การกินได้ในแม่เลี้ยงลูก...ประโยชน์ที่มากกว่าการสร้างน้ำนม

การกินได้ในแม่เลี้ยงลูก...ประโยชน์ที่มากกว่าการสร้างน้ำนม

โดย น.สพ.ภาคภูมิ เกียรติจานนท์ ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายวิชาการ บริษัท เวท อะกริเทค จำกัด

            ในปัจจุบันดัชนีวัดประสิทธิภพการผลิตที่หลายๆ ฟาร์มในประเทศไทยรวมถึงทั่วโลก พยายามมุ่งไป คือ การพยายามทำให้ฟาร์มมีจำนวนลูกหย่านมต่อแม่ต่อปี (pig wean/sow/year; PSY) ให้สูงที่สุด โดยใช้การปรับปรุงสายพันธุ์ นำเข้าพ่อแม่พันธุ์ที่ให้ขนาดครอกใหญ่ขึ้น ร่วมกับการใช้การจัดการต่างๆ ที่เข้มข้นมากขึ้น ซึ่งทำให้ปัญหาที่ตามมาชนิดที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลย ก็คือปัญหาการคัดทิ้งแม่สุกรก่อนเวลาอันควร เนื่องจากแม่สุกรมีสภาพที่ทรุดโทรมเร็วกว่าปกติ

          ประสิทธิภาพทางระบบสืบพันธุ์และอายุการใช้งานของแม่สุกร มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายปัจจัยด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยทางด้านพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม การจัดการต่างๆ ในสุกรสายพันธุ์ที่มีขนาดครอกใหญ่มากๆ พบว่าจะมีความต้องการพลังงานและสารอาหารเพื่อการดำรงชีวิตสูงขึ้น ร่วมกับการผลิตน้ำนมที่มากขึ้น แต่ในทางกลับกัน สุกรจะมีระดับการสะสมของไขมันสำรองในร่างกายและความอยากอาหารลดลง ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นดังกล่าว ส่งผลให้แม่สุกรมีแนวโน้มที่จะสูญเสียน้ำหนักตัวมากในช่วงเลี้ยงลูก ร่วมกับมีการกินไต้ที่จำกัด มีประสิทธิภพหางระบบสืบพันธุ์แย่ลงในลำดับท้องถัดไป และมีความเสี่ยงสูงขึ้นจะถูกคัดทิ้งก่อนเวลาอันควร

ความสำคัญของการกินได้ในระยะอุ้มท้องและเลี้ยงลูกของแม่สุกร

            เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าการกินได้สูงๆ ในระยะเลี้ยงลุกมีผลโดยตรงต่อน้ำหนักหย่านมของลูกสุกร ลดการสูญเสียน้ำหนักตัวและไขมันสะสมของแม่สุกร ในแม่สุกรเลี้ยงลูก ร่างกายจะให้ความสำคัญสูงสุดกับการสร้างน้ำนม แม่สุกรสลายพลังงานและสารอาหารที่สะสมภายในร่างกายเพื่อการคงระดับการสร้างน้ำนมให้อยู่ในระดับสูง แม้ว่าจะส่งผลให้แม่สุกรต้องสูญเสียน้ำหนักตัวก็ตาม

          การสูญเสียน้ำหนักตัวที่มากเกินไป เป็นผลมาจากการกินได้ที่ไม่เพียงพอของแม่สุกรในระยะเลี้ยงลูก ซึ่งยังมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพทางระบบสืบพันธุ์ในระยะหลังหย่านม ไม่ว่าจะเป็นการเป็นสัดหลังหย่านมที่ช้าออกไป การเป็นสัดที่ไม่ชัดเจน การไม่เป็นสัดหลังหย่านม อัตราการผสมติดลดลง การตายของตัวอ่อนหลังผสมสูงขึ้น รวมถึงขนาดครอกที่มีแนวโน้มลดลงในลำดับท้องถัดไปด้วย

