3 องค์กร คือ

                 - CODEX ว่าด้วยมาตรฐานความปลอดภัยของอาหาร

                 - OIE ว่าด้วยมาตรฐานการควบคุมโรคของสัตว์

                 - IPPC ว่าด้วยมาตรฐานการอารักขาพืช

             2. กรณีที่มาตรฐานระหว่างประเทศไม่ครอบคลุม ประเทศสมาชิกสามารถกำหนดมาตรฐานขึ้นเอง แต่จะต้องมีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์มารองรับ

จุดสอบถามของประเทศ (National Enquiry Point)

             ประเทศสมาชิกจะต้องกำหนดจุดสอบถามกรณีสมาชิกอื่นมีข้อสงสัยต่อการใช้มาตรการ SPS        

ตัวเลขการส่งเนื้อสุกรมาประเทศไทย 3 ปีย้อนหลัง(2557-2559)จากตัวเลขของกรมศุลกากรไทยมีจำนวนเพียง 29,000 ดอลล่าร์สหรัฐ ซึ่งเป็นตัวเลขที่น้อยมาก จึงเป็นที่มาของความเสี่ยงที่กระทรวงพาณิชย์ของไทยจะถูกบี้ให้รับเนื้อสุกรสหรัฐอีกครั้ง  

ที่มา : สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ

Visitors: 397,110