ปัญหามาตรการตรวจสอบเอกสารก่อนออกใบอนุญาตนำสุกรออกนอกราชอาณาจักร เข้าหารือในคณะอนุกรรมาธิการ รัฐสภา เร่งหาทางแก้ปัญหา

ปัญหามาตรการตรวจสอบเอกสารก่อนออกใบอนุญาตนำสุกรออกนอกราชอาณาจักร เข้าหารือในคณะอนุกรรมาธิการ รัฐสภา เร่งหาทางแก้ปัญหา

23 กรกฎาคม 2563 รัฐสภา - คณะอนุกรรมาธิการเชิญผู้ส่งออกสุกรขุน กรมปศุสัตว์ และสมาคมผูเลี้ยงสุกรแห่งชาติ ร่วมให้ข้อมูลและข้อคิดเห็นเพื่อพิจารณาศึกษา เรื่อง ผลกระทบด้านเศรษฐกิจและการส่งออกจากมาตรการตรวจสอบเอกสาร ก่อนออกใบอนุญาตนำสัตว์หรือซากสัตว์ออกนอกราชอาณาจักร

จากประเด็นร้อนกับมาตรการตรวจสอบเอกสารเพิ่มเติมประกอบการออกใบอนุญาตเคลื่อนย้ายสุกร(ร.๓,ร.๔,ร.๕) ตามบันทึกข้อความที่ กษ.๐๖๒๑/ว.๒๓๘๓๕ ลงวันที่ 9 กรกฎาคม 2563 ซึ่งเริ่มนำปฏิบัติภายใน 2 วันทำการถัดมา สร้างความติดขัดอย่างมากแก่ผู้ประกอบการส่งออกสุกรขุน โดยมีสุกรขุนที่ค้างส่งเป็นจำนวนมาก สร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจที่จะเข้าสู่ประเทศประมาณ 60-70 ล้านบาทต่อวัน ซึ่งสถานการณ์ในช่วงการระบาดของ COVID-19 ประเทศจำเป็นที่จะต้องเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยมีสินค้าทางการเกษตรที่เป็นหลักในการส่งออกของไทยในขณะนี้ โดยสินค้าสุกรมีการเติบโตสูงมากจากการที่ทั่วโลกได้รับความเสียหายจากการระบาดของโรค ASF ในสุกร โดยยังไม่ปรากฏการระบาดในประเทศจนถึงปัจจุบันซึ่งเป็นผลการทำงานเข้มแข็งทั้งจากกรมปศุสัตว์และภาคเอกชนโดยเฉพาะสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติในการระดมทุนจัดทำ 5 ศูนย์ฆ่าเชื้อและทำความสะอาดยานพาหนะบรรทุกสินค้าปศุสัตว์ สร้างจุดขนถ่ายยานพาหนะส่งออกสุกรมีชีวิตไปนอกราชอาณาจักรหลายจุด และร่วมสนับสนุนเงินชดเชยเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรในพื้นเสี่ยง รวมมูลค่าทุกการสนับสนุนประมาณ 130 ล้านบาท

ที่ประชุมโดยผู้ประกอบการส่งออกที่มาร่วมประชุมประกอบด้วยผู้บริหารระดับสูงของ บริษัท ค้ำคูณ ทรานสปอร์ต จำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด วังน้ำเย็น อินเตอร์เทรด บริษัท โอเครุ่งเรือง999 จำกัด และบริษัท ดีเป็นหนึ่ง จำกัด ได้ให้รายละเอียดในทำนองเดียวกัน คือ

  1. กฎระเบียบใหม่มาจากไหน ที่มาที่ไป วัตถุประสงค์การเก็บ เงินที่ได้จากการจัดเก็บ 1,900 บาทต่อตัว นำไปไหน ข้อกำหนดตรวจโรคของรัฐบาลเวียดนาม โดยไม่มีการกำหนดจากทางการของกัมพูชาแต่อย่างใด ทำไมต้องใช้เกณฑ์เดียวกันทั้งหมด สร้างภาระด้านการปฏิบัติงาน ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นต่อกิโลกรัมประมาณ 1-2 บาทโดยส่วนต่างที่เหลือแทบจะทำให้ไม่สามารถดำเนินการได้อยู่แล้ว
  2. ปกติผู้ประกอบการจะจัดหาสุกรขุนใน 2 กลุ่มหลัก 1) ฟาร์มรายย่อย ถึงรายกลาง 2) กลุ่ม TOP 4 กฎระเบียบใหม่เกรงว่าเกษตรกรรายย่อยยังไม่มีความพร้อม