          จากการศึกษาพบว่าในแม่สุกรที่มีการสูญเสียโปรตีนมากกว่า 9-12% ในช่วงเลี้ยงลูก จะมีผลเสียต่อการทำงานของรังไข่และประสิทธิภาพการผลิตในระยะเลี้ยงลูก ซึ่งช่วยให้สรุปได้ว่า แม่สุกที่มีการกินได้ต่ำกว่ามาตรฐาน จะมีอายุการใช้งานที่สั้นลง ถูกคัดทิ้งไวขึ้น นอกจากนี้ยังมีกาศึกษาพบว่า การให้แม่สุกรกินอาหารที่มีเยื่อใยสูงในระยะอุ้มท้อง จะช่วยให้แม่สุกรโดยเฉพาะแม่สุกรสาวมีการกินได้ที่ดีขึ้นในระยะเลี้ยงลูก

          นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาพบว่า แม่สุกรอุ้มท้องระยะท้ายและแม่สุกรเลี้ยงลูกจะได้รับความเครียดในระดับเซลล์ (oxidative stress)สูงมาก โดยเฉพาะในแม่สุกรอุ้มท้อง เนื่องจากรกจะมีการสร้างสารกลุ่มอนุมูลอิสระออกมามาก ส่งให้ให้เกิดความเสียหายแก่ดีเอ็นเอ (DNA) ที่อยู่ภายในของเซลล์ ภาวะดังกล่าวจะส่งผลลดประสิทธิภาพทางระบบสืบพันธุ์ของแม่สุกรลง ซึ่งวิตามินอี และวิตามินเอ ที่อยู่ในอาหาร จะมีบทบาทในการต้านอนุมูลอิสระ การที่แม่สุกรมีการกินได้ที่ดีขึ้น จะช่วยให้ได้รับวิตามินทั้ง 2 ในระดับที่สูงขึ้น ส่งผลช่วยลดความรุนแรงของภาวะ oxidative stress ลงได้

การกินได้ของแม่สุกรกับการเจริญเติบโตของลูกสุกร          ปริมาณการสร้างน้ำนมของแม่สุกรเป็นปัจจัยสำคัญที่จำกัดการเจริญเติบโตของลูกสุกร โดยเฉพาะช่วง 8-10 วันแรก โดยมีปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างน้ำนมในระยะดังกล่าว คือ โปรตีนและพลังงานที่แม่สุกรได้รับจากอาหาร ร่วมกับโปรตีนและพลังงานที่สะสมอยู่ในตัวแม่สุกร จากการศึกษาของ Eissen และคณะ ในปี 2000 ในแม่สุกรทั้งหมด 3 สายพันธุ์ (แต่ไม่ได้ระบุว่าเป็นสายพันธุ์ใดบ้าง) ที่มีขนาดครอกเฉลี่ย 10.5 ตัว พบว่า แม่สุกรที่มีการกินได้เพิ่มขึ้น 1 กิโลกรัม/วัน จะส่งผลให้ลูกสุกรมีการเจริญเติบโตต่อวัน (ADG) สูงขึ้น 5.5, 18.1 และ 11.4 กรัม/ตัว/วัน ตามลำดับ

          การที่ลูกสุกรมีการเจริญเติบโตที่ดีขึ้นในระยะสุกรดูดนมจะส่งผลดีต่อเนื่องถึงประสิทธิภาพการเจริญเติบโตในระยะหลังหย่านมด้วย โดยสุกรที่มีน้ำหนักหย่านมมากกว่า จะมีการเติบโตที่ดีกว่าในระยะอนุบาลต่อเนื่องจนถึงระยะขุน รวมทั้งมีการกินอาหารที่น้อยกว่าตลอดระยะการเลี้ยงอีกด้วย

การกินได้ของแม่สุกรกับประสิทธิภาพทางระบบสืบพันธุ์

            ในปี 2006 มีการศึกษาโดย Kongsted และคณะ โดยทำการศึกษาอัตราการผสมติดและขนาดครอกของแม่สุกรหลังหย่านม พบว่าแม่สุกรที่มีไขมันสันหลังเพิ่มขึ้นในช่วง 3 สัปดาห์แรกหลังหย่านม ซึ่งระดับไขมันสันหลังที่เพิ่มขึ้นมีความสัมพันธ์กับการกินได้ของแม่สุกรในแม่สุกรที่มีการกินได้ต่ำกว่ามาตรฐาน มีความเสี่ยงสูงที่จะพบปัญหาการกลับสัดหลังผสมตามมา นอกจากนี้ยังมีการศึกษาพบว่า แม่สุกรสาวที่ได้รับพลังงานต่ำก่อนผสม จะมีขนาดครอกต่ำ เช่นเดียวกับ

