ภารกิจต่อเนื่องนายกสุรชัย สุทธิธรรม วาระที่ 8 สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ วาระ 2561-2563

ภารกิจต่อเนื่องนายกสุรชัย สุทธิธรรม วาระที่ 8 สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ วาระ 2561-2563

4 ธันวาคม 2561 ไบเทค – ขอแสดงความยินดีกับคุณสุรชัย สุทธิธรรม ได้รับความไว้วางใจจากสมาชิกสมาคมฯ เป็นนายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติคนใหม่ เป็นวาระที่ 8 ที่จะปฏิบัติหน้าที่ตามวาระ 2561-2563 กับสารพัดภารกิจต่อเนื่องเร่งด่วน

ปี 2560-2561 เป็นปีที่ผู้เลี้ยงสุกรทั่วประเทศเผชิญกับหลากหลายอุปสรรคในด้านการประกอบอาชีพ  โดยเฉพาะด้านผลผลิตสุกร ที่ล้นตลาดเป็นผลมาจากการขยายตัวรองรับการตลาดส่งออกสุกรมีชีวิตปลายทางที่ประเทศจีน ผลจากลดปริมาณแม่พันธุ์สุกรตั้งแต่กลางปี 2557-2558 ร่วม 10 ล้านตัว ทำให้ผลผลิตสุกรขุนในประเทศจีนขาดแคลนมาก ทำให้ไทยยอดส่งออกไปจีน ปี 2558-2559 เฉลี่ย 1,000,000 ตัว โดยในปี 2560 จีนมีการเพิ่มแม่พันธุ์เพื่อทดแทน และกลับเข้าสู่สภาวะปกติ ส่งผลกระทบไทยที่ขยายผลผลิตจนเกิดภาวะ Over Supply ดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม การขึ้นทะเบียนฟาร์มสุกรที่มีการผลักดันกันมานาน กำลังจะมีผลบังคับใช้ ตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2558 โดยกรมปศุสัตว์ ซึ่งตามแผนงานของกรมปศุสัตว์ จะเริ่มใช้ต้นปี 2562 เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรของไทยจะต้องเข้าสู่การขึ้นทะเบียนฟาร์ม โดยเป็นประสงค์เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและควบคุมโรคระบาด และการวางระบบการป้องกันและควบคุมโรคระบาด ซึ่งสามารถนำการขึ้นทะเบียนดังกล่าวมาจัดระเบียบการผลิตให้สามารถรู้ตัวเลขของแต่ละกลุ่ม แต่ละภูมิภาคเพื่อให้เห็นภาพของผลผลิตที่จะเกิดในแต่ละช่วงเพื่อการบริหารจัดการได้ดีขึ้น ซึ่งจะเป็นแนวทางที่ดีที่จะสร้างความมั่นคงและสร้างเสถียรภาพให้กับราคาสุกรที่มีการบริหารจัดการมากขึ้น

ประกอบกับแผน 5 ปี ยุทธศาสตร์สุกรของกรมปศุสัตว์ที่อยู่ระหว่างการเตรียมนำมาปฏิบัติจะเป็นการทำงานร่วมกันเป็นครั้งแรกที่เป็นรูปธรรมที่สุด ซึ่งจะเป็นนิมิตรหมายที่ดีต่อวงการสุกรของไทย

อีกหนึ่งปัญหาที่ใกล้เข้ามาทุกที ได้แก่ปัญหาการระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกันในสุกร หรือ African Swine Fever ที่จนถึงปัจจุบันมีรายงานการระบาดในประเทศจีนกว่า 80 แล้ว นับตั้งแต่มีรายงานการระบาดครั้งแรกเมื่อ 3 สิงหาคม 2561

ปัญหาของโรคอหิวาต์แอฟริกันในสุกร คือ ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน ทั้งๆ ที่วงการเวชภัณฑ์ระดับโลกต่างพยายามค้นคว้ากันมาเป็นเวลานาน เพราะการอุบัติของโลกนี้มีมาหลายทศวรรษ ซึ่งจากการระบาดที่เกิดขึ้นในประเทศจีนจะเห็นได้ว่าระบบความปลอดภัยทางชีวภาพเป็นเครื่องมือหลักที่ป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกันในสุกรได้ดีที่สุด

อย่างไรก็ตามระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ ที่เข้มงวดด้านความปลอดภัยจะเป็นการลดความเสี่ยงได้มากที่สุด และจะยังผลไปถึงการป้องกันโรคชนิดอื่นๆ ได้เพิ่มเติม ซึ่งจะเป็นการเตรียมพร้อมในอนาคตสำหรับกระแสการลดการใช้ยาในการผลิตสุกร

สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ตระหนักอย่างยิ่งที่จะส่งเสริมมาตรฐานอาหารปลอดภัยที่สอดคล้องกับนโยบายของประเทศ และสูงขึ้นในระดับนานาชาติ อีกทั้งประสงค์อย่างยิ่งที่จะยังคงอาชีพการเลี้ยงสุกรให้เป็นอาชีพหลักที่สร้างช่องทางทำกินให้กับเกษตรกรของไทยอย่างยั่งยืนนานเท่านาน

 

 

Visitors: 396,732