ประเด็นข้อสงสัยกรมปศุสัตว์โดยรองอธิบดีนายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ ได้ชี้แจงว่าระเบียบต่างๆ เป็นการยกระดับมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์เพื่อการส่งออกในภาพรวม ส่วนโรคที่กำหนดให้ตรวจเป็นโรคที่ทางประเทศเวียดนามขอมาอยู่ใน list ขององค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) ที่สามารถหยิบยกมาเป็นข้อกำหนดได้ โดยรองสมชวนกล่าวว่าเบื้องต้นมีขอมามากกว่าที่กำหนดในขั้นสุดท้าย ซึ่งกรมปศุสัตว์ได้มีการต่อรองลดจำนวนโรคที่จะต้องตรวจลงมาในระดับที่เหมาะสมแล้ว  และที่ต้องมีใบรับรองมากขึ้นด้วยประสงค์ให้มีการจัดการมาตรฐานฟาร์มให้สูงขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ฟาร์มรู้อยู่แล้วในแง่ของวัตถุประสงค์ในการเลี้ยงเพื่อจำหน่ายในประเทศ หรือเพื่อการส่งออก โดยมาตรฐานฟาร์มภาคบังคับจะมีในอนาคตซึ่งสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เป็นผู้ดำเนินการในเรื่องนี้

ในกรณีที่ผู้ประกอบการยังไม่มีความพร้อมในการปฏิบัติ รองอธิบดีนายสัตวแพทย์สมชวนแนะให้ผู้ประกอบการส่งออกสุกรมีชีวิตออกนอกราชอาณาจักรทำหนังสือขอผ่อนผันการจัดเอกสารตามมาตรฐานใหม่ต่อกรมปศุสัตว์ไปอีก 30 วัน เพื่อให้เวลาทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้เตรียมตัวมากขึ้น ซึ่งผู้ประกอบการเห็นด้วยตามคำแนะนำของรองอธิบดีนายสัตวแพทย์สมชวน

สำหรับคำถามที่ว่าผู้จัดเก็บค่าใช้จ่ายในการขอใบรายงานผลทางห้องปฏิบัติการที่ถามโดยนายสมบัติ   ศรีสุรินทร์ กรรมาธิการประธานที่ประชุม ทำไมต้องเป็นสมาคมผู้ผลิตและแปรรูปสุกรเพื่อการส่งออก ทั้งๆ ที่สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติได้ประสานงานและจัดการเฝ้าระวังป้องกันโรค ASF ในสุกร พร้อมทั้งสร้างองค์ประกอบต่างๆ เพื่อสนับสนุนการส่งออกสุกรมีชีวิตไปประเทศรอบบ้านมาตลอด รองอธิบดีนายสัตวแพทย์สมชวน กล่าวข้อสงสัยนี้ว่า หลังการเข้ามาเติมเต็มกรณียังค้างเงินชดเชยเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรเชียงรายจำนวน 14 ล้าน ในกรณีการจัดการลดความเสี่ยงฟาร์มรายย่อยโดยสมาคมผู้ผลิตและแปรรูปสุกรเพื่อการส่งออก ซึ่งก่อนหน้านี้สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติได้ระดมมา 2 รอบซึ่งได้ร่วมกันทำอย่างเต็มที่ ซึ่งเป็นเวลาที่กรณีของส่งออกสุกรมีชีวิตไปเวียดนามมาพอดีจึงเป็นเรื่องของความต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นการเข้ามาประสานงานช่วงสั้นๆ เท่านั้น โดยเรื่องแนวทางการจัดการอื่นๆ ก็เป็นเรื่องของ 3 สมาคม (สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ สมาคมพัฒนาธุรกิจสุกรไทย และ สมาคมผู้ผลิตและแปรรูปสุกรเพื่อการส่งออก) จะต้องไปหารือกันในด้านของความเหมาะสมในทุกด้าน

นายสัตวแพทย์นพลิศ  เสริมศักดิ์ศศิธร ที่ปรึกษาสมาคมผุ้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ และนายกสมาคมพัฒนาธุรกิจสุกรไทย ได้กล่าวในที่ประชุมว่า ค่าใช้จ่ายที่สูงเกินไปต้องมาปรับให้เหมาะสม โดยเฉพาะด้านค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นของการเตรียมเอกสารและตรวจโรคเพื่อการส่งออกสุกรมีชีวิตออกนอกราชอาณาจักร เพื่อให้เกิดผลกระทบกับการส่งออกสุกรน้อยที่สุด เพราะทั้ง 3 สมาคมยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน จึงเป็นหน้าที่ที่จะต้องหารือกันอย่างเร่งด่วน โดยสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติจะต้องทำหน้าที่ในการควบคุมปริมาณการส่งออกต่อวันด้วยที่รับปากไว้กับกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ที่ไม่เกินวันละ 6,000 ตัว เพราะถ้าอีก 2 สัปดาห์ถ้ายังคุมราคาสุกรขุนไม่ได้ กรมการค้าภายในอาจนำมาตรการขั้นต่อไปมาใช้ได้ กรณีส่วนค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นผู้ประกอบการส่งออกสามารถนำมาปรับกับผู้เลี้ยงสุกรได้ตามความเหมาะสม

Visitors: 395,775