แม่สุกรที่มีการสูญเสียน้ำหนักตัวมากในช่วงเลี้ยงลูก ซึ่งปัญหาดังกล่าวข้างต้น มีผลต่อการตัดสินใจคัดทิ้งและอายุการใช้งานของแม่สุกร

          ในปี 1997 ได้มีการวิเคราะห์ข้อมูลจากโปรแกรมพิกแชมป์(PigChamp) ซึ่งเป็นโปรแกรมเชิงพาณิชย์ในการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพการผลิตของฟาร์มสุกร โดย Koketsu และ Dial พบว่าการกินได้สูงในช่วงเลี้ยงลูกของแม่สุกร มีผลช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพทางระบบสืบพันธุ์ในลำดับท้องถัดไป ไม่ว่าจะเป็นการลดระยะเวลาการกลับมาเป็นสัดหลังหย่านม อัตราเข้าคลอด ขนาดครอก และน้ำหนักหย่านมของลูกสุกร นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาพบว่า ความหนาของไขมันสันหลังบริเวณ P2 มีความสัมพันธ์กับระยะเวลาการกลับมาเป็นสัดหลังหย่านมอย่างมีนัยสำคัญ โดยพบว่า แม่สุกรที่มีไขมันสันหลังน้อยกว่า 10 มิลลิเมตร จะมีระยะเวลาการกลับมาเป็นสัดหลังหย่านมอยู่ที่ 8.3 วัน ขณะที่แม่สุกรที่มีไขมันสันหลังมากกว่า 13 มิลลิเมตร จะมีระยะเวลาการกลับมาเป็นสัดหลังหย่านมอยู่ที่ 5.8 วันเท่านั้น

แม่สุกรควรมีการกินได้อยู่ที่เท่าใด

            ในช่วงปี 1999-2000 มีการเก็บข้อมูลการกินได้ของแม่เลี้ยงลูกในฟาร์มเอกชน ในประเทศออสเตรเลีย (OAF Meat Industries Pty., Ltd.) พบว่า แม่สุกรลำดับท้องที่ 1 มีการกินได้เฉลี่ยอยู่ที่ 5.78 กิโลกรัมต่อวัน ขณะที่แม่สุกรลำดับท้องที่ 2 และ 3 มีการกินได้เฉลี่ยอยู่ที่ 6.34 และ 6.58 กิโลกรัมต่อวัน ตามลำดับ (ตารางที่ 1) ในปี 2002 ได้มีการเก็บข้อมูลการกินได้ของแม่เลี้ยงลูกในฟาร์มเอกชนฟาร์มเดิม โดยมีการให้อาหารวันละ 4 มื้อ พบว่า แม่สุกรลำดับท้องที่ 1 มีการกินได้เฉลี่ยอยู่ที่ 6.5 กิโลกรัมต่อวัน ขณะที่แม่สุกรลำดับท้องที่ 2 และ 3 มีการกินได้เฉลี่ยอยู่ที่ 7.6 และ 6.8 กิโลกรัม

ต่อวัน ตามลำดับ จากข้อมูลจะพบว่า การปรับเปลี่ยนจำนวนมื้อการให้อาหารที่มากขึ้น สามารถช่วยเพิ่มการกินได้ของแม่สุกรเลี้ยงลูกได้เป็นอย่างดี

ตารางที่ 1 การกินได้ของแม่สุกรในระยะเลี้ยงลูกในฟาร์มเอกชน ในประเทศออสเตรเลีย

            นอกจากปัจจัยทางด้านการจัดการแล้ว ฤดูกาลก็มีผลต่อการกินได้ของแม่เลี้ยงลูก โดยได้มีการก็ข้อมูลการกินได้ของแม่เลี้ยงลูกในฟาร์มเอกชนฟาร์มเดิม ในประเทศออสเตรเลีย ระหว่างช่วงเดือนตุลาคม 1999 - กรกฎาคม 2000 พบว่าแม่สุกรเลี้ยงลูกจะมีการกินได้สูงสุดในช่วงฤดูหนาว และน้อยสุดในช่วงฤดูร้อน โดยมีความแตกต่างมากกว่า 1 กิโลกรัม/ตัว/วัน แต่มีการสังเกตพบว่า ในช่วงฤดูร้อนจะมีความผันแปรของการกินได้ในแม่สุกรเลี้ยงลูกแต่ละตัว จากข้อมูลดังกล่าว จึงมีหลายงานวิจัยสรุปว่าประสิทธิภาพทางระบบสืบพันธุ์ที่ต่ำลงในช่วงฤดูร้อน เป็นผลมาจากการกินได้ที่ต่ำลง ซึ่งการจัดการเพื่อกระตุ้นการกินได้ในช่วงฤดูร้อนให้ดีขึ้น จะมีผลช่วยให้ประสิทธิภาพทางระบบสืบพันธุ์ของแม่สุกรดีขึ้นตามมา

 

การกินได้ของแม่ลี้ยงลูกเกี่ยวข้องกับการกินได้ในช่วงที่ยังเป็นสุกรรุ่นพันธุ์หรือขุนพันธุ์หรือไม่

            จากที่ได้กล่าวไปแล้วในช่วงข้างต้นว่า การพัฒนาปรับปรุงสายพันธุ์เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพทางระบบสืบพันธุ์ดีขึ้น จะต้องแลกมากับการกินได้ของแม่สุกรในระยะเลี้ยงลูกโดยจากการศึกษาของ Appeldorn ในปี 1999 พบว่า สุกรสาวที่มีการกินได้สูงในระยะขุนพันธุ์จะมีการกินได้สูงขึ้นเมื่อคลอด ซึ่งการศึกษาในประเด็นนี้โดยละเอียดจะมีประโยชน์ในการพัฒนาโปรแกรมการให้อาหารแม่สุกรตลอดอายุการใช้งานร่วมกับการตั้งเป้าหมายปรับปรุงการกินได้ของสุกรในระยะขุนร่วมกัน

 

มีวิธีการทางอ้อมในการวัดการกินได้ของแม่สุกรในระยะเลี้ยงลูกหรือไม่

            เนื่องจากระบบการให้อาหารอัตโนมัติยังคงมีราคาสูงและยังไม่มีการใช้โดยแพร่หลายในระดับฟาร์มทั่วไป การวัดการกินได้แบบให้กินเต็มที่ของแม่สุกรเลี้ยงลูกจึงเป็นงานที่หนักและแทบจะเป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติจริง จากการศึกษาของ Bunter และคณะ ในปี 2006 พบว่าการกินได้ของสุกรขุน มีความเกี่ยวข้องกับระดับ IGF-I ในสุกรหลังหย่านม โดยมีค่าสหสัมพันธ์ของพันธุกรรม (rg) และค่าสหสัมพันธ์ของลักษณะปรากฏ (Phenotypic correlation coefficient; rp) อยู่ที่ 0.41 และ 0.09 ตามลำดับ ทั้งนี้ ค่าสหสัมพันธ์ของลักษณะปรากฏมีค่าต่ำเพียง 0.09 เนื่องจากมีการเก็บข้อมูลในช่วงเวลาที่แตกต่างกันของชุดข้อมูล วิธีการแก้ไข คือ การวัดระดับสารอินซูลิน ไลค์ โกรทแฟคเตอร์-วัน (IGF-I) ในเลือดแม่สุกร ณ วันหย่านมน่าจะเป็นวิธีการเก็บข้อมูลทางอ้อมที่ดีกว่า

 

          ในปี 2001 van den Brand และคณะ ได้ศึกษาถึงระดับ IGF-I ในเลือดของแม่สุกรท้องที่ 1 พบว่ามีความเกี่ยวข้องกับหุ่นของแม่สุกร (body condition) และระดับของฮอร์โมนแอลเอช (LH) ที่จะพุ่งสูงขึ้นก่อนการตกไข่ของแม่สุกรในระยะหลังหย่านม โดยพบว่าแม่สุกรที่มีการสูญเสียน้ำหนักตัวมาก มีระดับของฮอร์โมน LH ต่ำ จะมีระดับของ GF-1 ต่ำในเลือด นอกจากนี้ ในโคยังพบว่าระดับ IGF-I ในเลือดของแม่โคนมจะต่ำในแม่ที่มีการผลิตน้ำนมมาก มีการสูญเสียน้ำหนักตัวน้อย และมีปัญหาการตกไข่และผสมติดตามมา จึงพออนุมานได้ว่า สามารถใช้การวัดระดับของ IGF -I ในกระแสเลือดเป็นดัชนีบ่งชี้ความสมบูรณ์ของแม่สุกรหลังหย่านมได้เป็นอย่างดี

          จากที่กล่าวมาทั้งหมด เราจะพอสรุปให้เห็นได้ว่า การกินได้ที่สูงขึ้นของแม่สุกรเลี้ยงลูก นอกจากจะช่วยให้แม่สุกรสามารถผลิตน้ำนมได้เพียงพอกับความต้องการของลูกสุกรแล้ว ยังสามารถช่วยให้แม่สุกรหลังหย่านมมีสภาพร่างกายที่ไม่ทรุดโทรมเกินไป ช่วยให้ประสิทธิภาพทางระบบสืบพันธุ์ในลำดับท้องถัดไปดีขึ้น เพิ่มอัตราการผสมติดการขึ้นคลอด ขนาดครอกที่ดกขึ้น รวมถึงช่วยให้แม่สุกรมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น ไม่ถูกคัดทิ้งก่อนเวลาอันควร โดยสามารถเพิ่มการกินได้ในแม่สุกรเลี้ยงลูกได้โดยการกระตุ้นการกินได้ของแม่สุกรสาวทดแทนในระยะรุ่นพันธุ์และขุนพันธุ์ให้สูงขึ้น ซึ่งโดยทั่วไป เราจะพยายามกระตุ้นให้แม่สุกรเลี้ยงลูกมีการกินได้ที่มากที่สุดเท่าที่จะทำได้โดยตั้งเป้าหมายให้แม่สุกรต้องมีการกินได้ไม่ต่ำกว่า 7 กิโลกรัม ภายในวันที่ 7-10 หลังคลอด

          ในการนี้ ทางบริษัท เวท อะกริเทค มีผลิตภัณฑ์ที่สามารถช่วยเพิ่มการกินได้ของแม่สุกรในระยะเลี้ยงลูกโดยเฉพาะ คือ เครฟ เอพี(Krave AP) เป็นผลิตภัณฑ์คุณภาพจากบริษัท อะดิสซีโอ (Adisseo)ประกอบด้วยสารสกัดจากกรรมชาติที่ออกแบบมาเพื่อกระตุ้นการกินได้ของแม่สุกรหรือสุกรโตเต็มวัยโดยเฉพาะ แตกต่างจากสารกระตุ้นการกินชนิดอื่น ๆ ที่มักจะไปเน้นที่ความหวาน ซึ่งในความเป็นจริงแล้วแม่สุกรไม่ได้ชอบรสหวานแต่อย่างใด

          Krave AP ได้มีการทดลองในประเทศไทย ในปี 2019 ที่ผ่านมาในฟาร์มในจังหวัดราชบุรี พบว่า สามารถช่วยเพิ่มการกินได้ของแม่เลี้ยงลูกได้ 0.27 กิโลกรัม/ตัว/วัน (5.66 土 2.11 และ 5.93 + 2.32; p=0.05) และผลิตน้ำนมในช่วงวันที่ 10-17 ของระยะเลี้ยงลูกได้มากกว่า 130 มิลลิลิตร/ตัว/วัน (10.47 土 0.36 ลิตร และ10.60 土 0.37 ลิตร; p=0.804) ช่วยให้ลูกสุกรมีน้ำหนักหย่านมที่ดีขึ้นแม่สุกรมีสุขภาพไม่ทรุดโทรมหลังหย่านม อันจะช่วยให้แม่มีสุกรมีอายุการใช้งานที่ยาวนานออกไป

เอกสารอ้างอิง

Berchieri-Ronchi, C.B., Kim, S.W., Zhao, Y., Correa, C.R., Yeum, K.J., and Ferreira, A.L.A. 2011. Oxidative stress status of highly prolific sows during gestation and lactation. Animal. 5(11), 1774-1779.

Bunter, K., Hermesch, S., and Luxford, B. 2006. Sow feed intake and lifetime reproductive performance. AGBU Pig

Genetic Workshop - October. 35-43

Koketsu, Y., Dial, G.D., Pettigrew, J.E., and King, V.L. 1996. The influence of nutrient intake on biological measures of breeding herd productivity. Swine Health and Production. 4(2), 85-94.

Visitors: 395,743